การจัดการ KM ภายในองค์กรที่ฝ่ายการพยาบาล ร.พ.จุฬาฯ


ผู้ที่จะเอา Dialogue ไปใช้ได้นั้น คงต้องมีความเชื่อว่า "ที่ช้าก็เพื่อจะเร็ว" เพราะ Dialogue นอกจากจะทำให้ได้ Sharing สิ่งต่างๆ แล้ว ยังเป็นการสร้าง Trust สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งใน Long-Run แล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ทุกอย่าง "เร็ว" ได้นั่นเอง

      เมื่อวานผมได้ไปฟัง หัวหน้าพยาบาล ร.พ. จุฬาลงกรณ์ อาจารย์ลดาวัลย์ รวมเมฆ เล่าให้ฟังถึงการใช้ Dialogue หรือ สุนทรียสนทนาเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ทำ Knowledge Sharing ในฝ่ายการพยาบาล ...ทำให้ได้เห็นชัดว่า นี่ก็เป็นการทำ KM อีกแนวหนึ่งซึ่งเริ่มต้นกันที่การฝึก "คน" ก่อนเป็นอันดับแรก เทคนิค Dialogue จะเน้นให้ผู้พูด พูดออกมาจากใจ ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะได้สิ่งที่ "สดๆ" แล้ว ยังจะทำให้ Tacit Knowledge ไหลออกมาได้โดยง่าย และเป็นธรรมชาติอีกด้วย

      แต่สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในการทำ Dialogue ก็คือการฝึกฟังครับ ...เป็นการฝึกฟังอย่างมีสติ (ได้ฝึกตรวจสอบ Mental Model ของตัวเอง) เป็นการฟังแบบไม่ด่วนสรุป ฟังแบบไม่ตัดสินความ ...เป็นการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ฟังแบบเอาตัวเราเข้าไปเป็นตัวผู้พูด การใช้ Dialogue ที่ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เห็นได้ชัดว่าสามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างกัน (Team Learning) ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ขยายขอบเขตจากที่ตอนแรก Share กันเฉพาะใน "กลุ่มงาน" มาเป็นการ Share แบบ "สหสาขา" ทำให้ผู้ที่มีส่วนร่วมได้มีโอกาสฝึกฝนเรื่อง "ความเชื่อมโยง" หรือ "Systems Thinking" ได้อีกด้วย

      ตามที่ได้ยินมา หลายคนบอกว่า Dialogue นั้นใช้ไม่ค่อยได้ในผลในองค์กรเอกชนหรือภาคธุรกิจ ผมคิดว่าคงเป็นเพราะ Dialogue เป็น Slow Process เป็นกระบวนการแบบ "ค่อยเป็นค่อยไป" ไม่ใช่ Fast Process ซึ่งภาคธุรกิจ (เอกชน) มักจะต้องการอะไรๆ ที่เร็วๆ เห็นผลเป็นรูปธรรมภายในเวลาสั้นๆ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น Dialogue อาจจะไม่เหมาะ ผู้ที่จะเอา Dialogue ไปใช้ได้ คงต้องมีความเชื่อที่ว่า "ช้าเพื่อเร็ว" เพราะ Dialogue นอกจากจะทำให้ได้ Sharing สิ่งต่างๆ กันแล้ว ยังเป็นการสร้าง Trust สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งใน Long-Run แล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ทุกอย่าง "เร็ว" ได้เอง

      จะเห็นได้ว่ากระบวนการที่เราใช้กันโดยทั่วไป มักจะเป็นกระบวนการ "เร็วเพื่อช้า" ...ไม่เชื่อก็ลองนึกภาพการประชุมทั่วไปดูก็ได้ ...พูดกันมากมาย ไอเดียกระฉูด โต้เถียงกันหน้าดำหน้าแดง ...ต่อสู้กันทางความคิด พยายามจะหาคำตอบที่ดีที่สุด ...ครั้นพอออกมานอกห้อง บางคนก็เริ่มมีอาการ ...ไม่เห็นด้วยกับคำตอบหรือข้อตกลงนั้น บางคนต้อง "ยอมทำ" ไปตามข้อสรุปที่ได้ในที่ประชุม ทั้งๆที่ตัวเองไม่มี "ความเชื่อมั่น" ในสิ่งนั้นเลย ...เห็นไหมครับว่าในที่สุดก็ "ช้าอยู่ดี" ถึงแม้ในตอนประชุม ความคิดหรือคำพูด จะโลดแล่น รวดเร็วเพียงใดก็ตาม

     ผู้ใดสนใจการทำ KM ของฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลจุฬาฯ ...คงจะได้มีโอกาสได้อ่านเรื่องเหล่านี้ใน Blog ...เพราะผมกำลังเชียร์หลายๆ ท่านในฝ่ายการพยาบาลให้ เปิด Blog แชร์ประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว ...หวังว่าคงจะไม่นานเกินรอนะครับ (ถ้าเปิด Blog แล้ว ช่วยบอกกล่าว โดยใส่ Link ไว้ใน Comment ข้างล่างนี้ ก็จะดีมากเลยครับ ...จะได้ "คลิก" ไปอ่านได้ทันที)

การนำ KM สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัด สพฐ

การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ขณะนี้มีหน่วยงาน / องค์กร ที่ได้พัฒนาเป็นแบบอย่างได้ คือ โรงพยาบาลศิริราช , บริษัท สแปนชั่น ( ไทยแลนด์ ) จำกัด , บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ( มหาชน ) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ขณะนี้สถานบันการศึกษา สังกัด สพฐ ยังมีความรู้ไม่มากพอ ที่จะนำ KM สู่การปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง ( นำร่อง ) สมควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม กับผู้สนใจและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในการส่งเสริมให้สามารถนำ KM สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัด สพฐ อย่างมีประสิทธิภาพ

ได้อ่านหนังสือ การจัดการความรู้ สู่...ปัญญาปฏิบัติ โดย : Dipl.-Ing. บดินทร์ วิจารณ์ บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด
ในการดำเนินโครงการ KM ให้เกิดขึ้นจริง สามารถกำหนดเป็น 8 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 กำหนดและสร้างทีมงานจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
ขั้นที่ 2 กำหนดกลยุทธ์ KM ขององค์กร
ขั้นที่ 3 ดำเนินการสำรวจระบบกรจัดการองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในองค์กร
ขั้นที่ 4 คัดเลือกโครงการนำร่อง
ขั้นที่ 5 พัฒนาโครงสร้างการจัดการ KM ในองค์กร
ขั้นที่ 6 กำหนดเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการ KM
ขั้นที่ 7 กำหนดแผนปฏิบัติการหลัก
ขั้นที่ 8 การติดตาม ควบคุมและปิดโครงการ
หมายเหตุ สถานศึกษาสังกัด สพฐ สามารถนำแนวคิดดังกล่าว ประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพที่แตกต่างกัน เพื่อนำ KM สู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ , ประสิทธิผล และ ผลผลิต คือ นักเรียนที่มีคุณภาพ รอบด้าน MQ IQ EQ และ AQ

ได้อ่านบทความของอาจารย์ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์ เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สรุปเกี่ยวกับการนำวงจรความรู้ไปใช้ในสถานศึกษา ได้แนวทางดังนี้
1. ขั้นตอนที่ 1 Socialization โรงเรียนต้องสร้างกลไกหรือเงื่อนไขให้ครูได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นให้มีห้องพักครูรวม มุมกาแฟ มุมพักผ่อน ซึ่งแนวนี้ธนาคารกรุงไทยได้นำไปใช้กับพนักงานเพื่อสร้างบรรยาการให้บุคลากรได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
2.ขั้นตอน Externalization โรงเรียนต้องให้ครูสรุปเทคนิค วิธีสอนที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูด้วยกันอันเป็นผลมาจากขั้นตอนแรก โดยบันทึกไว้เป็นเอกสารอย่างเป็นระบบอาจจะมีการสรุปร่วมกันก็ได้
3. ขั้นตอน Combination โรงเรียนต้องสนับสนุนให้ครูนำความรู้ที่สรุปเป็นเอกสารไปใช้จริง โดยผู้บริหารนิเทศ ติดตามผล ให้กำลังใจและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
4. ขั้นตอน Internalization โรงเรียนต้องเผยแพร่ความรู้ที่รวบรวมเป็นเอกสารที่พัฒนาขึ้นไปยังคณะครูอื่น ๆต่อไป มรการนำประเด็นสำคัญในสาระความรู้ไปถกแถลงในที่ประชุมประจำเดือน หาวิธีจูงใจให้ครูนำความรู้จริงไปใช้ในรอบใหม่ เป็นวงจรเช่นนี้ไปอีก
การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในขั้นตอนที่ 2 เพื่อใหม่ฐานข้อมูลเพื่อสะดวกในการค้นคว้าได้ว่ายขึ้น และในขั้นตอนที่ 3 และ 4 มีการจัดทำ Website ให้ผู้สนใจเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ ให้ข้อเสนอแนะจะเกิดชุมชนวิชาการที่กว้าขวางยิ่งขึ้น
จาขั้นตอนการจัดการความรู้ทั้ง 4 ขั้นตอน ทำให้สามารถนำข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ในองค์กร ตลอดจนในชุมชนและสังคมที่สถานศึกษาตั้งอยู่มาจัดระบบและพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ เป็นการพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง บุคลากรได้ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ช่วยเสริมสร้างให้โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศได้ไม่ยากอย่างที่คิด ....สาคร ...สงขลา

ที่มาของเนื้อหา http://www.kmi.or.th/newwebboard/main.php?board=915&userid=

หมายเลขบันทึก: 60361เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท