วิมังสา .. จุดเปลี่ยนแห่งการฉายภาพความงอกงามของครู


วิมัา...จุดเปลี่ยนแห่งการฉายภาพความงอกงามของครู

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗

วิมังสา ..... คืออะไร ?

กิจกรรม “วิมังสา” ที่โรงเรียนปัญญาประทีปจัดขึ้น เป็นกิจกรรมที่คุณครูและบุคลากรได้กลับมาทบทวน วิเคราะห์ด้านจิตใจและการทำงานของตนตลอดภาคเรียนที่ผ่านมา ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปิดเทอมของทุกภาคเรียน

ที่ผ่านมาเป็นการสรุป วิเคราะห์การทำงานของตนตามโจทย์คำถามที่ฝ่ายบริหารกำหนด โดยนำเสนอในที่ประชุมในรูปแบบเป็นทางการที่ให้ทุกคนมานำเสนอหน้าชั้นให้เพื่อนๆนั่งชมและเสนอแนะ แต่ครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ที่ผู้บริหารได้ออกแบบ เปลี่ยนแปลงให้มีความเรียบง่าย น่าเรียนรู้และเป็นประโยชน์สูงสุด โดยได้ประยุกต์แนวคิดของครูปาดและครูใหม่ โรงเรียนเพลินพัฒนา ที่ได้เมตตาคำแนะนำและช่วยเหลือประคับประคอง ดั่งพี่ชาย พี่สาวที่เอาใจใส่ดูแลน้องๆมาตลอด

“วิมังสา” ทำอย่างไร ?

A. นัดหมาย รวมตัวคุณครูและบุคลากรทุกคน เพื่อนั่งล้อมวงฟังคำอธิบายลักษณะกิจกรรมจากครูผู้นำกิจกรรม ที่จะเขียนวิมังสาในรูปแบบการเขียน “บทความ” ของตนที่จะครอบคลุมประเด็นหรือโจทย์ที่กำหนดให้ และสิ่งที่จะทำในวันนี้

B. บันทึกเรื่องเล่าหนึ่งเทอมที่ผ่านมาในสไตล์ของตนเอง ไม่เกิน ๒ หน้า A4 โดยมีประเด็นสำคัญต่างๆดังนี

สำหรับคุณครู **เขียนชื่อ ชื่อเล่น กล่าวถึงประวัติการทำงานก่อนหน้า**

วิ มั ง ส า (ครู) ๑. ความพร้อมทั้งกาย-ใจของผู้สอน ๒. การพัฒนาแผนการเรียนรู้ ทรัพยากร สื่อ อุปกรณ์ มีผลดีกว่าที่เคย หรือได้ผลดี(ครูใหม่)หรือไม่ อย่างไร ๓. ส่งผลให้มีการพัฒนาผู้เรียนทั้งรายกลุ่มและรายบุคคลหรือไม่ อย่างไรบ้าง ๔. สิ่งที่เรียนรู้ และค้นพบ ๕. สิ่งที่ควรรักษาและสิ่งที่ควรปรับพัฒนา

สำหรับฝ่ายสนับสนุน **เขียนชื่อ ชื่อเล่น กล่าวถึงประวัติการทำงานก่อนหน้า** วิ มั ง ส า (ฝ่ายสนับสนุน)๑. ความพร้อมทั้งกาย-ใจของตน๒. การพัฒนาแผนการทำงานของตนเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของรร. มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้นกว่าภาคเรียนในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่ อย่างไร สำหรับครูใหม่ที่อายุงานไม่เกินหนึ่งเทอมนั้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เรียนรู้ และปรับตัวในการทำงานฝ่ายสนับสนุนได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง ๓. ส่งผลอย่างไรบ้าง(ต่อตนเอง หรือ ต่อโรงเรียน) ๔. สิ่งที่เรียนรู้ ค้นพบ ๕. สิ่งที่ควรรักษาและสิ่งที่ควรปรับพัฒนา

C. ทุกคนแยกย้ายไปเขียนบันทึกของตนเองอย่างอิสระ ซึ่งแต่ละคนก็แยกย้ายกันไปบันทึกที่โต๊ะทำงานบ้าง ใต้ต้นไม้ ริมสระ หรือบนศาลาบ้าง ในรูปแบบของการพิมพ์ หรือเขียนด้วยลายมือตนเอง แล้วละเลงสีสันได้ตามใจชอบ

D. ใช้ผลงานนักเรียน หรือสื่อประกอบเพื่อเพิ่มความเข้าใจและทำให้ผู้ชมเห็นภาพชัดเจนขึ้น

E. หลังจากบันทึก ๒ ชั่วโมง แต่ละคนก็จะนำบันทึกของตนไปติดแปะบนผนังของห้องในมุมที่ตนชื่นชอบ โดยวงสื่อประกอบไว้ด้านข้าง

F. เพื่อนๆ เดินชม อ่านผลงานเขียนของเพื่อนครู

G. นั่งล้อมวง แล้วแบ่งกลุ่มตามกลุ่มสาระและฝ่ายสนับสนุน เพื่อให้คุณครูได้แบ่งปันประสบการณ์ ถามคำถามที่อยากถาม มีเวลาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากยิ่งขึ้น

H. นั่งล้อมวงใหญ่ เพื่อเขียนสรุป AAR ตามคำถามที่ให้บนสไลด์

I. แลกเปลี่ยนสิ่งที่เขียนในวงใหญ่ โดย ให้อาสาตามความสมัครใจ ๕ คน

J. AAR สรุปการเรียนรู้ร่วมกัน

คำถาม

- จากการทำกิจกรรมวิมังสาวันนี้ เรารู้สึกอย่างไร

- อ่านบันทึกของเพื่อนแล้ว เรารู้สึกอย่างไร ยกตัวอย่างเพื่อนที่อ่านแล้วประทับใจ ๓ คน

- นำไปปรับใช้กับชีวิตตนเองอย่างไร

  • รู้สึกผ่อนคลายโล่งใจที่ได้กลับมาทบทวนตัวเองและบอกสิ่งที่ทบทวนออกมาผ่านการเขียน จึงทำให้เห็นจุดบกพร่องบางอย่างที่เรามองไม่เห็นก่อนหน้านี้ได้ชัดขึ้น และรู้สึกประทับใจที่ได้อ่านของคนอื่น เพราะทำให้เราเข้าใจมากขึ้นตามความเป็นจริง (ครูทิดเบิร์ด สุทธิลักษณ์)
  • ได้เรียนรู้กระบวนการคิด ขั้นตอนการถ่ายทอดการทำหน้าที่ของแต่ละคนออกมา โดยทั้งหมดมาจากการเรียนรู้และความเข้าใจในงานที่ทำจริงๆ จากการแนะนำตัว สู่การจัดการความรู้ที่มีออกมาและทำให้คนที่ได้อ่านเข้าใจเพื่อนร่วมงานมากขึ้น ในส่วนของตนเอง ได้ฝึกการคิดทบทวนและกลั่นกรองข้อความเพื่อสะท้อนความรู้สึก เพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับรู้การทำงานของเรา ซึ่งมีทั้งผิดพลาดและประสบผลสำเร็จ (ครูอิ๋ว สุภาวดี)
  • รู้สึกว่ากิจกรรมนี้ดีมากๆ เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นต่อมการเรียนรู้ และทำให้เรารู้ว่าไม่ใช่เราคนเดียวที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรค แต่ยังมีเพื่อนๆอีกหลายคน (ทุกคน) ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคไปพร้อมๆกับเรา (ครูบี วิษณุ)
  • ชอบรูปแบบนี้ ใช้เวลาได้เต็มที่เพื่อศึกษางานของคนอื่น ไม่ง่วงเลยค่ะ (ครูเอ นภาลิน)
  • มีความสุขที่ได้เห็นความเพียรพยายามของครู รู้สึกสบาย ไม่เครียดเหมือนการทำวิมังสาปีก่อนๆ แต่ก็ได้ประโยชน์เป็นเทคนิค วิธีการ แรงบันดาลใจในการทำงานเหมือนกัน (ครูต่อ พิทักษ์)
  • รู้สึกผ่อนคลาย ไม่มีความกังวลเหมือนการวิมังสาครั้งก่อนๆ รู้สึกตั้งใจอ่านและเรียนรู้สิ่งที่เพื่อนเขียน รู้สึกได้ใกล้ชิดกับเพื่อนคนนั้นเวลาอ่านสิ่งที่เขาเขียน รู้สึกดี (ครูตู่ ธีรยุทธ)

ผู้บันทึก : ครูกิ๊ฟ ชุติยา

หมายเลขบันทึก: 602230เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2016 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2016 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท