​พระรอดมหาวัน ไม่จำเป็นต้อง "สุก" เท่ากัน ทุกองค์ หรือ ทั่วทั้งองค์ เสมอไป


********************

เมื่อวานนี้ ได้พระรอดพิมพ์เล็ก เนื้อเขียวผ่านแดง
ที่น่าจะสะท้อนว่า ในส่วนที่มีสีเขียวจัด น่าจะถูกความร้อนจัดกว่าจุดที่มีสีแดงอมเขียว
และเนื่องจากจุดที่มีสีแดง มีลักษณะคล้ายว่าจะเป็น "หินผุ" มากกว่า และยังมีสี "อมเขียว" อยู่เล็กน้อย

โดยการอนุมานจากสิ่งที่เห็น น่าจะสะท้อนว่า พระรอดมหาวัน ไม่จำเป็นต้องสุกเท่ากันทุกองค์ และ อาจจะมีบางองค์ "สุกบางส่วน" ทำให้ผุยุ่ยได้ง่ายกว่าส่วนอื่น หรือ องค์อื่นๆ และอาจจะมีเม็ดทรายที่ผสมมา หลงเหลืออยู่ในจุดที่ "ยังไม่สุก" นั้นก็เป็นได้

ข้อคิดนี้ น่าจะทำให้การส่องพระรอด เป็นไปตามความจริงมากขึ้น และหาพระรอดมหาวันแท้ๆได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น

โดยเน้นหลัก

1. พ่อเดียว พุทธศิลป์เดียว ที่ต้องจับหลักให้ได้
2. หลายแม่ ตำหนิหลากหลาย และไม่แน่นอน
3. อาจจะสุกไม่เท่ากันทุกองค์ ทำให้เนื้อแกร่งบ้าง อ่อนบ้าง สุกบ้าง ดิบบ้าง
4. เน้นลักษณะ หินผุ สนิมเหล็ก เป็นสำคัญ ตามด้วยพุทธศิลป์หลักๆ ตามพ่อพิมพ์

ทำดั่งนี้แล้วไซร้ น่าจะเจอพระรอดมหาวัน ได้ทั่วไป และง่ายขึ้นครับ

หมายเลขบันทึก: 602953เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2016 23:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2016 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท