วัฒนธรรมมองหน้าให้คะแนน


เดือนมีนาคมอีกแล้ว ข้าราชการหรือพนักงานของรัฐต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบการประเมินแรกของปีงบประมาณ 2559 หลายท่านต้องมีการส่งแบบประเมินกัน ผู้ประเมินที่มีลูกน้องหลายคนคงกำลังง่วนกับการนั่งประเมินลูกน้องอยู่ ถือได้ว่าครึ่งปีเราก็มีการเช็คเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่กำหนดตกลงกันไว้ตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน

แม้ว่าการประเมินตามตัวชี้วัด หรือ KPI ได้ใช้มาหลายปีแล้วก็ตาม หลายส่วนราชการยังคงประสบปัญหาในการประเมิน แม้ว่า HR จะพยายามช่วยกันสร้างระบบให้มีการประเมินตามผลงานอย่างแท้จริง ในทางปฏิบัติเมื่อนำมาใช้ในการเลื่อนเงินเดือน ระบบโคต้าก็ยังไม่หายไปจากส่วนราชการ ทำให้ผู้ประเมินเองก็อาจไม่ได้จริงจังในการประเมิน ได้แต่จัดทำให้มีเอกสารตามที่หน่วยเหนือกำหนด

วัฒนธรรมมองหน้าให้คะแนน ยังคงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารและผู้ประเมิน บางแห่งประเมิน KPI เท่ากันหมด มาแตกต่างในเรื่องของการประเมินสมรรถนะ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ การยอมรับกันได้ขึ้นอยู่กับระบบเวียนเทียน บางแห่งตัดสินที่การหยอดเงินตามวงเงินที่ผู้บริหารวงเงินได้กันไว้ บางแห่งนอกจากประเมินผลงาน 70 เปอร์เซ็นต์แล้ว ภายใน 70 เปอร์เซ็นต์ก็มีการกำหนดองค์ประกอบเรื่องความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาอีก ตัวนี้ทำให้หลายคนเซ็ง วัดงานครึ่งเดียว คะแนนจิตพิสัยตั้งครึ่งหนึ่งแล้ว (สมรรถนะกับความพึงพอใจ ผบ.) ตอนกำหนดตัวชี้วัดก็ไม่เคยตกลก เวียนแต่เอกสารว่าจะประเมินแบบนี้(สื่อสารทางเดียวไม่มีเสียงตอบกลับถือว่าตกลง) เป็นอย่างนี้ก็ขึ้นอยู่ความพอใจอยู่ดี

ที่เล่ามานี้คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและบางท่านก็สัมผัสได้ แต่ก็ยังมีส่วนราชการจำนวนมากที่ตั้งใจนำระบบให้สร้างความเป็นธรรมในการพิจารณาประเมินที่ผลงานที่แท้จริง เราขอให้กำลังใจทุกท่านได้ดีเด่นทั่วกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 604337เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2016 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2016 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท