การทำยุทธศาสตร์ชาติ:ความรู้และความคิดที่ได้จากการไปเรียน วปอ.


การทำยุทธศาสตร์ชาติ:ความรู้และความคิดที่ได้จากการไปเรียน วปอ.

ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์

ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

วปอ.58

การทำยุทธศาสตร์ชาตินั้น เป็นการใช้พลังอำนาจแห่งชาติทำให้เกิดผลประโยชน์แห่งชาติ โดยมีโครงสร้างความสัมพันธ์ 3 เรื่อง ที่เกี่ยวข้อง คือ ผลประโยชน์แห่งชาติ พลังอำนาจแห่งชาติ และกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ภายใต้องค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ Ends , Ways และ Means ซึ่งโดยหลักเหตุผลทางการคิดทางยุทธศาสตร์ที่มีคำถามที่ต้องหาคำตอบอยู่ 3 คำถาม คือ

คำถามที่ 1 Where are we going ? เราจะไปที่ไหนกัน อันเปรียบเสมือน Ends หรือวิสัยทัศน์ หรือผลประโยชน์แห่งชาติ, วัตถุประสงค์เฉพาะแห่งชาติอันเป็นจุดหมายปลายทางที่จะไปถึง

คำถามที่ 2 What is the environment ? สภาวะสภาพแวดล้อม คืออะไรที่มาเกี่ยวข้องบ้างเช่น การหาแรงผลักดันและแนวโน้ม เพื่อพิจารณาปัญหาและโอกาส ซึ่งต้องใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ ตั้งแต่ SWOT Analysis , Scenario Analysis ในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม อาทิ ในด้านการป้องกันประเทศ ด้านการเมืองระหว่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจ (ทางบกและทางทะเล) ด้านสังคมจิตวิทยา ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมและอวกาศ ด้านพลังงาน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านข่าวสารข้อมูล เป็นต้น

ผลการตรวจสอบสภาวะแวดล้อมก็จะมีส่วนไปสนับสนุนให้เกิดวัตถุประสงค์เฉพาะแห่งชาติ (เผื่อเลือก) การวิเคราะห์กำลังอำนาจและแบบแผนของชาติ เพื่อพิจารณากรณีที่เกื้อกูลและอุปสรรค โดยพิจารณาความเป็นไปได้ (Feasibility)ความยอมรับได้ (Accountability) และความเหมาะสม (Suitability) ทั้งนี้ คำถามที่ต้องการคำตอบตามข้อ1 และคำถามที่ต้องการคำตอบตามข้อ2 จะต้องเป็นส่วนที่เกื้อกูลสัมพันธ์กันในเชิงเหตุผล เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

คำถามที่ 3 คือ How do we get there ? เราจะไปที่นั่นได้อย่างไร สืบเนื่องจากคำถามข้อ2 เมื่อได้คำตอบแล้ว เพื่อให้ได้คำตอบในข้อ3 ในข้อนี้จะมีการกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (เผื่อเลือก) จากการหาวิธีการ (WAYS) ซึ่งต้องถามว่า “National Strategy How do we plan to do it? พิจารณาทรัพยากร(MEANS)ซึ่งจะต้องถามว่า “National PowerWhat is will be availabieto do it ? ต่อจากนั้นไปวิเคราะห์ ดังนี้ ผลเสียเกี่ยวกับความเสี่ยง (Risk) ข้อได้เปรียบ (Advantage) และทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ได้ (Resources Available) ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (ที่เสนอ) (National Security policies) เมื่อทราบ Ends-Ways-Means Mismatchesแล้วก็ต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสม กำหนดนโยบายที่ชัดเจน จากนั้นวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่าง ๆ และนำไปกำหนดมาตรการเฉพาะ (Specific Measures) ต่อไป โดยมีแผนงานและโครงการรองรับ เพื่อนำสู่การปฏิบัติต่อไป

การจัดทำยุทธศาสตร์ชาตินั้นเสร็จแล้วจะได้ผลผลิต 5 ประการ คือ

1. ผลประโยชน์แห่งชาติ

2. วัตถุประสงค์มูลฐานแห่งชาติ

3. วัตถุประสงค์เฉพาะแห่งชาติ

4. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ

5. มาตรการเฉพาะ

ดังนั้น การกำหนดภาพประเทศชาติในอนาคต จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากว่าผลประโยชน์แห่งชาติ อันเป็นเป้าหมายถาวรจะเป็นอะไรบ้าง วัตถุประสงค์มูลฐานแห่งชาติตั่งเป็นเป้าหมาย ระยะยาว คืออะไร และวัตถุประสงค์เฉพาะแห่งชาติที่มีความเฉพาะเจาะจงที่สามารถสำเร็จได้ภายในกรอบเวลานโยบายความมั่นคงแห่งชาติที่ได้จากการบูรณาการกำลังอำนาจทุก ๆ ด้าน และมาตรการเฉพาะที่เป็นยุทธศาสตร์ ชีวัดไปสู่การปฏิบัติได้ (Mission Possible)


คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603151เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2016 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2016 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think "review" should be included so that we can check on progress: are we on track (in the same direction)?; what is the world now (so we can adjust our plans)? what have we done (or achieved); and what do we still need to do?

Often we make plans and not include how we would "test" our plans. In software development "this" is the most common failure of systems - not able to ensure "meeting the goal".

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท