มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือQE


มาตรการ QE หรือ Quantitative Easingมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ คือนโยบายทางการเงิน แบบนึง โดยหลักการจะเป็นการนำเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะเข้าไปซื้อสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน และจะให้สถาบันทางการเงิน ปล่อยกู้ให้ภาคเอกชนต่อไป เพื่อกระตุ้นให้ ประชาชนในประเทศ มีการใช้จ่ายมากขึ้น

ก่อนที่จะใช้ QE มักจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาก่อน แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงจะใช้มาตรการ QE ซึ่งการประกาศใช้ มาตรการ QE นั้น ไม่ได้เป็นข่าวดีนักเพราะเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะเงินเฟ้อ การใช้มาตรการQE นั้น โดยปรกติ จะต้องทำการกู้เงินมาจากที่ใดที่หนึ่งอย่างเช่น IMF แต่สำหรับประเทศอเมริกาแล้ว เค้าใช้วิธีพิมพ์แบงค์ขึ้นมาเอง ซึ่งเมื่อมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบ ก็จะทำให้ ดอกเบี้ยพันธบัตรลดลง และทำให้ค่าเงิน usd อ่อนค่าลงด้วย นอกจากนี้แล้ว อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อได้อีกด้วย ซึ่งเมื่อมีสภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ ค่าเงิน usd ก็อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน

ผลกระทบของมาตรการ QE ต่อประเทศไทย การที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (U.S Treasury) ปรับตัวลดลง ได้ส่งผลให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศไทย ทั้งในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนที่ดีกว่า ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ดังนั้นนักลงทุนต่างประเทศจึงได้กำไรทั้งจากอัตราผลตอบแทน และอัตราแลกเปลี่ยนไปพร้อมๆกัน ซึ่งการที่เงินทุนไหลเข้านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยอย่างเดียว แต่เป็นการไหลเข้าภูมิภาค รวมไปถึง Emerging Country ด้วย ก็จะทำให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าไปในทิศทางเดียวกัน


อ้างอิงจาก : http://guru.sanook.com/

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603150เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2016 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2016 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท