ทำไมเครื่องบินต้องบินสูงมาก (เกินไปหรือเปล่า) (ตอน ๓)


ทำไมเครื่องบินต้องบินสูงมาก (เกินไปหรือเปล่า) (ตอน ๓)

เราได้จับผิดแนวปฏิบัติเรื่อง “อากาศบาง” ไว้แล้วว่าตรงข้ามเลย แต่ตอนหลังก็มาจับผิดตัวเองได้ว่าถ้าปรับเครื่องใหม่แบบแนวเราอาจtake off ออกจาก runway ไม่ขึ้น วานนี้นอนคิดมุมกลับเอ๊ะ หรือว่าพวกวิศวกรเขาเอาการ take off เป็นตัวตั้ง พอบินได้แล้วก็เลยไต่ระดับขึ้นไปที่สูงมาก (30000 ฟุต) เพื่อให้เครื่องยนต์มีแรงยกแรงขับเคลื่อนสัมพันธ์กับกำลังเครื่องยนต์ แล้วก็มีคนเอามาอ้างกันว่าทำแบบนี้เพราะ “อากาศบาง” (thin air) บ้างก็ว่าเพราะหลุมอากาศน้อย นี่แหละเราว่ามันเป็นความผิดสองต่อ แบบว่า ลบคูณลบกลายเป็นบวกไปเฉยเลย

.

เครื่องบินแบบใหม่ที่เราคิดไว้จะมีขนาดปีกยาวลดลงสองเท่า เครื่องยนต์ก็เล็กลงสองเท่าด้วย ระบบนี้จะยัง take off ได้เพราะ ๑. น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลงสามเท่า (เบาลง) (ปีกสั้นลงก็ทำให้เบาลง) ๒. เครื่องยนต์จะมีการออกแบบที่ overload ตอน take off ให้ดียิ่งขึ้น ๓. การบินจะบินที่ ๑๐๐๐๐ ฟุต ซึ่งจะทำให้ประหยัดน้ำมัน ๓ เท่า แต่อาจมีปัญหาหลุมอากาศบ้าง ที่ซึ่งเราได้ออกแบบระบบหลบหลีกหลุมอากาศไว้แล้ว (กำลังจดสิทธิบัตรด้วย) ๔. ปีกสั้นลงโอกาสตกหลุมอากาศก็น้อยลงด้วย

.

โปรดเอาใจช่วยให้ทำสำเร็จ งานนี้ช่วยโลกได้มาก ด้านการประหยัดค่าตั๋วโดยสารลงสองเท่า และลดโลกร้อน

---------------------------------คนถางทาง (๑๒มีค.๕๙)

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603405เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2016 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2016 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท