Explicit Knowledge


ต้นกำเนิดของวิตามิน

ในสมัยโบราณมนุษย์รู้จักวิตามินในแง่ของอาหารที่ใช้รับประทาน ชาวอียิปต์พบว่าการกินน้ำมันตับปลาจะช่วยให้หายจากอาการตาบอดกลางคืน ศัลยแพทย์ชาวสก๊อตพบว่าผลไม้พวกส้ม สามารถรักษาอาการลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดตามไรฟันได้ แพทย์ชาวดัชท์สังเกตพบว่าไก่ที่กินข้าวที่ไม่ขัดขาวจะไม่มีอาการเหน็บชา จากข้อมูลที่ค้นพบไม่ว่าจะโดยบังเอิญหรือจากการเฝ้าสังเกต มนุษย์ได้นำมาประยุกต์ใช้จนพัฒนาเป็นวิทยาการในปัจจุบัน

การค้นพบวิตามินสืบเนื่องมาจากรักษาโรคขาดวิตามินที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณ เช่น โรคเหน็บชา โรคลักปิดลักเปิด หรือโรคกระดูกอ่อน การรักษาในตอนแรกมักใช้ อาหารต่อมาจึงได้คิดแยกสารบริสุทธิ์ที่ให้ผลในการรักษาออกจากอาหาร ที่เรียกกันว่า "วิตามิน"

วิตามินได้ถูกค้นพบหลายชนิดที่สำคัญเช่น วิตามิน A, B1, B2, B3, B5, B6, B7, B9, B12, C, D, E และ K

แหล่งที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=zhulian&mo


ผลข้างเคียงของวิตามิน

วิตามิน A

หากได้รับเกินขนาด : มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว เสียความสมดุลในการทำงานของกล้ามเนื้อ

วิตามิน B1

หากได้รับเกินขนาด : ง่วงนอน กล้ามเนื้อคลายตัว

วิตามิน B3

หากได้รับเกินขนาด : ถ้าได้รับ B3 มากกว่า 2 กรัม/วัน ตับอาจได้รับความเสียหาย

วิตามิน A

หากได้รับเกินขนาด : มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว เสียความสมดุลในการทำงานของกล้ามเนื้อ

วิตามิน B1

หากได้รับเกินขนาด : ง่วงนอน กล้ามเนื้อคลายตัว

วิตามิน B3

หากได้รับเกินขนาด : ถ้าได้รับ B3 มากกว่า 2 กรัม/วัน ตับอาจได้รับความเสียหาย

วิตามิน B5

หากได้รับเกินขนาด : อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน แสบร้อนกลางอก

วิตามิน B6

หากได้รับเกินขนาด : การได้รับมากกว่า 100 มก./วัน อาจทำให้เส้นประสาทถูกทำลาย และสูญเสียการรับรู้ของประสาทสัมผัส

วิตามิน B9

หากได้รับเกินขนาด : อาจพบสิวขึ้นคล้ายลักษณะผื่นคัน แต่เป็นไม่ทุกกรณีไป

วิตามิน B12

หากได้รับเกินขนาด : อาจพบสิวขึ้นคล้ายลักษณะผื่นคัน แต่เป็นไม่ทุกกรณีไป

วิตามิน C

หากได้รับเกินขนาด : เกิดข้ออักเสบ การรับประทานเกิน 1000 มก./วัน อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาจเพิ่มการสะสมธาตุเหล็กตามกระดูกและข้อ

วิตามิน D

หากได้รับเกินขนาด : เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดข้อ กระสับกระส่าย เซื่องซึม

วิตามิน E

หากได้รับเกินขนาด : อาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว

วิตามิน K

หากได้รับเกินขนาด : เพิ่มการจับตัวของเกล็ดเลือด


แหล่งที่มา : https://www.doctor.or.th/article/detail/3872

: http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=56630

หมายเลขบันทึก: 605642เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2016 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2016 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นหมอได้เลยนะเนี้ยะ

วิตามินกับกลูต้าแตกต่างกันยังไงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท