การผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งที่ 2 (QE) และผลกระทบ


การผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งที่ 2 (QE) และผลกระทบไปยังเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ

นโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงปริมาณ ( QE) คือการที่ธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินเข้ามาเพื่อเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา กล่าวถึง QE ครั้งที่ 2 ในวงเงินตั้งแต่ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐจนถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นเชื่อว่า เฟด หวังผลลัพธ์ 3 ประการดังนี้

1) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะลดต่ำลงและดึงให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลลดลง โดยที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับเอกชนนำไปคิดดอกเบี้ยต่อโดยเอกชนนำอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรไปบวกกับส่วนชดเชยความเสี่ยงของลูกค้า

2) ปริมาณเงินในระบบจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดิมที่ปริมาณเงินท่วมระบบ อยู่แล้วเพราะสถาบันการเงินนำเงินมาฝากที่เฟดประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่ไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย แต่ปริมาณเงินใหม่ที่เฟดพิมพ์ขึ้นมาในนามของ QE 2 คนจะกลับมาจับจ่ายใช้สอยและเงินเฟ้อจะเร่ง ตัวในอนาคต

3) ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงอย่างมากและจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการส่งออกของสหรัฐให้เพิ่มขึ้นและนำไปสู่การจ้างงานให้เพิ่มขึ้น

ผลจากการทำ QE 2 นั้นอาจจะไม่นำไปสู่เป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ทั้งหมด ด้วยเหตุผลดังนี้

ประการแรกแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะต่ำและสภาพคล่องจะท่วมระบบแต่ความเป็นไปได้ที่ประชากรสหรัฐจะหันกลับมาบริโภคในระดับก่อนวิกฤติเป็นไปได้ในระดับที่ต่ำ

ประการที่สอง การจ้างงานของสหรัฐนั้นจะเพิ่มขึ้นผ่านการจ้างงานของธุรกิจ แต่เมื่อการใช้จ่ายบริโภคในประเทศไม่เพิ่มขึ้นในระดับที่สูงพอที่จะลดอัตรา การว่างงาน

ประการที่สาม การดำเนินนโยบาย QE 2 ของสหรัฐ ทำให้ชุมชนการเงินระหว่างประเทศสูญเสียความศรัทธาและความเชื่อมั่นเงินสกุล ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งในบทบาทของการเป็นสื่อกลางของการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ และบทบาทของการเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ

ประการสุดท้าย การใช้นโยบาย QE 2 ของเฟดจะส่งผลให้เกิดภาวะการปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของโลก เช่น ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน และราคาอาหาร เป็นต้น

ตามที่กล่าวมาในตอนก่อนๆแล้วจะเห็นว่าการใช้นโยบาย QE 2 มีผลเสียมากกว่าผลดี แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าธนาคารกลางสหรัฐไม่มีทางเลือกอื่นที่ต้นทุนต่ำกว่านี้ ในการกอบกู้เศรษฐกิจ ต่างจากประเทศเอเชียในวิกฤติต้มยำกุ้ง 2540 ที่ต้องเลือกวิธีการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจด้วยต้นทุนที่สูงยิ่ง

มาจาก http://www.siamintelligence.com/quatitative-easing-2-and-impact-later/

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603149เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2016 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2016 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท