​โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ

วันนี้เข้าสู่ช่วงที่ 5 ของการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ ผมขอเรียนว่า "TSU Leader Class" ซึ่งในช่วง 5 วันนี้ เราจะเน้นเรื่อง

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศและการบริหารการเปลี่ยนแปลง Personality - Social Skills Development and Table Manners หลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ และการปรับใช้กับการทำงานในอนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต Case Studies and Intensive Management Workshop (4) TSU กับแนวทางการพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับการบริหาร ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนรู้ร่วมกันในช่วงนี้ ลูกศิษย์ของผมจะได้รับมุมมองที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับการพัฒนาตนเอง องค์กร และสังคมของเรา

ผมขอใช้ Blog นี้ เป็นคลังความรู้สำหรับกิจกรรมในช่วงที่ 5 ของเราครับ

สรุปการบรรยายวันที่ 17 มีนาคม 2559

Group Assignment & Presentation

Lesson learned – Share and Care: บทเรียนจากบทเรียนจากหนังสือ The Four Mindsets

กลุ่ม 1

Mindset เป็นความคิด ความเชื่อที่กำหนดพฤติกรรมและทัศนคติ

การพัฒนา สร้าง Growth Mindset เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะ Mindset ของผู้นำมีอิทธิพลอย่างสูงต่อพนักงาน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือเล่มนี้ต่อยอดจากพื้นฐาน Fixed กับ Growth Mindset เป็นการเริ่มไปสู่ Growth Mindset

Mindset ของมหาวิทยาลัยทักษิณค่อนข้างที่จะมี Soft skill จึงพร้อมที่จะเปลี่ยนแต่ถ้าพื้นฐานยังอ่อนแอ จะทำให้สับสน

Mindset ที่ดีต้องไปสู่พฤติกรรมเป็น Behavioral change

กลุ่ม 1

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เชื่อว่า Mindset สร้างและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อยู่ภายใต้ Conscious และ Sub-conscious แต่ถ้าพยายามสร้าง Mindset ภายใต้ Conscious ก็จะกลายเป็น Norm และวิธีปฏิบัติ

Mindset ของคนหนึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อคนรอบข้าง

อิทธิพลของ Mindset คือ Mindset Loop ถ้ามีการปลูกฝัง Mindset ไว้อย่างไรก็จะนำไปสู่ Attitude ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรม เป็น action และผลลัพธ์ ในที่สุดก็กลายเป็น Performance

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Attitude อาจเป็น Mindset อย่างหนึ่ง Attitude เปลี่ยนเร็ว แต่ Mindset เป็นสิ่งทีฝังอยู่เป็นเวลานาน

กลุ่ม 1

หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดอย่างเป็นระบบระหว่าง Mindset กับ Performance

ในความเป็นจริง Mindset ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือเล่มนี้เป็นการขยายความเพิ่มเติมเรื่อง Mindset

คณะบริหารจัดการของ มหาวิทยาลัยทักษิณ อาจจะมี Creativity Mindset คือมีความคิดสร้างสรรค์

กลุ่ม 1

ในการสร้าง Growth Mindset ให้เกิดขึ้น ผู้บริหารควรทำสิ่งต่างๆ

Fixed กับ Growth Mindset มีมานานแล้ว

การสร้างความเชื่อเรื่อง Growth Mindset เป็นความท้าทาย

หนังสือเล่มนี้สรุป Mindset หลักที่สำคัญ 4 ข้อ เพื่อทำให้เกิด Growth Mindset กับทีม

  • Emotional Intelligence Mindset มีความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้ทีมมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ แล้วจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในระดับองค์กร และนำไปสู่การแสดงความสามารถในการทำงานของพนักงาน ถ้าผู้นำมี Emotional Intelligence Mindset จะนำไปสู่ Performance โดยเฉพาะเรื่องของ Loyalty และความเชื่อมั่นในองค์กร
  • Connection Mindset หมายความว่า ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจเป้าหมายและทำให้ Connection ไม่ใช่ Communication คำว่า Connect มีความลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร แต่รวมถึง Emotion ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกพร้อมถ่ายทอดเป้าหมายต่างๆ
  • Growth Mindset ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม ตอนหลังองค์กรเน้น Self-coaching เป็นการสร้าง Growth Mindset ตรงไปยังตัวพนักงาน
  • Performance Mindset สร้าง Performance ให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กลุ่มนี้นำเสนอเก่งมาก

กลุ่ม 3

บทที่ 3 Connection Mindset

ในการผลักดันองค์กรไปสู่ความคาดหวังร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ Mindset

การเหนี่ยวไกปืนเป็น Mindset

Mindset ในเล่มนี้เป็นปลายทางวกกลับมาอีกเป็น Loop

Mindset มีจุดตั้งต้นที่คน ทุกคนต้องปรับ Mindset ให้รู้จักตนเอง ทำงานเป็นทีม

ทุกคนต้องรู้จักตนเอง จัดการตัวเองให้ได้

Skill และ Behavior บังคับ Mindset ได้ ถ้ามีทักษะดีจะทำให้ทีมสำเร็จ

รู้ซึ้งมาก่อนรู้แจ้ง แล้วก็จะประทับใจทีมทำให้ทีมแข็งขึ้น

เมื่อ Mindset เกิดความผูกพันระหว่างคน Empathy เป็นตัวขับดัน เป็นความเข้าใจมุมมองคนอื่น ทำให้เปิดใจกว้างได้

Empathy เป็นรากฐานสัมพันธภาพที่ดี ทำให้โน้มน้าวคนอื่นให้ทำงานให้ได้

ในการกล่อมเกลา Empathy ให้เกิดโดยตั้งคำถามทุกเรื่อง ฟังให้มาก อย่าด่วนสรุป ต้องพยายามเรียนรู้พฤติกรรมคนอื่นสะท้อนความเชื่ออะไร ตระหนักความต้องการของคนอื่นแล้วตอบสนองให้เหมาะสม

การทำให้คนเกิดความผูกพันองค์กร ผู้นำต้องทำ 2 ระดับ

  • สื่อสารให้เข้าใจว่าทำอะไรขาย บุคลากรทุกระดับเข้าใจบทบาทหน้าที่องค์กรตรงกัน ต้องมีการสื่อสารระหว่างบุคคล และกำจัดอุปสรรค สื่อสารให้คนเคารพกฎระเบียบ ต้องคิดต่างในเงื่อนไขที่เหมาะสม ต้องมีการวัดผลเป็นระยะ
  • ทำให้บุคลากรรู้ว่า ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ ทำให้บุคลากรตระหนักความสำคัญของตนต่อองค์กรและเข้าใจคนอื่น ต้องทำให้ตระหนักว่า คนต้องเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา คนในองค์กรต้องไม่ด่วนสรุป ต้องสร้างศรัทธา บุคลากรต้องเชื่อมั่นในเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารและองค์กรด้วย ต้องนำแรงบันดาลใจทำให้นำไปสู่เป้าหมาย ผู้บริหารต้องมีความเสมอต้นเสมอปลายเพราะเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจ
    • Rank Response คนที่มีความรู้จะสามารถแสดงความรู้ให้เห็นได้
    • การตัดสินใจคัดเลือกคนว่า เป็นคนที่เหมาะสมที่จะคัดเลือกเข้าทีม

ในการเชื่อมโยง Mindset สู่มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้นำต้องกล่อมเกลา Mindset มหาวิทยาลัยทักษิณต้องเน้นคุณภาพการสื่อสารที่ดีเป็นพื้นฐานที่ดี ทางมหาวิทยาลัยมีจุดอ่อนด้านการสื่อสาร ผู้นำต้องช่วยกล่อมเกลา Mindset โดยมีแนวทางใส่ Empathy และนวัตกรรม ก็จะนำไปสู่ Connecting

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่

Mindset เปลี่ยนยากเพราะเกิดจากประสบการณ์ การที่จะเปลี่ยนได้เป็น Organizational behavior และ Organizational Development

ทุกคนมี Mindset ต่างกัน สะสมเป็นทัศนคติ (มุมมองที่มีต่อสิ่งต่างๆแต่ถูกกำหนดโดยประสบการณ์) ผลลัพธ์ออกมาเป็นการกระทำ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือเล่มนี้เน้นว่า Mindset มาก่อนแล้ว Attitude ตามมาภายหลัง

Attitude อาจไม่หนักมากเท่า Mindset ก็อาจจะเปลี่ยนได้ก่อน

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เรื่องนี้เป็นความฉลาดของนักเขียนที่จะนำไฮไลต์หลายเรื่องๆมา

ผู้ต้องมีภาวะผู้นำ มี Self-awareness และใช้ 5 senses แล้วจะเข้าใจคน

ก่อนที่จะนำคนร่วมทีม ต้อง Connect คือสร้างสัมพันธภาพ

Know me

Focus me

Care about me

Connect คือการเข้าใจคนอื่นโดยกระบวนการ แล้วจะนำไปสู่การสื่อสาร Conversation พูดคุยกับลูกน้อง

Mindset เปลี่ยนยาก แต่คนเห็นผู้นำเปลี่ยน ลูกน้องก็จะเริ่มปรับเพราะเข้าใจว่าผู้นำเริ่มมีความเข้าใจลูกน้อง

Mindset ขององค์กรสะท้อนออกมาทางพฤติกรรมของแต่ละบุคคลด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Mindset ก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศด้วย

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

แปลกใจว่า Mindset เหมือน Marketing ทั้งๆที่อยู่ในอริยสัจสี่ ปัญหาคือคนไทยไปเชื่อแต่แนวคิดตะวันตก

Mindset คือกมลสันดาน เกิดมากับแต่ละคน อาจกำหนดโดยครอบครัว

การกำหนดนโยบายมหาวิทยาลัย ก็มาจากคนที่มาจากหลายแหล่ง

Mindset เปลี่ยนไม่ได้ แต่ปรับได้

นำเสนอเรื่อง Connection ได้ดี

Connection เป็นสื่อแบบใจถึงใจ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

คนไทยทันสมัยแต่ไม่ค่อยพัฒนาเพราะขาดการลงมือทำ ถือเป็นปัญหาใหญ่มาก

Connect ต้องใช้ IQ และ EQ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทุกคนพูดมาสะท้อนให้เห็นความยากในการเปลี่ยน Mindset

Mindset เป็นเรื่องสำคัญ

หนังสือเล่มนี้มีกระบวนการ

1.เข้าใจ Mindset คืออะไร ต้องมีอารมณ์ความรู้สึก และมีปัญญาจึงเข้าใจ Mindset เป็นความพยายามที่จะต้องก้าวข้ามอุปสรรค

2.กลุ่ม 3 นำเสนอดีมากเพราะนำเล่มอื่นมาเปรียบ Mindset ต้องกล่อมเกลา ให้เคลื่อนแบบ Free form อย่างมีกรอบ ค่อยๆปรับ

ในเรื่อง Connection ต้อง connect คนแบบ network ต้องปรับ mindset ร่วมกัน

Growth Mindset เป็นผลลัพธ์ระดับหนึ่ง

Performance Mindset นำไปสู่ความเป็นเลิศ

Mindset ต้องเข้ามาอยู่ในค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัย

Mindset เป็นสันดานแต่ก็เปลี่ยนได้

บางทีหน่วยงานเล็กแต่มีอำนาจมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นการวิจารณ์หนังสือครั้งที่ 2 การวิจารณ์หนังสือครั้งที่ 1 มีคุณค่ามาก เพราะมีอาจารย์ศรัณย์และคุณพิชญ์ภูรีมาเสริม

ควรเปลี่ยน Mindset ให้ได้

ดร.จีระปรับตัวมหาศาล ตอนนี้เป็นคนที่อดทน รับฟัง เพราะได้ปะทะกับการเรียนรู้

การวิจารณ์หนังสือครั้งนี้ทำให้เข้าใจว่า Mindset คือ Intangible Asset นำไปสู่ Performance

คณบดีควรทำทีม Team Teaching ให้นักศึกษาอ่านหนังสือแล้วนำเสนอ ส่วนอาจารย์ก็ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ

หนังสือฝรั่งเล่มหนึ่งกล่าวว่า Diversity of Ideas ก็จะนำไปสู่ความเป็นเลิศในอนาคต

กลุ่ม 5

Performance Mindset

การคัดเลือกคนเข้าทีมเป็นสิ่งสำคัญที่จะวางคนให้เหมาะกับตำแหน่ง และต้องมี Mindset mเหมาะสมกับองค์กร

มีการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม ตัวตนของคนที่สมัครงาน มีขั้นตอน

1.วิเคราะห์งาน ต้องดู Competence ในงานเป็นหลัก

2.พัฒนาโครงสร้างคำถามสัมภาษณ์

2.1 หลักการความรู้ที่ผู้สมัครมี

2.2 พฤติกรรม คำถามเชิงจิตวิทยา

2.3 คำถาม Leading Question สถานการณ์ในอนาคตว่าจะทำอย่างไร

มีการใช้ STAR Technique

S=Situation

T=Time

A=Action

R=Result

เมื่อคัดคนเข้ามาร่วมทีม จะทำให้เป็นทีมเข้มแข็งโดย Attachment and Alignment

  • ระดับองค์กร
  • ระดับบทบาท สมาชิกทีมต้องรู้สถานะ ค่าตอบแทนสอดคล้องกับงานหรือไม่ งานที่รับผิดชอบ กิจกรรม โอกาสก้าวหน้า อนาคต
  • ระดับ Line manager มีทักษะในการเป็นพี่เลี้ยงและสอนงาน

ปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของทีม

  • Orientation
  • ข้อมูลสำคัญที่ให้แก่สมาชิกทีม คือข้อมูลที่เกี่ยวกับงาน
  • การหมุนเวียนตำแหน่ง ทำให้รู้จักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • การเรียนรู้ Incremental Learning เป็นการพัฒนาสมรรถนะในงาน
  • การให้ Feedback ให้มีแรงบันดาลใจในการพัฒนา

นี่เป็น Best Practice ที่หนังสือนำเสนอ เป็นการทำให้ได้ทบทวนกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับงาน

มีการนำเสนอ The core 90-day drivers (to prepare new employees for success ) กล่าวถึง

  • Recruitment Process
  • Introduction process
  • Role Process
  • Coach and Mentor Support
  • Management and Leadership
  • Peer and Stakeholder Interaction ในความเป็นจริง connection ไม่ใช่ communication แต่มีความลึกกว่า communication เพราะฉะนั้นการมี Interaction ในลักษณะ Peer and Stakeholder ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความสุขในการทำงานมากขึ้นสำหรับพนักงานใหม่
  • Culture and Value
  • Work Environment
  • Policy and Procedure
  • Resources and Availability

เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อาจจะมองข้าม

มีการนำเสนอเรื่อง How to increase and accountability

ถ้ามี Setting ต้องมีการกำหนดความคาดหวัง ทำอย่างไรให้สมาชิกในทีมทำงานอย่างมีความสุข

มี Job Role Expectation ต้องมาหารือกันทุกคณะว่าคืออะไร นี่คือสิ่งที่มหาวิทยาลัยมีอยู่แล้ว

มี Performance Expectation ซึ่ง Performance คือสมรรถนะที่คนในทีมต้องได้ ก็ต้องทำให้สมาชิกในทีมเห็นภาพ

มี Team Expectation เมื่อเข้ามาแล้วต้องมี Interaction กับหน่วยงานอะไรบ้าง

สุดท้ายเป็น Organization Expectation ตรงนี้ถือเป็น Right Expectation

ในส่วน Planning and Control มี Focused goal setting ตรงนี้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารหรือทีมที่จะต้องหารือกันว่า เป้าหมายที่จะตั้งมีอะไร ใช้หลัก SMART

S=Specific

M=Measurable

A=Achievable

R=Relevant

T=Timely

มหาวิทยาลัยทักษิณใช้หลักนี้ทำโครงการเป็นประจำ

ในขั้นที่ 1 Set goal ประกอบด้วย

Focus on meeting

Focus on planning and prioritization

ขั้นที่ 2 Focused responsibility คือมาดูเพื่อกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ

ขั้นที่ 3 Focused Execution

ขั้นที่ 4 Focused Decision

ขั้นที่ 5 Focused Follow-up ตัว Follow-up ต้องมีความต่อเนื่อง ถ้าทำแล้วทิ้ง ก็จะไม่เกิดประโยชน์

สุดท้ายเป็น Best Practice Performance Review ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน

  • Setting the scene
  • Starting the dialogue
  • Providing feedback
  • Building agreement
  • Training and development plan
  • Writing a performance plan
  • Record meeting and follow-up

การนำระบบไปใช้ในมหาวิทยาลัยทักษิณให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลรวมถึงความสุขในการทำงาน

Recruitment System ทำอย่างไรให้ทีมมีศักยภาพตรงตามที่งานต้องการ เมื่อลงทุนแล้ว ผลที่ได้คือความคุ้มค่าคือค่านิยมเหล่านี้ แล้วเข้าสู่ระบบ Planning, Communication, Coaching, Training, Mentoring, Building Inspiration มี Enforcement คือการเปลี่ยนแปลง ควรให้ Reward กับคนเก่าแก่ทำงานเป็นระยะเวลานาน มีการเลื่อนขั้น เรื่องการให้ Feedback สำคัญที่สุด ตรงนี้ประมวลความรู้เดิมของคนในกลุ่มและความรู้จากหนังสือเป็น Team Model for TSU

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

จาก 3 บทนี้ เน้น Get developed team

ควรใช้สถานการณ์สมมติเพื่อดูความสามารถในการแก้ปัญหา (Behavioral-based Interview) ทำให้เห็น competence ครบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือผสม Mindset กับ HR

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เป็นการนำ 4 Mindsets มาใช้พัฒนาทีม

เป็นวิธีทำทุกวัน ไม่เคยดึงมาทบทวนว่าที่ทำไปว่ามาจากหลักการอะไร

มาเชื่อมโยงกันให้เกิดมูลค่า

ต้องมี Growth

Mindset ที่เน้นประสิทธิภาพ

ต่อมาเป็น Best Practice


วิชาที่ 19

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศและการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เมื่อมองในภาพขององค์กร มักถามตนเองว่า ทำไมยังคงความเป็นองค์กรได้

ต้องมีปรัชญาองค์กรเป็นพื้นฐาน จากตรงนี้นำมาสร้างเป็นวัฒนธรรมการทำงานคือจิตวิญญาณ

ปัญหาคือคนในองค์กรไม่เข้าใจค่านิยมหลักขององค์กร บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามผู้บริหาร

รองอธิการฯ สายพิณ

วัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยทักษิณ อยู่แบบพี่น้อง

มหาวิทยาลัยทักษิณ เพิ่งเริ่มสร้าง core value เมื่อปี 2557

มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ core value มาจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรจากแต่ละหน่วยงาน ทางมหาวิทยาลัยก็มาประชุมเลือก keyword ที่ซ้ำๆกัน แล้วกำหนดพฤติกรรมสะท้อน core value และให้แต่ละหน่วยงานไปบ่มเพาะ ให้นำไปเป็นการประเมินคุณภาพบุคลากรด้วย

ทางมหาวิทยาลัยได้สื่อสาร core value ไปแล้ว แต่แต่ละท่านไม่เปิดใจ จึงเข้าไปไม่ถึง ระดับคณะและส่วนงานก็ต้องมีการสื่อสารด้วย

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สะท้อนให้เห็นว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนด core value ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

Value ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่คนในองค์กรต้องพัฒนาให้มี เพราะสะท้อนแบรนด์ของมหาวิทยาลัย

Core Competency ต้องดูว่ามีความสามารถหลักอะไรบ้าง ในความสามารถเหล่านั้น ถ้าต้องการโดดเด่น คนขององค์กรต้องมี Core Competency อะไรบ้าง

Core Value เป็นพฤติกรรม

Core Competency ต้องมี Skill และ Knowledge

หลายองค์กรกลับมาดูว่า แม้ประเมิน Core Competency ใน PMS ไม่ได้ผล จึงมีแนวโน้มว่า รัฐวิสาหกิจนำ Core Value มาประเมินแทนเพราะเป็นพฤติกรรม จึงต้องมีการแจกแจง

เวลาทำ Core Value แล้วสื่อสารออกไป ทำไมยังไปไม่ถึงคนระดับล่างหรือคนไม่เข้าใจ

Mindset ต่างกันทำให้การสื่อสารเข้าใจไม่ตรงกัน

การนำค่านิยมไปสู่การปฏิบัติ

  • ค่านิยมนั้นหมายความว่าอย่างไร เช่น ความเร็วและแม่นยำหมายความว่าอย่างไรในบริบทองค์กร
  • ทำไมค่านิยมนั้นจึงสำคัญต่อองค์กร เช่น เป็นค่านิยมที่มีทุกคณะ แสดงว่ามีความถี่มาก ต้องตอบคำถามให้ได้ ตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจองค์กรหรือไม่
  • คิดว่าพฤติกรรมเชิงบวกที่พึงประสงค์เป็นอย่างไร พฤติกรรมลบแบบใดที่ถือเป็นอุปสรรค เช่น ค่านิยม ความเร็วและแม่นยำ ต้องทำไปทดสอบกับระดับล่าง พนักงานก็มองว่าผู้บริหารมีความคาดหวังสูงเกินไป บางค่านิยมขัดแย้งกันเองแต่มีความลงตัว

Workshop

ค่านิยมมหาวิทยาลัยทักษิณ ประกอบด้วย คารวะ สามัคคี ปัญญา มุ่งผลลัพธ์ที่ดี มีความคุ้มค่า นำพาสังคม (นำเสนอตามลำดับค่านิยม คารวะ)ให้วิเคราะห์การนำค่านิยมไปสู่การปฏิบัติดังนี้

กลุ่ม 1 นำพาสังคม (Social Responsibility)

กลุ่ม 2 สามัคคี (Unity)

กลุ่ม 3 คารวะ

กลุ่ม 4 ปัญญา และ มุ่งผลลัพธ์ที่ดี (Outcome-oriented)

กลุ่ม 5 มีความคุ้มค่า (Worthiness)

กลุ่ม 3

ค่านิยม

คารวะ

คืออะไร

การให้ความเคารพและให้เกียรติผู้อื่น เคารพกฎ สถานที่ ปฏิบัติต่อผู้อื่ถูกต้องและเป็นธรรม

ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร

เพื่อให้สมาชิกทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

พฤติกรรมเชิงบวก

1.ทุกคนยอมรับความคิดเห็น

2.ให้เกียรติ

3.ยอมรับกติกาองค์กรและสังคม

4.นำพาสมาชิกไปสู่ความสามัคคี

พฤติกรรมเชิงลบ

1.คล้อยตามผู้อื่นง่าย ไม่มีจุดยืน

2.ไม่กล้าคิดต่าง เพราะเกรงว่าจะขาดคารวะ

3.ติด Comfort Zone กลัวถูกประณามว่าเป็นคนไม่ดี

ความขัดแย้งที่ลงตัว

ทุกคนต้องยอมรับความคิดเห็นแตกต่าง ต้องวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ แล้วนำความคิดเห็นไปสร้างประโยชน์สูงสุด

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ชอบเพราะเป็น Paradox เด็กรุ่นใหม่คารวะแต่กล้าคิดกล้าพูด อย่าคิดว่าเถียงแสดงความไม่คารวะ

กลุ่ม 4

คารวะเป็นการสวัสดีแบบไทย สวัสดีคนที่ไม่ชอบได้ถือว่าสุดยอด การคารวะยังคงไว้ซึ่งความเป็นไทย ผู้นำก็ต้องเคารพคนที่ไม่ต้องการเคารพเพราะเป็นวัฒนธรรมไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ใช้คำนี้บ่อยใน Intangible Assets

ต้องเคารพจุดยืนผู้น้อย ให้เกียรติผู้มีตำแหน่งต่ำกว่า Respect คือ Dignity ไม่ใช่นอบน้อม แนวโน้มนี้มาแรงในโลก

Respect ถ้าแปลออกมาเป็นคารวะ Performance อาจจะไม่ดี ต้อง Empower เพราะความเป็นเลิศของคนไม่ได้มาจากตำแหน่ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เคยหารายได้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีละหลายร้อยล้าน คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี บอกว่า ถ้าให้ดร.จีระทำงาน ก็ไม่ต้องไปสั่ง แต่ปล่อยให้ทำได้โดยเต็มที่

ควรใช้ Respect มากกว่า

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เครื่องมือที่ดร.ศิริลักษณ์ทำให้กลุ่ม 3 แบ่งประเภทคารวะเป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่นการปฏิบัติที่ถูกต้องและเป็นธรรม มีความหมายยิ่งกว่า การให้เกียรติ ถ้ามีความหมาย 2 แบบนี้จะทำให้คารวะก้าวสู่ไปอีกระดับหนึ่ง

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

คำว่า คล้อยตามผู้อื่นง่าย ควรจะอธิบายให้ชัดเจน

ควรมีวิธีการนำเสนอความคิดแบบไม่ก้าวร้าว อย่าตัดสินทั้งที่ฟังไม่จบ

กลุ่ม 2

ค่านิยม

สามัคคี Unity

คืออะไร

พลัง (Strength) ความร่วมมือร่วมใจปฏิบัติภารกิจด้วยความพร้อมเพรียง

ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร

เพื่อขับเคลื่อนองค์กรและสู้อุปสรรค

พฤติกรรมเชิงบวก

ร่วมแรงร่วมใจ

มองเป้ารวม

พฤติกรรมเชิงลบ

อำนาจนิยม

ความเห็นต่าง

ความขัดแย้ง

ความสามัคคีเป็นเรื่องยาก ถ้ามีบนความแตกต่าง ก้ศร้างองค์กรได้

รศ.ดร.วิชัย ชำนิ อธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ

คารวะที่จริงคือ คารวธรรม เคารพให้เกียรติผู้อื่น ปัญหาเวลาสื่อสารตกคำว่า ธรรม

ตรงกับที่ดร.จีระเสนอแนะ

ปัญญาคือ ปัญญาธรรม ทำอะไรโดยใช้หลักการและเหตุผล คิดและตัดสินใจโดยใช้เหตุผลของส่วนรวม

สามัคคีธรรมคือคุณธรรมแบบหนึ่ง

ทั้งสามประการเป็นเสาหลักสังคมประชาธิปไตยเริ่มต้นด้วยการเคารพสิทธิ์ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

กลุ่ม 4

ค่านิยม

ปัญญา

คืออะไร

ใช้สติและปัญญาในการดำเนินชีวิตให้เกิดความเจริญต่อองค์กรและตนเอง

ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร

คิดอย่างเป็นหลักการและเหตุผลนำไปสู่การผลิตบัณฑิตมีคุณภาพ

องค์กรแห่งปัญญา

พฤติกรรมเชิงบวก

คิดค้นอย่างมีหลักการและมีเหตุผล

พฤติกรรมเชิงลบ

อคติ

ใช้ปัญญาในทางที่ผิด

ความขัดแย้ง

ไม่มี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หัวข้อนี้ทั้งไทยและอังกฤษดี บ่งบอก 3V’s ถ้ามีปัญญาทั้งลูกศิษย์และอาจารย์ Performance ก็จะขึ้น มี Value Added

ขอเสนอให้เพิ่มมูลค่าเพิ่ม เน้น Value Diversity+Value Creation ควรมี Creativity and Innovation

วิธีเรียนควรเน้นการปะทะกันทางปัญญา คล้าย Learning Organization ต้องกำหนดบทบาทอาจารย์ ให้ชัด คือเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต รับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

ต้องทำให้คนคิดเป็นวิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเป็น มองอนาคตออก

ปัญญาอยู่ใน 8K’s สำคัญพอๆกับจริยธรรม คนมีปัญญาอาจคิดไม่เป็นก็ได้ ถ้าทำวิจัยตอนราคายางพาราตกต่ำ ก็จะเป็นประโยชน์มากในการแก้ปัญหา

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ปัญหาคือเรากำหนดด้วยภาษาไทย

คารวะมาจากเคารพ ครูมาจาก Guru อาจารย์มาจากอัจฉริยะ ต้องทำตัวเป็นอัจฉริยะให้คนคิดต่อได้ ไม่ต้องไปสอน ปัญหาคือครูไม่เรียนรู้จากลูกศิษย์ ควรจะเรียนรู้ของใหม่ตลอดเวลา

ปัญหาคือนำแต่ละภาษามาตีกัน ต้องมองกลับไปที่ราก แล้วจะได้ความรู้เพิ่ม

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ปัญญาคือการสร้างพัฒนาคนในองค์กร คนในองค์กรต้องเกิดการเรียนรู้ จะเกิดองค์ความรู้เกิดองค์กรเรียนรู้ในอนาคต ปัญหาคนไปมองแค่มีสติและปัญญาแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร

กลุ่ม 4

ค่านิยม

มุ่งผลลัพธ์ที่ดี Outcome-oriented

คืออะไร

ปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นที่ผลสัมฤทธิ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร

สะท้อนความสำเร็จของมหาวิทยาลัย

พฤติกรรมเชิงบวก

มุ่งมั่น ทุ่มเททำงาน

ความคิดสร้างสรรค์

พฤติกรรมเชิงลบ

มุ่งทำงานเสร็จแต่ไม่มีคุณภาพ

ความขัดแย้ง

ประสานความต่างเพื่อผลลัพธ์องค์กร

กลุ่ม 5

ค่านิยม

มีความคุ้มค่า Worthiness

คืออะไร

แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง Back to basics เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ทำงานแบบมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อส่วนรวมภายใต้การใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม

ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร

ลดค่าใช้จ่าย ลดภาวะโลกร้อน

ทรัพยากรที่เหลือสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้

สามารถสร้างความยั่งยืน

เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

พฤติกรรมเชิงบวก

การปฏิบัติงานมุ่งผลลัพธ์ ใช้เวลาทรัพยากรน้อยกว่ากำหนด ก่อเกิดผลต่อสังคมและองค์กรได้

พฤติกรรมเชิงลบ

ความฟุ่มเฟือย

ไม่มีผลสำเร็จ

ขาดการตรวจสอบ

High profile, low profit

ความขัดแย้งที่ลงตัว

มีความยุ่งยากแต่เกิดผลที่ดีได้ ใช้ต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ลดกระบวนการขั้นตอน

ธรรมาภิบาล ทำในสิ่งที่ถูกต้องลดทรัพยากรรั่วไหล

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

วัตถุประสงค์กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทบทวนความเข้าใจให้ตรงกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

แต่ละคนยังสับสนค่านิยม

มหาวิทยาลัยทักษิณรับใช้สังคมโดยทำตามค่านิยมหลัก ควรกลับไปทบทวนแต่ละข้อ ทั้งสามธรรมคือ คารวธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรมเป็นรากฐานนำไปสู่ข้อหลังๆ

ค่านิยมไปสอดคล้อง 3 เสาประชาคมอาเซียน

ครั้งนี้นำเป็นรากฐานการสร้างองค์กร

กลุ่ม 1

ค่านิยม

นำพาสังคม Social Responsibility

คืออะไร

เป็นแหล่งปัญญารับใช้สังคม

ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร

หลักสูตรสร้างปัญญาให้สังคม

พฤติกรรมเชิงบวก

นำภูมิปัญญาแก้ปัญหาสังคม

นำท้องถิ่นมาเป็นพันธมิตร

เป็นแหล่งชี้นำสังคม

สร้างความภาคภูมิใจภูมิปัญญาท้องถิ่น

บัณฑิตมีจิตสาธารณะ

พฤติกรรมเชิงลบ

มุ่งเน้นสร้างรายได้เชิงธุรกิจ

การวิจัยมุ่ง Impact Factor มุ่งตำแหน่งวิชาการ ไม่รับใช้สังคม

ความขัดแย้ง

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

พฤติกรรมเชิงบวกเป็นกิจกรรม ขอให้นำตัวเองไปมีส่วนร่วม


วิชาที่ 20

Personality - Social Skills Development and Table Manners

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

วามรู้ด้าน Personality - Social Skills Development and Table Manners เป็นความรู้ที่ติดตัวไปตลอดและทำให้มีภาพลักษณ์เป็นมืออาชีพ

คนจะตัดสินผู้อื่นจากบุคลิกภาพภายนอก 55% จากเสียง 38% จากคำพูด 7%

บุคลิกภาพเป็นเรื่องที่ฝึกได้ เช่น การแต่งตัว พูดจาดี มาด อารมณ์ดีและรู้จักกาลเทศะ

ผู้บริหารควรแต่งกายให้เหมาะสมกับหน้าที่การงาน ขอให้คิดถึงตอนที่สมัครงานที่ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้รับการตอบรับเข้าทำงาน ผู้บริหารต้องดูแลตัวเองให้ดีเพื่อให้ลูกน้องภูมิใจ

ผู้หญิงมีมาดเวลาใส่รองเท้าส้นสูง แต่ต้องอยู่ในระดับที่เดินสบาย ผู้ชายมีมาดเวลาใส่สูท แต่ต้องเหมาะสมกับสภาพอากาศ

ควรทำตัวให้อารมณ์ดี ตามีประกาย เป็นการดึงดูดคนเข้ามาพูดด้วย

ควรพูดจาดีสุภาพ

กาลเทศะเป็นเรื่องสำคัญ

การแต่งกายของนักบริหารยุคใหม่ ต้องเปลี่ยนให้ทันสมัยแต่เหมาะสำหรับหน้าที่การงาน

การเลือกสีเครื่องแต่งกายสำคัญ คนผิวคล้ำควรใส่สีสว่าง คนอ้วนไม่จำเป็นต้องใส่สีคล้ำเสมอไป อาจจะใช้สีตัดให้เห็นทรวดทรงองค์เอวบ้าง

นักการธนาคารใส่สูทน้ำเงินจะน่าเชื่อถือ

สูทดำบางครั้งทำให้ดูเหมือนพนักงานเสิร์ฟ

เสื้อที่ใส่ภายในสูทจะทำให้ดูสมาร์ทขึ้น เสื้อควรมีขนาดพอดีตัว

ความยาวของกางเกงควรให้ยาวพอดีขา อย่าสั้นเกินไป

ควรใช้รองเท้าหัวแหลม จะทำให้เท้าดูเรียว และดูสูงขึ้น

การผูกเนคไท ความยาวของเนคไทต้องอยู่ครึ่งหัวเข็มขัด ขนาดเนคไทควรเหมาะสมกับขนาดหน้า หน้าใหญ่ไม่ควรใช้ขนาดเล็ก สีเนคไทควรเลือกให้สามารถใส่ได้นานๆ

รองเท้าต้องมีสีเดียวกับเข็มขัด

คนรูปร่างดี สะโพกไม่ใหญ่สามาถใส่กระโปรงทรงตรงได้

ไม่ควรใส่เสื้อแขนกุดมาทำงาน

เวลาใส่ชุดผ้าไหม ต้องใส่รองเท้าคัชชู

ผู้หญิงสามารถใส่กางเกงสแลคได้

คนมีสะโพกใหญ่ไม่ควรใส่กระโปรงทรงเอลาย

กระโปรงพลิ้วซ่อนขาใหญ่ได้ เวลาเดินจะทำให้คนมองขามากกว่ามองความอ้วน

ผู้บริหารหญิงควรใช้เครื่องประดับผมเป็นสีดำ สีกระ เพชร พลอย ไม่ใช้การ์ตูน พลาสติก

ผู้บริหารควรใส่รองเท้าคัชชู สีดำ หรือน้ำตาล เวลาใส่กางเกงขาวไม่ควรใส่รองเท้าดำ แต่ควรจะใส่สีขาวหรือเหลือง

ผู้หญิงที่จะใส่รองเท้าเปิดหัวไม่ควรใส่ถุงน่อง

เข็มขัดไม่ควรมีลวดลายมาก

ควรพกปากกาที่เป็นปลอกเงิน ปลอกทองเพื่อเสริมบุคลิก

เวลายืน ผู้หญิงควรยืนขาเหลื่อมแบบเข็มนาฬิกา 10.00 น. จะทำให้ขาเรียวขึ้นแล้วยืนได้นานกว่า

เวลาเข้าไปนั่งเก้าอี้ ควรใช้มือขวาจับพนักเก้าอี้เดินเข้าทางขวา

ผู้หญิงควรนั่งครึ่งเก้าอี้ เข่าชิดตั้งฉากกับพื้น ขาเหลื่อมซ้อนกัน ผู้ชายสามารถนั่งได้เต็มเก้าอี้ เข่าแยกได้ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เวลานั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ ไม่ควรนั่งกอดอก

ในการแนะนำคน ให้เกียรติใคร ควรเรียกชื่อคนนั้นก่อน บอกข้อมูลแต่ละคนสั้นๆ ควรใช้คำว่าสวัสดี แสดงถึงความปลอดภัย เจริญรุ่งเรือง หลังจากได้รับการแนะนำ คนที่ได้รับการแนะนำก็ควรจะใช้ข้อมูลที่ได้รับมาคุยกัน ระยะห่างระหว่างบุคคล ควรจะประมาณ 1 ช่วงแขน ถ้าใกล้กว่านั้นจะทำให้รู้สึกอึดอัด แต่ถ้าไกลไป จะทำให้รู้สึกเหินห่าง

เวลาเดินตามผู้ใหญ่ ให้เดินตามด้านซ้าย ไม่ไกลและไม่ใกล้จนเกินไป

ในการแนะนำผู้ใหญ่ เช่น แนะนำเจ้านายกับลูกค้ารายใหญ่ ควรสวัสดีลูกค้าก่อน ตามด้วยแนะนำตัวเอง และเรียนลูกค้าว่า ขออนุญาตแนะนำเจ้านาย แล้วเรียนเจ้านายว่า ขออนุญาตแนะนำเจ้านายให้ลูกค้ารู้จัก ไม่ควรเรียกชื่อเล่นตัวเอง ควรใช้ผม/ดิฉันเป็นสรรพนาม เรียก คนอื่นว่า คุณ หรือ ท่าน

ในการไหว้ พนมมือไว้กลางอก ไม่ต้องสูงเกินไป มืออยู่กับที่ แต่ก้มหัวมองเท้า กล่าวว่า สวัสดีครับ/ค่ะ ผู้หญิงไม่ต้องย่อเข่า การรับไหว้ ต้องยิ้มรับด้วย ถ้าถือของ ไม่ต้องยกมือไหว้มือเดียว แค่พยักหน้า กล่าวว่า สวัสดีครับ/ค่ะ ในทางธุรกิจ ถือตามตำแหน่ง ไหว้คนตำแหน่งสูงก่อน โดยทั่วไป ไหว้ตามอาวุโส

ในการมอบนามบัตร ควรหันไปด้านผู้รับอ่านสะดวก ในการยื่นและรับนามบัตร ผู้ชายควรรับนามบัตรก่อน เมื่อแต่ละฝ่ายได้รับนามบัตร ก็อ่านชื่อ อ่านข้อมูลในนามบัตรเป็นการแสดงความสนใจและเพิ่มเสน่ห์

ท่วงท่าที่ไม่ควรใช้

ไหล่ห่อ แก้ไข โดยหายใจเข้า ดึงไหล่ไปข้างหลัง

เวลายืน ก็ควรเก็บพุง

ควรยืน เดิน นั่ง หลังตรงตลอด

ตำแหน่งการนั่ง

เวลานั่งที่โซฟา โซฟายาวเป็นที่นั่งของแขก เก้าอี้ติดประตูที่เดินเข้าเป็นที่นั่งของเจ้าของบ้านนั่งเพื่อความสะดวกในการไปหยิบของ คนที่สนิทกับเจ้าของบ้านนั่งโซฟา ใกล้กับเจ้าของบ้าน

หลักการนั่ง ต้องเน้นให้เกียรติ ความปลอดภัย (ห้ามผู้อาวุโสและผู้หญิงนั่งใกล้ประตู) อัธยาศัยไมตรี สะดวกสบาย เป็นระเบียบเรียบร้อย

กรณีที่มีผู้ใหญ่มานั่งด้วย ก็นั่งไปก่อน พอท่านมา ก็รีบลุกแล้วถอยให้ท่านนั่งก่อน แล้วเปลี่ยนไปนั่งเก้าอื่น แขกเมืองนั่งขวามือของเจ้าภาพเสมอ

แขกวีไอพีต้องนั่งขวามือของเจ้าภาพเลี้ยงอาหารเสมอ ถ้ามีแขกวีไอพีอีกท่านหนึ่งก็จะนั่งด้านซ้ายของเจ้าภาพ

การนำเสนองาน

ลูกค้าอยู่ฝั่งประตู ฝ่ายนำเสนอ นั่งด้านใน ห้ามหันหลังให้ประตู ผู้บริหาร (ฝ่ายลูกค้านั่งหัวโต๊ะ)

การนั่งรถเก๋ง

ถ้ามีคนขับรถ ผู้ใหญ่ตำแหน่งสูงสุด นั่งขวาหลัง ผู้ใหญ่ตำแหน่งสูงเป็นที่สอง นั่งซ้ายหลัง ผู้ใหญ่ตำแหน่งน้อยสุดลงมานั่งหลังกลาง เพราะเป็นที่ไม่สบาย เจ้าหน้าที่ติดตามหรือองครักษ์นั่งเบาะหน้าคู่กับคนขับ

ถ้าออกงานกับภรรยา สามีนั่งหลังคนขับ ภรรยานั่งด้านขวาหลัง

ในการขึ้นรถเก๋ง ผู้หญิงควรเอาก้นเข้าไปนั่งก่อนแล้วเหวี่ยงขา 2 ข้างขึ้นไปพร้อมกัน ในการลงรถเก๋ง ผู้หญิงควรนำขา 2 ข้างลงมายืนพร้อมกัน

การนั่งรถตู้

ผู้ใหญ่นั่งแถวสอง ตรงกลางเพราะจะได้เห็นชัด การขึ้นรถ ผู้อาวุโสน้อยสุดขึ้นก่อน โดยไปนั่งแถวหลัง การลงรถ ผู้ใหญ่ลงก่อน

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

1.อย่าพูดเวลาที่มีอาหารในปาก

2.พับครึ่งผ้ากันเปื้อนเป็นสามเหลี่ยมแล้ววางบนตัก

3.หุบปากเวลาเคี้ยวอาหาร

หยิบขนมปังที่อยู่ซ้ายมือ ใช้มือบิขนมปังแต่พอคำ วางขนมปังส่วนที่ใหญ่ไว้ ใช้มีดตัดทาเนย

การใช้ช้อนส้อม ต้องใช้จากที่วางไว้ด้านนอกเข้าสู่ด้านใน จับเป็นคู่ๆ คนถนัดซ้าย เปลี่ยนแค่มือจับ ไม่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งช้อนส้อม ใช้ด้านหลังส้อมตักข้าว

เวลาถือแก้ว ใช้แค่ 3 นิ้วจับก้านแก้ว

ช้อนกาแฟใช้คนอย่างเดียวเท่านั้น

ไม่ควรขอเครื่องปรุงเพิ่มเติม

เวลารับประทาน สปาเก็ตตี้ ควรใช้ส้อมเกี่ยวแค่ 3 เส้นหมุนส้อมเพื่อม้วนเส้น อย่าตัดเส้น

เวลารับประทานผลไม้ ควรขอส้อมกับมีดตัดในกรณีที่เป็นชิ้นใหญ่

เวลารับประทานอาหารเสร็จ ควรวางจานไว้ด้านขวามือ เพื่อที่บริกรจะได้ถอนจานสะดวก

ห้ามแคะฟันหลังอาหาร แต่ควรไปทำในห้องน้ำ

ครูต้องเป็นต้นแบบแต่งกายดีและบุคลิกดี เวลาเห็นนักศึกษาที่แต่งตัวไม่ถูกระเบียบจะได้ตักเตือนได้เหมาะสม

สรุปการบรรยายวันที่ 18 มีนาคม 2559

Group Assignment & Presentation

Lesson learned – Share and Care: บทเรียนจากบทเรียนจากหนังสือ The Four Mindsets

กลุ่ม 2

ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) มีความสำคัญมาก สร้างแรงบันดาลใจ ความเชื่อมั่น ยอมรับนับถือ

ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ตรงไปตรงมา ดูแลเอาใจใส่ อยู่กับความเป็นจริง จริงใจ มีปฏิภาณไหวพริบ คิดบวก ช่วยเหลือคนอื่นด้วยความปรารถนาดี ถือเป็น EQ ของผู้นำ

ผู้นำต้องเข้าใจทีม ควบคุมอารมณ์ให้ได้ ต้องมีอารมณ์ขันบ้าง ต้องพยายามทำให้เป็นธรรมชาติ มีความรับผิดชอบ หาสิ่งสนับสนุนช่วยทีม คิดบวก นำทีมไปสู่ความสำเร็จเร็วที่สุด ต้องหยุดเพื่อทบทวน

ผู้บริหารต้องมีความอดทนค่อนข้างสูง ควบคุมสติโดยหายใจลึกๆ แล้วจะเกิดปัญญา รู้จักรักษาสุขภาพ บุคลิกภาพดี

คนเรามี 2 มือ ข้างหนึ่งช่วยเหลือตนเอง อีกข้างช่วยเพื่อนด้วยความจริงใจ

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset)

ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) คือเมื่อรับรู้ปรากฏการณ์ นำไปประมวลแล้วแสดงออกอย่างถูกต้อง

ต้องตระหนักรู้ซึ่งอารมณ์ของตนเอง ถ้าโกรธ ก็ต้องผ่อนคลาย วิจัยระบุว่าเป็นทักษะสำคัญของการเป็นผู้นำ

การบริหารความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset)

ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) เป็นพื้นฐานของคน จากงานวิจัย ผู้นำประสบความสำเร็จมาจากปัญญา 7% จากอารมณ์ 93%

บุคคลโดดเด่นต้องควบคุมตนเองให้มีสติได้ และสามารถฟื้นตัวเองจากสภาวะเลวร้าย

การทำให้มี self-control

  • เข้าใจความเป็นธรรมชาติของโลก
  • ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้
  • คิดว่าในโลกมีความเป็นเจ้าของสิ่งนั้น ต้องลดอัตตา
  • เตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

การทำให้ฟื้นสู่สภาวะปกติ

  • เข้าใจธรรมชาติ
  • คิดว่าทุกอย่างต้องมีความหวัง ล้มแล้วลุก
  • มีการควบคุม บังคับตนเองได้ มีเป้าหมายชีวิต
  • มีความสมดุลในชีวิต มีเวลาทำงานแล้วพักผ่อน กินอาหารให้สุขภาพดี
  • อยู่ในที่ที่เหมาะสม
  • เข้าใจความทุกข์และสุข
  • มีเพื่อนร่วมงานี่ดีและให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน

การทำให้เกิดความไว้วางใจ

งานวิจัย Goffee and Jones ผู้นำต้องมีความรู้พอเพียงแล้วนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

ในการสร้างความเชื่อถือและยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน

  • รู้จักกัน จากการทำกิจกรรมร่วมกัน
  • เข้าใจกันมากขึ้น
  • ไว้วางใจ เชื่อใจกัน

วิธีสร้างความไว้วางใจ

ต้องมีความโปร่งใส ซื่อสัตย์ นำไปสู่การยอมรับ ทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย นำไปสู่ความไว้วางใจในที่สุด

ก่อนที่แต่ละคนเป็นผู้นำ ความเป็นผู้นำอาจมาจากความสำเร็จตน แต่ควรให้โอกาสนั้นแก่คนอื่นในสังคม

ผู้นำควรแบ่งปันความรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ช่วงนี้ ทุนทางอารมณ์เป็นพื้นฐาน

ในการทำงานของดร.จีระ มีพื้นฐานที่คิดไว้ ตอนที่คิดไม่ได้อิงผลงานวิจัยใดแต่มาจากประสบการณ์ ออกมาเป็นทฤษฎี 8K’s และ 5K’s

พื้นฐานแรกคือจริยธรรมและตามด้วยปัญญา

ตอนหลังได้เน้นทุนทางอารมณ์ เพราะเคยล้มเหลวในการควบคุมอารมณ์เมื่อตอนอายุน้อย

การโต้ตอบควรเน้นให้อีกฝ่ายได้คิดไม่ใช่โกรธ

ทุนแห่งความสุขไม่ใช่ Happy workplace แต่เป็น Happy at work

Happy at work ต้องมีสุขภาพดี มี passion, purpose และ meaning

ต้องสนุกกับการทำงาน

กลุ่มนี้วิเคราะห์ได้ดีมาก

กลุ่ม 4

The Growth Mindset ความเชื่อที่มีผลต่อการพัฒนาของคน

ต้องมีความเชื่อมั่นก่อน แล้วสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ทีมก็สำคัญ

Sales Confidence ต้องมีความเชื่อ ประสบการณ์ ความรู้ลูกค้า ความรู้เกี่ยวกับคู่แข่ง กระบวนการ สร้างผลิตภัณฑ์

ต้องตระหนักว่าแต่ละคนมองไม่เหมือนกัน

ตระหนักว่าแต่ละคนมีบทบาทต่างกัน มีความคิดของตัวเอง

สร้างความเชื่อมั่นผ่านการพัฒนา product (ลูกศิษย์)

ตระหนัก แม่นในกระบวนการ มีความเชื่อมั่น

ต้องเข้าใจคนต่างรุ่น และปรับตัวเรียนรู้จากกัน

เรียนรู้ให้สนุก ต้องสนใจ social media ด้วย

คนแตกต่างกัน จึงต้องสื่อสารให้เข้าใจด้วยวิธีต่างกัน

ตรงประเด็น

บรรยากาศเป็นกันเอง

ต้องมีการอภิปราย

มองภาพรวม

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ก่อนที่จะระเบิดอารมณ์ ต้องคิดว่าคน หรือพฤติกรรมแบบใดทำให้เราหงุดหงิดได้ แล้วจะไม่หลงเข้าไปในอารมณ์ของเขา

ความฉลาดทางอารมณ์ยังรวมถึงคำพูด (Emotional Language) บางคำพูดเรียบๆแต่ทำให้รู้สึกรุนแรงได้

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

หนังสือนี้เขียนมาให้คิด เป็นการติดตามผู้เจริญ คนไทยจึงเป็นคนไทยครึ่งและฝรั่งครึ่ง

รู้ คือ Know เข้าใจ คือ Understand เข้าใจลึกคือ Perception เปิดใจคุยกัน คนไทยมักมีอะไรปิดบังเสมอ

Mindset คือกมลสันดาน

เปลี่ยน Mindset ไม่ได้ แต่ปรับให้เข้าไปสู่ Mindset ส่วนรวมได้

EQ ขึ้นกับ Human Quotient ความเป็นมนุษย์มากกว่า

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ชื่นชม 2 กลุ่ม

Leaders teach leaders. ต้องกลับไปสร้างผู้นำต่อ

ผู้นำต้องสร้างคนให้คนในองค์กรเก่งอย่างไร

ควรเขียนหนังสือเล่มใหม่ ทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นสถานที่ทำงานแล้วมีความสุขอย่างไร แล้ว performance ออกมา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าแต่ละคนมีศักยภาพแต่ละอย่าง แต่ตกเรื่องการบริหารความฉลาดทางอารมณ์ ก็ต้องฝึก เพราะคนมองผู้นำด้วยความเชื่อมั่น ถ้าไม่สามารถควบคุมได้ ก็อยู่ต่อไม่ได้

บางทีต้องใช้อารมณ์เพื่อทำงานให้สำเร็จ จึงเรียกเป็น Emotional Intelligence

วิชาที่ 22

หลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ และการปรับใช้กับการทำงานในอนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

หลังจากจบปริญญาเอกรัฐศาสตร์การทูต ในหลวงทรงมีรับสั่งให้ไปทำงานที่สภาพัฒน์

ในปี 2512 เวียดนาม ลาว กัมพูชาแตก คอมมิวนิสต์เข้า ทุกหน่วยวางแผนเตรียมพร้อมเผชิญสงคราม

เคยใช้เวลา 11 ปีพัฒนาความมั่นคง เปลี่ยนทัศนคติความเชื่อคนเรื่องคอมมิวนิสต์

ทำงาน 364 แห่งเหนือจรดใต้

ปีที่ 12 เสร็จศึก ประเทศไทยพ้นภาวะสงคราม

ปี 2524 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นแม่ทัพ (ยศตอนนั้นคือพลโท) เป็นช่วงที่ดร.สุเมธเริ่มถวายงานในหลวง

แต่ละครั้งที่ได้รับตำแหน่ง ต้องศึกษาภารกิจนั้นก่อนทำงาน

ปี 2524 เป็นเลขาธิการกปร. รับใช้ในหลวง ปัญหาคือคนไทยรู้จักในหลวงอย่างผิวเผิน เน้นกรอบและรูปภายนอกไม่ค่อยลงสาระ

ดร.สุเมธศึกษาเรื่องในหลวง คนไทยกราบในหลวงเหมือนพระพุทธรูปแต่ไม่เคยสนใจคำสอน

คนไทยไปรอรับเสด็จ แต่ไม่เคยพิจารณาเหตุผลที่พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ

ในหลวงสอนตลอดแต่คนไทยไม่ค่อยปฏิบัติตาม

มหาวิทยาลัยต่างๆไม่เคยหยิบยกพระองค์ท่านมาศึกษา แต่ไปสนใจเรื่องสากล ซึ่งก็อาจจะไม่เข้าใจอย่างแม้จริง คือหลงทำสิ่งที่ต่างประเทศทำ ในความเป็นจริงคือความเป็นสากลคือต้องทันโลก รู้เท่าทัน ต้องแข่งขันได้ บางอย่างต้องร่วมมือกันทำเป็น cluster มหาวิทยาลัยควรศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ปัญหาคือร่วมมือแบบใครดีใครอยู่ ถ้าเป็นผู้ตาม ก็ตามตลอด

ในการรู้เท่าทันโลก ต้องรู้ตนเองด้วย

ซุนวูสอนให้รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

ควรเป็นสากลบนภูมิปัญญาไทย เวลาญี่ปุ่นเป็นสากล ก็ยังมีความเป็นญี่ปุ่น ปัญหาคือคิดแบบเศรษฐกิจตะวันตกแล้วไทยพินาศไป

ในหลวงทรงเรียนรู้ตลอด จากการที่ถวายงานในหลวง 36 ปีได้เรียนรู้โดยตรง ในหลวงมองไทยในฐานะประเทศไทย ถ้ามองตัวเองไม่ถูกก็สู้กับประเทศอื่นไม่ได้

พระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

ได้เริ่มพิจารณาคำสอนในหลวงตั้งแต่ปี 2524 เป็นประโยคที่สะท้อนความจริง

ในหลวงท่านมองพระองค์เองว่าทรงไม่มีอำนาจใดทั้งสิ้น จากพระปฐมบรมราชโองการ ใช้คำว่า ครอง ไม่ใช่ปกครอง ไม่มีแนวคิดอำนาจอยู่ แต่ตั้งอยู่บนฐานความรัก ความเมตตาและความรับผิดชอบ

ดังนั้นอาจารย์ควรปฏิบัติหน้าที่บนฐานความรัก ความเมตตาและความรับผิดชอบ

ในหลวงทรงประกาศ Good Governance ก่อนซีกโลกตะวันตก 50 ปี แต่ Good Governance (ธรรมาภิบาล) เกิดหลังวิกฤติเศรษฐกิจ

ธรรมะเป็นการทำความดีที่ถูกต้อง เป็นคำที่สูงมาก ในหลวงทรงงานถูกต้องและมีการตรวจสอบตลอดเวลา

ตอนที่ดร.สุเมธอยู่ที่สภาพัฒน์ ก็มีเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ในหลวงทรงเน้น เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ใช้แนวคิด Happiness ก่อนซีกโลกตะวันตก 50 ปี ซึ่งเรียกกว่า Gross National Happiness สิ่งสำคัญคือใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์ ย่อมเกิดความสุขแน่นอน

จุดแรกคือต้องปฏิบัติดี

ธรรมะของในหลวงกำหนดโดยทศพิธราชธรรม แต่ไม่มีใครอธิบายได้ครบถ้วน จึงไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้

ดร.สุเมธได้สนทนาธรรมกับท่านว.วชิรเมธีบ่อยและก็ได้แบ่งเป็นทศพิธราชธรรมหมวดดังนี้

  • หลักการครองตน

มีมาตรฐานทางจริยธรรมสูงด้วย ศีล (ทุกศาสนามีศีลเพราะเป็นหลักสากล เพราะการฆ่าคนเป็นบาปในทุกศาสนา)

มีความเห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวด้วย ปริจจาคะ (ไม่ควรกอบโกยสมบัติแผ่นดินให้เป็นของส่วนตัวมากที่สุด เพราะจะทำให้ประเทศอยู่ไม่ได้ ควรบริจาคคนละหน่อยเพื่อให้ส่วนรวมได้ประโยชน์)

มีความไม่ลุ่มหลงมัวเมาในโลกิยารมณ์ด้วย ตบะ (กิเลสตัณหาเป็นส่วนสัญชาตญาณ ไม่มีใครสละกิเลสได้ทั้งหมด ความรวยทำให้ต้องนอนโรงพยาบาล เพราะกินของที่มันและไม่ดีต่อสุขภาพแต่มีราคาแพง อย่าปล่อยให้กิเลสเป็นนาย ต้องควบคุมให้อยู่ด้วยความพอดี พอเพียง)

มีความอดทนอดกลั้นต่อสารพัดปัญหาด้วย ขันติ (ทุกคนต้องประสบความทุกข์ ก็ต้องรู้จักวางเฉยต่อสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี เพราะจะได้ไม่ทุกข์เมื่อประสบภาวะความไม่มี ควรคิดบวก)

  • หลักการครองคน
    • มีความเมตตาเป็นเรือนใจเป็นแก่ผู้ให้แก่ประชาชนด้วย ทาน (ไม่หวังประโยชน์ตอบแทน)
    • มีความสุภาพอ่อนน้อม ไม่ถือตัว เข้าถึงง่ายด้วย มัททวะ (เป็นการลดช่องว่าง ในหลวงท่าทรงไปประทับนั่งพื้นมีพระราชดำรัสกับประชาชนที่มารอรับเสด็จ เป็นการแสดงถึงความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน คนจากประเทศอื่นๆก็มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้เพราะทรงเปิดกว้าง)
  • หลักการครองงาน
    • มีความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใสด้วย อาชชวะ
    • ไม่ลุแก่อำนาจตัดสินความด้วยเหตุด้วยผลด้วย อักโกธะ
    • ไม่ข่มเหง ไม่คุกคาม ไม่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชนด้วยอหิงสา
    • บริหารราชการแผ่นดินด้วยความยุติธรรม (นิติธรรม) และดำเนินตามระเบียบแบบแผนอันดีงามของบ้านเมือง (เนติธรรม) ไม่ให้วิปลาสคลาดเคลื่อนด้วย อวิโรธนะ (ถ้าทำข้อนี้ได้ข้อเดียวเท่ากับทำตามทศพิศราชธรรมได้ทั้ง 10 ข้อ)

ถ้าทำได้ 10 ข้อเป็นคนดีแน่นอน ท่านพุทธทาสกล่าวว่า คนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง ถ้าเป็นคนดี แต่โง่ ก็ย่อมเป็นอันตรายน้อยต่อส่วนรวม

หลักการทรงงาน ได้จากการประมวลของดร.สุเมธ 16 ข้อและศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย 4 ข้อมีดังนี้

1. ทำงานอย่างผู้รู้จริง ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ในหลวงทรงนั่งพับเพียบทำงานที่พื้นเพราะวางแผนที่สะดวก ห้องทรงงานในหลวงจะมีแต่ของที่มีประโยชน์ที่ต้องใช้จริงในการทำงานเท่านั้น

2. อดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะ ความถูกต้อง

3. อ่อนน้อม ถ่อมตน

4. ซื่อสัตย์

5. ตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร

6. รับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง

7. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก

8. เน้นความต้องการของประชาชน ระเบิดจากข้างใน (จากการไปต่างประเทศ วันหยุดคนมาเที่ยวที่มหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นก็ต้องทำมหาวิทยาลัยให้สะอาด ต้องมีศูนย์บริการข้อมูลแก่ประชาชน ให้นักเรียนทำระบบไอทีให้ประชาชนมาสืบค้นข้อมูล ปัญหาคือมหาวิทยาลัยมักนำตนเองเป็นโจทย์ไม่ดูความต้องการของประชาชน เช่นทำถนน ชาวบ้านไม่ได้ใช้เพราะไม่มีรถ คนในเมืองได้ใช้ถนนออกไปชุมชนไปตักตวงทรัพยากร ควรจะระเบิดจากข้างใน อย่านำการพัฒนาไปใส่ชาวบ้านโดยไม่ตรงตามความต้องการชาวบ้าน)

9.พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง

10. การมีส่วนร่วมประชาพิจารณ์ (ในหลวงทรงถามประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบจากโครงการพระราชดำริ มีการชี้แจง)

11. ทำตามลำดับขั้น แก้ปัญหาที่จุดเล็ก (คิด Macro ทำ Micro มีภาพรวมก่อน แล้วค่อยเริ่มที่จุดเล็ก)

12. บริการที่จุดเดียว (ยังไม่มี One-stop service สำหรับเกษตรกร ทำให้คนเข้ามาในเมืองเพราะบริการอยู่ในเมือง บางทีศูนย์บริการก็กระจายตัวกันไป ควรสร้างเป็นเครือข่ายที่มีบริการครบวงจร มีการทำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตแสดงถึงการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายของหลายหน่วยงาน ทำให้ใช้งบประมาณน้อยลงเพราะใช้งบร่วมกัน)

13. เน้นธรรมชาติและภูมิสังคม (แต่ละท้องถิ่นมีลักษณะไม่เหมือนกัน ในการพัฒนาต้องให้สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่)

14. ยึดหลักรู้ รัก สามัคคี (อย่าเก่งคนเดียว ต้องทำงานเป็นเครือข่าย)

15. เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา (ต้องทั้งเข้าใจคนท้องถิ่นและทำให้คนท้องถิ่นเข้าใจการทำงานของแต่ละหน่วยงานด้วย เข้าถึงคือเข้าถึงคนในท้องถิ่นผ่านกิจกรรมต่างๆและเข้าไปช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา มีการพัฒนาแบบยั่งยืน ชุมชนมีส่วนร่วม)

16. ไม่ติดตำรา ทำให้ง่าย Simplicity

17. ทำงานแบบองค์รวม (ในหลวงทรงแก้ปัญหาเรื่องน้ำก่อน เป็นการสร้างความชื้น แล้วป่าจึงกลับมา)

18. ขาดทุนคือกำไร (ยอดขาดทุนเพื่อสร้างประโยชน์ต่อไป)

19. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด

20. เศรษฐกิจพอเพียง (ทำให้พอดี ความไม่พอดีทำให้เกิดวิกฤติ บางทีของแพง ก็พินาศ ของถูก ก็พินาศ เหมือน Sub-prime)

ตอนนี้ทรัพยากรธรรมชาติหายไป 30% คนใช้ทรัพยากรจะเพิ่มไปเป็น 9 พันล้านคน ช่วงที่ทรัพยากรสมดุลกับคนเป็นปี 2518 แต่ทุกวันนี้ ปริมาณคนมีมากกว่าทรัพยากร 1.5 เท่า ประเทศเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรม ก็คล้ายเป็นการอุตส่าห์หากรรม มีฐานเป็นเกษตรแต่ไปแปรเป็นอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการเงิน จึงไปกู้ ซื้อเครื่องจักรต่างประเทศ เป็นการนำของคนอื่นมาใช้ โลกตอนนี้ต้องอาหารและเกษตร แต่เกษตรรวยช้า คนไทยอยากรวยเร็วจึงเสี่ยง ในหลวงจึงสอนให้พอประมาณ มีเหตุมีผล ไม่เสี่ยง

ในอนาคตจะมีสงครามแย่งน้ำ คนคุมอาหารเท่ากับกุมอำนาจของโลก แต่ไทยคลายอำนาจนี้ไปแล้ว ต้องใช้เหตุผลและความรู้ในการบริหารจัดการ สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากร แต่มีทุนมนุษย์ที่เป็นพ่อค้า สร้างเป็นศูนย์การค้าของโลก ไทยขายไม่เป็นต้องให้สิงคโปร์ยกสินค้าข้ามแม่น้ำไปขายที่ลาวให้

ในการอยู่ในโลกต้องรู้รอบเกี่ยวกับโลก แปรรูปจากข้าวกระสอบเป็น rice flake มีราคามากขึ้น ข้าว

มีสารกาบา กินข้าววันละถ้วยแล้วอารมณ์ดี ไทยควรพัฒนาเรื่องอาหารให้ดีจะได้ไปสู่ระดับโลก คนไทยนำข้าวหอมมะลิมาทำเป็นแป้งทาหน้า (โอรีซี่) ปัญหาคือคนญี่ปุ่นนำไปทำแพ็คเกจขาในการทำกิจกรรมอะไร ต้องซื่อสัตย์สุจริต แล้วนำสู่ความสมดุล มั่นคงและยั่งยืน

วิชาที่ 23

การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

ขั้นแรกที่สุดต้องดูว่ามหาวิทยาลัยทักษิณคืออะไร สิ่งแรกที่บอกได้คือพันธกิจซึ่งเป็นเหตุผลของการเกิด เหตุผลที่มหาวิทยาลัยทักษิณยังคงอยู่และไม่เปลี่ยนไปคืออะไร นี่คือตัวที่ทำให้ต้องตอบคำถามนี้ถ้าคิดไปในอนาคต

มหาวิทยาลัยมีหลายหน้าที่ เช่นหน้าที่ความเป็นเลิศทางวิชาการ หน้าที่เพิ่มโอกาสการศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่องสร้างคนสำหรับตลาดงาน เรื่องของการสร้างผู้นำและอนาคต

ในเรื่องเอกลักษณ์และเสรีภาพของสถาบัน มหาวิทยาลัยมีเสรีภาพมากเพียงใด ในความเป็นจริง มหาวิทยาลัยมีเสรีภาพตามสมควร ถ้ารู้ว่ามหาวิทยาลัยทักษิณเป็นใคร มีพันธกิจอะไร อีกอย่างหนึ่งคือต้องรู้สิ่งแวดล้อม

ปัญหาของมหาวิทยาลัยทั้งหลายคือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้แก่

1.การระเบิดขององค์ความรู้ แล้วความรู้ก็เป็นสิ่งมีชีวิต

2.ความรู้อย่างที่คิดไว้เดิม ที่เคยสอนนักเรียนไปใช้การไม่ได้แล้ว เพราะมีเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนความรู้ มีสังคมความรู้ ที่เขียนไว้ในหนังสือสังคมความรู้รุ่น 2

3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสาร สารสนเทศที่มาเปลี่ยนทุกอย่างทำให้การศึกษาเปลี่ยน เป็นระบบเปิดและระบบที่เปลี่ยนต่อไป

4. การเปลี่ยนแปลงในยุคคลื่นลูกที่ 4 คือการแข่งขันกันในกลไกการตลาดซึ่งมากระทบมหาวิทยาลัย กลไกการตลาดทำให้ราคาของความรู้และเทคโนโลยีขึ้นไปมาก ก็มีบทบาทของทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามา

5. กระบวนการที่ทำให้เกิดโลกาภิวัตน์ ทำให้เขตแดนเปลี่ยน เกิดการแข่งขันกันข้ามชาติ ในประเทศไทย เวลาที่นักศึกษาเรียนจบไปแล้ว ความคิดของนักศึกษารู้แค่เรื่องของประเทศไทย แต่พอมีอาเซียนเข้ามา ก็มีปัญหา

6.การเปลี่ยนแปลงของประชากร ประชากรนักเรียนจะเปลี่ยน ถ้ามองว่านักเรียนเป็นคนที่เรียนอยู่ จบชั้นมัธยมศึกษาแล้วเข้ามาเรียน จะไม่จริง แล้วจะมีการเรียนที่ต่อไปตลอดชีวิต หลายๆแห่งจะมีคนที่อายุมากขึ้นแล้วไปเรียนต่อ เกิด Life-long Education ขึ้นมา

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดการปรับกระบวนการในการเรียนการสอนรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเรียนที่จะมีบทบาท

คนที่สิงคโปร์วิเคราะห์กันเรื่องนี้ว่า บัณฑิตที่จบอย่างเดิมของมหาวิทยาลัยแล้วออกไปทำงาน งานเหล่านั้นจะเลิกหมดเลย เพราะมีการนำ Automation มาใช้แทน คนที่ทำงานต่อไปคือคนที่ถอยลงไปใช้มือ งานอาชีวะที่ใช้มือยังมีความจำเป็นอยู่ แต่ที่ขาดมากคือคนระดับสูงขึ้นไปอีกที่มีปัญญา การศึกษาไทยตอนนี้ไม่สร้างปัญญาให้เด็ก เมื่อเป็นอย่างนี้ สภาพของโลกที่เปลี่ยนไปทำให้ความคาดหวังเปลี่ยนไป ไม่ใช่คาดว่าจะรับปริญญาอย่างเก่า แต่ต้องการคน มหาวิทยาลัยอาจตามไม่ทันถ้าผลิตคนอย่างเก่า เมื่อก่อนนี้คนลืมไปว่าอุดมศึกษามีบทบาทต่อการศึกษาทั้งหมดทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาหรืออนุบาล อุดมศึกษาต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง UNESCO ในการประชุม World Conference on High Education ก็ยกตรงนี้ขึ้นมาเป็นเรื่องใหญ่ว่าถูกละเลยและลืมไปหมดเลย อันที่จริงแล้วมีบทบาทเพิ่มขึ้นมาก แต่ประเทศไทยยังไม่ยกขึ้นมา ในทางวิทยาศาสตร์ เคยมาที่นี่ 3-4 ปีที่แล้วมาเปิดโอลิมปิกวิชาการ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ลงไปช่วยชั้นมัธยมศึกษาที่จะทำให้การสอนวิทยาศาสตร์ดีขึ้น ทำให้เห็นบทบาทชัดเจน ไม่ใช่มองว่าการศึกษาพื้นฐานไม่ดี แต่ประเทศไทยมักดูถูกเรื่องการฝึกหัดครู ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบมาจากอุดมศึกษา ถ้าอุดมศึกษาไม่เปลี่ยน ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาของอุดมศึกษาทั้งหมด สุดท้ายที่เข้ามาคือเรื่องของการบริหารจัดการสมัยใหม่ ปัญหาคืออาจารย์แต่ละคนเป็นนักวิชาการแต่ถูกอุปโลกน์ให้ออกมาเป็นผู้บริหาร เพราะฉะนั้นอาจารย์ก็ต้องได้รับการพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการมากขึ้น

งานวิจัยได้ศึกษาว่า ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เข้ามาตั้งแต่สร้างโลกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เพราะว่าใน20 ปีที่แล้ว ความรู้เพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่การศึกษาเพิ่งมาทำเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว จะเพิ่มขึ้นแบบ Exponential เพราะฉะนั้น ใน 5 ปีครึ่ง ก็จะเพิ่มอีกเท่าตัว และนี่ก็ 5 ปีมาแล้วด้วยซ้ำ ความรู้บางสาขาก็มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี บางสาขาก็เปลี่ยนทุก 2-3 ปี

เวลาไปหาหมอเพื่อรักษา ถ้าหมอคนนั้นจบเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ก็แปลว่ามีองค์ความรู้เหลืออยู่ครึ่งเดียว ยังไม่ได้ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นใน 5 ปีนั้น หมอมีความรู้ใหม่เกิดขึ้นโดยมาจากคนขายยา เห็นได้ชัดว่าการศึกษาต้องเปลี่ยนสภาพ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางนวัตกรรม ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลาเขียนไว้ในหนังสือ สังคมความรู้ยุคที่ 2 ก็ต้องผ่านยุคที่ 1 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เมื่อก่อนคนคิดว่า ความรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มันเติม เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆบนความรู้เก่า แต่ในปัจจุบันนี้ความรู้เปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต เกิดขึ้น ใช้งานแล้วดับ ความรู้ที่ดับแล้วก็เหมือนกับไม่มีความรู้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลาเคยไปเยี่ยมลูกศิษย์ที่ต่างประเทศและได้ถามว่าความรู้ที่เรียนมาจากเมืองไทยเป็นอย่างไร ลูกศิษย์ที่ต่างประเทศก็ตอบว่า เมื่อไปถึงต่างประเทศ อาจารย์ที่ต่างประเทศบอกว่า ความรู้ที่เรียนมาจากเมืองไทยเลิกใช้ไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เหตุผลคืออาจารย์ไทยสอนโดยใช้แผ่นใสประกอบการบรรยายซึ่งไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหามา 10 ปี ความรู้เปลี่ยนไปทั้งหมด ความรู้ที่ปรากฏอยู่ที่นักเรียนได้กลับไป กลายเป็นของที่เลิกใช้แล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้ทำให้เกิดปัญหา คุณสมบัติที่จำเป็นของบัณฑิตก็ต้องเปลี่ยน และต้องเปลี่ยนกระบวนการการเรียนรู้ ความรู้ส่วนหนึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วอยู่ในโลก ในปัจจุบันนี้ ความรู้เข้าออกเร็ว กลายเป็นมวลความรู้ในโลก เมื่อก่อน ในการทำวิทยานิพนธ์ ใช้เวลาเป็นเดือนการค้นหาข้อมูล ปัจจุบันนี้ใช้เวลาคืนเดียวในการค้นหาข้อมูลเพราะมีอินเตอร์เน็ต ความรู้เปลี่ยนเป็นมวลความรู้ อีกส่วนหนึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจากการกระทำ ส่วนนี้มหาวิทยาลัยสอนด้วย Lecture ทวนด้วยทฤษฎี แล้วเวลาไปปฏิบัติก็ให้นักศึกษาไปตายดาบหน้าเอง ความรู้แบบ Tacit ซ่อนอยู่ เป็นความรู้ที่เกิดจากการกระทำแล้วฝังลึกอยู่ในตัวคน เพราะฉะนั้นส่วนนี้เป็นความรู้ที่ต้องมีด้วย ความรู้เหล่านี้มหาวิทยาลัยไทยยังปรับไปไม่ถึง วิธีการวัดคุณสมบัติหนึ่งของมหาวิทยาลัยก็คือยังใช้ Lecture เดิมมากเท่าไร แล้วสำรอกคืนกับครู ถ้าคืนได้ดี ก็ได้เกียรตินิยมไป นี่คือสภาพที่แล้วมา แต่สภาพนั้นใช้ไม่ได้แล้ว ความรู้อีกส่วนหนึ่งคือความรู้เฉพาะกรณี ความรู้เฉพาะบุคคล ความรู้เฉพาะชุมชน ความรู้เฉพาะประเทศ ประเทศไทยใช้ความรู้ที่นำมาจากตะวันตก ประเทศไทยไม่ค่อยมีความรู้จากประเทศไทยมากเท่าไร สมัยก่อนนี้ ความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยมาจากการบันทึกของชาวตะวันตก

ความรู้ในสหวิทยาการไม่ใช่ความรู้ตรงจากทฤษฎี แต่ต้องนำองค์ประกอบอื่นเข้ามา เช่น สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะเป็นคำตอบ โดยรวมทั้งหมดเป็นความรู้โดยรวม ความรู้ยุคที่ 2

ยุคที่ 1 เป็นยุคที่มีความรู้ที่พิสูจน์แล้ว ถือเป็นความรู้ในอดีต ซึ่งก็ทำอย่างนั้นมาตลอด แต่มหาวิทยาลัยในปัจจุบันและอนาคตใช้แค่ความรู้ยุคที่ 1 ไม่พอแล้ว ทำอย่างไรจะเกิดความรู้ยุคที่ 2 เพราะเป็นความรู้ที่จำเป็นต่อการเป็นบัณฑิตที่ดี

ความรู้ในศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบต่างๆที่ทำให้เปลี่ยนแปลงไป

1.การหาความรู้เพิ่มสำคัญกว่าการสะสม หลักสูตรของมหาวิทยาลัยเป็นการสะสมความรู้ทั้งนั้นแต่ยังไปหาความรู้เองเพิ่มไม่เป็น

2.สภาพความเป็นอกาลิโกของความรู้หายไป อกาลิโกคือความรู้ที่ไม่ตาย จะใช้ได้ตลอดไป ถ้าเป็นสัจธรรม อาจจะเป็นอย่างนั้น แต่ความรู้ที่ต้องพิสูจน์ไม่ว่าจะเป็นทางสังคม มนุษยศาสตร์จะไม่เป็นอกาลิโก

3.คุณภาพของความรู้มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ยิ่งมี ICT เข้ามา สิ่งที่มาด้วยก็มีทั้งของจริงและของปลอม ทำอย่างไรจึงจะแยกของจริงและของปลอมออกจากกันได้ ก็กลายเป็นสมรรถนะใหม่ของเด็ก

4.สภาพความเป็นผู้รู้ถดถอยลง ที่แล้วมา อาจารย์ทั้งหลายทำตัวเป็นผู้รู้ แต่อาจารย์ตอนนี้ก็ต้องบอกว่าตนเองไม่รู้ อาจารย์จะยอมรับว่าตนเองไม่รู้เป็นเรื่องยากมาก นี่คือปัญหา

5.ความเป็นสาขาวิชาจำเพาะลดขอบเขตและความชัดเจน สหวิทยาการมีความสำคัญเพิ่มขึ้น ความรอบรู้สำคัญ

6.คุณธรรมและผลิตภาพเข้ามามีบทบาทในความรู้

7.ปัจจุบันนี้ ความรู้ไม่เป็นองค์ กลายเป็นปฏิสัมพันธ์

ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องปรับตัว

จากมุมมองสมอง มี Cognitive Science ออกมา คนมีความรู้ในวิทยาศาสตร์ ศิลปะ แล้วเด็กเข้าถึงLecture ได้มาก จดแล้วก็ต้องจำ ส่วนนี้มีปัญญา ศาสนาพุทธเรียกว่า สุตมยปัญญา คือการได้ยิน ได้ฟัง เพราะฉะนั้น เด็กก็มีปัญญา แต่ขั้นต่อไปนี้ เด็กจะต้องพินิจพิจารณาความรู้เหล่านั้นได้ รู้เหตุของมัน ความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล ก็เป็นจินตามยปัญญา คือ โยนิโสมนสิการ ศาสนาพุทธรู้ไว้ตั้งแต่แรกแล้ว ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ แต่การศึกษาของมหาวิทยาลัยหยุดอยู่แค่นี้ อันที่จริงแล้ว มีอีกขั้นหนึ่งซึ่งศาสนาพุทธเรียกว่า ภาวนามยปัญญา คือการพิจารณาสิ่งต่างๆให้ถ่องแท้ด้วยตนเอง แต่นักเรียนไม่มีช่องทางนี้ในการพิจารณาความรู้ให้ถ่องแท้ เพราะยึดหลักความรู้ไว้เข้าไปมาก และความรู้เหล่านั้นถือเป็นพระเจ้า นักศึกษาเวลาเรียนวิชาหนึ่งก็ใส่ความรู้เข้าไปมากมายเพื่อสอบ เมื่อสอบเสร็จ ก็จะเก็บหนังสือไว้ เกิดปรากฏการณ์ Intentional Forgetting ถ้าไม่ตั้งใจลืม ก็จะเรียนต่อไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะเรียนเพื่อลืมตลอด เด็กจึงไม่มีโอกาสพิจารณาความรู้ ในการศึกษา จะพบ Reflection คือมีการพินิจพิจารณาด้วยตนเอง ต้องทำอย่างนี้จึงจะเกิดปัญญาหรือความคิด

กลุ่ม 2

ความคิดวิเคราะห์ไปเกี่ยวข้องสุนทรียภาพ หลักสูตรบูรณาการต้องสร้างกระบวนการระดับสูงต่อไปน่าจะตอบสนองการสร้างความรู้สมัยศตวรรษที่ 21 การที่ภาครัฐไปทำหลักสูตรร่วมต่างชาติตอบโจทย์ได้ไหม

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

ในผลิตต้องคำนึงถึงสุนทรียภาพ เพราะมีเรื่องละเอียดอ่อนอยู่ ในทุกเรื่องมีช่องทางทำได้และต้องกล้าทำ

ในด้านความสามารถการแข่งขัน สิงคโปร์และมาเลเซียแซงไทยไปไกลมาก อุดมศึกษาต้องแก้ปัญหานี้

โลกในอนาคตจะประกอบด้วยความสลับซับซ้อน มีความหลากหลายมากขึ้น มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ความสามารถในการเปลี่ยนสำคัญ จะมีการแข่งขันเข้ามามากขึ้น จะมีทุนนิยมลักษณะใหม่เข้ามา ความคาดหวังนักเรียน ครอบครัว นายจ้าง รัฐบาล สังคม รัฐบาล สถาบันก็เปลี่ยนไป นำไปสู่ความหนักเชิงนโยบายของสถาบัน

แม็คคินสัน มองว่า ตลาดอุดมศึกษาเป็นตลาดไม่สมบูรณ์ ขึ้นกับสถานะและชื่อเสียงของสถาบันนั้น เก็บเงินนักศึกษา นำมาพัฒนาให้มหาวิทยาลัยดีขึ้นแล้วดึงดูดนักศึกษาเข้ามาอีก หรือคัดนักศึกษาดีมาสอนให้เก่ง ทำให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงดึงดูดนักศึกษาและเงินเข้ามาแสดงความเป็น Stardom เป็นดาราขึ้น

มีแบรนด์เกิดขึ้น ทำให้แข่งขันกันได้ยากขึ้น ถ้าเกิดเป็น Stardom คือกินรวบ ระบบการศึกษาไทยประสบกลไกตลาดนี้อยู่ ตอนนี้ประสบปัญหาการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย

Prof. Lee Yoon Wu กล่าวว่า คนด้อยกว่าจะชนะได้ต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็ง รู้จักสถานการณ์การแข่งขัน และกล้าทำ กล้าเสี่ยง มหาวิทยาลัยต้องรู้ตัวเอง

ดิจิตอลทำให้มีวิธีการเรียนต่างๆมากมาย มีการเรียนจากประสบการณ์ มีแหล่งความรู้ใหม่เกิดขึ้น มีหลักสูตรเปิดสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยกล้าทำแบบนี้หรือไม่ Virtual Campus University กำลังเข้ามา

ตอนนี้เป็นสหวิทยาการมาเกี่ยวข้องกัน ในอนาคต ต้องมี Product ใหม่เกิดขึ้น หลักสูตรต้องทำให้นักเรียนมีแนวทางเดินไปสู่เป้าหมาย

ในระยะที่มีการปฏิรูปการศึกษา ก็มีผู้จัดการ นำผู้บริหารนำมาทำเป็นผู้จัดการ แต่ทำอย่างนี้ทำให้อาจารย์ลดความคิดสร้างสรรค์และความรักสถาบัน

เว็บ NUS มีการบรรยายของอธิการบดีทุกปี ทำให้มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ก้าวกระโดดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ปัจจัยหนึ่งคือ Transformation บริหารการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ เรียนอย่างไรให้บัณฑิตมีความพร้อมในอนาคต ออกมาเป็น NUS Quality แล้วทำเป็น Signature ของคนที่เรียนจบจากสิงคโปร์ เปลี่ยนไปเน้นความคิดสร้างสรรค์และการวิจัย นำมหาวิทยาลัยไปทำธุรกิจ เปิดให้นักเรียนและอาจารย์ไปตั้งบริษัทเพื่อนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติ มหาวิทยาลัยสิงคโปร์จ้างเยลมาทำเรื่อง Signature Quality สิงคโปร์ไปเปิด Campus m Silicon Valley นำความคิดไปขายที่นั่น ตอนนี้มหาวิทยาลัยสิงคโปร์จะไปเปิดที่จีน

ประเทศไทยมีโอกาสแต่ไม่มีความกล้าที่จะทำแบบสิงคโปร์

ขณะนี้ มหาวิทยาลัยไทยมีภาควิชา ปัญหาคือกำแพงระหว่างคณะ คำตอบคือต้องประสานแนวราบ ต้องบริหาร Talents ให้ดี

ในเรื่องการบริหารเงิน ต้องปรับปรุง

Zogby Analytics สำรวจนักศึกษาทั่วโลก ทำให้ทราบความต้องการที่มีต่อมหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยไทยไม่เคยคิดถึงนักศึกษา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในวงการมหาวิทยาลัยมีผู้ใหญ่มีประสบการณ์ แสวงหาความคิดใหม่ กระตุ้นให้คิดกัน

อาจารย์จรัส deep dive แสวงหา trend ต่างๆ แล้วรู้เหตุผลประกอบ ส่วนอาจารย์ไกรฤทธิ์จะมีอีกมุมมองหนึ่ง

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

เมื่อกล่าวถึงตลาด มหาวิทยาลัยต้องตอบสนองตลาด หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ลูกค้า) ได้แก่

  • รัฐบาล มีบทบาทสนับสนุนมหาวิทยาลัย ตอนหลังสนับสนุนน้อยลงทุกที ปล่อยให้เป็นอิสระ ทำให้ต้องหารายได้เพิ่มจากกลุ่มอื่น จากการที่อาจารย์ไกรฤทธิ์เป็นกรรมการสภาหลายแห่ง ทำให้ทราบวิธีหารายได้นอกงบรัฐของหลายมหาวิทยาลัย การมีสังคมหรือเครือข่ายภายนอกจะทำให้มีรายได้เพิ่มแบบแนบเนียน
  • ชาวบ้าน มุมมองชาวบ้านที่มีต่อมหาวิทยาลัยสำคัญ
  • สื่อ ที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการคือ Social Media มีอิทธิพลมาก เช่น Facebook ทางมหาวิทยาลัยควรจะสร้างความเป็นดารา (Stardom) ให้มหาวิทยาลัย
  • NGOs คือคนเก่งที่ไม่มีเส้น เป็นคนรวมตัวกันติดมีหน้าที่สอดส่อง เป็นคนเป่านกหวีด สะท้อนภาพประชาคม มหาวิทยาลัยไม่ค่อยชอบ NGOs รัฐวิสาหกิจที่เป็น monopoly ก็มาตายเพราะ NGOs เพราะเป็นคนรวมชาวบ้าน
  • เงินนอกระบบ เป็นแหล่งเงินที่ทำให้มหาวิทยาลัยขยายได้
  • Peers มหาวิทยาลัยมีเพื่อน คนที่จะขึ้นไปมีตำแหน่งสูงที่ได้ตำแหน่งจะต้องมีการไปถามเพื่อนว่าคนเหล่านี้จะเป็นอย่างไรเมื่อขึ้นสู่ตำแหน่ง
  • คนภายในมหาวิทยาลัย

ปัญหาคือ มหาวิทยาลัยทักษิณไม่มีที่จอดรถผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้มีพระคุณ ไม่มีที่จอดรถศิษย์เก่า แต่

มหาวิทยาลัยในต่างประเทศมีที่จอดรถศิษย์เก่าซึ่งเป็นแหล่งรายได้ของมหาวิทยาลัย

ต้องใส่ใจทรัพยากร ก็รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โชคดีที่ได้มาฟัง ทั้งสองแนวยืนยันว่าหลักสูตรนี้จะจัดการอนาคตการเปลี่ยนแปลง การเรียนยุคใหม่ต้องค้นหาสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

กรณีศึกษาอาจารย์จรัสทำให้ทราบว่าสภาพแวดล้อมกดดัน อาจารย์ไกรฤทธิ์เสนอให้มองลูกค้าใหม่

ระหว่างที่อยู่ด้วยกันควรสร้างเครือข่ายไม่เป็นทางการข้ามคณะให้ดี

ควร Raise Fund เพิ่มจากเครือข่ายภายนอก และทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย ปัญหาของมหาวิทยาลัยทักษิณ คือ ศิษย์เก่าอยู่ในสาขาการศึกษาจึงหารายได้มาให้ได้ไม่มาก

ความสำเร็จเกิดจากการรวมพลัง มุ่งมั่น เอาชนะอุปสรรค อย่ารอผู้บริหารสั่งการเท่านั้น ต้องทำงานนอกกรอบ มีเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัย

ช่วงถามตอบ

  • ตอนที่ไปดูงานศิริราช มีการให้นักศึกษาสะท้อนปัญหาก่อน วิธีนี้ใช้ได้ทุกศาสตร์หรือไม่

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

การเป็นแพทย์ต้องพลาดไม่ได้ ต้องเรียนจากสถานการณ์จริง อาจารย์ต้องกำกับไม่ให้พลาด

ต้องสอนก่อน เมื่อมีความชำนาญจงให้ทำด้วยตนเอง กระบวนการศึกษาที่ดูเป้าหมาย

ตอนหลัง นำ Case study มาหารือ เป็น Problem-based เพราะทฤษฎีบางครั้งก็ใช้ไม่ได้ ฝรั่งใช้ case แล้วสรุปเป็นทฤษฎีได้ เป็นการสอนให้แปลงทฤษฎีไปเป็นปฏิบัติแล้วแปลงกลับกัน เกือบทุกวิชา Problem-based ได้ ต้องรู้ว่าปัญหานี้นำไปสู่ทฤษฎีอะไร

2. กรณี Reflection ได้นำมาใช้ในชั้นเรียน โดยให้เด็กดูวีดิโอคลิปแล้วเขียนสิ่งที่เห็น เด็กสมัยใหม่มองคุณค่าความรู้ต่างจากครูพยายามเขียนแนวทางการศึกษา แต่สนใจความเร็วเพราะเกิดในยุควัตถุนิยม เป้าหมายของมหาวิทยาลัย อนาคตจะเน้นผู้สูงอายุ แต่ตอนนี้ก็ยังมีเด็กมาเรียน แต่ตัวเด็กกับทิศทางการศึกษาชาติไม่ไปด้วยกัน ควรจัดการศึกษาอย่างไร

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

ถ้าทำ Reflection ดีๆอาจมีมุมที่นักเรียนถูก จะเกิดจากปัญญาของนักเรียน ครูก็ต้องมีหน้าที่ชี้แนะสิ่งที่ถูกต้อง ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดวิธีสอน วิธีเรียน เช่นให้นักเรียนถามครู จะทำให้ทราบวิธีคิดของนักเรียน

ปัญหาคือครูขาดความรู้ ก็ต้องรู้จักปรับตัว ตัวที่เปลี่ยนคือ Reflection การสอบโอลิมปิกวิชาการคำถามสั้น ต้องแสดงวิธีคิดตอบอธิบายยาว Reflection ถูกกำจัดโดยข้อสอบปรนัยที่ออกแบบมาเนื่องจากการมีจำนวนนักศึกษามาก

ตอนนี้ ควรสอนสมรรถนะการเรียนรู้ เช่นเรียนรู้ด้วยตนเอง Reflection ผู้บริหารต้องรู้จักปรับตัว เพราะสมัยนี้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็ว

3. ครูในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่เคยเรียนครูมานอกจากคณะศึกษาศาสตร์ ก็อาศัยดูครูที่ตนเองเรียนมาด้วย จะเกิดอะไรถ้าคนไม่เคยเรียนครูมาสอน

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

ปัญหาคือทำงานแบบมวยวัด ก็เป็นเรื่องที่ดี ต้องปรับตัวเอง ถ้ามีชั้นเชิง ก็ดีขึ้น การบริหารมีชั้นเชิง การทำ Workshop หรืออบรมทำให้ได้ไม่มาก ควรนำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นชุมชนที่มาหารือแก้ปัญหากัน

คนทุกคนสามารถเป็นครูในทุกวิชาชีพ เพราะต้องสื่อสารไปให้คนอื่น ถ้าการศึกษาไม่ใช่แค่ Lecture ได้ มหาวิทยาลัยมีอนุสาสนีปาฏิหาริย์สอนให้คนดีขึ้น นักเรียนที่จบออกไปดีกว่าแรกเข้ามามาก ถ้าทำได้สำเร็จก็ถือเป็นของดี การเป็นครูต้องเรียน การเป็นนักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ ชัดเจนและมีความสามารถในการสื่อสาร

สมเด็จพระญาณสังวรบอกว่า ครูเป็นบุพการีให้ก่อน โดยไม่หวังผลตอบแทน คืออยากให้ลูกศิษย์ดีเกินกว่าหน้าที่ครู นี่คือหัวใจความเป็นครู ถือเป็นวิชาครู

สิ่งสำคัญคือต้องสร้างความเป็นครูในใจตัวเอง ครูที่เป็นครูที่แท้จริงจะเกิดความสุขในใจ ปีติเกิดขึ้นจากลูกศิษย์ดีขึ้น

มหาวิทยาลัยทักษิณตั้งต้นในความเป็นครูซึ่งมีปนในทุกวิชา ทั่วโลกเน้น Teacher training มากขึ้น ครอบคลุมสุนทรียภาพและจริยศาสตร์ด้วย

ควรขออธิการบดีจัด Workshop การเป็นครู และปรับปรุงการศึกษา

4. การถามคำถามเพื่อจะเป็นครูมืออาชีพ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

ผู้บริหารต้องรู้หัวใจความเป็นครู แต่ระบบประเมินบั่นทอนกำลังใจครูดี ไม่ควรเอาผลประเมินเป็นเครื่องตักเตือน เรื่องครูเป็นศาสตร์เหนือศาสตร์ทั้งหลาย ควรสอนให้ประชาชนรู้มากขึ้น ไม่ว่าสอนอะไรก้มีวิชาครูมาเสมอ

5. ในโลกปัจจุบันมีความรู้มาก ก็หาทางอินเตอร์เน็ตได้ ปัญหาคือ นักศึกษาไม่อ่านหนังสือด้วยตนเอง เพราะเคยแต่กวดวิชาเข้ามหาวิทยาลัย จะทำอย่างไรให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง สนใจความรู้ ไม่มุ่งหวังเกรดมากเกินไป

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

ปัญหาคือครูทำให้นักเรียนไม่โต ต้องรู้ชั้นเชิง นักเรียนกลัวการสอบ ซึ่งยึดตาม Lecture จึงเข้าห้องเรียน ต้องปรับวิธีสอบ โดยเน้นการแก้ปัญหาจากของจริง ทำเป็นฐาน Station สอบแก้ปัญหา

ส่วนเรื่องกวดวิชา เป็นชั้นเชิงแบบหนึ่งเป็นการถ่ายทอดวิธีจำ บางทีต้องทบทวนว่าวิธี Lecture อาจจะยังไม่ดี บางครั้งครูไปดับความสามารถนักเรียน เช่น ให้นักเรียนทำแล็บ แล้วเขียนรายงานถ้าผลแล็บไม่ตรงกับตำรา ต้องวิเคราะห์ว่าการทำแล็บมีข้อผิดพลาดอะไร ไม่ให้เชื่อผลแล็บ

ปัญหาคือคนไทยลอกปัญญาซีกโลกตะวันตกมา ควรจะสนใจบริบทท้องถิ่น ให้นักเรียนหาข้อมูลมาแบบ Student as producer

6. ในฐานะที่อาจารย์จรัส เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อะไรเป็นจุดอ่อนของมหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

ความเฉื่อย (Inertia) และอยู่บนฐานการเก็บไว้ที่เดิม และกลัวการเปลี่ยนแปลง จะปรับความเฉื่อย (Inertia) ได้อย่างไรแล้วทำให้ดีขึ้นหรือไม่ ทำได้โดยเปลี่ยนแปลงทุกด้าน เป็นการปลุกคนให้ตื่นขึ้นและมีความหวังด้วย

มหาวิทยาลัยมักเห็นของเก่าเป็นปัญหา มหาวิทยาลัยทักษิณมีฐานเป็นฝึกหัดครูซึ่งเหมือนกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ต้องมองว่ามีฐานที่เป็นเลิศคือครูเป็นฐานทุกอย่าง อย่าดูถูกตัวเอง

คำว่าประเพณี เป็นของดีแต่สร้างความเฉื่อย (Inertia) มาก

มหาวิทยาลัยทักษิณยังมีโอกาสและมีศักยภาพมาก


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/603295

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 12-26 มีนาคม 2559

http://www.gotoknow.org/posts/604250

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 29 มีนาคม-12 เมษายน 2559

หมายเลขบันทึก: 603570เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2016 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2016 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สัปดาห์นี้ได้รู้จักคำศัพท์ทางพุทธมากมาย ทำให้เข้าใจการเชื่อมโยงคำศัพท์กับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน

ประสบการณ์ของคนทำงานหนักด้วยความเข้าใจ ทำให้เราสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก

ผูกโยงเรื่องราวกับสิ่งที่ควรเป็น เห็นถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้พอเหมาะกับสังคมดิจิตอล ยุคซึ่งข่าวสารข้อมูลทับถมตัว

สิ่งที่นำไปปรับใช้ได้ทันทีคือ การนำหลักการทรงงานของในหลวงมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในทุกวัน

คิดดี ทำดี อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง โดยยึดหลักของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว

เปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้าง เรียนรู้ตลอดเวลา และถ่ายทอดสิ่งที่มีคุณประโยชน์เหล่านี้ให้กับคนรอบข้าง

ขอบคุณสำหรับปฏิบัติการพัฒนาบุคลิกภาพ ที่ทำให้ได้เริ่มมองเห็นความสำคัญของบุคลิกภาพของตนเอง และจะนำความรู้มาปรับปรุงตัวเองให้มากที่สุด

สำหรับการพัฒนาตนเองนั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงตัวเองให้มากที่สุด คนเราต้องฝึกและพัฒนาตนเองเพื่อกาวทันต่อการพัฒนาในสิ่งต่างๆ ตลอดจนต่้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิตอล และหลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ และการปรับใช้กับการทำงานในอนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อขับเคลื่อนแและพัฒนาการบริหารงานท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน จำเป็นอย่างยิ่งก้าวข้ามผ่านปัญหาอุปสรรคนั้นและนำปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างนวัตรรมแห่งการพัฒนา

1. การได้เรียนรู้หลักการทรงงานของในหลวง ทำให้ได้แนวคิดในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเราต้องทำงานเต็มศักยภาพและทุ่มเทกับการทำงานอย่างรู้ลึก รู้จริง ในสิ่งที่ตนเองทำ ภาพการทำงานของในหลวงที่ทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อปวงประชาเป็นแบบอย่างที่ดีของคนทำงาน การปฎิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เราไม่เหน็ดเหนื่อยมากกับการวิ่งตามกระแสสังคม ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเท่าทันโลก เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย ต้องปรับตนเองให้เข้ากับยุคสมัย โดยไม่ทิ้งความเป็นไทย


2. การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำและการเรียนรู้มารยาทสากล ทำให้ผู้บริหารมีความมั่นใจในตนเอง และออกงานได้อย่างไม่เคอะเขิน มีหลักในการปฎิบัติตน ถือเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิคภาพและภาวะผู้นำที่ทันยุค ทันสมัย เมื่อเข้าสังคมก็รู้วิธีปฎิบัติตนต่อผู้อื่น และสามารถดูแลผู้อื่น / ผู้สนทนาได้ เป็นที่ชื่นชมของผู้พบเห็น ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของสถาบัน

หลักการทรงงานของในหลวง เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ประชาชน การคิดดี พูดดี ทำดี ต้องรู้จักครองตน มีความเห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวด้วย ปริจจาคะ (ไม่ควรกอบโกยสมบัติแผ่นดินให้เป็นของส่วนตัวมากที่สุด เพราะจะทำให้ประเทศอยู่ไม่ได้ ควรบริจาคคนละหน่อยเพื่อให้ส่วนรวมได้ประโยชน์) ไม่มีมีความไม่ลุ่มหลงมัวเมาในโลกิยารมณ์ด้วย ตบะ ต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อสารพัดปัญหาด้วย ขันติ (ทุกคนต้องประสบความทุกข์ ก็ต้องรู้จักวางเฉยต่อสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี เพราะจะได้ไม่ทุกข์เมื่อประสบภาวะความไม่มี ควรคิดบวก) ต้องรู้จักครองคน มีความเมตตาเป็นเรือนใจเป็นแก่ผู้ให้แก่ประชาชนด้วย ทาน (ไม่หวังประโยชน์ตอบแทน) มีความสุภาพอ่อนน้อม ไม่ถือตัว เข้าถึงง่ายด้วย มัททวะ (เป็นการลดช่องว่าง ในหลวงท่าทรงไปประทับนั่งพื้นมีพระราชดำรัสกับประชาชนที่มารอรับเสด็จ เป็นการแสดงถึงความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน คนจากประเทศอื่นๆก็มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้เพราะทรงเปิดกว้าง) และต้องรู้จักครองงาน มีความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใสด้วย อาชชวะ ไม่ลุแก่อำนาจตัดสินความด้วยเหตุด้วยผลด้วย อักโกธะ ไม่ข่มเหง ไม่คุกคาม ไม่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชนด้วยอหิงสา

ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ

Mindset

- การเป็นผู้นำที่ดีต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ อดทน อดกลั้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เกิดความเชื่อถือไว้วางใจ องค์กรมีความเชื่อมั่น ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

- ในหลวงสอนให้เราเรียนรู้ในการรู้จักตนเอง และสอนให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรักและความรับผิดชอบ

- รู้เขา รู้เรา การสำรวจตัวเอง/หน่วยงานว่าเป็นอย่างไร การสำรวจโลกปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ในหลวงสอนให้มีแนวคิดในการพัฒนาของเราควรเติบโตบนฐานของตัวเราเอง - มีความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

ข้อคิดเห็นจากการเรียนรู้ คือ

จากห้วงเวลาของการเป็นประชาชนไทย ทำให้เรียนรู้ว่า ในหลวงคือ ต้นแบบของประชาชนไทย
จากห้วงเวลาของการเป็นข้าราชการไทย ทำให้เรียนรู้ว่า ในหลวงคือ ต้นแบบของข้าราชการไทย
จากห้วงเวลาของการเป็นครู/อาจารย์ ทำให้เรียนรู้ว่า ในหลวงคือ ต้นแบบของครู/อาจารย์ของไทย
จากห้วงเวลาของการเป็นนักรัฐศาสตร์ ทำให้เรียนรู้ว่า ในหลวงคือ ต้นแบบของนักประชาธิปไตย

ดังจะเห็นได้จากส่วนหนึ่งของการบรรยายของ ดร.สุเมธ ที่ว่า ในหลวงท่านมองพระองค์เองว่าทรงไม่มีอำนาจใดทั้งสิ้น จากพระปฐมบรมราชโองการ ใช้คำว่า ครอง ไม่ใช่ปกครอง ไม่มีแนวคิดอำนาจอยู่ แต่ตั้งอยู่บนฐานความรัก ความเมตตา และความรับผิดชอบ

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

วีณา ลีลาประเสริฐศิลป์

การบริหารคนผู้นำจะต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ บริหารอารมณ์และกำกับควบคุมอารมณ์ได้ การมีความฉลาดทางอารมณ์จะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่แสดงออก การที่ผู้นำมีความฉลาดทางอารมณ์ก็จะสามารถบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีศาสตร์และศิลป์ ขณะเดียวกันการเป็นผู้นำและผู้บริหารจะต้องมีบุคลิกที่ดี ทั้งการแต่งกาย การพูดที่ถูกกาละและเทศะ มารยาททางสังคมต่างๆ และที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำควรจะนำแบบอย่างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการทำงานมาปฏิบัติคือ การปฏิบัติต่อทุกคนบนฐานของความรัก ความเมตาและความรับผิดชอบ ครองตนในศีล ในธรรม

ผศ. ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม

สรุปบทเรียนช่วงที่ 5 การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต

ได้แนวคิดจากการอ่านหนังสือ Lesson learned – Share and Care: บทเรียนจากบทเรียนจากหนังสือ The Four Mindsets ซึ่งดีมาก

Mindset เป็นความคิด ความเชื่อที่กำหนดพฤติกรรมและทัศนคติ

การพัฒนา สร้าง Growth Mindset เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะ Mindset ของผู้นำมีอิทธิพลอย่างสูงต่อพนักงาน

Mindset ของคนหนึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อคนรอบข้าง

อิทธิพลของ Mindset คือ Mindset Loop ถ้ามีการปลูกฝัง Mindset ไว้อย่างไรก็จะนำไปสู่ Attitude ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรม เป็น action และผลลัพธ์ ในที่สุดก็กลายเป็น Performance

Mindset หลักที่สำคัญ 4 ข้อ เพื่อทำให้เกิด Growth Mindset กับทีม

Emotional Intelligence Mindset มีความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้ทีมมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ แล้วจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในระดับองค์กร และนำไปสู่การแสดงความสามารถในการทำงานของพนักงาน ถ้าผู้นำมี Emotional Intelligence Mindset จะนำไปสู่ Performance โดยเฉพาะเรื่องของ Loyalty และความเชื่อมั่นในองค์กร

Connection Mindset หมายความว่า ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจเป้าหมายและทำให้ Connection ไม่ใช่ Communication คำว่า Connect มีความลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร แต่รวมถึง Emotion ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกพร้อมถ่ายทอดเป้าหมายต่างๆ

Growth Mindset ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม ตอนหลังองค์กรเน้น Self-coaching เป็นการสร้าง Growth Mindset ตรงไปยังตัวพนักงาน

Performance Mindset สร้าง Performance ให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

ส่วน Connection Mindset มีรายละเอียดคือ

ในการผลักดันองค์กรไปสู่ความคาดหวังร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ Mindset

การเหนี่ยวไกปืนเป็น Mindset

Mindset ในเล่มนี้เป็นปลายทางวกกลับมาอีกเป็น Loop

Mindset มีจุดตั้งต้นที่คน ทุกคนต้องปรับ Mindset ให้รู้จักตนเอง ทำงานเป็นทีม

ทุกคนต้องรู้จักตนเอง จัดการตัวเองให้ได้

Skill และ Behavior บังคับ Mindset ได้ ถ้ามีทักษะดีจะทำให้ทีมสำเร็จ

รู้ซึ้งมาก่อนรู้แจ้ง แล้วก็จะประทับใจทีมทำให้ทีมแข็งขึ้น

การทำให้คนเกิดความผูกพันองค์กร ผู้นำต้องทำ 2 ระดับ

สื่อสารให้เข้าใจว่าทำอะไรขาย บุคลากรทุกระดับเข้าใจบทบาทหน้าที่องค์กรตรงกัน ต้องมีการสื่อสารระหว่างบุคคล และกำจัดอุปสรรค สื่อสารให้คนเคารพกฎระเบียบ ต้องคิดต่างในเงื่อนไขที่เหมาะสม ต้องมีการวัดผลเป็นระยะ

ทำให้บุคลากรรู้ว่า ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ ทำให้บุคลากรตระหนักความสำคัญของตนต่อองค์กรและเข้าใจคนอื่น ต้องทำให้ตระหนักว่า คนต้องเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา คนในองค์กรต้องไม่ด่วนสรุป ต้องสร้างศรัทธา บุคลากรต้องเชื่อมั่นในเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารและองค์กรด้วย ต้องนำแรงบันดาลใจทำให้นำไปสู่เป้าหมาย ผู้บริหารต้องมีความเสมอต้นเสมอปลายเพราะเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจ

oRank Response คนที่มีความรู้จะสามารถแสดงความรู้ให้เห็นได้

oการตัดสินใจคัดเลือกคนว่า เป็นคนที่เหมาะสมที่จะคัดเลือกเข้าทีม

และตัวดิฉันเองนำเสนอ Performance Mindset

หนังสือได้พูดถึงการคัดเลือกคนเข้าทีมเป็นสิ่งสำคัญที่จะวางคนให้เหมาะกับตำแหน่ง และต้องมี Mindset เหมาะสมกับองค์กร

มีการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม ตัวตนของคนที่สมัครงาน มีขั้นตอน

1.วิเคราะห์งาน ต้องดู Competence ในงานเป็นหลัก

2.พัฒนาโครงสร้างคำถามสัมภาษณ์

2.1 หลักการความรู้ที่ผู้สมัครมี

2.2 พฤติกรรม คำถามเชิงจิตวิทยา

2.3 คำถาม Leading Question สถานการณ์ในอนาคตว่าจะทำอย่างไร

มีการใช้ STAR Technique

S=Situation

T=Time

A=Action

R=Result

เมื่อคัดคนเข้ามาร่วมทีม จะทำให้เป็นทีมเข้มแข็งโดย Attachment and Alignment

ระดับองค์กร

ระดับบทบาท สมาชิกทีมต้องรู้สถานะ ค่าตอบแทนสอดคล้องกับงานหรือไม่ งานที่รับผิดชอบ กิจกรรม โอกาสก้าวหน้า อนาคต

ระดับ Line manager มีทักษะในการเป็นพี่เลี้ยงและสอนงาน

ปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของทีม

Orientation

ข้อมูลสำคัญที่ให้แก่สมาชิกทีม คือข้อมูลที่เกี่ยวกับงาน

การหมุนเวียนตำแหน่ง ทำให้รู้จักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

การเรียนรู้ Incremental Learning เป็นการพัฒนาสมรรถนะในงาน

การให้ Feedback ให้มีแรงบันดาลใจในการพัฒนา

มีการนำเสนอ The core 90-day drivers (to prepare new employees for success ) กล่าวถึง

Recruitment Process

Introduction process

Role Process

Coach and Mentor Support

Management and Leadership

Peer and Stakeholder Interaction ในความเป็นจริง connection ไม่ใช่ communication แต่มีความลึกกว่า communication เพราะฉะนั้นการมี Interaction ในลักษณะ Peer and Stakeholder ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความสุขในการทำงานมากขึ้นสำหรับพนักงานใหม่

Culture and Value

Work Environment

Policy and Procedure

Resources and Availability

เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อาจจะมองข้าม

และได้เรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศและการบริหารการเปลี่ยนแปลง

สะท้อนให้เห็นว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนด core value ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

Value ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่คนในองค์กรต้องพัฒนาให้มี เพราะสะท้อนแบรนด์ของมหาวิทยาลัย

Core Competency ต้องดูว่ามีความสามารถหลักอะไรบ้าง ในความสามารถเหล่านั้น ถ้าต้องการโดดเด่น คนขององค์กรต้องมี Core Competency อะไรบ้าง

Core Value เป็นพฤติกรรม

Core Competency ต้องมี Skill และ Knowledge

หลายองค์กรกลับมาดูว่า แม้ประเมิน Core Competency ใน PMS ไม่ได้ผล จึงมีแนวโน้มว่า รัฐวิสาหกิจนำ Core Value มาประเมินแทนเพราะเป็นพฤติกรรม จึงต้องมีการแจกแจง

เวลาทำ Core Value แล้วสื่อสารออกไป ทำไมยังไปไม่ถึงคนระดับล่างหรือคนไม่เข้าใจ

Mindset ต่างกันทำให้การสื่อสารเข้าใจไม่ตรงกัน

การนำค่านิยมไปสู่การปฏิบัติ

ค่านิยมนั้นหมายความว่าอย่างไร เช่น ความเร็วและแม่นยำหมายความว่าอย่างไรในบริบทองค์กร

ทำไมค่านิยมนั้นจึงสำคัญต่อองค์กร เช่น เป็นค่านิยมที่มีทุกคณะ แสดงว่ามีความถี่มาก ต้องตอบคำถามให้ได้ ตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจองค์กรหรือไม่

คิดว่าพฤติกรรมเชิงบวกที่พึงประสงค์เป็นอย่างไร พฤติกรรมลบแบบใดที่ถือเป็นอุปสรรค เช่น ค่านิยม ความเร็วและแม่นยำ ต้องทำไปทดสอบกับระดับล่าง พนักงานก็มองว่าผู้บริหารมีความคาดหวังสูงเกินไป บางค่านิยมขัดแย้งกันเองแต่มีความลงตัว

การทำ workshop มีประโยชน์มาก ทำให้ทุกคนได้ทบทวน สะท้อนคิดถึง Core Value ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งคนในมหาวิทยาลัยทักษิณทราบแล้วว่า เราเป็นมหาวิทยาลัย รับใช้สังคมโดยทำตามค่านิยมหลัก ควรกลับไปทบทวนแต่ละข้อ ทั้งสามธรรมคือ คารวธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรมเป็นรากฐานนำไปสู่ข้อหลังๆ

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือบุคลิกภาพ Personality - Social Skills Development and Table Manners

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์ คนจะตัดสินผู้อื่นจากบุคลิกภาพภายนอก 55% จากเสียง 38% จากคำพูด 7% บุคลิกภาพเป็นเรื่องที่ฝึกได้ เช่น การแต่งตัว พูดจาดี มาด อารมณ์ดีและรู้จักกาลเทศะ ผู้บริหารควรแต่งกายให้เหมาะสมกับหน้าที่การงาน ขอให้คิดถึงตอนที่สมัครงานที่ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้รับการตอบรับเข้าทำงาน ผู้บริหารต้องดูแลตัวเองให้ดีเพื่อให้ลูกน้องภูมิใจ

ผู้บริหารต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) มีความสำคัญมาก สร้างแรงบันดาลใจ ความเชื่อมั่น ยอมรับนับถือ

ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ตรงไปตรงมา ดูแลเอาใจใส่ อยู่กับความเป็นจริง จริงใจ มีปฏิภาณ

ไหวพริบ คิดบวก ช่วยเหลือคนอื่นด้วยความปรารถนาดี ถือเป็น EQ ของผู้นำ

ผู้นำต้องเข้าใจทีม ควบคุมอารมณ์ให้ได้ ต้องมีอารมณ์ขันบ้าง ต้องพยายามทำให้เป็นธรรมชาติ มีความรับผิดชอบ หาสิ่งสนับสนุนช่วยทีม คิดบวก นำทีมไปสู่ความสำเร็จเร็วที่สุด ต้องหยุดเพื่อทบทวน

ผู้บริหารต้องมีความอดทนค่อนข้างสูง ควบคุมสติโดยหายใจลึกๆ แล้วจะเกิดปัญญา รู้จักรักษาสุขภาพ บุคลิกภาพดี

คนเรามี 2 มือ ข้างหนึ่งช่วยเหลือตนเอง อีกข้างช่วยเพื่อนด้วยความจริงใจ

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) คือเมื่อรับรู้ปรากฏการณ์ นำไปประมวลแล้วแสดงออกอย่างถูกต้อง

ต้องตระหนักรู้ซึ่งอารมณ์ของตนเอง ถ้าโกรธ ก็ต้องผ่อนคลาย วิจัยระบุว่าเป็นทักษะสำคัญของการเป็นผู้นำ

การบริหารความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset)

ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) เป็นพื้นฐานของคน จากงานวิจัย ผู้นำประสบความสำเร็จมาจากปัญญา 7% จากอารมณ์ 93%

บุคคลโดดเด่นต้องควบคุมตนเองให้มีสติได้ และสามารถฟื้นตัวเองจากสภาวะเลวร้าย

การทำให้มี self-control

เข้าใจความเป็นธรรมชาติของโลก

ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้

คิดว่าในโลกมีความเป็นเจ้าของสิ่งนั้น ต้องลดอัตตา

เตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

การทำให้ฟื้นสู่สภาวะปกติ

เข้าใจธรรมชาติ

คิดว่าทุกอย่างต้องมีความหวัง ล้มแล้วลุก

มีการควบคุม บังคับตนเองได้ มีเป้าหมายชีวิต

มีความสมดุลในชีวิต มีเวลาทำงานแล้วพักผ่อน กินอาหารให้สุขภาพดี

อยู่ในที่ที่เหมาะสม

เข้าใจความทุกข์และสุข

มีเพื่อนร่วมงานี่ดีและให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน

ผู้บริหารต้องทำให้บุคลากรเกิดความไว้วางใจ ผู้บริหารต้องมีบุคลิกภาพที่ดีทั้งภายนอกและภายใน มีสมรรถนะ มีคุณธรรม จริยธรรม เรียนสนุกมาก

การปรับปรุงบุคลิกภาพให้เหมาะสมต่อการเป็นผู้นำ การวางตัวและการมีมารยาทที่เหมาะสมในสังคม การแต่งกาย การกล่าวทักทาย การพูดจา การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร การพบปะผู้ใหญ่

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล สอนให้เข้าใจในวิธีการทำงาน การครองใจคน การทุ่มเทกับงานเพื่อความสำเร็จและความสุขของผู้กระทำ การน้อมนำเอาคำสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมทั้งในการทำงานและการดำรงชีวิต

หลักการทรงงานของในหลวง เป็ฯแบบอย่างที่ดีของการทำงานที่ดีต้องยึดมั่นทั้งในหลักการครองคน และหลักการครองงาน ทั้งสองอย่างต้องเป็นไปอย่างสมดุลจึงจะสามารถประสบความสำเร็จ

การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำและการเรียนรู้มารยาทสากล ทำให้เกิดการเข้าใจในหลักการพัฒนาบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการปฏิบัติตนกับผู้อื่นในสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ



ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ตรงไปตรงมา ดูแลเอาใจใส่ อยู่กับความเป็นจริง จริงใจ มีปฏิภาณ

ไหวพริบ คิดบวก ช่วยเหลือคนอื่นด้วยความปรารถนาดี ถือเป็น EQ ของผู้นำ

ผู้นำต้องเข้าใจทีม ควบคุมอารมณ์ให้ได้ ต้องมีอารมณ์ขันบ้าง ต้องพยายามทำให้เป็นธรรมชาติ มีความรับผิดชอบ หาสิ่งสนับสนุนช่วยทีม คิดบวก นำทีมไปสู่ความสำเร็จเร็วที่สุด ต้องหยุดเพื่อทบทวน

ผู้บริหารต้องมีความอดทนค่อนข้างสูง

การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำและการเรียนรู้มารยาทสากล ทำให้เกิดการเข้าใจในหลักการพัฒนาบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการปฏิบัติตนกับผู้อื่น

ในหลวงสอนให้เราเรียนรู้ในการรู้จักตนเอง และสอนให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรักและความรับผิดชอบ....และการครองตน ครองงาน ครองคน

สิ่งที่ได้รับจากการเข้าอบรมในช่วงที่ 5 ผู้นำต้องกล่อมเกลา Mindset มหาวิทยาลัยทักษิณต้องเน้นคุณภาพการสื่อสารที่ดีเป็นพื้นฐานที่ดี ทางมหาวิทยาลัยมีจุดอ่อนด้านการสื่อสาร ผู้นำต้องช่วยกล่อมเกลา Mindset โดยมีแนวทางใส่ Empathy และนวัตกรรม ก็จะนำไปสู่ Connecting

ปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของทีม

  • Orientation
  • ข้อมูลสำคัญที่ให้แก่สมาชิกทีม คือข้อมูลที่เกี่ยวกับงาน
  • การหมุนเวียนตำแหน่ง ทำให้รู้จักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • การเรียนรู้ Incremental Learning เป็นการพัฒนาสมรรถนะในงาน
  • การให้ Feedback ให้มีแรงบันดาลใจในการพัฒนา

และสิ่งที่สามารถนับมาปรับใช้จากการบรรยายของ ดร.สุเมธ คือธรรมะของในหลวงกำหนดโดยทศพิธราชธรรม แต่ไม่มีใครอธิบายได้ครบถ้วน จึงไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้

หลักการครองตน

มีมาตรฐานทางจริยธรรมสูงด้วย ศีล (ทุกศาสนามีศีลเพราะเป็นหลักสากล เพราะการฆ่าคนเป็นบาปในทุกศาสนา)

มีความเห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวด้วย ปริจจาคะ (ไม่ควรกอบโกยสมบัติแผ่นดินให้เป็นของส่วนตัวมากที่สุด เพราะจะทำให้ประเทศอยู่ไม่ได้ ควรบริจาคคนละหน่อยเพื่อให้ส่วนรวมได้ประโยชน์)

มีความไม่ลุ่มหลงมัวเมาในโลกิยารมณ์ด้วย ตบะ (กิเลสตัณหาเป็นส่วนสัญชาตญาณ ไม่มีใครสละกิเลสได้ทั้งหมด ความรวยทำให้ต้องนอนโรงพยาบาล เพราะกินของที่มันและไม่ดีต่อสุขภาพแต่มีราคาแพง อย่าปล่อยให้กิเลสเป็นนาย ต้องควบคุมให้อยู่ด้วยความพอดี พอเพียง)

มีความอดทนอดกลั้นต่อสารพัดปัญหาด้วย ขันติ (ทุกคนต้องประสบความทุกข์ ก็ต้องรู้จักวางเฉยต่อสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี เพราะจะได้ไม่ทุกข์เมื่อประสบภาวะความไม่มี ควรคิดบวก)

  • หลักการครองคน
    • มีความเมตตาเป็นเรือนใจเป็นแก่ผู้ให้แก่ประชาชนด้วย ทาน (ไม่หวังประโยชน์ตอบแทน)
    • มีความสุภาพอ่อนน้อม ไม่ถือตัว เข้าถึงง่ายด้วย มัททวะ (เป็นการลดช่องว่าง ในหลวงท่าทรงไปประทับนั่งพื้นมีพระราชดำรัสกับประชาชนที่มารอรับเสด็จ เป็นการแสดงถึงความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน คนจากประเทศอื่นๆก็มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้เพราะทรงเปิดกว้าง)
  • หลักการครองงาน
    • มีความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใสด้วย อาชชวะ
    • ไม่ลุแก่อำนาจตัดสินความด้วยเหตุด้วยผลด้วย อักโกธะ
    • ไม่ข่มเหง ไม่คุกคาม ไม่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชนด้วยอหิงสา
    • บริหารราชการแผ่นดินด้วยความยุติธรรม (นิติธรรม) และดำเนินตามระเบียบแบบแผนอันดีงามของบ้านเมือง (เนติธรรม) ไม่ให้วิปลาสคลาดเคลื่อนด้วย อวิโรธนะ (ถ้าทำข้อนี้ได้ข้อเดียวเท่ากับทำตามทศพิศราชธรรมได้ทั้ง 10 ข้อ)

การเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

(วันที่ 17-18 มีนาคม 2559)

จากการเข้าร่วมอบรมในช่วงนี้ สิ่งที่เป็นจุดเน้นจากนำเสนอหนังสือ สรุป Mindset หลักที่สำคัญ 4 ข้อ เพื่อทำให้เกิด Growth Mindset กับทีม

1.Emotional Intelligence Mindset มีความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้ทีมมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ แล้วจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในระดับองค์กร และนำไปสู่การแสดงความสามารถในการทำงานของพนักงาน ถ้าผู้นำมี Emotional Intelligence Mindset จะนำไปสู่ Performance โดยเฉพาะเรื่องของ Loyalty และความเชื่อมั่นในองค์กร

2.Connection Mindset หมายความว่า ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจเป้าหมายและทำให้ Connection ไม่ใช่ Communication คำว่า Connect มีความลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร แต่รวมถึง Emotion ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกพร้อมถ่ายทอดเป้าหมายต่างๆ

3.Growth Mindset ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม ตอนหลังองค์กรเน้น Self-coaching เป็นการสร้าง Growth Mindset ตรงไปยังตัวพนักงาน

4.Performance Mindset สร้าง Performance ให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

ซึ่งถ้านักบริหารงานในมหาวิทยาลัยทักษิณส่วนใหญ่สามารถทำให้ตนเองและทีมเกิดภาวะผู้นำตามนี้ได้ การทำงานของมหาวิทยาลัยทักษิณก็จะเกิดการพัฒนาและประสิทธภาพได้ต่อไปในอนาคต

ในการเรียนรู้ทุกช่วงของหลักสูตรมีความน่าสนใจและสร้างความตื่นตัวให้ผู้เข้ารับการอบรมตลอดเวลา ช่วงที่ 5 ก็เช่นกัน สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดคือได้เรียนรู้หลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ ใน 3 หลักใหญ่ๆ คือ หลักการครองตน ให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ละกิเลสอยู่อย่างพอเพียง มีความอดทนอดกลั้นต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดี คิดบวก หลักการครองคน เป็นผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีความสุภาพอ่อนน้อม ไม่ถือตัว เข้าถึงง่ายด้วย หลักการครองงาน เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ลุแก่อำนาจ มีเหตุมีผล ไม่ข่มเหง ไม่คุกคาม ไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น บริหารงานด้วยความยุติธรรม

นอกจากนี้ยังได้บทเรียนจากหนังสือ The Four Mindsets ในการฝึกความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) ซึ่งมีความสำคัญมากในการช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ความเชื่อมั่น และการยอมรับนับถือ ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ตรงไปตรงมา ดูแลเอาใจใส่ อยู่กับความเป็นจริง จริงใจ มีปฏิภาณไหวพริบ คิดบวก ช่วยเหลือคนอื่นด้วยความปรารถนาดี นอกจากนี้ผู้นำต้องเข้าใจทีม ควบคุมอารมณ์ได้ ต้องมีอารมณ์ขันบ้าง มีความรับผิดชอบ หาสิ่งสนับสนุนช่วยทีม คิดบวก นำทีมไปสู่ความสำเร็จเร็วที่สุด ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีความอดทนค่อนข้างสูง ควบคุมสติ มีบุคลิกภาพดี และต้องรู้จักรักษาสุขภาพ

และในช่วงเวลานี้ยังได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ บุคลิกภาพ เพราะเป็นจุดแรกที่คนแปลกหน้ามองเห็นและประเมินเราในเบื้องต้น ดังนั้นผู้นำหรือผู้บริหารนอกจากจะมีสุขภาพดี มีความฉลาดทางอารมณ์แล้ว ยังต้องมีบุคลิกภาพที่ดีด้วย

บทสรุปจากการเข้าร่วมการอบรมในช่วงที่ 5 คือ

หลักคิดสำคัญสำหรับผู้นำองค์กรอีกประการหนึ่งคือเรื่องของ Mindset ซึ่งวิทยากรท่านหนึ่งได้ให้คำจำกัดความไว้ค่อนข้างตรงและชัดเจน ท่านพูดถึง mindset ว่าคือ สันดาน คือตัวตนของแต่ละคน เป็นเครื่องกำหนดวิธีคิด วิธีทำ ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างยาก แต่บทเรียนจากหนังสือ ผู้เขียนพยายามชี้ให้เห็นว่า mindset ของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงได้ เติบโตในทิศทางที่ต้องการได้ (growth mindset) และผู้นำควรจะมี growth mindset โดยเฉพาะ 4 mindsets: emotional mindset, connection mindset, growth mindset และ performance mindset

  • Emotional Intelligence Mindset มีความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้ทีมมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ แล้วจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในระดับองค์กร และนำไปสู่การแสดงความสามารถในการทำงานของพนักงาน ถ้าผู้นำมี Emotional Intelligence Mindset จะนำไปสู่ Performance โดยเฉพาะเรื่องของ Loyalty และความเชื่อมั่นในองค์กร
  • Connection Mindset หมายความว่า ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจเป้าหมายและทำให้ Connection ไม่ใช่ Communication คำว่า Connect มีความลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร แต่รวมถึง Emotion ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกพร้อมถ่ายทอดเป้าหมายต่างๆ
  • Growth Mindset ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม ตอนหลังองค์กรเน้น Self-coaching เป็นการสร้าง Growth Mindset ตรงไปยังตัวพนักงาน
  • Performance Mindset สร้าง Performance ให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร


นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสได้รับฟังการถ่ายทอดแนวทางการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัว ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในมหาวิทยาลัย

ได้เรียนรู้การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำและการเรียนรู้มารยาทสากล ทำให้เกิดการเข้าใจในหลักการพัฒนาบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ที่ดี แบบอย่างที่ดีของการทำงานที่ดีต้องยึดมั่นทั้งในหลักการครองคน และหลักการครองงาน ทั้งสองอย่างต้องเป็นไปอย่างสมดุลจึงจะสามารถประสบความสำเร็จ

(ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559)

การพัฒนา สร้าง Growth Mindset เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะ Mindset ของผู้นำมีอิทธิพลอย่างสูงต่อพนักงาน ในการผลักดันองค์กรไปสู่ความคาดหวังร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ Mindset“Mindset” นั้น ได้เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับตัวเรา เป็น Individual (ลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน) ที่เกิดมาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาตลอดทั้งชีวิตของเรา ซึ่งจะส่งผลให้เราตัดสินใจ และมีพฤติกรรมต่อเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน

Mindset มีจุดตั้งต้นที่คน ทุกคนต้องปรับ Mindset ให้รู้จักตนเอง ทำงานเป็นทีม ทุกคนต้องรู้จักตนเอง จัดการตัวเองให้ได้ ยิ่งบุคคลนั้นเป็นผู้นำด้วยแล้ว ถ้ารู้จักตัวเองรู้จักจัดการตัวเองให้ดี เน้นการทำงานเป็นทีมก็จะนำพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ

บุคคลแต่ละคนอาจมี mindset ที่ต่างกันแต่เมื่อต้องเป้็นผู้นำก็ต้องรู้ว่าเรื่องนี้สามารถปรับหรือเปลี่ยนได้ เมื่อฟังเหตุผลและข้อมูลต่าง ๆ รอบด้าน เพื่อผู้ตามและการจัดการที่ดี การเป็นผู้นำต้องมีความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ และต้องเข้าใจบุคคลอื่นให้มาก การครองใจคนอาจสามารถทำได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องใช้ความฉลาดในการครองใจเพื่อนร่วมงานและผู้ตาม ดีใจที่วันนี้ได้ฟังเรื่องราวที่พัฒนาตนเองให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำ

บุคลิกภาพที่เหมาะสมต่อการเป็นผู้นำ การวางตัว การแต่งกาย รวมถึง การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ

สำหรับการพัฒนาตนเองเพื่อที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้นจำเป็นที่จะต้องรู้จักและเข้าใจตัวเองให้มากที่สุด ต้องพัฒนาตนเอง และต้องปรับตัวให้ก้าวทันโลก เรานำหลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปรับใช้กับการทำงานในองค์กร เพื่อพัฒนาการบริหารงานท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลงเพื่อเดินหน้าสู่ความสำเร็จขององค์กร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท