เรียนรู้กิจกรรมบำบัดจิตสังคมที่ รพ.กรุงเทพ และรพ.มนารมย์


เป็นโอกาสที่ดีของนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3 มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ไปเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดของศูนย์จิตรักษ์โรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลมนารมย์ ในวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559

วันนี้ดิฉันจะมาขอเล่าสู่กันฟังสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้ค่ะ :)

ทำความรู้จักศูนย์จิตรักษ์โรงพยาบาลกรุงเทพ

Bangkok Mental Health Rehabilitation and Recovery Center (BMRC)

ศูนย์จิตรักษ์เป็นศูนย์ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ซึ่งปัจจุบันให้บริการรับผู้ป่วยจิตเวชเป็นผู้ป่วยใน เพื่อให้การบำบัดฟื้นฟูภายในศูนย์ ตามหลัก Recovery Oriented Services (ROS) โดยทีมสหวิชาชีพที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เปิดให้บริการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านจิตใจ เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, เครียด, วิตกกังวล, อารมณ์สองขั้ว(ไบโพล่าร์) ผู้ป่วยที่คิดฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง

หลักการ Recovery คือการมองผู้ป่วยเป็นองค์รวม ใช้จุดแข็งหรือศักยภาพของผู้ป่วยเป็นแนวทางในการรักษา เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง “พี่โบว์” รุ่นพี่กิจกรรมบำบัดมหิดลและวิทยากรในวันนั้น ได้ชี้ให้เห็นอีกหนึ่งหลักที่สำคัญในการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต คือ“Hope” หรือการมีความหวัง นั่นเองค่ะ

แต่เดิมผู้ป่วยจิตเวชที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพจะมีห้องพักอยู่ในแผนกอายุรกรรม ซึ่งพี่โบว์เล่าว่ากระจกถูกปิดทับด้วยวอลเปเปอร์ทั้งหมดและถูกจำกัดเพื่อความปลอดภัยอย่างมาก ซึ่งผู้ป่วยสะท้อนความคิดออกมาว่า เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนั้น รู้สึกว่าป่วยมากขึ้นกว่าเดิม และอยากกลับบ้าน เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ ศูนย์จิตรักษ์ได้ถูกออกแบบให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน มีการจัดวาง โทนสี การตกแต่งและพื้นที่่ใช้สอยที่ให้ความรู้ผ่อนคลาย อบอุ่น แต่ยังคงเน้นความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ภายในศูนย์ประกอบด้วยห้องตรวจ ห้องพักที่รองรับผู้ใช้บริการได้ 7 เตียง ห้องเฝ้าระวังผู้ป่วยวิกฤต(Special care unit) ห้องกิจกรรมกลุ่มบำบัดต่างๆ เช่น ห้องฝึกโยคะ ละครบำบัด ห้องครัว พื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน และโซนพักผ่อน ซึ่งนอกจากพาชมห้องครัวที่ใช้ทำกิจกรรมการบำบัด พี่โบว์ยังให้โจทย์พวกเราวิเคราะห์กิจกรรมทำปอเปี๊ยะให้ผู้รับบริการแต่ละกลุ่มอาการสามารถทำกิจกรรมร่วมกัน โดยการวิเคราะห์กิจกรรมต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้รับบริการ ความชอบ ความต้องการ และความปลอดภัย พี่โบว์ได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า การทำกิจกรรมกลุ่มทำอาหาร ผู้รับบริการทุกคนต้องช่วยเหลือและรับผิดชอบร่วมกัน เช่น การทำความสะอาด การเก็บล้างจาน และเปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึกจากการทำกิจกรรม ซึ่งผู้รับบริการสามารถสะท้อนทุกความรู้สึกและความคิดออกมา ไม่จำเป็นต้องเป็นความรู้สึกดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของห้องพักผู้ป่วยที่นี่คือ จะไม่มีโทรทัศน์ โทรศัพท์ ตู้เย็น เพื่อส่งเสริม Social participation ให้ผู้ป่วยได้ออกมาพูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และขอขยายความเพิ่มเติมสำหรับห้องเฝ้าระวังผู้ป่วยวิกฤต(Special care unit) ซึ่ง "พี่อิ๋ว" พี่ยาบาลได้ให้ข้อมูลว่าเป็นห้องสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง อารมณ์รุนแรง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และต้องการการดูแลเป็นพิเศษ แต่การจะใช้ห้องนี้ได้ต้องผ่านพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและเป็นขั้นตอน เช่น การบอกเหตุผล การให้เงื่อนไข การขออนุญาตผู้ป่วยและญาติก่อน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยในภายหลังได้


วิเคราะห์โดยใช้ SMART TREES

S=Self

M = Motivation

A = Ability

RT = Role Transformation

ศูนย์จิตรักษ์โรงพยาบาลกรุงเทพ

มุ่งเน้นการให้บริการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต โดยการมองผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม เพื่อฟื้นคืนศักยภาพเดิมให้มากที่สุด และกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมได้ และมีหลักในการดูแลผู้ป่วยเสมือนเป็นคนในครอบครัว ที่ต้องให้การเอาใจใส่อย่างดี

ให้บริการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตโดยทีมสหวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ นัก กิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา นักดนตรีบำบัด นักละครบำบัด และสามารถให้การบำบัดทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม

ในการเปลี่ยนแปลงบทบาทนี้ ขอแบ่งออกเป็น 2 ทางด้วยกัน คือ

  • นักกิจกรรมบำบัด มีการใช้ทักษะด้านอื่นเข้ามาใช้ในการบำบัดผู้ป่วย เช่น ทักษะการทำอาหาร การทำงานศิลปะ การทำกลุ่มบำบัดสมาธิ ซึ่งนอกจากต้องมีองค์ความรู้ทางกิจกรรมบำบัดแล้ว ยังต้องเป็นผู้นำกลุ่มที่มีความรู้หลากหลาย
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูแล้ว สามารถกลับไปทำงานหรือใช้ชีวิตในสังคมเดิมได้ตามบทบาทของตน

TR = Therapeutic Relations

TE = Therapeutic Environment

TE = Therapeutic Empathy

TS = Therapeutic Skills

ความสัมพันธ์ของทีมสหวิชาชีพและผู้ป่วย ซึ่งทีมสหวิชาชีพให้การดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยเสมือนเป็นคนในครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ไว้วางใจและปลอดภัย

ศูนย์จิตรักษ์ถูกออกแบบให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน มีการจัดวาง โทนสี การตกแต่งและพื้นที่่ใช้สอยที่ให้ความรู้ผ่อนคลาย อบอุ่น แต่ยังคงเน้นความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

ประกอบด้วย

-ห้องพักผู้ป่วยใน 7 เตียง

-ห้องเฝ้าระวังผู้ป่วยวิกฤต(Special care unit)

-ห้องทำกิจกรรมและพื้นที่พักผ่อน เช่น ห้องครัว ห้องโยคะ

จากการมองผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม ทำให้ทีมสหวิชาชีพมีความเข้าใจในบริบทของผู้ป่วยแต่ละคน ยอมรับและเคารพถึงความสามารถของผู้ป่วย และสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยได้ เพื่อวางแผนการบำบัดฟื้นฟูให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างดีที่สุด

รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกต่างๆได้ ทำให้ผู้บำบัดมีความเข้าใจในตัวผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

การให้การบำบัดจากทีมสหวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตเวช สามารถให้การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม และมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง(Learning new skills) อีกด้วย


จบช่วงเช้าที่โรงพยาบาลกรุงเทพ

เดินทางต่อไปที่โรงพยาบาลมนารมย์กันนะคะ :D

“พลังใจดี เริ่มที่มนารมย์”

ทำความรู้จักโรงพยาบาลมนารมย์

โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางสุขภาพจิตแห่งแรกของประเทศไทย บนพื้นที่กว่า 7 ไร่ รายล้อมด้วยพื้นที่สีเขียว เปิดให้บริการรักษาด้านการส่งเสริม ดูแล รักษา และฟื้นฟูสุขภาพจิต โดยทีมงานและบุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักศิลปะบำบัด นักดนตรีบำบัด นักฝึกพูด เป็นต้น เปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยจิตเวชทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กถึงวัยผู้สูงอายุ และรองรับผู้ป่วยในจำนวน 30 เตียงด้วยกัน

ในช่วงแรกเราได้เข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับโรงพยาบาลมนารมย์และบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ซึ่งให้บริการตรวจประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ รวมทั้งการออกแบบและให้บริการกิจกรรมกลางวัน(Day Program)

กิจกรรมกลางวัน(Day Program) หรือเรียกสั้นๆว่า “เดย์ (Day)” มี 2 รูปแบบ คือ กิจกรรมแบบกลุ่ม และกิจกรรมแบบเดี่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการจัดการทางด้านอารมณ์ การจัดการความเครียด การปรับตัวทางสังคม การควบคุมพฤติกรรมและการดูแลตนเอง โดยนักกิจกรรมบำบัดจะบำบัดฟื้นฟูปัญหาที่กล่าวมาผ่านการให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมงานฝีมือ กิจกรรมการทำอาหาร เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถดำเนินชีวิตประจำวันและอยุ่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งกิจกรรมที่มีลักษณะลงมือทำจะจัดอยู่ในช่วงบ่าย เพื่อเพิ่มความตื่นตัวให้ผู้รับบริการ และกิจกรรมให้ความรู้ส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในช่วงเช้า

ช่วงต่อมาเราได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมภายในโรงพยาบาล ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพี่ๆเจ้าหน้าที่ โดยห้องตรวจของที่นี่จะอยู่ชั้นล่าง ซึ่งเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย และชั้นบนจะเป็นห้องทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ห้องฝึกพูด ห้องกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็ก ห้องศิลปะบำบัด ดิฉันได้มีโอกาสพบกับนักศิลปะบำบัด ซึ่งได้อธิบายเกี่ยวกับการให้ศิลปะบำบัดแก่ผู้รับบริการว่า ต้องพิจารณาจากความสามารถของผู้รับบริการเป็นหลัก อย่างเช่น ในเด็กต้องคำนึงถึงพัฒนาการ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ ในการเลือกกิจกรรมศิลปะให้เด็กทำ และการตีความภาพวาดจะเน้นให้ผู้วาดเป็นผู้อธิบายออกมา ไม่ได้ใช้หลักการตีความภาพด้วยตัวผู้บำบัดเอง

การตกแต่งภายในโรงพบาลมนารมย์มีความเหมือนกันกับโรงพยาบาลกรุงเทพ คือ การออกแบบและตกแต่งให้รู้สึกเหมือนอยู่บ้าน มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และมุ่งเน้นด้านความปลอดภัยของผู้มารับบริการด้วย


วิเคราะห์โดยใช้ SMART TREES


S=Self

M = Motivation

A = Ability

RT = Role Transformation

โรงพยาบาลมนารมย์

จากข้อจำกัดในการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลทั่วไป จึงเกิดเป็นแนวความคิดในการจัดตั้งโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวชแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้บริการรักษาและบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ให้บริการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตโดยทีมสหวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา นักดนตรีบำบัด นักละครบำบัด นักศิลปะบำบัด นักฝึกพูด และสามารถให้การบำบัดทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม

  • มีความยืดหยุ่นในการจัดกิจกรรมและการให้โปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละราย และส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆในชีวิตประจำวันได้ตามบทบาทของตน

TR = Therapeutic Relations

TE = Therapeutic Environment

TE = Therapeutic Empathy

TS = Therapeutic Skills

ความสัมพันธ์ของทีมสหวิชาชีพและผู้ป่วย ซึ่งทีมสหวิชาชีพให้การดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยเป็นอย่างดี ให้ความรู้สึกเป็นมิตร และปลอดภัย

โรงพยาบาลมนารมย์ถูกออกแบบให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน การตกแต่งและพื้นที่่ใช้สอยที่ให้ความรู้ผ่อนคลาย ปรอดโปร่ง และอบอุ่น แต่ยังคงเน้นความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล มีพื้นที่สีเขียวสำหรับให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายอารมณ์และความคิด และห้องกิจกรรมต่างๆ เช่น ห้องฝึกพูด ห้องกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็ก ห้องศิลปะบำบัด

มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว จากการมองผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม ทำให้ทีมสหวิชาชีพมีความเข้าใจในบริบทของผู้ป่วยแต่ละคน ยอมรับและเคารพถึงความสามารถของผู้ป่วย และสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยได้ เพื่อวางแผนการบำบัดฟื้นฟูให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างดีที่สุด

การให้การบำบัดจากทีมสหวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตเวช สามารถให้การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม และมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวช


ต้องขอขอบคุณพี่ๆที่โรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลมนารมย์เป็นอย่างสูง

ที่เปิดโอกาสให้เราได้เข้าไปเรียนรู้กิจกรรมบำบัดจิตสังคม ให้ความรู้และตอบคำถามของพวกเรานะคะ


หมายเลขบันทึก: 602509เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท