ประสบการณ์การนอกห้องเรียน เมื่อฉันไปดูงานที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ และโรงพยาบาลมนารมย์


ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ

เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม 2559 ฉันและเพื่อนนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้ไปดูงานนอกสถานที่ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งในตอนแรกดิฉันก็ยังไม่รู้ว่าที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ มีแผนกกิจกรรมบำบัด แต่เมื่อได้มาดูงานแล้ว ถึงได้รู้ว่า ที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ มีศูนย์บริการด้านสุขภาพจิต ซึ่งชื่อว่าศูนย์จิตรักษ์ ซึ่งมุ่งเน้นการบริการวินิจฉัย รักษา และบำบัดฟื้นฟูสุขภาพใจ ตามหลัก Recovery Oriented Services (ROS) ด้วยกระบวนการการรักษาและกิจกรรมหลากหลายที่สนับสนุนให้ผู้รับบริการตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง และมีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดที่ออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการ และศักยภาพของผู้รับบริการแต่ละราย โดยทีมจิตแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตมากประสบการณ์

เมื่อมาถึงที่ศูนย์จิตรักษ์ ดิฉันได้นั่งฟังพี่นักกิจกรรมบำบัดอธิบายเกี่ยวกับศูนย์ ว่าศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ เกิดจากการรวมตัวของทีมจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักกิจกรรมบำบัด พยาบาลจิตเวช และเภสัชกร ในการให้การดูแลด้านสุขภาพจิตและการบำบัดสารเสพติดด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ ให้การดูแลบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต (Psychosocial Rehabilitation) ที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ด้วยจิตบำบัดหลากหลายรูปแบบ ทั้งจิตบำบัดรายบุคคล จิตบำบัดครอบครัว คู่สมรสบำบัด ตลอดจนกิจกรรมมากมายภายในโซนกิจกรรม และ Recovery Room ซึ่งถูกออกแบบให้สามารถรองรับกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพใจ อาทิ ห้องดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด ห้องโยคะ และ Mind Fullness ห้องครัว สวนพักผ่อน ห้องทำกิจกรรมกลุ่มบำบัด และสันทนาการ

นอกจากนี้ ทางศูนย์ยังสนับสนุนความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้ป่วยจิตเวช และให้ความสำคัญกับครอบครัวผู้ดูแลผู้รับบริการผ่านโปรแกรม Consumer and Carer Consultation และ Community and Family Reintegration เพราะเชื่อว่าครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะสนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถฟื้นคืนสู่ศักยภาพเดิมให้มากที่สุด กลับคืนสู่ครอบครัว และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข

หลังจากที่ได้ฟังบรรยายจากพี่นักกิจกรรมบำบัดไปแล้ว ดิฉันได้ไปเดินดูสถานที่ในศูนย์จิตรักษ์ต่อ โดยมีพี่พยาบาลเป็นผู้แนะนำสถานที่ และคอยตอบคำถามที่ดิฉันและเพื่อนๆอยากรู้ ซึ่งในศูนย์นี้ มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก เน้นความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เลือกใช้โทนสี การตกแต่งที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน ภายในศูนย์ประกอบด้วยห้องตรวจ และห้องพักที่รองรับผู้ใช้บริการได้ 7 เตียง ห้องเฝ้าระวังผู้ป่วยวิกฤต (Special Care Unit) สำหรับผู้ที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด หรือมีความเสี่ยง ห้องกิจกรรมกลุ่มบำบัดต่างๆ และบริเวณพักผ่อน

หลังจากที่ดิฉันได้มาดูงานที่ศูนย์จิตรักษ์วันนี้ ทำให้ดิฉันเข้าใจบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด และบทบาทของทีมสหวิชาชีพในฝ่ายจิตเวชมากขึ้น และทำให้ดิฉันสนใจอยากมาทำงานที่ศูนย์แห่งนี้ในอนาคต เนื่องจากที่ศูนย์แห่งนี้ยังต้องการนักกิจกรรมบำบัดอีก ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ดิฉันจะตั้งใจเรียนมากขึ้น จะพยายามมากขึ้นต่อไปเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ให้มากที่สุด เพื่อนำมาใช้ในการบำบัดรักษาผู้รับบริการด้วยใจค่ะ

วิเคราะห์ศูนย์จิตรักษ์ แบบ SMART TREE

  • S = Self ศูนย์จิตรักษ์ ของโรงพยาบาลกรุงเทพ
  • M = Motivation แรงจูงใจและความมุ่งมั่นตั้งใจของรุ่นพี่นักกิจกรรมบำบัดในการมาเปิดแผนกกิจกรรมบำบัดที่ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพแห่งนี้
  • A = Ability ความสามารถของทีมสหวิชาชีพที่ทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อรักษาผู้รับบริการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
  • RT = Role Transformation ผู้บำบัดต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทของตัวเองจากที่ทำอาหารไม่เป็นกลายมาเป็นผู้นำกลุ่มในกิจกรรมการทำอาหาร
  • TR = Therapeutic Relation ขณะทำกิจกรรมการบำบัดรักษา ผู้บำบัดจะต้องมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด
  • TE = Therapeutic Environment การปรับสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และเลือกใช้โทนสี ในการตกแต่งสถานที่ ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกผ่อนคลาย และอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน
  • TE = Therapeutic Empathy ทีมสหวิชาชีพ มีความเข้าอกเข้าใจในผู้รับบริการถึงความรู้สึก และอารมณ์ของผู้รับบริการที่เกิดขึ้น โดยมีการปรับปรับสิ่งแวดล้อมให้ผู้รับบริการรู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ที่บ้าน และเมื่อผู้รับบริการแสดงอารมณ์ไม่ดี ก้าวร้าวออกมา ผู้บำบัดไม่ควรแสดงท่าทีที่ไม่เหมาะสมตอบกลับไป ควรเข้าใจว่าที่ผู้รับบริการเป็น คืออาการของโรคที่เกิดขึ้น
  • TS = Therapeutic Skill ทักษะความสามารถของแต่ละสหวิชาชีพ ที่ทำงานรวมกันเป็นทีม จุดมุ่งหมายคือการทำให้ผู้รับบริการมีสุขภาพทางจิต และทางกายดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติที่สุดตามศักยภาพของผู้รับบริการ


โรงพยาบาลมนารมย์

ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ดิฉันและเพื่อนนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้ไปดูงานนอกสถานที่ ที่โรงพยาบาลมนารมย์ โรงพยาบาลนี้ จัดตั้งเพื่อให้บริการด้านสุขภาพจิตทั้งในด้านการส่งเสริม ป้องกัน การรักษา และฟื้นฟูสุขภาพจิต ปัญหาจิตเวชและระบบประสาทให้แก่ผู้ป่วย ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

เมื่อดิฉันได้มาถึงที่โรงพยาบาลมนารมย์ ดิฉันได้นั่งฟังพี่นักกิจกรรมบำบัดบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับโรงพยาบาลแห่งนี้ โดยโรงพยาบาลมนารมย์ เปิดให้บริการดูแลรักษาเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวช ประกอบด้วยบริการผู้ป่วยนอก ฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม ทั้งแบบโปรแกรมกลางวันและแบบพักในโรงพยาบาล ซึ่งในโรงพยาบาลมีทั้งห้องกลุ่มกิจกรรมบำบัด ห้องสันทนาการ ห้องกายภาพบำบัด สนาม กลางแจ้ง ห้องสำหรับฝึกผ่อนคลายความเครียด

บุคลากรภายในโรงพยาบาลประกอบไปหลากหลายสหวิชาชีพที่ทำงานร่วมกัน มีทั้งจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัด นักศิลปะบำบัด นักละครบำบัด นักพูดบำบัด ซึ่งพี่นักกิจกรรมบำบัดได้อธิบายถึงบทบาทของแต่ละอาชีพว่าทำหน้าที่อะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร แต่ทุกคนจะต้องทำงานรวมกันเป็นทีมสหวิชาชีพ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติตามศักยภาพของผู้รับบริการ

หลังจากที่นั่งฟังบรรยายเสร็จ พี่นักกิจกรรมบำบัดได้พาเดินเยี่ยมชมสถานที่ภายในโรงพยาบาล

และได้มีการถาม-ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับแผนกต่างๆในโรงพยาบาลมนารมย์ หลังจากได้ชมสถานที่ ดิฉันรู้สึกว่าที่โรงพยาบาลแห่งนี้ มีการตกแต่งที่สวยงาม การจัดห้องต่างๆ เหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรมการรักษา รุ่นพี่ๆที่นี่ใจดี คอยต้อนรับ และตอบคำถามเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ดิฉันอยากมาฝึกงานที่โรงพยาบาลแห่งนี้ และเป็นแรงจูงใจให้ดิฉันตั้งใจเรียน และพยายามทำให้ดีที่สุด เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้มาใช้รักษาผู้รับบริการให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถกลับไปทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างปกติที่สุดตามศักยภาพที่มี

วิเคราะห์โรงพยาบาลมนารมย์ แบบ SMART TREE

  • S = Self โรงพยาบาลมนารมณ์ โรงพยาบาลเอกชนด้านสุขภาพจิตแห่งแรกในประเทศไทย
  • M = Motivation เนื่องด้วยปัจจุบัน ความต้องการบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ความสามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวยังไม่เพียงพอ คณะจิตแพทย์หลายท่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ร่วมกันก่อตั้งโรงพยาบาลมนารมย์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวชขึ้นมา
  • A = Ability ความสามารถของทีมสหวิชาชีพที่ทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อรักษาผู้รับบริการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
  • RT = Role Transformation รูปแบบการรักษาของแต่ละผู้รับบริการจะมีความเฉพาะแตกต่างกันไป ผู้บำบัดจึงต้องมีการเปลี่ยนบทบาทให้เหมาะสมกับการให้บริการทำกิจกรรมการรักษาในผู้รับบริการแต่ละคน
  • TR = Therapeutic Relation ขณะทำกิจกรรมการบำบัดรักษา ผู้บำบัดจะต้องมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด
  • TE = Therapeutic Environment การปรับสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีการปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับกิจกรรมการรักษา
  • TE = Therapeutic Empathy ทีมสหวิชาชีพ มีความเข้าอกเข้าใจในผู้รับบริการถึงความรู้สึก และอารมณ์ของผู้รับบริการที่เกิดขึ้น เมื่อผู้รับบริการแสดงอารมณ์ไม่ดี ก้าวร้าวออกมา ผู้บำบัดไม่ควรแสดงท่าทีที่ไม่เหมาะสมตอบกลับไป ควรเข้าใจว่าที่ผู้รับบริการเป็น คืออาการของโรคที่เกิดขึ้น
  • TS = Therapeutic Skill ทักษะความสามารถของแต่ละสหวิชาชีพ ที่ทำงานรวมกันเป็นทีม จุดมุ่งหมายคือการทำให้ผู้รับบริการมีสุขภาพทางจิต และทางกายดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติที่สุดตามศักยภาพของผู้รับบริการ


ขอขอบคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้

References : โรงพยาบาลกรุงเทพฯ http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/center...

โรงพยาบาลมนารมย์ http://www.manarom.com/intro_thai.html

หมายเลขบันทึก: 602494เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท