ตัวอย่างการจัดการความรู้ภายในองค์กร


การจัดเวทีสนทนา ....ทำให้ทุกคนรู้จักกัน มีความสุขในการทำ บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า "เราทำได้"

Steps สู่ความสำเร็จ KM ศิริราช

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ถือว่าการทำ KM เป็นการสร้างโอกาสให้พนักงานทุกระดับ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ในการพัฒนาตนเอง ทำให้มีความมานะ อดทน โดยระยะเริ่มต้น มีการกำหนดทีมหลักในการรับผิดชอบ (Cross Function) และทีมดำเนินการ ซึ่งเริ่มดำเนินการด้วยโครงการนำร่องเป็นเวลา 18 เดือน ภายใต้การประเมิน และติดตามโครงการจากที่ปรึกษา เมื่อสิ้นสุดโครงการนำร่อง ทำให้เกิดความเข้าใจ ได้เรียนรู้ และมี KM Website

ช่วงระยะดำเนินโครงการนำร่อง 18 เดือน มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดของพนักงาน ทั้งระดับคณะ และระดับหน่วยงาน ซึ่งระดับคณะมีการปรับบทบาท ทั้งด้านการสนับสนุน และส่งเสริม ส่วนในระดับหน่วยงาน มีการกระตุ้นส่งเสริมให้บุคลากร ในหน่วยงานเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ เพื่อทำให้ KM มีชีวิต พร้อมทั้งส่งสัญญาณให้ผู้บริหารทราบความพร้อม เป็นช่องทางอีกช่องทางหนึ่ง ให้ใช้ในการพัฒนาองค์การโดยรวม

 

ศิริราชใช้หลัก 6 Steps ในการดำเนิน KM คือ 1. การเรียนรู้ (Learning) 2. การวัดผล (Measurements) 3. การยกย่องให้รางวัล (Recognition and Reward) 4. กระบวนการ และเครื่องมือ (Process and Tools) 5. การสื่อสาร (Communication) และ 6. การจัดการเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรม (Transition and Behavior Management) โดยมีการกำหนด Road Map สร้างบุมทรัพย์ทางปัญญา โดยมีผู้บันทึก (Historian) จับประเด็น พร้อมสรุปย่อสาระสำคัญที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้การจำประเด็นเป็นระบบ พร้อมทั้งอบรมผู้ดูแล Web กำหนดขอบเขต (Domain) อย่างชัดเจน โดยกำหนดจากพันธกิจขององค์การ สื่อสารยังผู้ที่เกี่ยวข้อง และหาเจ้าภาพรับผิดชอบอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม การจัดเวทีสนทนา ถือเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน โดยมีการกำหนดเวลา และสถานที่ มีเจ้าหน้าที่ติดต่อสมาชิก พร้อมทั้งช่วยเก็บประเด็น ตั้งแต่ระดับบุคคล สู่ระดับองค์การ ทำให้ทุกคนรู้จักกัน มีความสุขในการทำ บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า "เราทำได้" ซึ่งผลพลอยได้ของการจัดการความรู้ คือ เกิดผู้นำในทุกระดับ

 

สิ่งที่ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำกิจกรรม KM ของศิริราช คือ ผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ ความรู้ความเข้าใจ ของผู้รับผิดชอบโครงการ ความสามารถของทีมประสาน หรือคุณอำนวย (Facilitator) รวมถึงความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวก เวทีจริง และเวทีเสมือนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งส่งผลลัพธ์ทางการปฏิบัติในเชิงรูปธรรม

 

จากการจัดการองค์ความรู้ของทั้ง 6 หน่วยงานราชการ สะท้อนให้เห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ KM ซึ่งสามารถกระตุ้นโดยผ่านการสร้างวัฒนธรรม ที่เอื้อให้องค์ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) กลายเป็นความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) โดยองค์ความรู้ดังกล่าว จะเป็นองค์ความรู้ที่แฝงด้วยประสบการณ์ ของผู้ปฏิบัติงาน สั่งสมมายาวนาน จนกลายเป็นภูมิปัญญา อาทิ องค์ความรู้ของพนักงาน หรือข้าราชการที่เกษียณอายุ ถือเป็นคลังความรู้ที่มักถูกมองข้าม ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โดยองค์ความรู้ดังกล่าว ไม่ใช่สูตรสำเร็จ หาซื้อขายได้ตามท้องตลาด ในรูปแบบของตำรา แต่อยู่ที่การลง

 

เว็บไซต์ การจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล : http://www.si.mahidol.ac.th/km/

หมายเลขบันทึก: 60431เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท