มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE : Quantitative Easing)


นับตั้งแต่ที่ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (

Fed) ได้ใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ มาตรการ QE (Quantitative Easing) ครั้งแรกเมื่อปลายปี 2551 ถึง มีนาคม 2553 และได้ประกาศใช้ QE II ในเดือน พฤศจิกายน 2553 ถึง มิถุนายน 2554 จนในปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากการแถลงการณ์ของ เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่กล่าวถึงตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯ ที่ลดลงนั้น อาจไม่ยั่งยืน เพราะการเติบโตของเศรษฐกิจยังไม่แข็งแรง

มาตรการ QE นั้น เป็นมาตรการทางการเงินที่ไม่ได้ใช้ในช่วงเวลาปกติ (Unconventional Monetary Policy) กล่าวคือ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารกลางจะใช้นโยบายทางการเงินต่าง ๆ เพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการทางการเงินที่ถูกใช้มากที่สุดคือคือการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่ต่ำ เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจให้อยู่ในระดับที่ต่ำลง

แต่สำหรับวิกฤตการทางการเงินของสหรัฐฯนั้น แม้จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ( Fed Fund Rate) ให้อยู่ในระดับที่ต่ำมาก นั่นคือระดับ 0 - 0.25% แล้วก็ยังไม่เพียงพอที่จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ดังนั้น Fed จึงต้องหันมาใช้มาตรากรที่เป็น Unconventional Monetary Policy ควบคู่ไปกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากคาดว่าจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือภาคการเงินได้อย่างรวดเร็ว และเป็นการเข้าไปช่วยเหลือในตลาดที่ปัญหาโดยตรง

โดยมาตรการQE เป็นมาตรการที่ใช้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภาคเอกชน นอกจากนั้นยังใช้เพื่อลดอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ( Yield) ให้อยู่ในระดับต่ำลงมา โดยที่ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ทั้งของภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการลดต้นทุนในการกู้ยืมของภาคธุรกิจลง ซึ่งเป็นการช่วยให้การผลิต และการจ้างงานสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ก็ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆด้วยเช่นกัน อาทิ เกิดแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากมีการอัดฉีดปริมาณเงินเข้าสู่ระบบ และยังส่งผลกระทบต่อค่าเงินที่อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน

สำหรับผลกระทบของมาตรการ QE ต่อประเทศไทยนั้น การที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ( U.S Treasury) ปรับตัวลดลง ได้ส่งผลให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศไทย ทั้งในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนที่ดีกว่า ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ดังนั้นนักลงทุนต่างประเทศจึงได้กำไรทั้งจากอัตราผลตอบแทน และอัตราแลกเปลี่ยนไปพร้อมๆกัน ซึ่งการที่เงินทุนไหลเข้านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยอย่างเดียว แต่เป็นการไหลเข้าภูมิภาค รวมไปถึง Emerging Country ด้วย ก็จะทำให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าไปในทิศทางเดียวกัน

แหล่งที่มา:http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx...

</span>

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603142เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2016 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2016 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท