พลังการเรียนรู้ ... สร้างสรรค์สู่การเปลี่ยนแปลง Elder with Dependence and End of Life สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย


Elder with dependence and End of life.

คำนิยามของความตาย คือ การที่ระบบการทำงานภายในร่างกายนั้นได้หยุดทำงาน ทั้งระบบหัวใจ การทำงานของสมอง(รวมถึง brain stem)และการหายใจ (Death definition >> Death is defined as the cessation of all vital functions of the body including the heartbeat, brain activity (including the brain stem ), and breathing. ข้อมูลจาก http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/De... )


การดูแลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (Stages of Palliative approaches)

1. Early stage มุ่งเน้นไปที่การปรับตัวและดูแลตนเองของผู้รับบริการ และการคงความสามารถของร่างกายในการทำกิจกรรมดำรงชีวิต

2. Mid stage มุ่งเน้นไปที่การป้องกันภาวะเจ็บป่วยแทรกซ้อน การใช้ Compensatory techniques ในการทำกิจกรรมดำรงชีวิต

3. End stage : Palliative Strategies ถูกนำมาใช้ เช่น การใช้หลักธรรมะหรือศาสนาที่ผู้รับบริการนับถือ เน้นให้ญาติและผู้รับบริการได้ปลดเปลื้องความคับข้องใจการอโหสิกรรม ร่วมกันส่งผู้รับบริการให้ไปสู่สุขคติวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

P : Person

ภาวะความเจ็บป่วยของแต่ละบุคคล ส่งผลดังนี้ ↓Motor skills : ความสามารถทางร่างกายลดลง ↓Sensory skills : การรับความรู้สึกลดลง ↓Emotional skills : การควบคุมอารมณ์อาจทำได้ไม่มั่นคงเท่าเดิม ↓Cognitive skills : ความสามารถด้านการรู้คิดลดลง ↓Communication skills : ทักษะการสื่อสารลดลง

E: Environment

สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ดูแล ลักษณะทางกายภาพ เช่น โรงพยาบาล หรือบ้าน เป็นต้น

O : Occupation

ปัจจัยทั้งตัวบุคคล และ สิ่งแวดล้อมส่งผลให้การทำ occupation ที่ต้องการทำได้ยากมากขึ้น

P: Performance

การแสดงออกซึ่งความสามารถถูกจำกัด ส่งผลต่อ well being และ Quality of life


บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดคือ

ช่วยผู้รับบริการในการบรรเทาความเจ็บปวด และเพิ่ม Quality of life โดยสนับสนุนให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมดำรงชีวิตที่มีคุณค่าต่อผู้รับบริการ ซึ่งมีประโยคงานวิจัยที่ดิฉันสืบค้น กล่าวไว้น่าสนใจคือ “Client whose attention is focused on meaningful occupations pay less attention to physical symptoms.” นั่นหมายความว่า หากผู้รับบริการนั้นสนใจไปที่กิจกรรมที่มีคุณค่าพวกเขาจะใส่ใจกับอาการทางกายลดลงและอีกประโยคหนึ่งคือ “Loss of independence and role can result in social death prior to biological death.” การสูญเสียภาวะพึ่งพาตัวเองและบทบาทสามารถนำไปสู่การตายทางสังคมก่อนที่จะตายจากไปเสียอีก นักกิจกรรมจึงมีหน้าสำคัญในการช่วยเหลือผู้รับบริการให้รับเอาความสามารถและบทบาทใหม่ทดแทนส่วนที่เสียไปเพื่อคงไว้ซึ่ง Self esteem ของบุคคล และมีหน้าที่พิจารณาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีคุณค่าของผู้รับบริการร่วมกับญาติหรือผู้ดูแล

Intervention

Frame of Reference :Psychospiritual Integration Frame of reference


Becoming >>ให้ผู้รับบริการรับรู้ตนเองว่ากำลังเป็นอะไร โรคอะไร เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

Meaning >>สิ่งใดที่มีคุณค่าต่อผู้รับบริการ

Centeredness >>มีคุณค่าในตนเอง

Connectedness >>เชื่อมโยงและปรับตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

Transcendence >>มีความสุขในช่วงสุดท้ายของชีวิต (Spiritual well being)

1. ขั้นตอนแรกนักกิจกรรมบำบัดจะทำการประเมิน(Evaluation)โดยใช้ Therapeutic use of self and relationship เพื่อค้นหา

1. ความต้องการของผู้รับบริการ ความกังวลใจ ความคับข้องใจ เป็นต้น

2. Physical : Strength , Endurance , Capacities to do function

3. ทางสิ่งแวดล้อม เช่น Social history ความต้องการของผู้ดูแล ลักษณะบ้าน โรงพยาบาล

2. ใช้ Therapeutic use of self and Empathy ในการพิจารณาความพร้อมของผู้รับบริการที่ต้องรับรู้ความเป็นจริงเกี่ยวกับสภาพที่ต้องเผชิญ เมื่อพร้อมแล้วจะเริ่มขั้นตอน

· Becoming คือการบอกให้ผู้รับบริการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการดำเนินของโรค

· ช่วยค้นหา Meaning คือการส่งเสริมกิจกรรมที่มีคุณค่า ความหมายของชีวิต และสร้างแรงจูงใจให้ใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายอย่างคุ้มค่าที่สุด ในขั้นนี้จำเป็นต้องใช้ Activity analysis ในการวิเคราะห์ถึง Activity demand นั้นเหมาะกับภาวะของผู้รับบริการหรือไม่ หากไม่จะสามารถปรับกิจกรรม(Activity adaptation)ได้อย่างไร ซึ่งอาจจะปรับโดยการใช้ Therapeutic Environment Modification to enhance empowerment >>คือการปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับผู้รับบริการให้สามารถทำกิจกรรมที่ต้องการด้วยตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

· เมื่อ Becoming และ Meaning ได้ดำเนินการจะส่งผลให้เกิด Centeredness คือ การรับรู้ว่าตนเองนั้นมีคุณค่า ระลึกถึงสิ่งดีๆที่ตนเองได้สร้าง และจะนำสู่ขั้นถัดไปคือ Connectedness คือเชื่อมโยงปรับตนเองให้เข้ากับสภาพ ณ ปัจจุบัน จนถึงเป้าหมายสุดท้ายคือ Transcendence การที่ผู้รับบริการมีความสุขในช่วงสุดท้ายของชีวิต “Spiritual well-being”

3. เนื่องจากการจากลาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการแต่ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบตัว เช่น ครอบครัว เพื่อน เป็นต้น ดังนั้น นักกิจกรรมบำบัดจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดคือ หาความลงตัวระหว่างความต้องการของญาติและผู้รับบริการ และอธิบายความสำคัญของการให้ผู้รับบริการได้ทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อตนเอง รวมถึงการหาข้อกังวลใจของญาติหรือความช่วยเหลือที่ญาติต้องการ เช่นการทำ Group counseling โดยให้ญาติมานั่งร่วมกันทำกลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทำ (Cooperative group)ในการหาหนทางแก้ปัญหาร่วมกัน หรือได้มีโอกาสพูดคุยกันเพื่อลดความกังวลใจ

เขียนแผนภาพได้ดังนี้

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความของดิฉัน หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย

ข้อมูลอ้างอิง

Chris Kang. A psychospiritual integration frame of reference for occupational therapy. Part 1: Conceptual foundations .April 2002 ;92–103

Miriam Frost, PT, BS . The role of physical, occupational,and speech therapy in hospice:Patient empowerment . November/December 2001 ;397-402

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603340เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท