โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ

วันนี้เข้าสู่ช่วงที่ 3 ของการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ ผมขอเรียนว่า "TSU Leader Class" ซึ่งในช่วง 3 วันนี้ เราจะเน้นเรื่องเศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ CEO Forum, PROBLEM - BASED LEARNING WORKSHOP: TSU Networking Development and Management เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับการบริหาร ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนรู้ร่วมกันในช่วงนี้ ลูกศิษย์ของผมจะได้รับมุมมองที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับการพัฒนาตนเอง องค์กร และสังคมของเรา

ผมขอใช้ Blog นี้ เป็นคลังความรู้สำหรับกิจกรรมในช่วงที่ 3 ของเราครับ

18 กุมภาพันธ์ 2559

การนำเสนอสรุปเนื้อหาและบทวิเคราะห์บทที่ 2-3 ของหนังสือ Think New ASEAN โดย กลุ่ม 2

(รายละเอียดในลิ้งค์)

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/136/427/original_group2thinknewasean18922916.pdf?1455809605

ความคิดเห็นจาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โจทย์วันนี้ จะได้ฟังคุณกรณ์ จะได้เตรียมตัวเผชิญความเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัตน์

มี ASEAN-US Conference โอบามาบอกอาเซียนมีความสำคัญระดับโลก

หนังสือนี้เขียนโดยฟิลลิป คอตเลอร์

ประทับใจการนำเสนอ

จะปรับปรุงหลักสูตรอย่างไร

ถ้าเข้าสู่อาเซียน แต่คนไทยไม่มีมาตรฐาน ก็แพ้ มาตรฐานต้องยกขึ้น ต้องใช้โอกาสปรับปรุงมาตรฐาน นวัตกรรมเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง

ทุกท่านต้องหลุดจาก Comfort Zone

ต้องรู้เขารู้เรา รู้ภาษาสื่อสาร

ต้องมีแรงกดดันจึงจะเก่งภาษา

ประเด็นนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของมหาวิทยาลัยทักษิณ เล่มนี้มองจากมุมธุรกิจ

การเข้าอาเซียนต้องเตรียมบุคลากรอย่างจริงจัง

ดีใจที่มองว่าอาเซียนเป็นโอกาสและภัยคุกคาม

นายกประยุทธ์วางแผนว่า เข้าอาเซียน แล้วพัฒนา

การนำเสนอสรุปเนื้อหาและบทวิเคราะห์ของหนังสือ The Economist โดยกลุ่ม 5

(รายละเอียดในลิ้งค์)

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/136/432/original_group5ThefutureofChinavsUSEconomy.pdf?1455809653

ความคิดเห็นจาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เคยเขียนผู้นำจีนแต่ละยุค Xi เป็นผู้นำเบ็ดเสร็จ

ผู้นำต้องรู้จักภาพใหญ่

อเมริกายุคโอบามาฟื้นมาจากวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่กระทบส่วนอื่นๆของโลกที่อ่อนแอ

ต้องมีทุนมนุษย์ สร้างนวัตกรรม

พัฒนานิสิตให้มีคุณธรรม ความคิดสร้างสรรค์ แล้วประเทศไทยจะรอด

ประเทศไทยมีโครงสร้างที่ล้มเหลว

ต้องกล้าทำอะไรนอกกรอบ

ที่มหาวิทยาลัยทักษิณพึ่งงบรัฐบาล 65%

เศรษฐกิจอเมริกา ทำให้การว่างงานลด ถ้าดอกเบี้ยขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว

คณะเศรษฐศาสตร์ควรมีวิชาเศรษฐกิจจีนกับอาเซียน

สรุปการบรรยายเรื่อง เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

โดย คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ภาระที่ท้าทายมากที่สุดคือ การพัฒนาเด็กด้วยระบบการศึกษาที่ดีขึ้น

ตั้งแต่ปีค.ศ. 1980-2017 อัตราขยายตัวเศรษฐกิจไทยสูงกว่าโลกมาก เป็นผลจากการลดจำนวนคนยากจน เหลือ 6-7%

ถ้าแบ่งช่วงละ 10 ปี ส่วนต่างความได้เปรียบลดลง

ต่อมาอัตราขยายของไทยลดลง น่าเป็นห่วงมาก

ช่วง 30 ปีก่อนหน้านี้ ทุกอย่างเอื้อต่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย

ต้นปีค.ศ. 1980 ค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ต้นทุนพลังงานต่ำลง และนำไปสู่อุตสาหกรรมปิโตร สร้าง Eastern Seaboard อุตสาหกรรมยานยนตร์ เป็นช่วงที่ต่างชาติเช่นญี่ปุ่นขยายการผลิต เป้นการสอดคล้องกับโลกาภิวัตน์

ปีค.ศ. 1985 มีข้อตกลงพลาซ่า ว่า สหรัฐกับญี่ปุ่นจะปล่อยให้เยนแข็งค่า ญี่ปุ่นจึงเริ่มผลิตในประเทศที่ค่าเงินไม่แข็ง ทำให้ไทยประโยชน์มากสุด เพราะไทยมีที่ดินมาก หนึ่งกลุ่มที่นิยมลงทุนคือบริษัทสับปะรดกระป๋อง เพราะมีไร่สับปะรดที่ถูกคาดว่าจะมาเป็นนิคมอุตสาหกรรม ช่วงนั้นค่าแรงต่ำ แรงงานล้นเหลือ นโยบายมีความยั่งยืนมั่นคง

ปัจจุบัน ความได้เปรียบไม่เหลือแล้ว กฟผ.บอกว่า แก๊สจะหมด ที่นำเข้าราคาสูงกว่าจากอ่าวไทย

แรงงานเป็นปัญหา คือ ค่าแรงสูงขึ้น ปริมาณแรงงานลดลง พึ่งแรงงานต่างด้าว 3-4 ล้านคน

ในอนาคตไทยจะแย่ลง เพราะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ในอนาคต ความแก่จะกลายเป็นวิกฤติ ปัจจุบันสัดส่วนวัยทำงานต่อเกษียณ 4: 1 ต่อไปจะเป็น 2:1

ถ้าคนไทยในอนาคตไม่เก่งขึ้น ต้องทำงานหนักขึ้น 2 เท่าเพื่อดูแลผู้สูงอายุ

รัฐบาลก็จะต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุ

วัยทำงานไทยปัจจุบันที่หลักประกันน้อยมาก

วัยทำงานไทยมีแค่ 10 ล้านคนเป็นสมาชิกประกันสังคมและข้าราชการ

แต่ 25 ล้านคนไม่มีหลักประกัน ในอดีตคิดพึ่งลูกหลาน แต่ลูกหลานก็ไม่มีความสามารถในการสร้างรายได้ดูแลผู้สูงอายุซึ่งมีอายุยืนขึ้น ไทยยังไม่มีการเตรียมการเรื่องนี้

นี่เป็นปัญหาที่ไทยต่างจากที่อื่น ต้องคิดตอบโจทย์

ถือว่าสายเกินไปในหลายเรื่อง เช่น จะรวยก่อนแก่หรือแก่ก่อนรวย แต่ตอนนี้จะแก่ก่อนรวยแน่นอน คือรายได้ต่อหัวของไทยต่ำกว่าเฉลี่ยโลก ถ้าให้เท่าเศรษฐกิจต้องโต 5.5% ไปอีก 25 ปีติดต่อกัน ในความเป็นจริง ปีนี้ โต 2.8%

ต้องมีการปรับตัว มียุทธศาสตร์เสริมความได้เปรียบ

อันดับแรก เกือบทุกเรื่องที่ทำต้องมีการปรับยุทธศาสตร์วิธีคิด

การผลิตสินค้าและการให้บริการเป็นเรื่องสำคัญ

เมื่อไม่นานได้ไปเยี่ยมชาวนาเกลือที่สมุทรสงคราม ที่น้อยลง เพราะค่าที่ดินสูงขึ้น จึงเปิดเป็นปั๊ม Modern trade นาเป็นสมบัติลูกหลาน บางคนขาย บางคนทำต่อ ทำให้หดตัวลง

ชาวนาเกลือ ขายเกลือ (ทำแบบธรรมชาติ) ได้กิโลกรัมละ 1 บาท

เมื่อไปดูที่ร้านค้าซุปเปอร์มาร์เก็ต ไม่สามารถหาซื้อเกลือทะเลไทยได้เลย แต่มีเกลือต่างประเทศ 200 กรัมขายประมาณ 500 บาท

ผู้เชี่ยวชาญอาหารตอบว่า คุณสมบัติทางสารอาหารไม่ต่างกัน เกลือไทยก็รสชาติดีมาก

ความต่างคือเรื่อง Packaging และความรู้

เคยไปคุยกับชาวนาเกลือ พวกนี้ไม่ทราบราคาขาย คนที่รู้จึงทำแบรนด์ไทย ขายได้ราคาเพิ่มขึ้น นำเครื่องเทศฝรั่งมาผสมเพื่อขายให้คนคุ้นเคยกับสินค้าต่างประเทศ เป็นการทำเกลือไทยให้อยู่ในมาตรฐานตะวันตก

ควรนำเกลือไทยมาทำรสต้มยำ แกงเขียวหวาน เพราะชาวต่างชาตินิยมอาหารไทย

ในทุกเรื่องต้องมีมุมมองใหม่ ไทยมีของดี แต่อาจขายไม่ได้ราคา

การท่องเที่ยว สินค้าบริการที่สำคัญ ญี่ปุ่นมีนักท่องเที่ยว 20 ล้านคนปีที่แล้ว สูงสุด นักท่องเที่ยวจากจีนเพิ่มขึ้น ความแตกต่างคือ ของไทยมีปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญ จีนก็ทำธุรกิจกันเอง เงินเข้ากระเป๋าคนจีนทั้งหมด ที่ญี่ปุ่น มีนักท่องเที่ยวจากจีน 5 ล้านคนเท่ากับ 1 ใน 4 แต่มาใช้เงินมากที่สุดที่ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงมีศัพท์ว่า เป็นความตื่นตาของญี่ปุ่นที่เห็นคนจีนทะลักมาจากรถทัวร์ กว้านซื้อของกลับ ในช่วงปีที่ผ่านมา คนจีนซื้อนมผงอันดับ 1 คนจีนไว้ใจญี่ปุ่น อันดับ 2 อิเลคทรอนิกส์ ที่ 3 สินค้าท้องถิ่น เงินเข้าญี่ปุ่น

รัฐบาลเคยเสนอให้ปรับลดสินค้าฟุ่มเฟือยให้เหลือ 0 แต่มันไม่ใช่สินค้าที่ผลิตในไทย

ควรทำให้นักท่องเที่ยวยอมรับสินค้าไทย เช่น ยกทรงวาโก้เป็นที่นิยมของจีน สินค้าประเภทอาหารควรมียุทธศาสตร์เพิ่มเติม

ช่วงปีที่ผ่านมา ก็ได้ทำโครงการ

  • English for all คนไทยต้องพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา คนไทยทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษได้
  • โครงการเกษตรเข้มแข็ง คนไทยจะแข่งขันได้ แม้เกษตรคิดเป็น 10% ของ GDP แต่ประชากรในภาคเกษตรมีมาก ภาคเกษตรเป็นอุตสาหกรรมในอนาคต ต้องมีการปรับความคิด เกษตรกรต้องมองตนเป็นผู้ผลิตอาหารโลก ชาวนานาภคอีสานมองว่าปลูกข้าวขายโรงสี ไม่ทราบว่าลูกค้าสนใจที่มาและคุณภาพข้าว ปัญหาคือนโยบายรัฐเน้นปริมาณ ทำให้ชาวนาไม่มีอำนาจต่อรอง ราคาตกต่ำ ขาดคุณภาพในทุกขั้นตอน จึงได้คุยกับชาวนาหมู่บ้านหนองหิน มหาสารคาม ทำเป็นนาดอน มีปัญหาน้ำ แต่ข้าวหอมมะลิที่ปลูกอร่อยที่สุดในไทย แต่ยิ่งทำนายิ่งจน ตอนนี้หนี้ครัวเรือนไทย 84% มาจากรายได้น้อยกว่ารายจ่าย รัฐผลักให้ประชาชนเพิ่มหนี้จะได้มีเงินมาใช้สอย จึงจะต้องพัฒนาสินค้าให้เป็นพรีเมี่ยมคือ มีคุณภาพจริง เลิกใช้สารเคมี ปลูกในแนวอินทรีย์ มีที่มา เรื่องราว branding packaging ชื่อว่า ข้าวอิ่ม ทำบรรจุภัณฑ์ดีขึ้นโดยจากถุงผ้าที่ทอในท้องถิ่น อาศัยเทศกาลช่วยทำการตลาด ราคาขายกิโลกรัมละ 120 บาท และจะมีปันผลกลับให้ชาวนาด้วย มีการระบุที่มาข้าว มีรูปชาวนาที่ถุงข้าว เป็นการสร้างเรื่องราวความผูกพัน ชาวนายังขาดประสบการณ์ในการทำการตลาด

ฝรั่งเศสเริ่มพยายามทำการตลาดไวน์ 150 ปีที่แล้ว ชนิดแรกคือ บอร์โด และสร้างค่านิยม ให้ความรู้ผู้บริโภค ทำให้คนมีค่านิยมดื่มไวน์คู่กับอาหาร เวลากินข้าวไม่มีใครสนใจว่ามาจากที่ใดเป็นพันธุ์อะไร

ได้พบผู้ว่า และเกษตรจังหวัด ทราบว่า มีการปลูกไรซ์เบอร์รี่ซึ่งล้นตลาด จึงได้เสนอให้ปลูกพันธ์ท้องถิ่นแล้วส่งเสริมการตลาด

ปัญหาเกษตรอินทรีย์คือประกาศนียบัตรแพงมาก ควรมีประกาศนียบัตรไทยเอง ควรจัดเทศกาลข้าว

ภาครัฐสามารถช่วยการตลาดได้ดีขึ้น

ได้ไปหารือกับผู้บริหารการบินไทย เวลาเสิร์ฟอาหาร มีการให้เลือกขนมปัง แต่ไม่มีการให้เลือกชนิดข้าว จึงได้นำข้าวยี่ห้ออิ่มไปให้การบินไทยทำเป็นอาหารเสิร์ฟบนเครื่องบินแต่ทำได้เฉพาะสายในประเทศเท่านั้น

ต้องมียุทธศาสตร์ชัดคือยกระดับข้าวไทย ไทยส่งออกข้าว 10 ล้านตัน จาก 70 ล้านตันทั่วโลก

คนจีนชั้นกลางย้ายออกนอกประเทศ

ตอนที่คุณกรณ์เป็นรัฐบาลพยายามทำให้นักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น เวลาคนจีนขึ้นมาชั้นกลาง ก็ออกมาเที่ยว ใส่ใจคุณภาพสินค้า

สินค้าอาหารเป็นที่ยอมรับของจีนและภูมิภาคนี้อยู่แล้ว ควรเน้นคุณภาพ

ไทยควรผลิตสินค้าและบริการระดับพรีเมี่ยมทุกชนิด

ชาวนาควรเน้นเกษตรอินทรีย์ รัฐต้องกระตุ้นความตื่นตัวการตลาด

ลีเซียนลุงมักไปพบนักธุรกิจล่วงหน้าก่อนการประชุมต่างๆ สะท้อนสิ่งที่สิงคโปร์มองในอนาคต ให้บริษัทต่างๆลืมสิงคโปร์

นายกประยุทธ์บอกว่า ทุกอุตสาหกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น ไทยจะมีบทบาทอย่างไรในการผลิตรถยนต์ชนิดใหม่

กรณีโกดัก ประสบปัญหาเทคโนโลยีเปลี่ยน ทำให้เกือบสูญหายไป

Apple จะผลิต i-Car ที่ระยองหรือไม่หรือไปผลิตที่ประเทศที่เทคโนโลยีดีกว่าและให้การสนับสนุนดีกว่า

ต้องทำให้คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ ต้องเริ่มจากอนุบาล

การศึกษาขึ้นกับโอกาสการเข้าถึงการศึกษา

เคยจ้างครูฟิลิปปินส์สอนเด็กอนุบาลที่โรงเรียนวัดที่พิษณุโลก ติดตามประเมินผล พบว่า เด็กสนุกกับการเรียน ไม่มีความกลัว มีความกล้าพูด และมีสำเนียงดีมาก

โครงการนี้เตรียมไว้ผลักดันให้เด็กทั่วประเทศ แต่ละห้องเรียนมีนักเรียนไม่เกิน 20 คน ครูต้องสอนเด็กต่อเนื่อง 6 ปี ประเทศแอฟริกาใต้จะส่งครูมาให้ปีละ 3,000 คน ยังมีจากประเทศอื่นมากมาย

ลงทุน 4,000 ล้านบาทต่อปีเพื่อให้เด็กพูดภาษาอังกฤษได้ถือว่าคุ้มค่า และต้องทำ และจะทำให้คนไทยแข่งขันได้

ได้ไปอิสราเอลเพื่อดูงานด้านการบริหารน้ำ เป็นประเทศทะเลทรายที่ส่งออกน้ำให้ประเทศเพื่อนบ้าน ถือเป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้วย

ระบบน้ำหยดไทยยังไม่ได้สนับสนุนให้ใช้ในวงกว้าง เคยนำไปทดลองกับแปลงมันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 เท่า ใช้น้ำแค่ 1 ใน 3 ใช้ปุ๋ยลดลงกว่าครึ่ง เจ้าของไร่สามารถเปิดปิดน้ำโดยไม่ต้องจ้างคนงาน งบลงทุนเฉลี่ยแค่เดือนละ 30,000 บาท ใช้ได้ 4 ปี

สิ่งสำคัญต้องมียุทธศาสตร์ชัด

ต้องมีการยกระดับทุกอย่าง ต้องผลิตสินค้าพรีเมี่ยมเท่านั้น แล้วกลับไปดูว่าจะไปจุดนั้นได้อย่างไร ก้คือใช้การศึกษาพัฒนาคน

ช่วงคำถามและแสดงความคิดเห็น

คนที่ 1

ภรรยาทำกอช. ขอบคุณคุณกรณ์ที่ผลักดันกอช. (กองทุนการออมแห่งชาติ)

คุณกรณ์

กอช. (กองทุนการออมแห่งชาติ) ตอนเป็นรัฐมนตรี ก็มองว่าเป็นการตอบโจทย์หลักประกันในชีวิตประชาชน เป็นโครงสร้างที่มีส่วนร่วมโยสมัครใจ ประชาชนออม 100 บาท รัฐบาลให้เพิ่มอีกเป็น 200 บาท และให้ดอกเบี้ยดีกว่าธนาคาร

แต่ระบบราชการไม่เอื้อต่อการขับเคลื่อน กองทุนนี้เคยตั้งเป้าว่า ภายใน 5 ปีจะทำมีสมาชิกให้ครบ 5 ล้านคน ควรมียุทธศาสตร์เปิดรับสมัครสมาชิกผ่านโรงเรียน หลายโรงเรียนมีธนาคารโรงเรียน ก็จะมาร่วมกับกองทุนด้วย

คนที่ 2

ถ้ามีโอกาสกลับมาเป็นผู้บริหาร ยุทธศาสตร์ควรเน้น Sector ใด

คุณกรณ์

หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำเร็จคือ การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนตร์ จึงเปิดเสรีให้ประเทศต่างๆมาผลิตได้

รัฐเริ่มรู้ว่าราคายางพาราจะดีตลอดไปจึงส่งเสริมปลูกยางทั่วประเทศ

คนรู้ดีคือเอกชนและประชาชน แต่รัฐก็ช่วยส่งเสริมได้

ควรเน้นอุตสาหกรรมอาหาร ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้น ชนชั้นกลางมากขึ้น มีกำลังซื้อมากขึ้น

ควรสนใจอุตสาหกรรมการแพทย์ การให้บริการผู้สูงอายุ

คนที่ 3

โครงการ English for all เป็นโครงการดี งบสอนควรพัฒนาศักยภาพครูไทยที่สอนภาษาอังกฤษด้วย

คุณกรณ์

สอนเด็กง่ายกว่าสอนครู แต่ก็จะต้องพัฒนาครู ได้ไปหารือกับวอลสตรีท ก็มีหน่วยราชการส่งคนไปเรียนด้วย 3 ปีทำให้พูดภาษาอังกฤษได้ ควรมีการสนับสนุนให้ลูกจ้างได้ไปเรียนด้วย ต้องมีบรรยากาศการใช้ภาษาอังกฤษทั่วประเทศด้วย

คนที่ 4

ควรจัดนัดบอดอาจารย์ไทยกับอาจารย์ต่างชาติ จะได้ฝึกภาษา ทำให้ได้ประโยชน์มากมาย ได้เรียนรู้วัฒนธรรม

คุณกรณ์

เชื่อในเสน่ห์คนไทยไม่จำเป็นต้องมีนโยบายนี้ก็ทำได้อยู่แล้ว

คนที่ 5

ยุทธศาสตร์ต้องชัด ต้องมีความเป็นพรีเมี่ยม เกรงว่า เด็กจะไม่กล้าเข้ามาเรียน

คุณกรณ์

ไม่จำเป็นพรีเมี่ยมสำหรับทุกคนเสมอไป จากการสนทนากับผู้ประกอบการ ร้านขายขนมเค้ก After You ประสบความสำเร็จจนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ที่ห้างมีพนักงานทำความสะอาดมานั่งกินฮันนี่โทสต์ปีละครั้ง ให้รางวัลชีวิต

การทำของมีคุณภาพ ราคาจะสะท้อนคุณภาพแล้วจะสร้างตลาดของตัวเองขึ้นมา

ต้องกล้ากำหนดมาตรฐานสูงกว่าตลาด

อีกส่วนก็คือการเปลี่ยนค่านิยม ถ้าข้าว 120 บาทเปรียบเทียบกาแฟคาปูชิโนสตาร์บัคส์ 150 บาท ข้าวจะราคาถูกลง แทนที่จะเปรียบเทียบกับข้าวกันเอง

ต้องทำงานหนักกับเกษตรกร ลงทุนเครื่องแพ็คถุงข้าวด้วยกัน จะสีข้าวตามความต้องการตลาดเท่านั้น ถ้าต้องการพรีเมี่ยม ต้องมีการปรับตัว

คนที่ 6

มหาวิทยาลัยทักษิณควรไปในทิศทางไหน

คุณกรณ์

ขอเล่ามุมมองฝากให้ทางมหาวิทยาลัยคิดต่อ

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวาณิช

ภาษาอังกฤษเป็นปัญหาหนักของประเทศไทย ถ้ามีตำบลละ 1 โครงการจะเปลี่ยนประเทศไทย

เคยมีฝรั่งเสนอโมเดลสอนภาษาอังกฤษ แล้วรัฐทดสอบเด็กที่เรียน

จะมียุทธศาสตร์แก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์อย่างไร

คุณกรณ์

แก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์ ก็ต้องทำให้ทุกคนเสมอภาคในโอกาส ประชาชนก็ต้องอยู่ในระบอบประชาธิปไตย แล้วประชาชนก็จะมีโอกาสและการพัฒนา

ระบบอุปถัมภ์ทำให้คนไม่กี่คนเข้าถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจ ต้องเป็นคนที่มีศักยภาพในการเข้าถึงก็เป็นผู้นำระดับสูงทางธุรกิจ แต่ถ้าเป็นประชาธิปไตย ก็จะผ่านผู้แทน

ระบบอุปถัมภ์ในระยะหลังได้รับการส่งเสริมในระดับสถาบัน มีการส่งคนไปเรียนหลักสูตรสร้างรุ่น เพื่อต้องการความได้เปรียบจากการมีเส้นสาย

ควรยกเลิกหลักสูตรเหล่านี้ แต่รักษาไว้เฉพาะวปอ.ที่ตัดภาคเอกชนออกไป และให้มีเฉพาะข้าราชการมาเรียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตามปกติไม่ค่อยได้เชิญนักการเมืองมาบรรยายมากนัก จากการได้คุยกับคุณกรณ์ ก็เชิญมาที่หลักสูตรนี้

การเป็นนักการเมืองที่ดี เมื่อลงเลือกตั้ง ก็เป็นประโยชน์ต่อประเทศ

แม้คุณกรณ์ไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็ผลักดันเรื่องเกษตรและภาษาอังกฤษ

อยากให้นำเสนอมุมมองว่า จากการฟังคุณกรณ์ จะพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณอย่างไร

การเมืองกับความรู้ก็ไปด้วยกัน

หลายโครงการก็ผลักดันโดยนักการเมือง

คุณกรณ์เป็นคนดี ใฝ่รู้ ปะทะกับความจริง

ถ้ามีโครงการที่ดีอาจจะส่งไปให้คุณกรณ์ดูได้ อาจจะกลายเป็นจริงก็ได้

ขอขอบคุณคุณกรณ์

สิ่งที่คุณกรณ์พูด ต้องนำไปคิดต่อ

คุณกรณ์

นักการเมืองมีความคิดมาจากผู้รู้มาประมวลเป็นนโยบาย และก็ต้องพึ่งพาภาคเอกชน วิชาการและราชการ

เรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำคัญมาก มีส่วนขับเคลื่อนทุกภูมิภาคในมิติที่ต่างกัน ต้องแสวงหาตัวตนให้ได้ต่อ

ถ้าไม่มีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

ผู้แทนกลุ่ม 5 กล่าวขอบคุณ

ขอบคุณคุณกรณ์ที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อช่วยยกระดับการและสามารถอยู่รอดได้ ทางมหาวิทยาลัยจะได้นำไปปรับตัว

ขอให้ท่านเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

CEO Forum

โดย

คุณจันทนา สุขุมานนท์ ผู้บริหาร บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง

นายสมบัติ ศานติจารี อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

CEO คือ Chief Executive Officer

เวลาที่ฟัง ก็ต้องนำประเด็นที่ตรงตามความต้องการมาประยุกต์ใช้

นายสมบัติ ศานติจารี

เพิ่งได้รู้ว่ามหาวิทยาลัยทักษิณคือมศว.เดิม

บุคลากรเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

การที่ได้เป็นกรรมการสภา ทำให้ทราบข้อจำกัดภาครัฐมากมาย ทำให้เห็นใจเพราะเสนออะไรไปก็ทำไม่ได้เพราะติดเรื่องงบประมาณ งบประมาณจะช่วยให้พัฒนาได้ต่อเนื่องและสร้างคุณภาพให้องค์กร

เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ลูกคุณสมบัติบอกว่า เพื่อนจะมาสัมภาษณ์เรื่อง CEO ก็คล้ายกับเรื่องนี้คือ

การเป็นผู้ว่าการต้องมีประวัติที่ดี เป็นที่ยอมรับ ต้องผ่านกระบวนการสรรหา ต้องเป็นคนซื่อสัตย์ คนขยัน ทันสมัย สื่อสารเก่ง

ในการเลือกทีมงานก็ต้องเป็นคนซื่อสัตย์ คนขยัน ทุ่มเทในการทำงานให้องค์กร

จะทำงานให้สำเร็จ ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดีเหมาะกับองค์กรและทรัพยากร ทะเยอทะยานแล้วต้องทำได้

ผู้นำต้องมองธุรกิจองค์กร เช่น ในอนาคตจะต้องเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียง แปลงวิสัยทัศน์เป็นพันธกิจ

ทีมงานสำคัญ CEO ทำงานคนเดียวไม่ได้

CEO ต้องบริหารความเกรงใจ บริหารคน

เรื่องคนก็แก้ได้ คือ CEO ต้องเป็นตัวอย่าง ปกครองคนด้วยความเป็นธรรม นำข้อมูลมาปรับปรุง

จากที่ได้เรียนต่างประเทศ ทำให้ทราบว่า ต้องบริหารคนให้เหมาะสม ความเป็นธรรมสำคัญที่สุด ก็ต้องให้พนักงานแต่ละคนอยู่ในที่ที่ทำงานได้เหมาะสม

ในเรื่องการสื่อสาร ก็ต้องมีการหารือกับรองผู้ว่าการและระดับผู้อำนวยการ แต่บางครั้งก็มีช่องว่างในการสื่อสาร จะต้องนำเสนอว่าแต่ละปีจะทำอะไรเพื่อให้ผลักดันง่ายขึ้น ต้องมีการไปเยี่ยมเยียนส่วนตัวด้วย

บางหน่วยงานมีสหภาพ ผู้บริหารต้องเชื่อมโยงกับสหภาพให้ดี อาจจะมีการหารือ มีกิจกรรมสัมพันธ์ เน้นการรักษาประโยชน์ ห้ามนอกประเด็น

ต้องมีการประชุมทุกเดือนเพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วม

หัวหน้าต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อสร้างศรัทธา อย่าทำเพื่อสร้างภาพ

เป็นกรรมการสภาต้องคอยดูอยู่เบื้องหลัง อย่าไปก้าวก่าย CEO

การให้เกียรติเป็นเรื่องสำคัญ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ที่คุณสมบัติพูดคือ การเป็น CEO ผู้นำกฟผ.มักจะเก่งเฉพาะด้าน ในความเป็นจริง CEO ต้องรู้กว้าง สนใจภาพรวม

ตอนที่เป็นผู้ว่าการกฟผ. ขอให้ยกตัวอย่างเรื่องวิกฤติ เช่น วิกฤติความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ.ต้องปรับพฤติกรรมในการทำงานกับชุมชน ถ้าไม่ปรับตัว ก็จะถูกแย่งงานไป

นายสมบัติ ศานติจารี

การเป็น CEO ต้องรับผิดชอบทุกอย่าง แต่ก่อนงาน CSR กับงานกับชุมชนไม่ค่อยได้ทำ

ปี 2535 กฎหมายสิ่งแวดล้อมเคร่งขึ้น ประชาชนเริ่มมีส่วนร่วมมากขึ้น

กฟผ.มีเงิน ความรู้เทคนิค แต่จะไม่ได้ทำเพราะรัฐธรรมนูญให้สิทธิชุมชน เคยจ้างสถาบันสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยมหิดลมาสอน

ปัญหาคือ NGOs ไม่ยอมรับความจริง แม้กฟผ.จะให้หน่วยงานวิชาการวิเคราะห์แล้วการสร้างโรงไฟฟ้าไม่สร้างผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน

กฟผ.ยังมีจุดอ่อนในการสร้างการยอมรับของประชาชน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กฟผ.มีสัดส่วนในการสร้างโรงไฟฟ้าน้อยลง จะมีผลต่อความมั่นคงทางพลังงาน ทางรัฐมองเห็นว่า สามารถหาเงินจากเอกชนได้มากกว่ากฟผ.

ปัญหาคือ กฟผ.ไม่มี soft skill

คุณจันทนา สุขุมานนท์

ผู้นำเป็นทั้ง born-to-be และสร้างได้

ผู้นำต้องทำวิกฤติให้เป็นโอกาส จากการที่เป็นพี่คนโตที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ น้องจึงมีบทเรียนแล้วพยายามสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้

เมื่อเรียนจบก็ไปเรียนต่อต่างประเทศ หาเงินเอง เรียนจบ ก็ต้องทำงานให้ได้เงินดี

สูตรสำเร็จของ CEO

ต้องมีวิสัยทัศน์ ทำได้โดย

-ถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ลงทุน ชุมชน พันธมิตร พนักงาน

-รู้ว่าจะไปที่ไหน Distinct Needs คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มต้องการอะไร

-Value Proposition ไปเสนออะไร เช่น ลูกค้าต้องการให้แก้ปัญหา

นำทุกข้อข้างต้นมาทำเป็นยุทธศาสตร์

ต้อง serve want ไม่ใช่ need ต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางว่าต้องการอะไร แล้วทำยุทธศาสตร์ว่าต้องการเป็นอะไร

วิสัยทัศน์คือตอบสนองทุกความต้องการ

คนที่เหมาะสม the right people เป็นคนที่องค์กรที่ต้องการ

Organization capability ต้องรู้ว่าพนักงานแต่ละคนเก่งเรื่องอะไร มีจุดอ่อนอะไร

กำหนดค่านิยมหลัก เป็นสิ่งที่คนต้องรู้ ต้องมีไม่เกิน 4 คำ

สำคัญที่สุดคือ Teamwork ปูนซิเมนต์นครหลวงไม่รับคนจบปริญญาเอกเพราะทำงานกับใครไม่ได้

ทำสิ่งที่ถูกต้อง

กล้าคิด กล้าทำ

ห่วงใยใส่ใจอนาคต

คนที่เป็น CEO ต้องมีวิสัยทัศน์ มองภาพรวม บอกและกำกับทุกคนว่าจะทำอะไร ไม่จำเป็นต้องลงมาทำเอง

ต้องบริหารวิธีการคิด เปลี่ยนที่ตนเอง ต้องเรียนรู้ทุกวัน

คนจะประสบความสำเร็จได้ แต่ละคนสามารถเลือกชีวิตตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นเลือกให้ การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญ ต้องเรียนรู้ด้วยตนเองด้วย ชีวิตคือการเรียนรู้

ทุกคนมี 24 ชั่วโมง ต้องบริหารเวลาให้ดี ทำงานหนัก ทำให้ดีที่สุด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณจันทนาเป็น CEO มีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำหญิงในบริษัทปูนซิเมนต์ถือเป็นเรื่องยาก

ถ้าเป็นอาจารย์ปริญญาเอกอายุน้อย ก็ควรจะเตรียมตัวขึ้นระดับสูง

CEO คือผู้มีตำแหน่งมาจากคำว่า Chief Executive Officer แต่ต้องผสมบทบาทระหว่าง Leader และ Manager อย่างเหมาะสม

คำว่า Executive คงมาจากคำว่า Execution ซึ่งแปลว่าทำงานให้สำเร็จ Get things done โดยเอาชนะอุปสรรค

ถือเป็นหน้าที่ใหญ่ของ CEO

Peter Drucker ให้ข้อเสนอแนะว่า

1. Ask what needs to be done

ถามตัวเองว่าเราต้องทำอะไรให้สำเร็จ

2. Ask what’s right for enterprise

ถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องลงมือทำ

3. Develop action plans

พัฒนาแผนปฏิบัติการ

4. Take responsibility for decision

รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

5. Take responsibility for communicating

รับผิดชอบต่อการสื่อสาร

6. Focus on opportunities not problems

มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา

7. Run productive meetings

จัดให้มีการประชุมที่สร้างให้เกิดผลผลิต

8. Think and say We not I

คิดและพูดด้วยคำว่า “เรา” ไม่ใช่ “ฉัน”

จากประสบการณ์ที่ดร.จีระเคยทำงานในมหาวิทยาลัย เสนอว่า

-CEO ของมหาวิทยาลัยต้องสร้าง Impact ต่อมหาวิทยาลัยหรือระดับคณะ อย่าเป็นเพราะแค่มีตำแหน่ง

- ทำอะไรที่นอกกรอบ เช่น กล้าหาญในการหา RESOURCES จากข้างนอก ไม่พึ่งพางบประมาณแผ่นดินเท่านั้น

-ต้องผสมกลมกลืนระหว่างผู้นำองค์กร+ความเป็นวิชาการ

-ต้องมี Global Mindset และเข้าใจ เข้าถึงชุมชน อาจจะพูดได้ว่า “Global + Local”

-ในเมืองไทยยังจำเป็นอยู่ คือ มี “Academic Credentials”มีผลงานทางวิชาการที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ยอมรับ และยอมรับภายในมหาวิทยาลัยของตัวเอง

-ต้องมีความเข้าใจเรื่องธุรกิจให้เหมาะสมกับบทบาทของมหาวิทยาลัย

-ต้องไม่ใช่แค่ CEO ของมหาวิทยาลัยต้องสร้าง CEO ให้เกิดขึ้นในนักศึกษา คณาจารย์ ชุมชน และสังคม ยกตัวอย่าง Harvard, Cambridge, Oxford หรือ Stanford เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้าง CEO ทุกระดับของโลก ถึงเรายังไม่ถึง Level นั้น แต่ก็ควรจะ Aim high

-ต้องทำตัวเป็นพ่อแม่ คือ มองนักศึกษาเหมือนลูกหลาน เอาใจใส่ จบไปแล้วทำอะไร อยู่กับ TSU ได้ทำอะไร คุ้มค่าหรือไม่?

-ต้องรู้จัก Traditional ของมหาวิทยาลัย เช่น ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ต้องรู้ว่าเกิดมาจาก มศว. ถ้าธรรมศาสตร์ต้องรู้ว่าเกิดมาจากประชาธิปไตย หรือจุฬาฯ ต้องรู้ว่ามาจากระบบกษัตริย์ และจรรโลงวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง แต่รักษาคุณค่าที่ดีของเดิมไว้

ในหนังสือเรื่อง THE LEAN CEO มี 3 ประเด็นที่ผมเห็นด้วยและน่าจะเหมาะสมกับ TSU คือ

- CEO ต้อง Inspire และ Motivate คนในมหาวิทยาลัยให้ “ทำและทำให้ดี ต่อเนื่อง”จุดอ่อนของ CEO ในมหาวิทยาลัย คือ จะสนใจงานวิจัย งานวิชาการ แต่ไม่สนใจเรื่องทุนมนุษย์เท่าที่ควร

- อีกประเด็นหนึ่ง คือ CEO ต้องให้ความสนใจในคน หรือ ทุนมนุษย์ก่อนเรื่องอื่น ๆ “Put People First” ซึ่งก็ยากอีก เพราะทุนมนุษย์ต้องใช้เวลา หวังผลได้ระยะยาว

- ส่วนประเด็นสุดท้ายจากหนังสือบอกว่า.. ต้องสร้างให้มหาวิทยาลัยเป็น Learning Organization ซึ่งก็ยากอีกเพราะต้องมีวิธีการ หรือ Process และต้องต่อเนื่อง

แต่ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ ในหนังสือ THE LEAN CEO บอกว่า ถ้ามี CEO ที่เก่ง แต่คนในองค์กรไม่ต้องพึ่งพา แต่มอบอำนาจ หรือ Empowerment และบทบาทที่แท้จริงแก่คนในองค์กร CEO ในมหาวิทยาลัยมักจะ Top – down เลยขาดการให้พลัง (Energy) แก่ผู้อื่น

ส่วนหนังสือ 60 MINUTE

- CEO ที่ดี ต้องอย่ามองตัวเอง มอง CUSTOMERS คือ นักศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ลูกน้อง และผู้เกี่ยวข้องว่าเขาต้องการอะไรจึงมาที่ TSU ถ้ามีหลักสูตรระยะสั้น เขาได้อะไร? มีงานวิจัย.. เขาได้อะไร? ได้คุณค่าอะไร คุ้มกับ 4 ปีหรือไม่?

- เรื่องคน เขาเน้น Loyalty ซึ่งสำคัญมาก ๆ คำถาม คือ จะทำอย่างไร?

- และสุดท้าย เขาเน้นว่า CEO ในยุคใหม่จะต้องมี Diversity และมีความเข้าใจในการบริหารการเปลี่ยนแปลง หรือ Change

กฏ 10 ข้อ คงจะช่วยทำให้ TSU มีประสบการณ์มากขึ้น ทำต่อเนื่องแบบ 3 ต.

WORKSHOP :

กลุ่ม 1: Genius ants

(1) นำแนวคิดและวิธีการของ 3 คน คือ ท่านสมบัติ คุณจันทนา และ ดร.จีระ มาวิเคราะห์ว่าส่วนใดเหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยทักษิณ

อ. สมบัติ ศานติจารี

  • การบริหารจัดการต้องมีธรรมาภิบาล คือ ให้ความสนใจกับทุกคนทุกภาคส่วน โปร่งใส ซื่อสัตย์ เพื่อให้ได้ความยอมรับและความร่วมมือจากทุกคน
  • บริหารความเกรงใจ คือ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และปกครองคนอย่างเป็นธรรม มีการสื่อสารเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นตัวอย่างที่ดี

อ.จันทนา สุขุมานนท์

  • เรียนรู้จากความผิดพลาด พลิกวิกฤติเป็นโอกาส
  • การทำงานเป็นทีม : ทำงานในรูปคณะกรรมการ
  • กล้าคิดกล้าทำ : การทำแผนยุทธศาสตร์
  • ห่วงใยใส่ใจ
  • วางคนให้คนกับงาน ในหลายครั้งต้องมี Transformation

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ต้องยืนได้ด้วยตนเอง
  • มีความกลมกลืนระหว่างผู้นำองค์กรกับวิชาการ
  • ต้อง Execution: มียุทธศาสตร์ชัดเจน

กลุ่ม 2

(1) นำแนวคิดและวิธีการของ 3 คน คือ ท่านสมบัติ คุณจันทนา และ ดร.จีระ มาวิเคราะห์ว่าส่วนใดเหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยทักษิณ

TSU มหาวิทยาลัยอยู่ในความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีทั้งวิกฤติและโอกาส

ท่านสมบัติ

เน้นธรรมาภิบาล หน่วยงาน mission เกิดจากค่านิยมร่วม ผลประโยชน์ร่วมสอดคล้องวิธีการดำเนินงานขององค์กร

คุณจันทนา

วิเคราะห์ core Values ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน กำหนดพฤติกรรมในองค์กร จะได้ core Values ต้องยกตัวอย่างสกัด core Values ออกมาสำคัญในการสร้างองค์กรและกำหนดทิศทางองค์กร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การได้รับความไว้วางใจต้องภายใต้เงื่อนไขธรรมาภิบาล

คิดนอกกรอบ คือคิดที่ทำงานให้สำเร็จและมีความสุข

กลุ่ม 3

(3) อุปสรรคที่ทำให้มหาวิทยาลัยทักษิณไม่สามารถมีหรือสร้าง CEO ที่มีคุณภาพได้ คืออะไร และจะแก้อย่างไร?

ปัญหามาจากคน อาจารย์ก็จบมาเฉพาะยาก จะปรับปรุงตัวยาก

CEO ของมหาวิทยาลัยอยู่ตามวาระ การสรรหาเป็นแบบระบบอุปถัมภ์ แก้ได้โดยปรับวัฒนธรรมองค์กร ให้มีการประชาพิจารณ์ ขจัดระบบอุปถัมภ์

CEO ขาดอิสระในการตัดสินใจ มีกรรมการสภามากดดัน แก้ได้โดยต้องเพิ่มการกระจายอำนาจให้มีอิสระในการทำงาน

ทางมหาวิทยาลัยยังสลัดกรอบราชการไม่ออก ติดกฎระเบียบมากมาย แม้จะออกนอกระบบ แต่กฎยังไม่คลาย แก้ได้โดยเน้น outcome มากกว่า process

ขาดการสร้างทายาท CEO เพราะใช้ระบบการสรรหา แก้ได้โดย ต้องพยายามสร้าง CEO รุ่นใหม่ ทำงานเป็นทีม เน้นสร้างเครือข่าย ต้องแก้ไขระบบการสรรหา

อาจารย์ก็มีความชำนาญเฉพาะด้าน ปรับเปลี่ยนทัศนคติยาก แก้โดยจัดกิจกรรมออกไปหาชุมชน เพื่อปรับตัวและเรียนรู้มากขึ้น

การสร้างนิสิตเป็น CEO ในอนาคต

ยังขาดระบบอยู่ เพราะกฎเกณฑ์บังคับจนไม่มีเวลาเหลือให้พัฒนาลูกศิษย์

การจัดการสอนไม่ส่งเสริมให้นิสิตทำกิจกรรมแล้วนำเสนอตนเอง

แก้โดยลดชั่วโมงเรียน ส่งเสริมให้ทำงานกลุ่มและเพื่อสังคม

กลุ่ม 4

(2) นอกจากจะต้องมี CEO ระดับมหาวิทยาลัยและคณะ หรือ สำนักแล้ว มหาวิทยาลัยทักษิณจะต้องเป็นแบบอย่างมหาวิทยาลัยที่สร้าง CEO หรือผู้นำในอนาคตเพื่อภาคใต้และ ASEAN ต้องทำอย่างไร?

เมื่อมองมหภาค มหาวิทยาลัยอยู่ที่ไหนเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์

อาจารย์จีระเป็นผู้ให้ ทิ้งมรดกไว้

ทางมหาวิทยาลัยต้องสนองความต้องการคนในภูมิภาคและต้องมองประเทศใกล้เคียง

ทางมหาวิทยาลัยอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอายุมากขึ้น

ต้องการจะผลิตนักเรียนเป็น CEO

ต้องการนักเรียนที่มาจากต่างประเทศด้วย

บริษัทในท้องถิ่น ผลิตนักเรียนสนองความต้องการบริษัทในท้องถิ่น

ผู้นำชุมชน สามารถสร้างได้และเป็นตัวเชื่อมระหว่างสถาบัน

องค์กรข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคภาคใต้

คิดถึงหลักสูตรพัฒนาคน โดยสร้างภาพ branding และ imagine ทำให้คนนึกถึงมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยต้องสร้างคนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ

CEO ที่ผลิตขึ้นมาก็ต้องมีคุณธรรม

หลักสูตรต้องเป็นเชิงที่ปฏิบัติได้ (active,proactive,productive,creative, positive, cooperative)

ต้องมองภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย

กลุ่ม 5

(3) อุปสรรคที่ทำให้มหาวิทยาลัยทักษิณไม่สามารถมีหรือสร้าง CEO ที่มีคุณภาพได้ คืออะไร และจะแก้อย่างไร?

การได้มา

ต้องแสดงผลงานสำเร็จในอดีตและสิ่งที่อยากทำในอนาคต และมีการรับรองจากประชาคม

สภาพแวดล้อมการทำงานภายในองค์กร

สร้างค่านิยมร่วมกัน วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นมืออาชีพอย่างมีจริยธรรม ที่เน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ขาด Entrepreneurial Spirit

สร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงมหภาคเชื่อมโยงสู่จุลภาค มีความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ กล้าเสี่ยงอย่างมีตรรกะ

ขาดทักษะการจัดการเชิงกลยุทธ์

กำหนดทิศทางชัดเจน สร้างเป็นนักปฎิบัติที่มีวิธีการที่ทำได้จริงนำไปสู่เป้าหมายได้จริง นักแก้วิกฤติ ต้นแบบที่ดี มีความอบอุ่น

ขาดแรงจูงใจ สิ่งจูงใจ

ผลตอบแทนที่มีความเหมาะสมต่อความสำเร็จของผลงาน

ขาดทักษะการจัดการการเปลี่ยนแปลง ความขัดแย้ง

Transformational leadership มีมนุษยสัมพันธ์

นักสื่อสารที่ดี นักประสานผลประโยชน์

ขาดความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

มีความสามารถในการจัดการความรู้ทั้งบุคคล กลุ่มและองค์กร

มีการสร้างทายาท CEO มืออาชีพ

ข้อเสนอแนะ

นายสมบัติ ศานติจารี

ทุกคนได้รับการถ่ายทอดได้ไประดับหนึ่ง

กลุ่มแรกเสนอว่าต้องให้เกียรติกัน จะได้ความร่วมมือที่ดี

Motivation อยู่ในด้านการสื่อสาร

คุณจันทนา สุขุมานนท์

ทุกคนเก่งมาก มีความคิดของตนเอง

ชอบที่อาจารย์จีระให้คำถาม ผู้บริหารก็ต้องรับฟัง

กลุ่ม 1 มดขยัน

กลุ่ม 2 น่าจะเป็น busy bee

ชอบประสิทธิภาพของคน ต้องดูการออกแบบองค์กรเพื่อ Empower คน เป็น matrix 1 คนทำงาน 2 อย่าง

Hand, heart, head ต้องรักในสิ่งที่ทำ ตั้งเป้าหมาย

CEO กระจายอำนาจไม่ได้เพราะดูที่ process

ระบบสรรหามี Succession planning ต้องทำให้แต่ละคนทดแทนได้ และจะมีหลายคนสำรองไว้ มีการทบทวนการเปลี่ยนแปลง

ชอบเรื่องการทำงานเหมือนเล่น รักในสิ่งที่ทำ ทำให้มีความสุข

ต้องมีการมอง outside-in เน้นความต้องการของคน เช่นลูกค้า หรือชุมชน

ถ้าจ่ายน้อย ก็จะได้คนไม่มีคุณภาพมาทำงาน

ผู้ฟังต้องเปิดใจรับฟัง

ความรักองค์กรจึงต้องการเปลี่ยน

เมื่อเปลี่ยนแล้ว จะประสบความสำเร็จ

ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน

การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากระดับตัวเอง ซึ่งทำได้ทุกวัน อย่ากลัวจากการออกจาก Comfort Zone

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อ 2 เป็นนวัตกรรมคือ การสร้าง CEO ในยุคต่อไป ถือว่ามีคุณค่าสูง แสดงถึง Paradigm ใหม่ ว่า ใครก็ได้สามารถมาเรียนที่มหาวิทยาลัยทักษิณได้

ในอนาคต มหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

ชื่นชมทุกกลุ่ม

ประทับใจตั้งแต่วันแรกที่สอน คุณภาพของการวิเคราะห์ของผู้เข้าร่วมสัมมนาสูง นี่เป็นเพียงขั้นแรก

ความสำเร็จต้องไปทำต่อ

เรียนแล้วต้องไปปะทะกับอุปสรรค แล้วเอาชนะมัน

ขอแสดงความยินดี 5 กลุ่ม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่ได้ยินจาก CEO และคุณกรณ์ถือเป็นกำลังใจ มีความแตกต่างหลากหลายแต่มีความเหมือนกัน คือธรรมาภิบาล บริหารความเกรงใจ ความขยัน ต้องเลือกให้ถูก เรียนรู้อดีต เรียนรู้คน ทำนายอนาคตได้

คุณจันทนาเลือกไปทางงานขาย หารายได้ให้ปูน พูดแล้วมีคนฟัง

เมื่อเลือกถูกต้อง

สื่อสารที่ดี ท่านสมบัติดูทรัพยากรองค์กรเป็นหลัก มหาวิทยาลัยควรทำแบบนี้ อย่างไรก็ต้องพัฒนาให้ดีขึ้น (เขย่งขึ้น)

คุณจันทนามองวิกฤติเป็นโอกาส กรณีศึกษาเป็นการลดขั้นตอน การเลือกที่ถูกต้องต้องไปสู่ยุทธศาสตร์ที่ดี change ไปสู่ transform ปรับแปลง

CEO ต้องบริหารจัดการทั่วไป

คุณจันทนาเรียกว่า Harmony

จังหวะ Execution คือลงมือทำ

PROBLEM - BASED LEARNING WORKSHOP: TSU Networking Development and Management

โดย นายพรหมโชติ ไตรเวช

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นายพรหมโชติ ไตรเวช

การเป็น CEO ต้องมองว่าตนอยู่ระดับใด แม้จะเป็นผู้บริหารระดับสูง แต่ก็ยังมีคนที่เหนือกว่า ในโลกมนุษย์ ก็คือ เวลา ถ้ามีเวลากำหนด ก็ต้องปฏิบัติตามเวลา เหนือกว่ามนุษย์ ก็ยังมีธรรมชาติและอีกหลายสิ่ง และสิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือว่า ทำอย่างไรให้นโยบาย หรือการบริหารของผู้บริหารนำไปสู่การปฏิบัติได้ แต่ละคนเป็นคณบดี นักบริหาร หรือตำแหน่งอื่นๆ เมื่อได้รับโจทย์มา ก็เสนอแนวความคิด จะทำอย่างไร ถ้าแต่ละคนเป็นนักบริหาร แต่ต้องใช้นโยบายจากผู้บริหารระดับสูงให้เกิดผลจะทำอย่างไร

สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือการสร้างเครือข่าย ถ้าสร้างเครือข่ายภายใน องค์กรภายในมีอะไรบ้าง และทำอะไรได้บ้าง มหาวิทยาลัยทักษิณมีขนาดใหญ่หรือเล็ก ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆที่มีขนาดต่างๆมากมาย ในประเทศไทยและต่างประเทศ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะต้องทราบคือ ถ้าทำงานแล้วได้เพื่อน เครือข่ายและสามารถลดเวลาลง จะทำหรือไม่ ถ้ามี Google มีข้อมูลมากมาย จะปรับตัวใช้ แล้วจะใช้อะไร ความคิดการตัดสินใจอยู่ที่ใด

สิ่งหนึ่งที่น่าจะได้มองก็คือว่า รัฐบาลคิดอะไร ยกตัวอย่างด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลแบ่งการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็น Cluster จังหวัดสงขลายังไม่ได้อยู่ในแผนพัฒนาการท่องเที่ยว Cluster ใด ก็ต้องมาเรียนรู้ว่าของที่มีอยู่แล้วพัฒนาอย่างไร ตอนนี้มี Cluster ของปกครอง 18 กลุ่ม สงขลาเป็น Cluster ภาคใต้ชายแดน และมีสมาชิกร่วม Cluster คือ สตูล ยะลา ปัตตานี และจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับสงขลา สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาได้เพราะทิศทางการพัฒนา Cluster พวกนี้ลงไปสู่การปฏิบัติ ถ้าเรียนรู้ ก็สามารถสร้างแนวทางได้ ตอนนี้ Cluster ภาคใต้ชายแดนยังไม่มี แต่จะมีหลังจากนี้ เพราะขณะนี้มี Cluster 5+3 = 8 ภาคใต้อยู่ต่ำสุดก็คือ จังหวัดระนองและชุมพร ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีจนถึงฝั่งอ่าวไทยยังไม่มี cluster แต่จะมีฝั่งตะวันตก เพราะฉะนั้นตั้งแต่ระนอง ชุมพร ลงมาจนถึง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ก็มีแผนพัฒนา Cluster แล้ว คือ Cluster อันดามัน ก็คงต้องใช้เวลาสักระยะในการวางแผนพัฒนา

เมื่อทราบจุดนี้ รัฐบาลจึงเล็งเห็นว่า จำเป็นต้องมีการพัฒนาเมืองหลัก เมืองรอง การที่จะเป็นเมืองเล็กหรือเมืองใหญ่ไม่สำคัญ ถ้าเป็นเมืองที่มีศักยภาพ เจตจำนง เป้าหมาย ก็อาจจะพัฒนาเป็นเมืองต้องห้ามพลาดได้ จังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ได้เป็นเมืองต้องห้ามพลาดเพราะเป็นจังหวัดใหญ่ นครศรีธรรมราชเป็นเมืองต้องห้ามพลาด นครศรีธรรมราชไม่นำมาเปรียบเทียบกับสุราษฎร์ธานี เพราะสุราษฎร์ธานีมีรายได้จากการท่องเที่ยว 3 เกาะ ปีหนึ่งประมาณ 4 แสนกว่าล้านบาท ในขณะที่นครศรีธรรมราชมีนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นคนไทย เพราะฉะนั้นการสร้างลังกาสุกะ นครศรีธรรมราชทำให้ยูเนสโกมายอมรับมรดกโลกที่มี

ในขณะเดียวกัน นโยบายรัฐต้องการให้คนมาเที่ยวมากขึ้น ก็จึงใช้เป็นเมือง MICE สงขลาทำ MICE ได้โดยใช้หาดใหญ่ ภาคใต้สามารถพัฒนาเป็นเมืองกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวได้ นอกจากนี้ภาคใต้ยังติดกับมาเลเซีย สิงคโปร์ ยังมีเกาะใหญ่ บอร์เนียว ติดกับอินโดนีเซีย ข้ามไปอันดามันก็ยังทำได้ มหาวิทยาลัยทักษิณอาจจะไม่ได้อยู่แค่นี้ การเชื่อมโยงระหว่างประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกกับอันดามันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ถ้าจะพัฒนาต่อไป แนวนโยบายรัฐและการพัฒนาเขตพื้นที่นี้มีความสำคัญ เพราะฉะนั้นการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและเขตเศรษฐกิจพิเศษจึงมีความสำคัญมาก มหาวิทยาลัยทักษิณมีบุคลากรมากมาย นักศึกษาระดับต่างๆมาก เพราะฉะนั้นถ้ามีนโยบายทำกิจกรรมนี้ จะทำให้เข้าไปอยู่ในองค์กรต่างๆได้ในอนาคต เช่นเดียวกับอาจารย์ที่เรียนจบจากที่มหาวิทยาลัยทักษิณไปสอนหนังสือนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้เป็นตัวจักรสำคัญที่จะดึงเข้ามาสู่ระบบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ตอนนี้หลายๆประเทศในโลกเน้นการพัฒนาเด็กเป็นอันดับแรกๆ เพราะเล็งเห็นว่า ถ้าพัฒนาเด็กดี เด็กจะเรียนดีและเข้างานตามที่ต้องการคือการจ้างแรงงานในพื้นที่

ในเรื่องการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ มีการสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยวในส่วนการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยทักษิณได้ขยับตัวทำเรื่องนี้แล้วหรือยัง เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น เพราะตำแหน่งงานต่อๆไป ในอาเซียน 10 ประเทศจะเข้ามาหาประเทศไทยมากกว่า เพราะค่าแรงของไทยแพงขึ้น เป็นรองแค่สิงคโปร์เท่านั้น เพราะฉะนั้นหลายประเทศพยายามสร้างบุคลากรของตนเองเข้ามารองรับการทำงานในประเทศไทย ตอนนี้ประเทศฟิลิปปินส์เตรียมพัฒนาพยาบาลวิชาชีพ 120,000 คน มีการนำเข้าพยาบาลเพราะโรงพยาบาลเอกชนของไทยกำลังโตขึ้นอย่างมาก ในแถบชายแดนไทยทุกพื้นที่ ชาวต่างชาติต้องการการรักษาพยาบาล เพราะฉะนั้นจึงต้องการโรงพยาบาลที่ดี จะสังเกตเห็นว่า ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆไม่ได้อยู่กลางเมืองแล้ว แต่อยู่ที่ชายแดน อีก 1 สัปดาห์นับจากที่บรรยายนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะไปเมืองมะริด เมียนมา

ถ้าภาคการศึกษาเดินออกไปข้างนอก จะเห็นสิ่งต่างๆอีกมากมาย ผลงานวิจัยมีความจำเป็นที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย สิ่งที่สำคัญคือทิศทางของจังหวัดสงขลาจะทำอะไร ก่อนหน้าที่บรรยายครั้งนี้ 1 วัน ได้มีโอกาสหารือกับผู้บริหารของจังหวัด ก็ได้บอกไว้ 5-6 เรื่อง หนึ่งในนั้นคือศูนย์กลางฮาลาล ฮาลาลไม่ใช่แค่อาหารแต่คือทุกเรื่อง แต่สงขลากำลังมองอะไรอยู่ ตอนนี้เต็มไปหมด ถ้าหากจะทำให้สงขลาเติบโต จะไปทิศทางใด ทำอะไร ฝรั่งที่เคยมาเที่ยวประเทศไทยหายไปหมด แต่คนมุสลิมจากเอเชียและตะวันออกกลางมา ตรงนี้เป็นน้ำใจที่มีคุณค่ามาก

แนวทางหนึ่งที่จังหวัดสงขลากำหนดไว้ก็คือเรื่อง 15 วาระ ภาพที่เห็นเด่นชัดคือเรื่องเมืองเก่า ต้องการทำเมืองเก่าให้เป็นมรดกโลก จะทำได้หรือไม่ ใช้ที่ไหนเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่แค่ปล่อยให้อยู่ในสภาพเดิม แต่ต้องมีการปรับปรุงและสร้างความคิดให้กับคนในท้องถิ่นด้วย บางครั้งก็เป็นการรบกวนคนในท้องถิ่น การศึกษาและวิจัยจึงมีความสำคัญ รวมทั้งการที่บอกว่าภาคใต้เป็นเมืองท่องเที่ยว ต้องเที่ยวอำเภอใด ถ้าเที่ยวแล้ว จะทำอย่างไรให้มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ดังนั้นสิ่งที่จะต้องเชื่อมต่อจึงมีความสำคัญ ในเรื่องการส่งเสริม ทางมหาวิทยาลัยจะมีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆในการศึกษาและพัฒนา

รู้สึกดีใจที่ได้ทำงานวิจัยร่วมกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เรื่องจริงที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลต้องการให้ภาคใต้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ 2 ฝั่งมหาสมุทร ทั้งจากการศึกษาและผลการพัฒนา จากการวิ่งร้อยกว่ากิโลเมตรจากทั้งสองฝั่งมหาสมุทร ปีแรกทำได้ดี ปีที่สองมีปัญหาความขัดแย้งกัน ดังนั้นการทำงานแบบนี้ต้องมีการศึกษาอย่างแท้จริง และต้องสนใจด้านจิตวิทยาสังคมด้วย จำเป็นต้องอาศัยคนที่มีความกล้าในการนำเสนอ และการที่ภาคใต้จะเป็นเมืองอุตสาหกรรมการเกษตร และเชื่อมโยงการส่งอาหารไปขายทั่วโลก จะสามารถเป็นจริงได้หรือไม่ ขณะนี้ ทางเชียงใหม่ขอเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลโลก เชียงใหม่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับโลกมุสลิม แต่ประกาศว่าอาหารของเชียงใหม่ มีคนมุสลิมที่อยู่ภาคเหนือประมาณ 2 แสนคน จึงสามารถจะมารับรองได้ เพราะมีอาหารผัก ผลไม้มหาศาล สิ่งเหล่านี้เปิดตลาดไปประเทศจีน จีนมีมุสลิมเกือบประมาณร้อยล้านคน แต่สงขลาจะมองทิศทางใด ขณะเดียวกัน สงขลามีศูนย์วัฒนธรรมหลากหลาย ไทยคดีศึกษาและศูนย์วัฒนธรรมที่นี่มีของดีมากมาย มีการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนนานาชาติหรือไม่ จากการที่ได้มาที่ศูนย์คดีที่เกาะยอหลายครั้ง ก็รู้สึกทึ่ง แต่ไม่ค่อยเห็นกิจกรรมต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการมีของดีทำให้เกิดช่องทางมากมาย จะมีคนอยากจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่สุราษฎร์ธานี มีกลองมโหระทึก 1 ใบ ที่อำเภอไชยา แต่ไม่ทราบที่มา แต่สืบค้นพบว่า มีกลองลักษณะเดียวกันที่มณฑลกวางสี เรียกว่า กวางสีจ้วง จึงได้ถ่ายรูปไปให้ทางมณฑลกวางสี ผู้ว่าการมณฑลกวางสีจึงเดินทางมายังสุราษฎร์ธานีแล้วบอกว่า กลองใบนี้เป็นญาติของมณฑลกวางสี ในสมัยหนึ่งเมื่อ 500-600 ปีที่แล้ว เคยมีการเดินเรือมาที่สุราษฎร์ธานี พบว่า เรือสำเภาจีนมาจมที่ไชยากว่า 40 ลำ ตอนนี้กำลังทำเป็นเขตพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล การดำน้ำดูเรือสำเภาจีน นี่คือสิ่งที่ได้มา องค์ความรู้นี้มาจากผู้เชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยต่างๆ เรียนรู้และแก้ปมต่างๆที่เกิดขึ้นได้

ในขณะเดียวกัน เขตเศรษฐกิจชายแดนมีความคิดมากมายแต่ยังสรุปไม่ได้ว่า จะให้ประโยชน์อย่างไร เพราะฉะนั้น มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่ศึกษาและพัฒนา ที่จังหวัดตาก เชียงรายและหนองคาย หรือที่อื่นที่เหมาะสม ถ้าศึกษาเรื่องนี้ให้ดี มหาวิทยาลัยทักษิณก็จะมีความเป็นเลิศ หลายๆกลุ่มก็จะได้ประโยชน์

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมากคือระบบโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ทางราง ตอนนี้มีลูกน้องนั่งรถไฟไปกัวลาลัมเปอร์ด้วยเงินไม่ถึงพันบาท มาเลเซียเปิดรางให้แบบนี้ ต่อไปรถบัสอาจจะประสบปัญหา แน่นอน ในขณะที่ไทยไปทะเลาะกับมาเลเซียที่นำรถรางมาสร้างความได้เปรียบ คนไทยก็คิดจะขอความช่วยเหลือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แต่เวลาที่คนไทยขับรถไปมาเลเซีย ก็เสียภาษีและค่าใช้จ่าย ตอนนี้ ไม่มีการดำเนินการต่อ แล้วจะทำอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าศึกษารวมทั้งเรื่องของการค้าชายแดน

แต่ในขณะเดียวกัน จังหวัดที่อยู่ใต้ถัดไปจากสงขลามองเรื่องความมั่นคง และมีอย่างอื่นมากมายที่จะต้องศึกษา กิจกรรมอื่นๆก็เป็นความมั่นคงได้ กีฬาก็เป็นความมั่นคงได้ คนภาคใต้ชอบกีฬา นกกรงหัวจุกเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ได้ ไม่ใช่แค่วัวชน ไก่ก็สร้างรายได้ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้น่าจะนำมาศึกษา

ความท้าทายคือ จำเป็นต้องบูรณาการเขตพัฒนาต่างๆของภาคใต้ อันดามันมีภูเก็ต กระบี่ พังงาและสตูล อ่าวไทยมีชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและพัทลุง ส่วนชายแดนมีสงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส อยากได้ใครมาครอง ถ้านำยะลา ปัตตานี นราธิวาสมา จะทำให้ดีด้วยกันได้หรือไม่ หรือจะจับคู่กับจังหวัดใด ถ้าไม่นำเขตพัฒนาการท่องเที่ยวมาจับ ถ้าสงขลาเชื่อมต่อสตูลจะเป็นอย่างไร อย่างที่พัทลุง ทางมหาวิทยาลัยมีโครงการเครือข่ายขยายผล ตรงนี้สำคัญ ถ้าไม่มีทิศทาง แล้วไม่มีการเชื่อมโยงกัน จะทำให้สับสนในการพัฒนาและจะทำให้ต่อไปจะไม่มีความต่อเนื่อง จะเห็นว่าการพัฒนาจังหวัดเป็นเงิน เงินปี 2558-2559 มูลค่า 25,000 ล้านบาท งบท้องถิ่นของจังหวัดสงขลาได้ 10,200 ล้านบาท งบจังหวัด 250+150 ล้านบาท แต่ปัญหาคือไปสนใจแค่งบจังหวัด ถ้าภาคการศึกษาไปทำงานร่วมกับท้องถิ่น ก็จะได้ทุนมหาศาล ทั้งนี้ยังไม่รวมเงินบาทและเงินออมในหมู่บ้าน ได้แก่เงินออมทรัพย์ เงินสัจจะ เงินกองทุน และเงินอื่นๆมูลค่ามหาศาล

จากการที่นายพรหมโชติ ไตรเวชทำงานที่สุราษฎร์ธานีและภูเก็ต เมื่อ 10 ปีที่แล้ว และได้หารือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ทำให้ทราบว่า ทั้งสองมหาวิทยาลัยจับคู่ร่วมกันและก็ได้ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่นครศรีธรรมราช

ถ้าจะให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ต้องมีพื้นที่ลง ก็คือ มหาวิทยาลัยสู่ชุมชนมองสุราษฎร์ธานีเป็น 5 คลัสเตอร์ อยู่บนบก 4 แห่ง และอยู่ในทะเลอีก 1 แห่ง ถ้าอยู่ในทะเล ก็เป็นงานใหญ่ จะมีรายได้ขั้นต่ำแน่นอนอยู่ 5 แสนล้านบาท มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเปิดวิทยาลัยนานาชาติที่เกาะสมุย ตอนนี้ไม่ต้องไปหาลูกค้าจากที่อื่น มีตลาดแรงงานแล้ว นี่คือการเปิดเกมรุกของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทราบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีอยู่ที่สมุย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงมุ่งการท่องเที่ยวโดยการดำน้ำเกาะพะงันและเกาะเต่ามีคนมาดำน้ำปีหนึ่งล่าสุดประมาณ 180,000 คน ธุรกิจดำน้ำเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มาก ตอนนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาทำหลักสูตรการดำน้ำให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพราะฉะนั้นจึงมีหลักสูตรการดำน้ำ 3 หน่วยกิต หลักสูตร Inspector หลักสูตรผู้ฝึกสอนและผู้ให้คำแนะนำมากมาย

ระบบของสุราษฎร์ธานีมีประเพณีและวัฒนธรรม อาจารย์ที่ศึกษาด้านนี้ก็ต้องไปศึกษาด้านเส้นทางอารยธรรม เส้นทางการท่องเที่ยว เส้นทางเรื่องการเกษตร เรื่องการประมง ตอนนี้ ความเป็นเลิศอยู่ที่นี่ อีกบทบาทหนึ่งคืออาจารย์สาขาภูมิศาสตร์จากมหาวิทยาลัยหนึ่งที่สงขลาส่งข้อมูลเรื่องภูมิอากาศ ธุรกิจต้องการให้การท่องเที่ยวที่เติบโตระดับโลก ทางมหาวิทยาลัยจึงได้เสนอให้มีวิทยาลัยการท่องเที่ยวนานาชาติเปิดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทราบการดำเนินการเรื่องนี้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจึงได้ทำข้อตกลงร่วมกันสร้างระบบโลจิสติกส์ทางทะเล ปี 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะนำเรือ Cruise จากญี่ปุ่นมาสิงคโปร์ ออกอ่าวไทยแล้วมาที่ภูเก็ต ก็จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาได้อีก 8 แสนคนในปี 2560

ถ้าทุกคนช่วยกันหรือมีแนวทางโครงการวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้ก็จะดี นโยบายต้องสามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้นถ้ามีข้อมูลจากภายนอกเข้ามาก็จะช่วยในเรื่องของการมองเรื่องยุทธศาสตร์

ตัวอย่างที่จังหวัดเชียงราย ยุทธศาสตร์อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงก็มีกลุ่ม CLMV และก็มีกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เมื่อนำข้อมูลมารวมกันแล้ว ปรากฏว่า มีการค้านำเข้าและส่งออกปีละ 8 ล้านบาท มีการส่งเสริมผลิตนักศึกษาปีละ 12,000 คน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติปีที่แล้ว 1 ล้านคน มีแรงงานต่างชาติที่มาอยู่ชายแดนจำนวน 750,000 คน ทั้ง 4 อย่างนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพะเยายังไม่พอที่จะผลิตด้านวิชาการ เพราะยังไม่สามารถรองรับการขยายตัวของพื้นที่นั้นได้อย่างดี ตอนนี้ต้องไปพึ่งพาจังหวัดพิษณุโลก ลำปางและเชียงใหม่ ดังนั้นการเติบโตโดยการเตรียมองค์กรไม่ทันก็มีผลเหมือนกัน ในขณะเดียวกัน กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน มีของดีหลายอย่างเช่น ต้องการทำเป็นเมืองเกษตร เมืองอาหารปลอดภัย โดยเฉพาะข้าว กาแฟและปลา เชียงรายส่งออกปลาและกุ้งไปยังจีน มีมรดกทางวัฒนธรรม มีงานศิลปะ การแสดงทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว เป็นประตูสู่อารยธรรมล้านนา เป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจชายแดน วัฒนธรรมเชียงรายเสนอไปมาก สุดท้ายไปพบกาแฟขี้ช้าง กาแฟขี้ช้างราคาแรกเริ่มอยู่ที่กิโลกรัมละ 12,000 บาท ราคาถ้วยละ 1,400 บาท บวกภาษี 1,700 บาท รสชาติดีมาก ส่วนกาแฟขี้ชะมดสูตรดีมาก ลดคาเฟอีนออกไปได้ ทำให้สมองดี ตอนนี้ขายทั่วโลก ชาวบ้านที่เคยมีชะมดเชียงหรือปู่อีเห็นก็นำมาไว้ในหมู่บ้าน ขี้กิโลกรัมละ 1,400-1,700 บาท แต่ถ้าอยู่ในป่าก็มีราคากิโลกรัมละ 2,500 บาท ตอนนี้ก็ขายแข่งกับอินโดนีเซีย ความรู้พวกนี้ มหาวิทยาลัยลงทุนศึกษาวิจัยพัฒนาเรื่องของการปฏิบัติได้

ตอนนี้ชาวเขาพูดได้หลายภาษา เพราะชาวเขาที่ภาคเหนือรู้ภาษาจีนเป็นพื้นฐาน เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง และรู้ภาษาชาวเขาอีกเป็น 3 ภาษา รวมแล้วอย่างน้อย 4-5 ภาษา

การส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันทางวิชาการเรื่องการรับรองคุณภาพมาตรฐาน และการผลิตอาหารต่างๆให้โรงแรม ตัวอย่างหนึ่งคือในกลุ่มพื้นที่ภูเก็ต โจทย์ก็คือมหาวิทยาลัยที่ภูเก็ต กับมหาวิทยาลัยที่อยู่ฝั่งอ่าวไทยมีกลุ่มนักศึกษาคนละกลุ่ม ภูเก็ตโชคดีเพราะ 4 จังหวัดภาคใต้พึ่งพาภูเก็ตมาก โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตอนนี้มีมอเตอร์ไซค์ประมาณ 140,000 คัน แต่ในฝั่งอ่าวไทย ลูกค้ามีแค่ชุมพรกับสุราษฏร์ธานีเท่านั้น เพราะฉะนั้นตลาดแรงงานขาดแคลน องค์ความรู้บริหารจัดการก็ไม่มีเหมือนกัน จึงมีการมองว่าจะทำอย่างไรให้คน 10 ล้านคนที่ภูเก็ตที่เป็นนักท่องเที่ยวกระจายตัวไปยังจังหวัดต่างๆเช่น พังงา กระบี่ ตรัง ก็จะทำให้การท่องเที่ยวดีขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้น

ส่วนฝั่งอ่าวไทย มีปัญหาด้านการท่องเที่ยวคือ สามารถท่องเที่ยวได้แค่ 6 เดือนคือเดือนมีนาคม-กรกฎาคม ส่วนฝั่งอันดามันสามารถท่องเที่ยวได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-เมษายน เมื่อสองฝั่งมีความแตกต่างกัน ก็สามารถเปลี่ยนจากการท่องเที่ยว 6 เดือนมาเป็นตลอดทั้งปีได้ นี่คือโจทย์ที่ได้มอบให้มหาวิทยาลัยและเชิญผู้ประกอบการมาด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัยเสนอว่าถ้าจะดึงคนจากภูเก็ตไปจังหวัดข้างเคียง ก็ต้องได้ผลประโยชน์ด้วย จะยินดีแบ่งผลประโยชน์ เวลา และค่าเดินทางหรือไม่ แต่ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวมีเวลาท่องเที่ยวจากเดิม 9 วันเพิ่มเป็น 11 วัน และอยากเที่ยวทั้งสองฝั่งจะทำอย่างไร สามารถเปิดเส้นทางได้จากภูเก็ตไปสุราษฎร์ธานีโดยผ่านพังงา ไปได้พังงาแล้ว 1 วัน ไปเขื่อนรัชชประภาได้แล้วอีก 1 วัน ตอนนี้มีเส้นทางลุ่มน้ำตาปี ไปสมุย พะงัน เกาะเต่า ทำอยู่ 3 ปี ทำให้ทราบว่า ทางรถไฟสายเก่าจากสุราษฎร์ธานีมาที่พังงาถูกลืมไปแล้ว 60 ปี ปี 2560 จะมีการทำเส้นทางลงไปยังภูเก็ต รัฐบาลทำงานได้ตอบโจทย์โดยได้ความรู้จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย มาจากความรอบรู้ที่มองรอบด้าน และสุดท้ายก็มีการท่องเที่ยวทั้งสองฝั่งมหาสมุทร ดังนั้นจะได้นักท่องเที่ยวจากภูเก็ต 10 ล้านคน รวมกับจังหวัดข้างเคียง 5 ล้านคนเป็น 15 ล้านคน ท่องเที่ยว 6 เดือน แต่ลืมไปว่าที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีนักท่องเที่ยวอีก 4 ล้านคน ตอนนี้มีการเชื่อมโยงกัน จุดนี้น่าศึกษาว่า เมื่อนักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้มากขึ้น ระบบการศึกษามีช่องทางแล้ว ต้องการแรงงานและคนที่มีฝีมือ ต้องอบรมบุคลากรให้ได้ถึง 3 เท่าตัว นี่คือตัวอย่างที่ทำแล้วเห็นผล

ในส่วนกลยุทธ์การท่องเที่ยว จะมีกิจกรรมโรงแรม เรื่องของอาหาร สินค้าชุมชน การบริการซักรีด รวมทั้งสุขภาพ เรื่องเหล่านี้เป็นทางวิชาชีพ สามารถบรรจุลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนได้ เกิดการกระจายตัว รู้เขา รู้เรา ถ้ามองจากมหาวิทยาลัยออกไปที่นักศึกษาแล้วก็อยากไปชุมชนแต่ยังไปได้ไม่กี่จุด แต่เมื่อมีคนนอกมาหารือกับมหาวิทยาลัย ก็ทำให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตได้ตกลงแล้วว่าจะมีศูนย์ดำน้ำระดับโลก

ความท้าทายเมื่อมองจากภายนอก การส่งเสริมเรื่องท่าเรือขนส่งจากขนส่งสินค้าก็กระจายไปยังขนส่งทางการท่องเที่ยว มีระบบรางเกิดขึ้น มหาวิทยาลัยมีโอกาสคว้าความรู้ตรงนี้ไปเผยแพร่ ขณะเดียวกันมีการแปรรูปจากผลิตภัณฑ์จากยางและสินค้าชุมชน กิจกรรมเหล่านี้ก็สามารถขยายตัวให้เกิดอุตสาหกรรมแปรรูปได้ง่าย รวมทั้งการสร้างเมืองเก่าให้เป็นมรดกโลก สร้างเมืองให้เป็น MICE เพื่อการประชุมสัมมนา รวมทั้งการสร้างตลาดแรงงานให้มีฝีมือ และที่สำคัญคือคนที่เดินทางมาต้องการอาหาร อาหารที่นี่มีชื่อเสียงโด่งดัง จะทำให้อาหารมีมาตรฐานขึ้นไปสู่อีกระดับได้ ร้านอาหารจะเป็นตัวชูโรง มีการสร้างอาหารและผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพดี สร้างแบรนด์ รูปแบบ

อีกเรื่องหนึ่งคือศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ ถ้ามีกิจกรรมที่ให้นักเรียนนานาชาติลง แต่ถ้าไม่มีนานาชาติมาก่อน ก็ไม่เกิดเพราะไม่มีตัวดึงดูด ในเรื่องของกีฬา มีอาจารย์ที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมทางน้ำ สามารถจะเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ต่างๆรวมทั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มีการจัดกิจกรรมการตรวจสมรรถนะและก็เป็นศูนย์การพัฒนาการกีฬาระดับนานาชาติได้เพราะภูมิประเทศเอื้ออำนวย นี่เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษา

สุดท้าย ต้องทำให้เด็กรู้จักมหาวิทยาลัยทักษิณตั้งแต่อายุยังน้อย ต้องทำให้บัณฑิตเข้าไปอยู่ในพื้นที่ แล้วให้สื่อออกมาว่ามหาวิทยาลัยทักษิณดี ดังนั้นต้องบุกไปหาโรงเรียน ถ้าเปิดประเด็นด้านการพัฒนาเยาวชนและชุมชนได้ มหาวิทยาลัยทักษิณจะสามารถเติบโตได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าหากสร้างชุมชน สร้างงานได้ แล้วก็จะมีผลงานที่ดี การสร้างเพื่อน มิตรและผู้ร่วมงานต่างองค์กรเป็นสิ่งที่ดีอย่างที่มหาวิทยาลัยทักษิณทำอยู่ ในโอกาสต่อไปก็อาจจะมีมหาวิทยาลัยอื่นๆเข้ามาร่วมศึกษาเรียนรู้ในลักษณะสหวิทยากร เป็นแบบประสบการณ์ ประสานใจ และควรมองมหาวิทยาลัยอื่นเป็นเพื่อนร่วมงานและจะทำงานได้อย่างมีความสุขเพราะจะได้ประโยชน์ร่วมกัน

ในการทำงาน ห้ามลืมประชาชน ต้องติดตาม ต่อเนื่อง การทำงานให้สำเร็จต้องอยู่ที่ใจรักและรู้จักให้ก่อน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นายพรหมโชติ ไตรเวชทำงานทุกอย่างด้วยใจอย่างแท้จริงเพราะทุ่มเทเต็มที่ และเสนอให้มองกลับมาสู่สภาพความเป็นจริง Reality

ในแง่ปฏิบัติการ นายพรหมโชติ ไตรเวชได้นำเสนอกรณีศึกษาเกี่ยวกับนโยบายรัฐ ซึ่งมีหลักใหญ่อยู่ 8 เขต แล้วโยงไปเป็นเรื่องเมืองรองและเมืองต้องห้ามพลาด นอกจากนั้นยังเชื่อมโยงไปเรื่องการท่องเที่ยวเชิงกีฬาให้เพิ่มรายได้ขึ้นมาแล้วเป็นท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์หรือ MICE ซึ่งสร้างรายได้มหาศาลแต่ตอนนี้ยังไปไม่ถึงระดับนั้น ถ้ามหาวิทยาลัยทักษิณให้ความสำคัญเรื่อง MICE ก็สามารถจะเป็นสถานที่จัด MICE ได้ อาจจะใส่ Event ต่างๆลงไปได้

นายพรหมโชติ ไตรเวชยังได้มองว่านโยบายรัฐยังสร้างการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชายแดนประเทศเพื่อนบ้านได้ ทำเพื่อขยายศักยภาพการท่องเที่ยวของไทยแผ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านร่วมกัน ก็คือ Value Diversity คือการสร้างคุณค่าจากการผนึกกำลังความหลากหลายกัน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมา

นายพรหมโชติ ไตรเวชกล่าวว่า ภารกิจมี 2 อย่าง คือ

  • มาตรฐาน มหาวิทยาลัยทักษิณไม่สามารถละเลยได้ ต้องทำตามกฎของอาเซียนและของโลก ในอาเซียนมี 32 ตำแหน่งงาน ที่ต้องศึกษา ถือว่าเป็น Want คือความต้องการเรื่อยๆซึ่งมีแต่เดินหน้า
  • สถาบันการศึกษาต้องจัดการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วม จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ต้องมีการทำ Focus Group มี Workshop มีการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นทั้งการศึกษาความต้องการและให้ความรู้แก่ประชาชน การศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วมเป็น Need เป็นระยะยาว เกิดขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์และเรียนรู้ร่วมกัน ต้องทำวิจัยแล้วนำมาใช้ได้จริงไม่ใช่ทำมาแล้วขึ้นหิ้ง

อย่างไรก็ตามก็ต้องมีการลงมือปฏิบัติ สะท้อนว่า ทำไมต้องเรียน How to stand out นายพรหมโชติ

ไตรเวชก็เน้นเรื่อง Stand out เช่นเรื่องโครงการฮาลาลซึ่งตรงกับที่นายกรณ์ จาติกวาณิชกล่าวไว้ อาหารน่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศได้ นายพรหมโชติ ไตรเวชได้เสนอแนะแหล่งงบประมาณทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เห็นว่า สามารถหาทรัพยากรจากภายนอกได้ ทำอย่างไรมหาวิทยาลัยทักษิณจึงจะสามารถกระโดดออกมาอย่างโดดเด่น แม้ว่าภาคต่างๆจะมีกาแฟที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น ตอนนี้ภาคใต้กำลังจะมีกาแฟเลอระนองชื่อคล้ายภาษาฝรั่งเศส เป็นกาแฟรสชาตินุ่ม

แม้ว่าจะมีความคิดมากมายหลากหลาย แต่ก็เข้ามาสู่กระบวนคิด ต้องมีการทำพันธสัญญาคือคิดว่าจะเดินไปทางใด วางยุทธศาสตร์ว่าจะทำอย่างไร แล้วไปสู่พันธกิจคือกระบวนทำ เมื่อทำแล้วไม่ดี ก็ต้องปรับเปลี่ยน จะเห็นได้ว่าทุกเรื่องมาร้อยเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด

ความรู้ที่นายพรหมโชติ ไตรเวชให้เกิดจากประสบการณ์ความรู้จริง มีประสบการณ์ในการทำงานกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งเหมาะสมกับมหาวิทยาลัยทักษิณที่ทำงานลงไปในระดับชุมชนมาก และให้การศึกษาด้านสังคมและวัฒนธรรมค่อนข้างมาก

จากการที่นายพรหมโชติ ไตรเวชยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขอให้มหาวิทยาลัยทักษิณดูลูกค้า สิงคโปร์น่าจะเป็นลูกค้าที่สำคัญที่มีเงินมหาศาลและอยากทำทุกอย่างในอาเซียนเนื่องจากไม่มีทรัพยากรเป็นของตัวเอง มหาวิทยาลัยทักษิณควรจะใช้มลายูศึกษาดึงดูดรายได้มาจากสิงคโปร์

ช่วงถาม-ตอบ

ผู้แทนกลุ่ม 5

จากการที่ได้ฟัง ทำให้ทราบว่า การท่องเที่ยวยังมีหลายสิ่งที่ขายได้ ถ้าการท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น จะป้องกันผลเสียที่จะเข้ามาอย่างไร

นายพรหมโชติ ไตรเวช

อันที่จริงแล้ว ในด้านการท่องเที่ยวชุมชน ชุมชนนั้นสามารถดูแลตัวเองได้ ต้องแก้ที่ระดับพื้นฐาน ต้องส่งเสริมผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้เข้ามาช่วย ถ้าสามารถสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่หรือบัณฑิต โดยให้บัณฑิตกลับเข้าไปพัฒนาในหมู่บ้านได้ ก็จะสามารถรองรับการท่องเที่ยวได้ในทุกระดับ หมู่บ้านที่ทำโฮมสเตย์ตอนหลังก็ไม่มีเวลาดูแลครอบครัว เพราะไม่ได้ถือว่าเป็นอาชีพ แต่ถ้านำลูกหลานที่เป็นนักศึกษากลับเข้าไปพัฒนา สร้างระบบไอที เครือข่าย ระบบธุรกิจของชุมชน แล้วก็จะทำกิจกรรมสร้างรายได้รูปแบบต่างๆได้อีกด้วย สิ่งสำคัญคือต้องนำคนรุ่นใหม่กลับเข้าไปรับใช้สังคม แล้วทำให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีและได้รับความร่วมมือเพราะคนในชุมชนสามารถช่วยเลือกซึ่งกันและกันได้ง่ายกว่านำคนนอกเข้าไป ในอนาคต เมื่อเข้าหมู่บ้าน ต้องใช้บริการมัคคุเทศก์ท้องถิ่น นอกจากนี้คนที่ทำธุรกิจนำเที่ยวก็สามารถส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนได้ ถ้ามหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรให้นักศึกษาและส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน ก็สามารถทำได้หลากหลายมาก

ผู้แทนกลุ่ม 1

จะขอให้ขยายความเพิ่มเติมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (MICE CITY)

นายพรหมโชติ ไตรเวช

MICE CITY ไม่เชิงเป็นการท่องเที่ยว แต่เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อประชุมสัมมนา ออก Event หรือจัดนิทรรศการ กิจกรรมแบบนี้จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก และต้องการคนมาช่วย ใช้และช็อป เหมือนอย่างที่ภูเก็ต จัดซุปเปอร์ยอร์ช มีเรือจากทั่วโลกมาประมาณ 400 ลำมาจอด และขายเรือได้ประมาณ 600 ลำ เรือลำหนึ่งมีราคาประมาณ 80-100 ล้านบาท ในขณะที่ขาย มีเรือจากพัทยามาหัวหิน และจากหัวหินไปเกาะสมุย เป็นการดำเนินการที่ไม่ต้องใช้เงินทุน มี River Cruise คือการทำเรือที่ข้างบนเป็นกระจกความสูง 1 เมตร ตอนนี้ เรือหลวงเจ้าพระยาได้ทำแล้ว เมื่อมีการส่งเสริม เอกชนก็กล้ามาดำเนินการต่อ MICE CITY ขยายตัวได้เร็ว หลากหลายสาขาโดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยี ในด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เกิดจากการที่นักท่องเที่ยวเบื่อการท่องเที่ยวแบบเดิม จึงสนใจเดินทางมาด้วยตนเองเพื่อมาสัมผัสชุมชน เพราะฉะนั้น โรงแรมที่มีราคาสูงและมีห้องเกิน 40 ห้องจะมีจำนวนลดลง นักท่องเที่ยวไม่ชอบโรงแรมใหญ่ โรงแรมใหญ่จะมีไว้ประชุมสัมมนาแทน และนักท่องเที่ยวจะหันมานิยมโฮมสเตย์มากขึ้น ตอนนี้ในมาเลเซียมีชุมชนการท่องเที่ยวประมาณ 150 ชุมชน ก็กำลังแข่งกับประเทศไทย เพราะไม่อยากให้คนมุสลิมมาค้างที่ประเทศไทย ถือเป็นปัญหาเชิงวัฒนธรรมที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติ ชุมชนบ้านถ้ำผึ้งที่สุราษฎร์ธานีเป็นชุมชนการท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในประเทศไทยและติดอันดับโลก

ผู้แทนกลุ่ม 2

จากไฟล์นำเสนอที่กล่าวถึง 3 กลุ่มจังหวัด คิดว่า น่าจะมีการดึงแนวคิดมาจากการจัดกลุ่มจังหวัดของรัฐบาลตามตัวบทกฎหมายที่มีการจัดกลุ่มเป็นกลุ่มอันดามัน อ่าวไทยและชายแดน กลุ่มชายแดนประกอบด้วย 5 จังหวัด ทำไมรัฐบาลไม่จัดกลุ่มท่องเที่ยวให้กับภาคใต้ชายแดนในเมื่อมีกลุ่มภาคใต้ชายแดนอยู่แล้ว

ถ้าหากว่า วันหนึ่งผู้เข้าร่วมประชุมโครงการนี้และเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทักษิณทั้งหมดที่เป็นมหาวิทยาลัยในชายแดนภาคใต้ คิดที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวภาคใต้ชายแดน จะนำความคิดนี้ไปใส่ไว้จุดใด เพราะมีหลายครั้งที่สามารถคิดได้โดยเฉพาะนักวิจัยในกลุ่มภาคใต้ชายแดนเกิดขึ้น เมื่อทำวิจัยเสร็จ ก็ไม่ทราบจะไปที่ไหน รัฐเองกำหนดทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว ถ้ามีแนวคิด จะนำไปเสนอที่หน่วยงานใดของรัฐแล้วบรรจุลงไปในแผนของประเทศต่อไป

นายพรหมโชติ ไตรเวช

กลุ่มอันดามันและอ่าวไทยเกิดจากการจัดของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเพราะเห็นว่าการท่องเที่ยวเป็น Mass Product แต่ในความเป็นจริง การท่องเที่ยวแบบ Mass กำลังจะหมดไป การท่องเที่ยวในรูปแบบบริษัททัวร์ตอนนี้เหลือแค่ 30% นอกเหนือจากนั้น นักท่องเที่ยวติดต่อและเดินทางมาเอง หรือมาร่วมกิจกรรม MICE

ส่วนชายแดนภาคใต้ มีปัญหาคือ คนในภาคใต้ยังเกาะความคิดที่จะสร้างกิจกรรมยังไม่ชัดเจน ถ้ามีการรวมตัวกันมากขึ้นมากกว่าความเป็นนักวิชาการ โดยนำธุรกิจและภาคส่วนต่างๆมาช่วยกัน จะสามารถกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเป็นแบบชายแดนภาคใต้ก็ได้ หรือเฉพาะจังหวัดสงขลาก็ได้ กลุ่มหาดใหญ่ก็ได้ กลุ่มเบตงก็ได้เพราะกำหนดเฉพาะพื้นที่ได้ ไม่ได้ปิดกั้นว่าต้องทำแบบใด แต่เป็นการเปิดกว้างให้เข้ามา ประมาณเดือนพฤษภาคม ตอนนี้มีงบบูรณาการให้ ทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทยได้รับงบบูรณาการไปแล้ว 17,000 ล้านบาท แต่ภาคใต้ตอนล่างยังไม่ได้รับงบบูรณาการ ยังรวมตัวไม่เสร็จ ทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บอกว่า ต้องเน้นความมั่นคง ส่วนหาดใหญ่ก็เน้นอีกอย่าง เมื่อมีการตกลงระหว่างจังหวัดแล้วก็จะได้รับงบบูรณาการ และสามารถทำวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยไม่ต้องใช้คำว่าวิจัย แต่เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาพื้นที่ ปี 2559 ได้อนุมัติงบแล้วทั้งหมด 3,400 ล้านบาท มหาวิทยาลัยที่ได้รับงบมากที่สุดคือมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ควรจะไปดูรูปแบบการเสนอโครงการที่จะของบรัฐได้ มีการดึงชุมชนขึ้นมาเพราะมีจุดบอดเกิดขึ้น ซึ่งกำลังจะลดจุดบอดตรงนี้ ขอบคุณที่เสนอประเด็นนี้มา

ผู้แทนกลุ่ม 2

แสดงว่าควรจะรวมกลุ่มกันสร้าง Concept Paper ก่อนแล้วค่อยเสนอรัฐใช่หรือไม่

นายพรหมโชติ ไตรเวช

ใช่ ควรเสนอผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อนำเรียนรัฐมนตรีให้มาที่จังหวัดสงขลาได้แล้ว นายพรหมโชติ ไตรเวชได้ตั้งงบไว้ให้แล้ว เป็นงบพัฒนาคน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมกิจกรรม จะขอให้ทางมหาวิทยาลัยทักษิณมาทำประชาพิจารณ์ว่า ในการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ชายแดน ควรจะกำหนดเป็นคลัสเตอร์หรือเป็นกลุ่มเฉพาะหรือไม่

ผู้แทนกลุ่ม 4

ในฐานะทำงานเกี่ยวข้องกับรัฐบาล ควรตอบสนองต่อนโยบายอย่างไร

นายพรหมโชติ ไตรเวช

มหาวิทยาลัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ตอนนี้มหาวิทยาลัยบูรณาการแล้วทั้งหมด 13 เนื้อหา ในเรื่องการท่องเที่ยว มีหน่วยงานรัฐทำงานร่วมกันทั้งหมด 7 กระทรวง เรียกว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งก็รวมทั้งมหาวิทยาลัยด้วย ทุกหน่วยงานสามารถเสนอแผนงานโครงการมาได้ การอนุมัติงบโครงการก็เหมือนกับงบปกติและงบมหาวิทยาลัย และจะสามารถนำงบนี้ไปทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยและชุมชนได้ทันที สภาความมั่นคงเป็นหน่วยงานที่ได้รับงบมาก ทำให้มีกิจกรรมอื่นน้อยลง ต้องหาวิธีการทำให้เป็นกิจกรรมร่วมกันทำ กระทรวงศึกษาธิการก็ทำเรื่องการศึกษาและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัย ก็ใช้บูรณาการเหมือนกัน ตอนนี้มีกิจกรรมบูรณาการมาก เป็นความท้าทายของมหาวิทยาลัย แต่ยังมีมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศอยู่ นอกจากนี้รัฐมนตรีต่างๆก็ทำงานแบบเป็นเครือข่ายพันธมิตรกัน ในด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณอยู่ในพื้นที่ก็ต้องสร้างคน แล้วพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งจุดนี้สำคัญ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Session นี้สำคัญมาก นายพรหมโชติ ไตรเวชจะเป็นตัวแปรสำคัญในการ raise fund ในอนาคต ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ทำงานร่วมกับนายพรหมโชติ ไตรเวชมาเป็นเวลานานต่อเนื่องกันมา แต่ยังไม่เคยได้ทำงานโดยตรงกับมหาวิทยาลัย แต่ขึ้นตรงกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการดำเนินโครงการ ก็ได้เชิญมหาวิทยาลัยมาร่วมทุกครั้ง ปัญหาของมหาวิทยาลัยคือยังไม่มีความสามารถที่จะไปเห็นเจ้าของโครงการนั้นด้วยตนเองเพราะคิดว่าเป็นเรื่องยากและเข้าช่องทางผิด มหาวิทยาลัยยังขาดเครือข่าย การเจรจาต่อรอง การทำงานอย่างต่อเนื่อง

ขอเสนอให้นำสงขลาบวกนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีซึ่งถือเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ยังไม่มีปัญหาชายแดน เนื่องจากภัยอันตรายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มทุเลาลง เงินที่ไปสู่ทหารและตำรวจในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ใช้ไปเป็นปีละ 4 หมื่นล้านบาท เพื่อความมั่นคง

คนในมหาวิทยาลัยทักษิณควรคิดโครงการร่วมกัน โดยทำเป็นโครงการที่มีคุณภาพ มี Value Creation และ Value Diversity การที่ได้มาพบกับนายพรหมโชติ ไตรเวชถือเป็น Diversity แบบหนึ่ง การท่องเที่ยวอย่างเดียวมีมูลค่ามหาศาลสำหรับมหาวิทยาลัยทักษิณ ท่องเที่ยวในยุคต่อไปจะเกิดขึ้นด้วยภูมิปัญญาของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเกษตร วัฒนธรรม แต่ชุมชนมีขีดจำกัดในการสร้างศักยภาพ ไอที และขาดภาวะผู้นำ การตลาด การบริหารจัดการสมัยใหม่ ทางมหาวิทยาลัยทักษิณต้องทำงานเชิงรุกและทำตัวเป็นผู้ประกอบการทางวิชาการ รู้จักคว้าโอกาส โดยมีโครงสร้างในการทำงาน และต้องมีมาตรฐาน

สัมมนาครั้งนี้เป็นการปะทะกันทางปัญญาระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม ถ้าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ ก็ควรดำเนินการต่อ มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นสถาบันของรัฐควรขับเคลื่อนการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง ต้องกระจายอำนาจให้คนได้มีโอกาสทำงานที่ยากและให้ได้ทำอย่างเต็มที่ โดยให้เกียรติและยกย่องคนทำงาน

ขอบคุณนายพรหมโชติ ไตรเวชที่ได้เสียสละเวลามา

มหาวิทยาลัยทักษิณควรตั้งคณะท่องเที่ยว ในอีก 10 ปีข้างหน้า รายได้จากการท่องเที่ยวจะมีมูลค่ามากกว่ารายได้จากการส่งออกประมาณ 3 เท่า

ผู้แทนกลุ่ม 4

ขอแลกเปลี่ยนมุมมอง จากที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้กล่าว เชื่อว่า อาจารย์ในมหาวิทยาลัยทักษิณทุกท่านก็มีความสามารถจะทำข้อเสนอโครงการต่างๆได้มากมาย แต่มีปัญหาหลายส่วน ล่าสุดคือ การยื่นข้อเสนอที่จะปรับหลักสูตร รับอาจารย์ ก็ไม่ได้มา เพราะมีข้อกำหนดว่าต้องมีปริญญาเอก ทำให้เกิดปัญหาคืออาจารย์มีจำนวนน้อยลง ในขณะที่มีนิสิตเพิ่มขึ้น อาจารย์ก็ต้องสอนมากขึ้น ไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น ทำโครงการ ก็ได้โครงการเล็กๆ ถ้ามีเวลาว่าง ก็อยากจะทำหลักสูตรพัฒนาชุมชนและจังหวัด ตอนนี้ได้ทำความร่วมมือกับสวิตเซอร์แลนด์ในหลายด้าน เมื่อมีอาจารย์น้อยลง อาจารย์ส่วนที่ยังทำงานอยู่ก็ต้องสอนมากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้านำเสนอขึ้นมาแบบนี้ ก็คือความสามารถของ CEO ต้อง networking ยืมสมองคนอื่นมาใช้ในชื่อของมหาวิทยาลัยทักษิณ องค์กรของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ไม่ใหญ่ มีคนอยู่ไม่ถึง 20 คน แต่ทำงานในระดับโลกได้เพราะมี Network เพราะฉะนั้นการเป็นผู้นำต้องปรับตัวให้ดี ไม่ปิดกั้นตัวเอง ต้องคิดบวก

19 กุมภาพันธ์ 2559

เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ

สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รศ.ดร. ณัฐภพ นิ่มปิติวัน

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวาณิช


ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวาณิช

ผู้นำต้องเลือกทำสิ่งที่เหมาะสม

ครั้งนี้เป็นการร่วมกันศึกษา ผู้รับฟังก็ต้องช่วยเพิ่มความรู้ด้วย

เทคโนโลยีจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้มหาวิทยาลัยได้

โลกยุคใหม่ เด็กเป็น screen age อยู่กับคอมพิวเตอร์มาตลอดจะทำอย่างไรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่

สังคมออนไลน์เป็นการรักษาความสัมพันธ์ลูกค้า

อาจจะนำความรูวันนี้ไปปรับใช้กับของเดิม หรือนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นนวัตกรรมความคิด

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

สิ่งสำคัญมากคือต้องเข้าใจ Cloud ก่อน

ปัจจุบันถ้าอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับใคร ก็พิมพ์ชื่อลงใน Google แสดงให้เห็นว่าความรู้อยู่ใน Cloud

วิกิพีเดีย ทำ Knowledge Engine ประกบกับ Google

ปัจจุบันถามด้วยเสียงได้

ก่อนนอน อาจจะบอกสิรีว่า ราตรีสวัสดิ์ ปลุกด้วย 6 โมงเช้า

อาจจะพูดภาษาหนึ่ง อาจจะตอบเป็นอีกภาษาบน Cloud ได้เลย โดยใช้ Google Translate เปิดไมโครโฟนแล้วพูด กดเลือกภาษาที่จะให้ตอบ

เวลาพิมพ์หนังสือ ในอดีตเป็นการเขียน หรือใช้แป้นพิมพ์ ตอนนี้ใช้ Google doc คลิกเครื่องมือ เลือก Voice typing เลือกภาษา

ในปัจจุบันนี้ คนอยู่กับชีวิตสมาร์ท เครื่องมือ สมาร์ทขึ้น ทำให้เริ่มมองความรู้เปลี่ยนไป ความรู้ที่ดีที่สุดเป็นการเรียนรู้ social ระหว่างกัน นำความรู้ออกมาผสมกันแล้วความรู้จะนำไปบรรจุบน Cloud (ก้อนเมฆ)

ในปัจจุบัน ห้องสมุดอยู่ในมือ คือพยายาม externalize เอาออกมาง่าย บน cloud แล้วพยายามเรียนรู้ เกิด internalize ใหม่

สื่อใหม่กลายเป็น Power Law สื่อใหม่ ข้อมูลบน Cloud มีมาก

มหาวิทยาลัยทักษิณต้องหาวิธีนำเสนอตัวเองให้เป็นที่รู้จัก โดยพยายามอยู่อันดับต้นๆของรายการค้นหา ถ้าเลยอันดับที่ 10 ไปจะไม่น่าสนใจ

วิธีการที่ทำให้ชื่อสถาบันมาอยู่อันดับต้นของรายการการค้นหา

ตัวอย่างกรณีศึกษา เจน ฮอร์โมน นักเรียนตรวจสอบครูได้ตลอดด้วยโทรศัพท์มือถือหาข้อมูล ครูแปล full of hot air คือ โมโหร้าย แต่เจนค้นหาข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือ พบว่า แปลว่า talking nonsense

เทคโนโลยีเร็วกว่าความคาดคิด 10 ปี มีสื่อใหม่มาอยู่บนก้อนเมฆมากมาย นักศึกษาทุกคนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใบรูปแบบสมาร์ทโฟนในมือ เทคโนโลยีจะ Convergence เพราะนำหลายเทคโนโลยีมาอยู่รวมกันในเครื่องเดียว สมาร์ทโฟนอาม่า เครื่องละแค่ 1,000 กว่าบาท

มหาวิทยาลัยคอสเซาร่าดึงคนเก่งทั่วโลกมาเรียน ให้คนโผล่หน้ามาดูเพื่อลงทะเบียนเรียน

แม้กระทั่ง Facebook ตอนนี้ Autotagging

ด้วยกลไกในการเข้าถึงสื่อใหม่ด้วยโทรศัพท์มือถือ มหาวิทยาลัยจึงไม่จำเป็นต้องสร้างห้องคอมพิวเตอร์

อาจจะกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจ โดยให้นักศึกษา sign in เพื่อร่วมเล่นเกมตอบคำถามที่อาจารย์ตั้ง แล้วนักศึกษาตอบโดยกดข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟน วิธีการคือพิมพ์ Kahoot.it แล้วใส่ Game pin กด Enter ใส่ชื่อ

อาจารย์กด Start เพื่อเริ่มตั้งคำถาม นักศึกษาเลือกคำตอบ อาจารย์กดดูจำนวนคนตอบแต่ละข้อ กดที่เป็นข้อถูกจะพบว่าใครตอบถูกและเร็วที่สุด

Socrative ให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นแนวคิดการศึกษาที่มีตั้งแต่โบราณ

เข้าเว็บ www.socrative.com

อาจจะสร้าง Avatar โดยให้สัญลักษณ์การ์ตูนแทนแต่ละบุคคล นำไป Post บนหน้าหนึ่ง Wall ของ Facebook เป็นการแนะนำตัวเองได้

อาจเปลี่ยนเนื้อหาในหนังสือเป็นการ์ตูนจะทำให้เด็กชอบมาก

เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว

ด้วยกลไกการศึกษา สิ่งที่ต้องการมาก คือ เว็บไซต์ต้อง Responsive

ต้องทดสอบโดยใช้โทรศัพท์มือถือ

หลักการทำเว็บไซต์ต้องทำให้ง่ายต่อการใช้งาน (Simple) คือใช้นิ้วโป้งนิ้วเดียวกดแล้วได้ข้อมูลทันที

ปัญหาคือ เว็บราชการมักใส่ข้อมูลแน่นเกินไป

คนรุ่นใหม่ เป็น Digital Native ชาวเมืองดิจิตอล

แต่ครูอาจารย์เป็น Digital Immigrant ผู้อพยพ จึงสื่อสารกับนักสื่อสารไม่รู้เรื่อง

คนรุ่นใหม่ ทำหลายอย่างในเวลาเดียว เก็บทุกอย่างไว้ใน cloud มีจินตภาพ อ่านการ์ตูน มีสมาธิสั้น

การทำงานเชื่อมกันด้วย Avartar อ่านแบบการ์ตูน Infographic ชอบอ่านเป็นส่วนๆ

ตอนนี้มี Data มากมาย ทำให้เกิด Big Data

ความรู้บวกกับทักษะแล้วนำไปต่อยอดสำคัญที่สุด ความรู้แบบ content ไม่สำคัญอีกต่อไป

มหาวิทยาลัยต้องเป็น Digital Campus เก็บข้อมูลใน Cloud โดยใช้ Digital Infrastructure

ตอนนี้มีเทคโนโลยี Wearable Devices มาจาก embedded

สิ่งสำคัญสำหรับอนาคตอันใกล้คือ IOT เชื่อมทุกอย่างเข้าด้วยกัน

การศึกษาให้ความสำคัญ Time, place, thing

ภายใต้ Smart จะเปลี่ยนจาก Machine to Machine เป็น IOT map

ทำอย่างไรให้คนมีพื้นฐานดิจิตอลทุกคน

อัตลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องส่งเสริมคือ

Digital sense

อยากทำสิ่งต่างๆ

ความคิดสร้างสรรค์

ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการเป็น maker มหาวิทยาลัยต้องมีห้องให้นักศึกษามาทำโครงงาน กิจกรรม เป็นจุดเริ่มต้นของ Startup

งานการศึกษาต้องเปลี่ยนวิธีคิด ให้หลุดจาก Dead Valley (หุบเขามรณะ) ต้องมีการบูรณาการทุกวิชาเป็นเนื้อเดียวกัน ต้องมีการอภิวัฒน์

ต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้เป็นแบบเปิด

ตอนนี้เป็น Social Economy ดึงคนเก่งมารวมกัน ทำตัวเป็นศูนย์รวบรวมสินค้าและบริการจากที่อื่น เช่น

Airtnb.com รวมที่พักจังหวัดต่างๆ

สถาบันการศึกษาสามารถทำแบบนี้ได้ แบบ coursera.org ดึงอาจารย์ที่มีชื่อเสียงจากอาจารย์ทั่วโลกมารวมกัน ให้คนเรียนออนไลน์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆของโลก และเรียนแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย

แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยกำลังถูกคุกคาม Supply over demand จะมีการแย่งชิงนักศึกษา

ถ้าไม่มีเทคโนโลยี ธุรกิจอย่างอูเบอร์แท็กซี่ไม่เกิด

ปัญหาคือ มหาวิทยาลัยไทยยังไม่ยอมเปลี่ยน

การศึกษาต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อการแข่งขัน

ต้องมองว่าเป็นการนำเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

เป็นเครื่องมือที่ทำสิ่งใหม่ๆหลายอย่างในบริบทใหม่

สมัยก่อน การศึกษามองเป็น Content ตอนนี้อยู่บนก้อนเมฆ

อีกอย่างคือการเรียนการสอน

แต่ที่ยิ่งใหญ่มากคือ การใช้เทคโนโลยี

ชีวิตคนหนีดิจิตอลไม่ได้

อาจจะสอนวิชาในคราวเดียวกัน สอนพละอาจจะสอนภาษาอังกฤษหรือฟิสิกส์ปนไปด้วย

มหาวิทยาลัยต้องทำให้นักศึกษาเรียนสนุกเหมือนเล่นเกม

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวาณิช

เป็นการนำเสนอที่เร้าใจ

ดิจิตอลเปลี่ยนความเป็นมนุษย์ แล้วมนุษย์ก็จะไปเปลี่ยนโลก

รศ.ดร. ณัฐภพ นิ่มปิติวัน

ต่อไปนี้ความรู้ที่สอนในมหาวิทยาลัย อาจจะเรียนออนไลน์จากที่อื่นก็ได้

เกาหลีมี Korea Global Access มหาวิทยาลัยดองซอน เปิดออนไลน์ด้วย เชิญมหาวิทยาลัยที่มีเครือข่ายในอาเซียนมาร่วมด้วย แล้วมีการสอนออนไลน์

ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยควรเป็นแบบนี้

ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมี iTunes University ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยโดยใช้โทรศัพท์มือถือ

มีเว็บไซต์ kudemy.com สอนไอทีผ่านวีดิโอออนไลน์

สมัยนี้ จ่ายเงินและเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยจะปรับตัวอย่างไร

มหาวิทยาลัยกรุงเทพตั้งเมื่อปี 2505 เพื่อผลิต CEO ระดับชาติ หรือทำงานภาคธุรกิจเอกชน หรือเป็นเจ้าของกิจการ

ในปัจจุบัน สร้างคนคิดสร้างสรรค์และจิตวิญญาณผู้ประกอบการ

ความคิดสร้างสรรค์ทำให้สิ่งที่ทำมีมูลค่าเพิ่ม ส่วนจิตวิญญาณประกอบการ แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการก็ต้องช่วยบริษัทประหยัดด้วย

หลักสูตรเน้น Learning by doing สร้างให้นักศึกษามีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้มากที่สุด

  • สิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์ ใช้สีและเฟอร์นิเจอร์ มีพื้นที่ให้นักศึกษาทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ห้องสี่เหลี่ยม เฟอร์นิเจอร์เปลี่ยนได้ตามฟังก์ชั่นการสอนได้ มีห้องโถงทำกิจกรรมกลุ่ม มีหอศิลป์ให้นักศึกษาแสดงผลงาน มี Busem Lounge (ชั้น 3 อาคารเจริญ คันธวงศ์) ,มุมนักวิจัยหารือกันได้ มีชมรมศึกษา ศูนย์กิจกรรมนักศึกษา ศูนย์กิจกรรมกลางแจ้ง
  • หลักสูตรที่สร้างสรรค์ ขยายมาตรฐานการเรียนการสอนไปต่างประเทศ เช่น เมียนมา เวียดนาม (Hutech) และอินโดนีเซีย
  • โอกาสที่ที่ให้นักศึกษาแสดงฝีมือ

Hutech ส่งนักศึกษามาเรียน มหาวิทยาลัยกรุงเทพส่งอาจารย์ไปเรียน BABSON University แล้วส่งอาจารย์ไปสอนเมียนมา เวียดนาม

ต้องมีการควบคุมคุณภาพการสอน โดยทำ material กลาง โดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและ BABSON มีอาจารย์ในประเทศนั้นๆมาร่วมสอนด้วย

มี CHOT program (chotproject.net) ได้รับทุนจากซิป้าในการจัดทำ ให้เรียนฟรี

ในระดับปริญญาตรี มีการบันทึกเก็บข้อมูลการสอนของอาจารย์ เรียกว่า AcuLe@rn ทำให้ดูการสอนของอาจารย์ผ่านโทรศัพท์มือถือได้

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ไปถึงระดับ coursera.org อาจารย์ที่สอนก็จะได้รับทราบว่าวิธีสอนแบบใดที่สามารถออกเป็นแบบวีดิโอออนไลน์ อาจจะบันทึกไม่เกิน 15 นาที

ระยะแรกจะนำวีดิโอขึ้นเว็บไซต์

ระยะที่สองมี Quiz on line คาดว่าจะเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า

ต้องให้อาจารย์กรอกมคอ. หัวหน้าภาควิชามาตรวจได้ สิ้นเทอมทำมคอ. 5 แล้วจะไปรวมเป็นระบบใหญ่

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารให้ MK ระยะแรกยกของได้ ระยะที่ 2 รับออเดอร์ ระยะที่ 3 จำหน้าและข้อมูลได้ใช้สำหรับลูกค้าวีไอพี ระยะที่ 4 ตกแต่งหุ่นยนต์ 3-D printing (Print Skirt)

ในการทำ Online course เป็น virtual studio อาจารย์เปลี่ยนฉากดึงดูดนักศึกษาได้

มี BU Startup Project ทำให้คนต่างคณะรู้จักกันมากขึ้น นักศึกษาต่างคณะมาทำโครงการร่วมกันในแต่ละกลุ่ม ต้องคิดว่าทำอะไร ราคาเท่าไร ขายใคร ขายที่ไหน ในปีแรก ทดลองก็ได้ผลทำให้นักศึกษาต่างคณะคุยกันรู้เรื่อง ปีที่สอง นำความคิดไปขาย Matching Studio ให้เงินมาทำโครงการ วิศวะคอมทำ E-magazine ปีที่สาม ททท.ขอให้กระตุ้นให้นักศึกษาเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น

สร้าง Digital Simulative Center

หลักสูตร M.M.E. มีผู้ประกอบการมาเรียน

หลักสูตรท่องเที่ยว ก็มี Smart classroom มีแจกไอแพดตอบคำถามในห้อง

มีเครื่องบินจำลองสำหรับนักศึกษาฝึกทำงานในสายการบิน

มีครัวสาธิต อาหารยุโรป ขนม อาหารไทย เบเกอร์รี่

มีการหมุนเวียนหน้าที่ให้ได้ประสบการณ์

มีภัตตาคารจำลอง นักศึกษาทำจริง แต่ถ้าผิดพลาด ก็ขาดทุน

มี ASEAN study center ทำวิจัยแล้วนำความรู้ไปแทรกในวิชาที่นักศึกษาเรียน

มี International center จ้างนักศึกษาต่างชาติมาเป็นเพื่อนคุยเป็นภาษาอังกฤษ

มีห้องปฏิบัติการด้านวิศวกรรม

นำงานที่ทำในชั้นมาเป็น Product มีโครงการไอเดียแลกล้าน นักศึกษาส่งโครงการมาให้กรรมการพิจารณา ทำเสร็จแล้วต้องรายงานแล้วนำไปขายอย่างไร มหาวิทยาลัยมี Imagine Hub เป็นร้านขาย มี workshop กระตุ้นให้นักศึกษาคิดเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ตอนเรียน มีการให้ทุนนักศึกษา แต่ต้องมาร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัย

ช่วงคำถาม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอขอบคุณวิทยากรทั้งสองท่าน

ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดร.จีระรู้จักดี ได้เคยไปสอน MBA

วิชาที่ไม่ make money เช่น ประวัติศษสตร์ คุณธรรม จริยธรรม ทำอย่างไร

รศ.ดร. ณัฐภพ นิ่มปิติวัน

พยายามสอดแทรกในวิชาอื่นๆ ผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การดึงเด็กเก่งเป็นอย่างไร

รศ.ดร. ณัฐภพ นิ่มปิติวัน

ค่านิยมยังไม่ค่อยเลือกมหาวิทยาลัยเอกชน

ต้องปลูกฝังให้มี DNA ของมหาวิทยาลัย

ส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมกิจกรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอให้อาจารย์ยืนช่วยแนะนำในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยทักษิณซึ่งเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมและศึกษาศาสตร์ สร้าง CEO ระดับการศึกษาไม่น้อย อธิการบดีจะตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ จะขอให้อาจารย์ยืนแนะนำ

ขอให้ดร.ณัฐภพช่วยแนะนำเว็บไซต์ของดร.จีระด้วย

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

เรากำลังเตรียมลูกศิษย์ไปใช้ชีวิตในอนาคต อยากให้ลูกศิษย์ไปสร้างอนาคต กำหนดอนาคตเอง นักศึกษาต้องเรียนหนังสือเป็น สร้างให้นักศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้เร็ว เพราะในโลกมีสิ่งเกิดใหม่มากมาย ถ้าไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม มีเครื่องจักรมาใหม่ ก็ต้องไปเรียนรู้ใหม่ คนเรียนรู้เร็วได้เปรียบและทำอะไรได้มากกว่าคนอื่น คนไทยช้ามาก เพราะมีข้อมูลหลายอย่าง Pearson พิมพ์ตำราต่างๆแล้วก็วิเคราะห์คน พบว่า คนมี Learning Curve ตอนอายุน้อยมีมากกว่าตอนเป็นผู้ใหญ่ คนมีอาชีพที่เกี่ยวกับตัวหนังสือและวิชาการไม่ได้มี Learning Curve มากกว่าอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้อง Learning Curve ยังรวมถึงการบริหารคนเป็น เป็นผู้นำได้ ไอทีได้ สื่อสารได้ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นพลเมืองโลกที่ดี ในกรณีเกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จเพราะมีระบบการศึกษาดี คนอายุน้อยมีความคิดสร้างสรรค์ดี ถ้าระบบการศึกษาทำให้คนเรียนรู้ได้ดี ก็จะทำให้พัฒนามากขึ้น

ในการพัฒนา Learning Curve สามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าคนอื่น ต้องมีข้อสอบให้คิด จะสร้างความแตกต่างจากที่อื่นอย่างไร มหาวิทยาลัยทักษิณต้องมีเอกลักษณ์ การเรียนการสอนต้องทำเรื่องยากให้ง่าย แต่ปัญหาคือการสอนทำให้เรื่องง่ายเป็นเรื่องยากทำให้นักศึกษากลัวการเรียนรู้

Connectivism: Learning ต้องมีการเรียนรู้แบบใหม่ๆ มีการเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ

กลุ่ม 5

เนื่องมหาวิทยาลัยทักษิณยังไม่อยู่บริบทเหมือนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

จะสลายความกลัวเทคโนโลยีของคนรุ่นเก่าอย่างไร

ลงทุนมากแค่ไหน ต้นทุนคุ้มค่าไหม

รศ.ดร. ณัฐภพ นิ่มปิติวัน

มหาวิทยาลัยเอกชนทำอะไรต้องคุ้มการลงทุน ต้องมีหน่วยงานหลายหน่วยงานมารับผิดชอบ สำรวจว่ามีคนเรียนเท่าไร จบแล้วเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานไหม

การบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนต้องคิดมากในเชิงพาณิชย์ แต่ก็ตอบแทนสังคมและเน้นคุณภาพการศึกษาด้วย

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

อาจารย์ต้องเปิดใจกว้างและทนรับฟังลูกศิษย์ได้ และพยายามเข้าใจ

ผู้บริหารต้องมีทัศนคติเป็นบวก

การเรียน การเล่น การเข้าสู่สังคมของคนรุ่นใหม่ไม่เหมือนเดิม

ต้องเข้าใจเด็กแต่ละคน

ถ้าทำงานด้านการสร้างคน ต้องเข้าใจคน

ครูไปปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์เด็กเพราะไม่อยากให้ออกนอกลู่นอกทาง ปัญหาคืออยากได้ของใหม่แต่อยากให้เด็กอยู่ในกรอบ

ต้องหาวิธีการปรับระบบ

กลุ่ม 4

ชอบแนวคิดรศ.ดร. ณัฐภพ นิ่มปิติวัน

มหาวิทยาลัยกรุงเทพจะทำอย่างไรให้เป็นมหาวิทยาลัยในฝันของนักเรียน

ขอให้ทำนายแนวโน้มมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าจะเป็นอย่างไรถ้าไม่ปรับตัวด้านเทคโนโลยี

กลุ่ม 1

ถ้าปริญญาโท ก็ส่งงานออนไลน์ได้

แต่นักศึกษาปริญญาตรียังไม่มีความสามารถในการเข้าถึงไอที จะมีปัญหาไหมที่จะให้ทุกคนใช้ไอที

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

มีวิธีการที่สร้างตามบริบทที่เป็นสภาพแวดล้อมที่มี

ในระยะแรก ต้องมีสิ่งที่ดีกว่ามาทดแทน เช่น โกดักหายไปเพราะกล้องดิจิตอลมาแทนกล้องถ่ายรูปแบบฟิล์ม

กระบวนการต่างๆ ถ้ามีสิ่งที่ทดแทนได้โดยสมบูรณ์ สิ่งเดิมๆก็จะหายไป อาจจะเกิดช่องว่างระหว่างคนมีกับคนไม่มี ความรู้พยายามลดช่องว่างลง ทำให้มีโอกาสได้เข้าถึงได้ดีกว่า

อาจารย์ก็ต้องจัดการให้ลดความแตกต่างระหว่างลูกศิษย์แต่ละคน อาจจะให้ทำเป็นงานกลุ่ม มหาวิทยาลัยอาจจะช่วยเอื้อประโยชน์ได้โดยต้องมีความรู้เท่าทัน

รศ.ดร. ณัฐภพ นิ่มปิติวัน

ต้องทำให้มหาวิทยาลัยมีเอกลักษณ์ชัดเจน ก็คือมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้ปฏิบัติจริง มีสาขาที่โดดเด่น

ถ้ามหาวิทยาลัยกรุงเทพไม่มีจุดเด่น และหลักสูตรใหม่ ก็จะอยู่ไม่รอด

มหาวิทยาลัยกรุงเทพเน้นความคิดสร้างสรรค์และจิตวิญญาณผู้ประกอบการ นำเสนอผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม และต้องมีการปรับตัวตลอด

มีบางชั้นที่ต้องทำ on-line quiz ก็อาจจะต้องเช่า server เป็น cloud

กลุ่ม 1

ขอบคุณวิทยากร 2 ท่าน ทางมหาวิทยาลัยทักษิณเห็นว่าเป็นแนวทางหลักและข้อเท็จจริง อาจารย์จีระเน้นว่าต้องอยู่กับความจริงและตรงประเด็น

ในการเตรียมความพร้อมเด็กเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย จะหาพื้นที่มหาวิทยาลัยส่วนไหนที่ให้เด็กมีโอกาสมาดูว่าสนใจจะเข้าคณะใด

การที่จะอยู่รอดและทำให้เร็ว มีอุปสรรคอะไรสำหรับผู้บริหาร

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ

มหาวิทยาลัยคิดแบบเดิมไม่ได้ แต่ต้องคิดแบบ Proactive คิดเป็น Chain ที่ไกลขึ้น

ถ้าเริ่มตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย ก็อาจจะสายไป

ควรจะเริ่มตั้งแต่อายุน้อย

รศ.ยืน ภู่วรวรรณฝึกอบรมเด็กเพื่อเข้าสู่โอลิมปิกคอมพิวเตอร์ ทำให้เด็กเห็นเส้นทางอาชีพแล้วต้องการมาเรียนต่อในสาขานั้น

ต้องทำกิจกรรมให้เด็กเห็นและมีส่วนร่วม

มหาวิทยาลัยต้องสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าคือเด็กที่จะมาเรียนในอนาคต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การเรียนรู้คือวัฒนธรรมการเรียนรู้

แต่ละคนต้องได้รับแรงกดดัน

ต้องชนะเล็กๆก่อน อย่ารีบร้อน

เวลาที่ฟังแล้วคิดให้รอบคอบดูบริบท มี critical thinking มีรายงานออกมาว่า เทคโนโลยีไม่ใช่ทางแก้ปัญหาทุกอย่าง เพราะเทคโนโลยีก็ขาดการวิเคราะห์ เช่นตัวอย่างข้อสอบในต่างประเทศเน้นการวิเคราะห์ ก็ต้องมีระบบคิดดี นักศึกษาต้องเข้าใจสภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อน ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงเร็ว ต้องอาศัยความรู้ข้ามศาสตร์

Networking Development and Management Forum

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นายสมพร ศิริโปราณานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา

นายสุริยา ยีขุน

นายกเทศมนตรีตำบลปริก

อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

นายเมธา ปุณยประวิตร

ผู้อำนวยการสำนักธรรมนูญสุขภาพ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร

จ.สงขลา (ผู้นำชุมชนสงขลา)

นายสมพร สุวรรณเรืองศรี กรรมการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในส่วนของพัทลุง (ปราชญ์ขาวบ้านพัทลุง)

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มหาวิทยาลัยทักษิณควรจะอยู่กับชุมชน

ความหลากหลายต้องเป็นพลัง อย่ามองว่าเป็นงานแปลกแยก

เศรษฐกิจไทยในอนาคตกลับไปสู่พื้นฐาน 3 sectors คือท่องเที่ยว เกษตรและสุขภาพ ถ้าใช้ไอที ใน sectors เหล่านี้ ก็จะรอด

ขณะนี้ได้ทำ 3 โครงการ

ปีที่ 1 ทำวิจัยว่าถ้าเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภาคการท่องเที่ยวและกีฬา ต้องเน้น

การท่องเที่ยวเชิงกีฬาจะเป็นสิ่งสำคัญของไทย เช่น บุรีรัมย์ เอเชี่ยนบีชเกมส์ที่ภูเก็ต ถ้าบุรีรัมย์จัด F1 ก็จะมีธุรกิจอื่นเกิดมากมาย

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชน จะยกระดับจากระดับชุมชนไปสู่มาตรฐานโลก

ตัวละครที่เป็นเครือข่ายได้แก่ ชุมชน วิชาการ เอกชน และภาครัฐ

ยุทธศาสตร์หลักการพัฒนาศักยภาพขององค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

2.สร้างศรัทธา

3.สร้างประโยชน์ซึ่งกันและกัน

4.ผนึกกำลังกัน และเสริมแรงกัน

5.มุ่งสู่ผลลัพธ์-เปลี่ยนไอเดียในการพัฒนาเครือข่ายต่างๆไปสู่การปฏิบัติให้เกิดคุณค่าและมูลค่า

สรุปว่า Network ประกอบด้วย

1. เลือกตัวละครที่หลากหลาย

2. ลงทุนในการพัฒนาตัวละครเหล่านั้น แล้วพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นเหล่านี้จะจุดประกาย

นายสมพร ศิริโปราณานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา

เป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ได้เป็นนักศึกษาปริญญาโทนิด้า อาจารย์ที่สอนก็ได้ปลูกฝังว่าเครือข่ายเป็นทุน

หอการค้าไทย มีหอการค้าจังหวัดเป็นนิติบุคคล

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะไม่มีในจังหวัดที่ไม่มีอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นสาขาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

มีสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะมีเฉพาะจังหวัดที่มีการท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสาขาสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

มีการหารือติดต่อทางไลน์เป็นประจำแม้ไม่ได้พบกัน

ที่ผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว ภาคใต้มีพรรคการเมืองซีกเดียวอยู่ด้วยกันมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี

ด่านนอก ประตูหน้าด่านมี 10 ไร่ เพิ่งได้รับการพัฒนาจากนโยบายรัฐบาลปัจจุบันเรื่องเศรษฐกิจพิเศษ เป็นการพัฒนาจากรัฐบาลที่ไม่เล่นการเมืองและพัฒนาจากศักยภาพที่ดี

นายสมพร ศิริโปราณานนท์ได้เชิญสภาต่างๆมาร่วมเป็นเครือข่าย ทุกสมาคมมาอยู่ร่วมกัน ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลาเป็นประธานการประชุมเครือข่าย เพราะฉะนั้นทำให้ทราบข่าวรวดเร็วมาก มีการประชุมเดือนละครั้ง มีการผลักดันเรื่องไปสู่กรอ.จังหวัดและกรอ.ส่วนภูมิภาค

นอกจากนี้ได้ทำเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ในไทยมี 2 เมืองที่ร่วมคือเชียงรายและหาดใหญ่ ได้ทุนจากร็อกกี้เฟลเลอร์ มีเครือข่ายเป็น NGOs ประกอบด้วยสภาลุ่มน้ำทะเลสาบ พ่อค้า สภาชุมชนสงขลา คุณภูเบศร์ ไอที นักวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อม มอ. คณะวิศวะ มอ. อ.จเร มทร. มีชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการส่วนภูมิภาค ประชาสัมพันธ์จังหวัด

เทศบาลนครหาดใหญ่เป็นเลขานุการ

ในอีก 5 สำเร็จ เพราะมีความไว้วางใจกัน Integrate บริหารข้าราชการ จัดการความสัมพันธ์ทางการเมือง ประกาศว่าไม่ลงเล่นการเมืองเพื่อลดความหวาดระแวงของเครือข่าย

ทุนจากร็อกกี้เฟลเลอร์เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่ควรทำในเมืองใหญ่

การทำงานนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ยังขาดคนที่มีความรู้เรื่องนี้ จึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้ทุก 15 วัน

การทำงานแบบนี้เป็นการทำงานแบบหนึ่งเพื่อเป็นแบบอย่างของหน่วยงานอื่น

ต้องบรรจุสิ่งที่ทำเข้าสู่ยุทธศาสตร์ท้องถิ่น

ต้องแสดงบทบาทให้เหมาะสม ทำตัวเป็นผู้ประสานงานให้การสนับสนุน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องทำให้มีบทบาททุกภาคส่วน

ปัญหาคือข้าราชการมีอัตตา ต้องมีการบริหารจัดการอัตตา (อีโก้) ให้ดี

คุณสมพรพูดเรื่องเครือข่าย Global Warming ก็เป็นเรื่องที่ดีมาก

ในภาคสุขภาพ ถ้าสาธารณสุขจังหวัดรู้เรื่องเครือข่าย ก็ไม่ต้องทำงานมาก

ปัญหาคือหลายหน่วยงานทำงานซ้ำซ้อนกัน ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ การสร้างเครือข่ายจะทำให้ช่วยประหยัดงบประมาณ

ราชการไทยยังไม่มีหน่วยประสานงาน และขึ้นต่อเจ้านาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คุณสมพรถอดบทเรียนที่ทำ

หลักการคือสงขลาต้องยืนได้ด้วยตนเอง คนมาร่วมก็เสริมกำลังและได้ประโยชน์ด้วย ทำโดยรวมตัวให้ใหญ่พอ เป็นผู้นำต้องสนับสนุนผู้อื่น

เลือกทำเรื่องภาวะโลกร้อน เป็นเรื่องที่โลกสนใจ เป็นเรื่องที่แตกต่างและเด่น พัฒนาให้เด่น ของบก็ได้

มีบางสถานีรายงานพยากรณ์อากาศได้รายชั่วโมงเพราะมีเครือข่าย

สิ่งสำคัญคือต้องวัดความสำเร็จได้ด้วย

ผลักดันให้เป็นต้นแบบ ยุทธศาสตร์จังหวัดและประเทศ

ต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งผ่านองค์ความรู้

บางทีการที่วิทยากรมาก็ไม่ใช่เพราะเงิน แต่เป็นการสร้างเครือข่าย

เทศบาลคล้ายราชการปนกับเอกชน มีนโยบายรัฐแต่ก็มีอิสระในการบริหารจัดการ

นายสุริยา ยีขุน

ขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้ทำมา

เทศบาลเหมือนองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นๆ มีความเป็นอัตโนมัติและต้องรับคำสั่งเบื้องบน ต้องอยู่ให้ได้ภายใต้กฎ ข้อจำกัด ความเปลี่ยนแปลง กระบวนการตรวจสอบของสตง.ที่มองว่าองค์กรประเภทนี้เป็นจำเลยด้านการทุจริต

ถ้าทำงานแบบมีหลักการและไม่โดดเดี่ยว ก็จะรอด

เทศบาลตำบลปริก ทำหน้าที่เป็นองค์กรบริการสาธารณะ มีหลายโครงการมีที่มาไม่ชัดเจนจึงไม่ได้ทำ สิ่งสำคัญคือต้องมีการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์กำหนดทิศองค์กร ทำให้คลี่คลายปัญหาระดับพื้นที่ได้

เทศบาลตำบลปริก มีขยะมาก

เยาวชนไปเก็บข้อมูล ทำให้ทราบปัญหาเพื่อสามารถแก้ปัญหาได้ทันการณ์ อย่างน้อยได้เครือข่ายระดับชุมชน

เคยทำโครงการไทเกอร์ฟาร์มพัฒนาเพื่ออนุรักษ์ เมื่อทราบปัญหาชุมชนก็กลับมาดูบุคลากรในองค์กร จำแนกได้ กลุ่ม

  • ผู้บริหาร มีประสบการณ์การทำงาน เชี่ยวชาญกฎระเบียบ เอกสาร ข้อกฎหมาย จัดให้เป็นกลุ่มพี่เลี้ยง เพราะต้องนำองค์ความรู้มาถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง
  • ผู้อำนวยการฝ่าย เป็นพี่คอยหนุนหรือเพื่อนคอยนำ ทำให้ขึ้นไประดับพี่เลี้ยงและลงมาระดับเจ้าหน้าที่ เป็นตัวกลางเชื่อมโยง
  • ลูกจ้าง เป็นคนในชุมชน ต้องสร้างสำนึกมาตุภูมิ เป็นกลุ่มภูมิปุตรา ต้องตอบแทนบุญคุณชุมชน เกิดการทำงานเป็นกลุ่ม

แต่ละกลุ่มทำภารกิจตน ต้องมีรวมพลังสร้างภาวะหลอมรวมให้เกิดขึ้นเกิดเป็น One-stop service รับงานแทนกันได้และเป็นเจ้าหน้าที่ประจำชุมชนได้

แต่ละกลุ่มหลอมรวมกันเกิดเป็นเครือข่ายภายใน รับเรื่องแล้วส่งต่อเรื่องได้ ทุกคนช่วยกันทำงาน

ใน 7 กองต้องรับผิดชอบ กองละ 1 ชุมชนในเทศบาลตำบล

โค้ชสามารถสร้างทีมประจำชุมชนได้ด้วย การรู้จักชาวบ้าน สามารถทำประโยชน์ให้สาธารณะได้ ถ้าเก็บภาษี หลังจากทำงานเป็นเครือข่าย ก็เก็บภาษีได้ครบ

ความรู้สึกมีช่องว่างกับชุมชนและเทศบาลเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น สร้างพลังแฝงจากสิ่งที่ไม่เคยเห็น

การพัฒนาคนในองค์กรใช้ทฤษฎีในหลวงคือระเบิดจากข้างใน ทั้งสามกลุ่มต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพคืออบรมเองหรือส่งไปรับการอบรมภายนอก ไปดูงานการให้บริการ service mind ของบริษัทที่บริการดี ทำให้เด็กเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น

ในระดับชุมชน ใช้ยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมือง นำคนเก่งเช่นกรรมการชุมชนมาเป็นแกนในชุมชนมาทำงานร่วมกับเทศบาล ทำให้ได้เครือข่ายชัดลึก สิ่งสำคัญคือความต่อเนื่องในการเอาใจใส่ ให้เกิดความเคลื่อนไหวและการเกิดกิจกรรม มีโครงการสสส.เข้ามาปี 2552 เน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีการเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากนี้เทศบาลมีเครือข่ายระดับชาติ คือสันนิบาตเทศบาล มีเครือข่ายระดับนานาชาติ คือ เครือข่ายปกครองส่วนท้องถิ่นขิงเอเชีย เครือข่ายอียูมาทำเรื่องธรรมาภิบาลแล้วเลือกเทศบาลตำบลปริกเป็นกรณีศึกษา

ต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ

การมีเครือข่ายทำให้ไม่ต้องพึ่งเงินจากรัฐบาลเท่านั้น แต่ก็สามารถทำงานให้เป็นรูปธรรมในระดับพื้นที่ได้ การสร้างเครือข่ายจึงเกิดกิจกรรมต่อเนื่อง เกิดเพื่อนมากมาย

เทศบาลได้รางวัลพระปกเกล้า 7 รางวัล ได้แก่ ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน รางวัลธรรมาภิบาล รางวัลพระปกเกล้าทองคำ รางวัลความโปร่งใสจากปปช.

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่พูดคล้ายดร.จีระ

ต้องทำงานมีหลักการและไม่โดดเดี่ยว

ในการสร้างเครือข่าย ต้องมีผู้นำที่กล้าหาญที่จะทำสิ่งต่างๆแล้วจะเกิดเครือข่าย

มีการสร้างเครือข่ายภายในเข้มแข็ง มีการพัฒนาศักยภาพ มีการแบ่งกลุ่ม คนระดับต่ำสุดต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน สร้างเครือข่ายภายนอก ก็จัดกลุ่มแบบนี้ แล้วนำไปแก้ปัญหา

แสดงว่า เทศบาลก็โดดเด่นมาก

แล้วขยายเครือข่ายไประดับชาติและนานาชาติ

ในเรื่องจิตอาสา ต้องมีความสุขในการเขาร่วม ให้เกียรติยกย่อง มีศักดิ์ศรีเสมอกัน ต้องทำให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกันนำไปสู่ความยั่งยืน

นายเมธา ปุณยประวิตร

สำนักธรรมนูญสุขภาพ ชุมชนตั้งขึ้นมาเอง ชะแล้มีพื้นที่ 8.9 ตารางกิโลเมตร ติดทะเลสาบ มีความโดดเด่นทางมรดกธรรมชาติและวัฒนธรรม เป็นตัวขับเคลื่อนตลอด ชะแล้เคยเป็นชุมชนมุสลิมมาก่อน แล้วค่อยมีวิถีพุทธเข้าไป มี 5 หมู่บ้าน มี 6 ตระกูลใหญ่ แต่งงานไขว้กัน อาชีพเกษตร อาชีพเสริมคือขายแรงงานแต่เป็นรายได้หลัก ชุมชนชะแล้เปลี่ยนเมื่อมีสะพานติณสูลานนท์ ทำให้เกิดโรงงาน คนมาขายแรงงาน เกิดหนี้สิน

มีเนินเขา เป็นทีตั้งวัดชะแล้ วัดภูติบรรพต มีซากโบราณที่ขุดพบ มีพระคอตกศักดิ์สิทธิ์ คนนิยมไปขอลูก แก้บนด้วยมโนราห์ เป็นเรื่องที่ไม่เคยคุยเรื่องภูมิปัญญามากนัก ก็เลยต้องมาแก้รัฐธรรมนูญ

มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีถ้ำนางทอหูก มีชาวบ้านไปบนบาน มีเกาะนางถ้ำ ต้องนำข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมมาดูด้วยกัน

ปัญหาที่เกิดคือ สุขภาพ ภูมิปัญญาสูญหาย เก็บข้อมูลมาคุยกัน มีพระราชบัญญัติ นำแนวคิดมาทำธรรมนูญสุขภาพ มีการรับฟัง ยกร่าง ประเมินผล

ธรรมนูญสุขภาพเอาความรักเป็นตัวตั้ง จริยธรรม คุณธรรมสำคัญ สร้างคุณค่าให้เกิดแก่คนแล้วนำไปพัฒนามรดกทางวัฒนธรรม

ได้มีการทำฐานข้อมูล ปี 2548-2549 ได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยทักษิณเรื่องเด็กและเยาวชน วิทยาลัยบรมราชชนนี คณะแพทย์ มอ. คณะสถาปัตย์ มทร. ความรู้หลายเรื่องในมหาวิทยาลัยไม่ได้ถูกถ่ายทอดไปในชุมชน การมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยทำให้วางแผนเป็นปีได้ นายเมธาประสานงาน

ในแต่ละระบบมีคนเก่ง ศูนย์เด็กเล็ก มีเทศบาลเป็นเจ้าภาพ ต้องพัฒนาเด็ก ผู้ปกครอง พี่เลี้ยง มีเครือข่ายคมจ. มูลนิธิสยามกัมมาจล เด็กไปทำกิจกรรมชุมชน เช่นด้านสิ่งแวดล้อม เวลาเด็กไปแลกไข่ก็ไปกอดผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ใหญ่มีความสุข ยิ้มแย้ม หัวเราะ ชะแล้นำพระไปหาผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยมีความสุขขึ้น

ปัญหาคือเศรษฐกิจชุมชน คนอยู่ไม่ได้ กินอาหารไม่ดี ทิ้งท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ร่วมสร้างอาชีพ

ภูมิปัญญาโตขึ้น เพราะคนหันมาใช้ภูมิปัญญามากขึ้น ก้างติดคอ มีคนในชุมชนตักน้ำให้ดื่มแล้วหาย สิ่งสำคัญคือสร้างคุณค่าให้คนที่มีภูมิปัญญาได้รับความเคารพ ผลที่ตามมาก็สร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นให้ได้ ตอนนี้มีคนมาดูงานธรรมนูญสุขภาพจึงพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำจริง มีภูมิปัญญา ถอดบทเรียน เป็นวิทยากรได้ มีกระแสเงินสดหมุนเวียนได้ ชะแล้เป็นตำบลเล็กไม่มีสวัสดิการ ตอนนี้มีสวัสดิการผู้สูงอายุ เพราะชาวบ้านบริจาคเงินเป็นกองทุน ซึ่งคนเหล่านี้ก็เป็นเครือข่ายภายในและภายนอก ปัญหาคือองค์ความรู้การพัฒนาเมืองไม่เคยถูกถ่ายทอดไปในชุมชน ทำให้เกิดน้ำท่วม เปลืองพลังงาน

ขอให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเข้าไปช่วย วิทยาลัยพยาบาล ก็ช่วยเรื่องผู้ป่วย มทร.ช่วยด้านท่องเที่ยว ส่วนคณะสถาปัตย์ก็ช่วยเรื่องการก่อสร้าง

มีธรรมนูญ มีคนดีและคนเก่งมาเป็นเครือข่าย ต้องสะท้อนคุณค่าคนมีภูมิปัญญา ชุมชนยินดีทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆเพื่อเป็นเครือข่าย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่คุณเมธาพูดในการสร้างเครือข่ายคือดึงของดีมีอยู่ ทั้งภูมิปัญญาและคน การลงพื้นที่ต้องมีความสนุกและความสุขมาจากเรื่องเล่าในความภาคภูมิใจ

เวลาสร้างเครือข่าย ต้องเริ่มจากปัญหา เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เรื่องที่น่าสนใจคือ สังคมผู้สูงอายุ มีการเริ่มด้วยการเก็บข้อมูลในพื้นที่ แล้วมีมหาวิทยาลัยทักษิณและมอ.มาร่วม ดึงสสส.มาได้เพราะทำเรื่องสุขภาพ สสส.ให้งบเรื่องสุขภาวะกายใจด้วย มีการเลือกธรรมนูญคือหลักการ แต่มีปัญหาการสื่อสาร สิ่งที่เด่นคือการสืบทอดไปยังคนรุ่นหลัง

มหาวิทยาลัยทักษิณลงไปทำงานชุมชนมากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการเป็นกรรมการสังคมศาสตร์ ยูเนสโก ขอให้ทาบทาม มอ.และมหาวิทยาลัยทักษิณมาร่วมเป็นกรรมการ MOST ปัญหาคือพัฒนาแต่ไม่ให้ความสำคัญชาวบ้าน

กิจกรรมอย่างอภิปรายครั้งนี้เป็นเรื่องคาดไม่ถึง

คุณสุริยามอง networking ภายในแล้วกระเด้งไปข้างนอก

คุณสมพร ก็ทำเรื่อง global warming เป็นเรื่องที่ดีมาก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์จีระพยายามจะหาเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยทักษิณ ชื่อเดิมคือ มศว. เป็นพระนามสมเด็จย่า ประธานพอสว. ที่ช่วยเหลือคนในชุมชน มหาวิทยาลัยให้คำปรึกษากฎหมายชุมชน

Workshop

กลุ่ม 1

ยกตัวอย่างการสร้าง Networks ของ TSU ที่ประสบความสำเร็จ 2 เรื่อง และอธิบายเหตุผล

ความสำเร็จการสร้างความร่วมมือกับชุมชนตะโหมด พัทลุง

ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ที่ไอโครฟิททำ

ปลูกผักเหนียง มีนักธุรกิจมาดูงาน

ไอโครฟิทนำเด็กไปเรียนทำนาเกี่ยวข้าวใช้แกละ เครือข่ายมาจากชุมชน เด็กมีคุณธรรม

ร่วมมือมูลนิธิรากแก้ว นำเด็กไปทำรายการเลี้ยงปลาดุกรำพัน

ทำฝายชะลอน้ำ

มอ.ขอนักศึกษาอาเจะห์มาดูงานในตะโหมด

กลุ่ม 2

จะสร้างเครือข่าย Networking ใหม่ของ TSU เน้นแบบ Flagship ควรจะมีตัวละครกี่กลุ่ม และแต่ละกลุ่มต้องทำเรื่องอะไร

เริ่มจากมหาวิทยาลัยทักษิณ ต้องสลายความเป็นตัวตนแต่ละคณะ แล้วมาคิดร่วมกัน

สำรวจความต้องการของผู้เรียน เน้นหลักสูตรระยะสั้น ทำให้มหาวิทยาลัยมีรายได้ อาจจะมีการวิจัยเชิงสถาบัน

ในด้านผู้ใช้บัณฑิต เช่นตลาดแรงงานต้องการอะไร ผู้สูงอายุต้องการเรียนรู้อะไรบ้าง หลักสูตรที่ทำสังคมต้องการ

นำเครือข่ายสถาบันที่อาจารย์จบมาช่วยเหลือ

กลุ่ม 3

ยกตัวอย่างการสร้าง Networks ของ TSU ที่ประสบความสำเร็จ 2 เรื่อง และอธิบายเหตุผล

ไอโครฟิท เป็นความร่วมมือบุคลากร หรือโยงนิสิตกับชุมชน

อาจมีความร่วมมือภาครัฐ เอกชน ชุมชน

เครือข่ายย่อย คณะร่วมกับชุมชน

ไอโครฟิท (เด่นเรียนสอน)และทักษิณคดีศึกษา (เด่นศิลปวัฒนธรรม)

ด้านวิจัย ยังไม่เข้มแข็ง แต่เกิดเป็นระดับบุคคล

ไอโครฟิทบูรณาการการเรียนการสอนกับชุมชน มีครูชุมชนสอนให้นักศึกษา มีการวัดและประเมินผล

ทักษิณคดีศึกษา สินค้าอยู่ที่ชุมชน ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน มีเครือข่ายสมาคมท่องเที่ยว ภาคธุรกิจ สถานศึกษา เกิดมูลค่าเพิ่ม บริการองค์ความรู้

กลุ่ม 4

จะสร้างเครือข่าย Networking ใหม่ของ TSU เน้นแบบ Flagship ควรจะมีตัวละครกี่กลุ่ม และแต่ละกลุ่มต้องทำเรื่องอะไร

เป็นโครงการที่จะสร้างให้เกิดในปีนี้ Swiss-ASEAN Network

มีมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สวิตเซอร์แลนด์

เครือข่ายคลองหอยโข่งมีชาวต่างชาติมาทำงานให้คนไทย

ชุมชนสงขลาพัทลุง

ททท.

หน่วยธุรกิจ

ตอนนี้สวิสระงับการค้ากับไทยมาก เด็กสวิสสนใจมาเรียนธุรกิจชุมชนไทย มาอยู่กับเด็กไทยและไปดูธุรกิจภาคใต้ ทำกิจกรรม CSR

ได้รับความร่วมมือทางวิชาการ

มีเด็กต่างชาติมา เด็กไทยก็จะได้ฝึกภาษาอังกฤษ

ได้เรียนรู้ cross-cultural learning

Social transformation เรียนรู้คนสวิสเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ในอนาคตจะมีการลงทุนแลกเปลี่ยน จะจัดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับชาวสวิสทุกปี

กลุ่ม 5

ยกตัวอย่างเครือข่ายที่ล้มเหลว 2 เรื่อง และหาเหตุผลว่าทำไมจึงล้มเหลว

ต้องใช้ความล้มเหลวสร้างโอกาสในการเดินต่อไป

สาเหตุความล้มเหลว

มหาวิทยาลัยมี 2 วิทยาเขต มีชุมชนแวดล้อมมากมาย มีหลายอย่างที่ทำแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นถือว่าไม่สำเร็จ ปัญหาคือเป็นเครือข่ายรายบุคคล เป็นความเชื่อมั่นเฉพาะบุคคล แต่ไม่ได้ขยายให้คนอื่นในมหาวิทยาลัยมาร่วมด้วย

ขาดการสนับสนุนในระดับมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ไปประชุมแทนทีจะเป็นผู้บริหารไป ทำให้ทางมหาวิทยาลัยขาดโอกาส

ผู้บริหารให้ความสำคัญในบางเรื่อง เพราะเกิดจากความอยากทำและความรู้ความสามารถ

มหาวิทยาลัยขาดความเข้าใจปัญหาและความต้องการของสังคม ถ้าจะสร้างเครือข่าย ต้องรู้เขา รู้เรา มีอะไรไปขาย

หน่วยงานอื่นยังไม่เชื่อมั่นการทำงานมหาวิทยาลัยบางเรื่อง

ขาดการสร้างคนรุ่นใหม่ทำงานต่อไป

ความล้มเหลวในการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ

ความล้มเหลว Input ต้องมีการเตรียมอาจารย์

ความล้มเหลวกระบวนการในด้านบูรณาการ

ความล้มเหลวใน Output คือขาดความต่อเนื่อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้านำความคิดวิทยากร 4 คนมาโยงเครือข่ายที่มหาวิทยาลัยจะกระชับมากขึ้น ควรทำเป็น Matrix ในการมองเครือข่ายกระชับขึ้น การนำเสนอเป็นการที่วิเคราะห์กว้าง

ด้านความสำเร็จ มีการยกกรณีศึกษา น่าจะมีการศึกษาต่อ มีตัวละครที่อยู่ในบรรยากาศต่อเนื่อง

3 ต.กลายเป็นความแตกต่าง ต้องมีการขึ้นไปมี Value Diversity และ Value Creation

ส่วนด้านความล้มเหลว ควรมีกรณีศึกษาประกอบ

ปัญหาของไทยคือ การเมือง ถ้าเป็นสิ่งใหม่เกิดขึ้น ก็จะเกิดความขัดแย้ง มีคนอิจฉาคนเก่ง

ในอนาคต ควรจะยกตัวอย่างระหว่างประเทศ

Flagship ก็ต่างกันมาก มีข้อคือบูรณาการตัวละคร แต่ควรกระชับว่า มีกลไกอะไรบ้าง

Swiss-ASEAN ช่วยเพิ่มศักยภาพได้ ทำให้คนมีปัญญามาร่วมทำงานแล้วจะรอด ต้องมอบหมายให้คนมีวิญญาณผู้ประกอบการ หางบเป็นมาช่วยทำ

อาจจะยืมบุคลากรหน่วยงานอื่นมาได้ โดยศึกษางานของมหาวิทยาลัย หน้าที่ที่ต้องทำและมีภาวะผู้นำ

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวาณิขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว มหาวิทยาลัยทักษิณมีหลายคณะ ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็น Project Sponsor นำการบริหารจัดการมาช่วย ต่อมาต้องมีเจ้าของโครงการ แล้วแต่ละคณะต้องนำวิชาการของตนจับกลุ่มว่า งานวิชาไหนบ้างที่นำมา Matrix กันได้ แล้วงานจะสำเร็จได้ต้องมี Championship โดย Championship ของแต่ละ cross-function ต้องจับกลุ่มกัน พอจับกลุ่มแล้ว ที่ผ่านมา มี Championship คนเดียวไม่พอ ต้องตั้งเป็น Championship เพื่อประมวลสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเป็น Connection และเครือข่ายทำจากสิ่งที่ดีและประสบความสำเร็จผ่านจากทีม Championship ไปยังเจ้าของโครงการและจากเจ้าของโครงการไปยัง Project Sponsor แล้วจะประสบความสำเร็จ ขอสนับสนุน Swiss-ASEAN เพราะเข้าสู่ Keyword ที่รศ.ยืน ภู่วรวรรณยกมาคือ Future Education Digital life ที่นี่เกิดการเด้งไปแล้ว ถ้ามารวมกันแล้วก็ไปสู่แนวนวัตกรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอนนี้แนวโน้มไปทาง Networking ที่ช่วยองค์กรอย่างแท้จริง ถึงเวลาที่จะ Leap forward กระโดดข้ามไป

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

โครงการที่สำเร็จเยี่ยมยอด สะท้อนภาพกลุ่ม 1 นักปฏิบัติ กลุ่ม 3 นักทฤษฎี

การปลูกป่าในสวนยางเป็นเรื่องอนาคต

อินโดนีเซียมาดูงานต้นไม้โบราณก็น่าจะมาเก็บเงินได้

การนำเสนอชัดเจน มีประโยชน์

ในเรื่องโครงการที่ไม่สำเร็จ ปัญหาไม่ใช่อุปสรรค โครงการบางอย่างจบสวยและไม่สวยก็อาจจะสร้าง network ใหม่

Flagship สร้างผลสะท้อนต่อตลาดแรงงาน ต้องดูมาตรฐานวิชาชีพด้วย

ส่วน Swiss-ASEAN ควรรวมถึงคนเชื้อสายจีนผสมกับชนเผ่าอื่นในคาบสมุทรมลายู (บารานากัน)

การวิเคราะห์มองเห็นอนาคต


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/603295

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 12-26 มีนาคม 2559

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 601777เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2016 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

การฝึกอบรมในช่วงที่ 3 สิ่งที่รียนรู้และปรับใช้ได้คือ การที่ตัวเองจะต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลเศรษฐกิจประเทศและเศรษฐกิจของโลก จากประเทศที่เป็นมหาอำนาจ ที่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลกับโลก การศึกษาความเป็นมา โอกาส และอนาคตที่สร้างได้

คุณกรณ์ จาติกวานิช ได้มาจุดประกายให้เห็นถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า โดยจะต้องทำทุกอย่างที่เราจะทำให้เป็น Premium ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการสร้างมาตรญานให้สูงขึ้น รวมถึงเกิดการขยายกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ การพิจารณาบริการทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยก็จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม และทำให้เป็น premium บนพื้นฐานความเป็นจริงของกลุ่มลุกค้าที่มีอยู่ เพื่อขยายฐานการบริการ และขยายระดับของการให้บริการให้สูงขึ้น

เราสามารถปรับปรุงตัวเองให้มีบุคลิกภาพและคุณสมบัติของ CEO ในด้านของการกำหนดวิสัยทัศน์ในการทำงาน การให้ความสำคัญกับงานที่รับผิดชอบและทีมงาน การสื่อสารทำความเข้าใจกับกลุ่มคนทุกระดับ และขอบคุณวิกฤตที่ทำให้เรามีโอกาสในการกำหนดแผนการพัฒนาที่จะต้องดำเนินการให้ไปสู่ความสำเร็จให้ได้

มหาวิทยาลัยเองควรลงทุนทางด้านไอทีและสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตและบุคลากร เราสามารถนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการปรับวิธีการสอน สอนให้นิสิตเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และปรับทัศนคติของผู้สอนให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง สร้างเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของนิสิตในคณะให้โดดเด่นและเป็นที่ต้องการของตลาด ภายใต้ความเช้าใจ และความร่วมมืออย่างเข้มแข็งของบุคลากรและนิสิตบนบริบทของความเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่น

ขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่ทำให้เห็นถึงความสำคัญและความเข้มแข็งของหน่วยเล็ก ๆ ในองค์กรที่เรียกว่า ชุมชน หอการค้า และประสบการณ์ของนักบริหารในองค์กรระดับสูง นักวิชาการที่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา เพื่อที่จะทำให้พวกเราสามารถนำไปปรับใชืกับโจทย์ชีวิตจริงในมหาวิทยาลัยได้

อรจันทร์ ศิริโชติ

ช่วงที่ 3 ได้รับฟังการบรรยายแล้วทำให้ตื่นตัวว่ามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร และคณาจารย์ต้องปรับตัวสู่เศรษฐกิจยุคดิจิตัล

สำหรับการเข้าร่วมการฝึกอบรมในช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2559 นั้น ถือเป็นกระบวนการอบรมที่ดีมากๆ เนื่องจากกเป้็นกระบวนการที่เชื่อมโยงแนวคิดระดับชุมชนท้องถิ่นไปสู่ระดับประเทศเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการคิดข้ามผ่านปัญหาอุปสรรค แต่ให้ค้นหาจุดแข็งเพื่อนำไปสู่การพัฒนา อีกทั้งการข้ามผ่านไปสู่การพัฒนาที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเองนั้นก็นำไปสู่การประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

สุธาสินี บุญญาพิทักษ์

ในช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2559 ของการเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 นั้นถือเป็นแนวทางการฝึกอบรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวทางและกระบวนการคิดเพื่อก่อให้เกิดการค้นพบอัตลักษณ์ที่แท้จริง ซึ่งเป็นตัวตนขององค์กรที่สามารถนำไปสู่การยกระดับและพัฒนาองค์กรให้มีความโดดเด่น ประกอบกับสามารถที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาในมิติต่างๆ

วัลลภา เชยบัวแก้ว คชภักดี

การเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 ในช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2559 เกิดมุมมองในการพัฒนาการเรียนการสอนที่ต้องก่อให้เกิดนวัตกรรมในรูปแบบและลักษระต่างๆที่นำไปสู่การพัฒนานิสิตให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ตลอดจนมีความโดดเด่น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยจำเป็นจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ในการบริหารงานและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยที่ก่อให้เกิดกระบวนการคิดและการพัฒนาที่มีความเป็นอัตลักษณ์ การสร้างความเป็นตัวตนของทุกระดับของสาขาวิชา คณะและมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคม ชุมชนในฐานะของมหาวิทยาลัยผู้ชี้นำสังคมได้อย่างแท้จริง

ในการเรียนช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559 ได้รับความรู้เรื่อง เทคโนโลยีสมัยใหม่ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย ที่มีผลกระทบและกลยุทธ์ที่น่าสนใจใน การปรับตัว ของมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยในเบื้องต้นจะต้องทำความเข้าใจในภาพรวมและมององค์กรในเชิงธุรกิจ มีทีมทำงานที่เข้มแข็ง มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์วิธีคิดในการเสริมโอกาสในการแข่งขัน เช่น ในเรื่องการรู้เขารู้เรา รู้ภาษาสื่อสารอย่างน้อย 2 ภาษา มีการเตรียมบุคลากรอย่างจริงจัง มีการพัฒนานิสิตด้วยระบบการศึกษาที่ดีขึ้น พัฒนานิสิตให้มีคุณธรรม ความคิดสร้างสรรค์ ยึดนิสิตเป็นศูนย์กลาง โดย “ทำและทำให้ดี ต่อเนื่อง” เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับการพัฒนาตนเอง องค์กร และสังคม

การเข้าร่วมอบรมสัปดาห์นี้ ทำให้ตระหนักถึงปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมากขึ้น ว่าต่อไปความไม่สมดุลของจำนวนผู้สูงอายุกับคนวัยทำงานจะทำให้สภาพเศรษฐกิจในประเทศมีปัญหา ในหลายประเทศ สินค้าและการบริการต่างๆเริ่มมีจุดขายที่ผู้สูงอายุ ซึ่งนับเป็นการเปิดมุมมองด้านการขายแบบใหม่ รวมทั้งบริการเช่น สถานพยาบาลและศูนย์พักอาศัยของผู้สูงวัยจะมีความจำเป็นมากขึ้น ประเทศไทยได้เตรียมพร้อมกับเรื่องเหล่านี้หรือยัง

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และเจาะกลุ่มคนทุกวัย จะทำให้เศรษฐกิจไทยดำรงอยู่ได้ หากมีมุมมองและการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมทั้งรับมือกับการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวที่เข้ามา แต่ไม่มีคุณภาพ หรือรายได้ไม่ตกถึงคนรากหญ้าและท้องถิ่น จำเป็นจะต้องมีการยกระดับมัคคุเทศก์ หรือการบริหารการท่องเที่ยวที่เปิดมุมมองใหม่ เช่นการท่องเที่ยวในชุมชนและโฮมเสตย์ที่เน้นความปลอดภัยของผู้พัก และการสร้างความเข้าใจด้านวัฒนธรรมของแขกที่มาพักและเจ้าบ้าน ไม่เฉพาะแต่นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักท่องเที่ยวคนไทยด้วยกันก็จะต้องมีความเข้าใจและสำนึกถึงความสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยว ด้วยการเที่ยวอย่างมีความเคารพต่อสถานที่ & ชุมชน

จิดาภา สุวรรณฤกษ์

คุณกรณ์ จาติกวานิช ได้มาจุดประกายให้เห็นถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า โดยจะต้องทำทุกอย่างที่เราจะทำให้เป็น Premium ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้น

มหาวิทยาลัยควรลงทุนทางด้านไอทีและสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตและบุคลากร สร้างห้องเรียนที่เป็น ICT digital LAB in the future


หลักสูตรในมหาวิทยาลัยโดยมุมมองของคุณกรณ์ คงต้องเน้นให้เห็นถึงความแตกต่าง โดดเด่น และพรีเมี่ยม เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานมหาวิทยาลัย และการศึกษาให้สูงขึ้น

บุคลิกภาพและคุณสมบัติของ CEO ที่เห็นจากคุณกรณ์ คือ 1.มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน 2. การให้ความสำคัญกับงานที่รับผิดชอบและทีมงาน 3. การสื่อสารทำความเข้าใจกับกลุ่มคนทุกระดับ

ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ

ปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามาก มหาวิทยาลัยควรพัฒนาระบบ เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน ช่วยให้นิสิตเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกเวลา

นอกจากนี้ควรมีหลักสูตรที่รองรับการเติบโตของการเปิดการค้าเสรีในอาเซียนและเข้าสู่ยุคของโลกไร้พรมแดน อาจมีการ บูรณาการหลักสูตรร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อตอบสนองสังคม หรือมีหลักสูตรที่รองรับการเติบโตด้านเทคโนโลยี การมีหลักสูตรรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ข้อคิดที่สำคัญ คือ การพัฒนาประเทศไทยบนพื้นฐานเกษตรเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดจากการผลิตเชิงปฐมภูมิเป็นทุติยภูมิ หรือ ตติยภูมิ (finished goods) มิเช่นนั้นประเทศไทยจะยังคงเสียเปรียบและเสียโอกาสทางการค้าต่อไป และที่สำคัญคือ ต้องพัฒนาสินค้าเกษตรหรือสินค้าไทยโดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์และการแสวงหาตลาดแบบ blue ocean

นอกจากนี้ การพัฒนาทักษะด้าน IT ทำให้ค้นพบว่า การทำให้ห้องเรียนและนิสิตมีความสนุกและสนใจการเรียนแบบก้าวกระโดดจำเป็นต้องเรียนรู้พฤติกรรมนิสิตและเสริมแรงจากสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง

ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม

สรุปบทเรียนช่วงที่ 3 เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทย

ได้รับรู้เส้นทางและภาพของเศรษฐกิจ ทั้งระดับโลก และระดับภูมิภาค โดยเฉพาะของประเทศไทยจากวิทยากร คุณกรณ์ จาติกวณิช รู้สภาพปัจจุบัน ปัญหา ของประเทศ ภูมิภาคและโลก วิเคราะห์เชื่อมโยงถึงการปรับตัวของมหาวิทยาลัยทักษิณในอนาคตได้อย่างชัดเจน โจทย์วันนี้ ทำให้ทุกคนมีความพร้อมที่จะได้เตรียมตัวเผชิญความเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัตน์

เกิดความกังวลกับสภาพที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่คุณกรณ์กล่าวว่าความได้เปรียบไม่เหลือแล้ว ทรัพยากรธรรมชาติกำลังจะหมดไป แรงงานเป็นปัญหา คือ ค่าแรงสูงขึ้น ปริมาณแรงงานลดลง พึ่งแรงงานต่างด้าว 3-4 ล้านคน ในอนาคตไทยจะแย่ลง เพราะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กลายเป็นวิกฤติ รัฐบาลก็จะต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุ และคนไทยวัยทำงานไทยปัจจุบันที่หลักประกันน้อยมาก ซึ่งมีแค่ 10 ล้านคนเป็นสมาชิกประกันสังคมและข้าราชการ แต่ 25 ล้านคนไม่มีหลักประกัน ในอดีตคิดพึ่งลูกหลาน แต่ลูกหลานก็ไม่มีความสามารถในการสร้างรายได้ดูแลผู้สูงอายุซึ่งมีอายุยืนขึ้น ซึ่งไทยยังไม่มีการเตรียมการเรื่องนี้

ประเทศไทย ทุกภาคส่วนต้องมีการปรับตัว มียุทธศาสตร์เสริมความได้เปรียบ ต้องมีการปรับยุทธศาสตร์วิธีคิด การผลิตสินค้าและการให้บริการเป็นเรื่องสำคัญ สินค้าต่างๆต้องคำนึงถึงคุณภาพและPackaging และความรู้ ยุทธศาสตร์การปรับตัวสำคัญมาก ประเด็นสำคัญได้แก่

1)English for all คนไทยต้องพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา คนไทยทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษได้

2)โครงการเกษตรเข้มแข็ง คนไทยจะแข่งขันได้ แม้เกษตรคิดเป็น 10% ของ GDP แต่ประชากรในภาคเกษตรมีมาก ภาคเกษตรเป็นอุตสาหกรรมในอนาคต ต้องมีการปรับความคิด เกษตรกรต้องมองตนเป็นผู้ผลิตอาหารโลก ยกตัวอย่าง เช่น ต้องมียุทธศาสตร์ชัดคือยกระดับข้าวไทย ไทยส่งออกข้าว 10 ล้านตัน จาก 70 ล้านตันทั่วโลก

3)ยกระดับคุณภาพการบริการและการท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยวจีนให้มากขึ้น เวลาคนจีนขึ้นมาชั้นกลาง ก็ออกมาเที่ยว ใส่ใจคุณภาพสินค้าสินค้าอาหารเป็นที่ยอมรับของจีนและภูมิภาคนี้อยู่แล้ว ควรเน้นคุณภาพ

4)ไทยควรผลิตสินค้าและบริการคุณภาพระดับพรีเมี่ยมทุกชนิด

5)ทุกอุตสาหกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น ไทยจะมีบทบาทอย่างไรในการผลิตรถยนต์ชนิดใหม่

สิ่งสำคัญต้องมียุทธศาสตร์ชัดต้องมีการยกระดับทุกอย่าง ต้องผลิตสินค้าคุณภาพพรีเมี่ยม เท่านั้น แล้วกลับไปดูว่าจะไปจุดนั้นได้อย่างไร คือใช้การศึกษาพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน

ในช่วงการบรรยายของคุณสมบัติ ศานติจารี และคุณจันทนา สุขุมานนท์ ได้แง่คิด ว่า CEO คือ คนสำคัญ ต้องเป็นตัวอย่าง ยึดหลักธรรมาภิบาล ใช้กระบวนมีส่วนร่วม รับฟัง ให้เกียรติ ซึ่งสูตรสำเร็จที่วิทยากรกล่าวถึงไว้ดีมากคือ

- ต้องมีวิสัยทัศน์ ทำได้โดย

-ถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ลงทุน ชุมชน พันธมิตร พนักงาน

-รู้ว่าจะไปที่ไหน Distinct Needs คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มต้องการอะไร

-Value Proposition ไปเสนออะไร เช่น ลูกค้าต้องการให้แก้ปัญหา

- นำทุกข้อข้างต้นมาทำเป็นยุทธศาสตร์

- ต้อง serve want ไม่ใช่ need ต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางว่าต้องการอะไร แล้วทำยุทธศาสตร์ว่าต้องการเป็นอะไร

- วิสัยทัศน์คือตอบสนองทุกความต้องการ

- คนที่เหมาะสม the right people เป็นคนที่องค์กรที่ต้องการ

- Organization capability ต้องรู้ว่าพนักงานแต่ละคนเก่งเรื่องอะไร มีจุดอ่อนอะไร

- กำหนดค่านิยมหลัก เป็นสิ่งที่คนต้องรู้ ต้องมีไม่เกิน 4 คำ

- ทำสิ่งที่ถูกต้อง

- กล้าคิด กล้าทำ

- ห่วงใยใส่ใจอนาคต

- คนที่เป็น CEO ต้องมีวิสัยทัศน์ มองภาพรวม บอกและกำกับทุกคนว่าจะทำอะไร ไม่จำเป็นต้องลงมาทำเอง

- ต้องบริหารวิธีการคิด เปลี่ยนที่ตนเอง ต้องเรียนรู้ทุกวัน

- คนจะประสบความสำเร็จได้ แต่ละคนสามารถเลือกชีวิตตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นเลือกให้ การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญ ต้องเรียนรู้ด้วยตนเองด้วย ชีวิตคือการเรียนรู้

- ทุกคนมี 24 ชั่วโมง ต้องบริหารเวลาให้ดี ทำงานหนัก ทำให้ดีที่สุด

และได้รับฟังแนวคิด CEO จากคุณพรหมโชติ ไตรเวช ที่กล่าวว่า การเป็น CEO ต้องมองว่าตนอยู่ระดับใด แม้จะเป็นผู้บริหารระดับสูง แต่ก็ยังมีคนที่เหนือกว่า ในโลกมนุษย์ ก็คือ เวลา ถ้ามีเวลากำหนด ก็ต้องปฏิบัติตามเวลา เหนือกว่ามนุษย์ ก็ยังมีธรรมชาติและอีกหลายสิ่ง และสิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือว่า ทำอย่างไรให้นโยบาย หรือการบริหารของผู้บริหารนำไปสู่การปฏิบัติได้ แต่ละคนเป็นคณบดี นักบริหาร หรือตำแหน่งอื่นๆ เมื่อได้รับโจทย์มา ก็เสนอแนวความคิด จะทำอย่างไร ถ้าแต่ละคนเป็นนักบริหาร แต่ต้องใช้นโยบายจากผู้บริหารระดับสูงให้เกิดผลจะทำอย่างไร

ซึ่งข้างต้นเป็นแนวคิดต่างๆ เป็นแนวคิดที่ดีมาก และคิดว่าสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยทักษิณได้ ผลจากการทำ workshop สมาชิทุกกลุ่ม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำความรู้ที่ได้เรียนรู้สู่การวางแผนปฏิบัติในมหาวิทยาลัยทักษิณ สิ่งที่สำคัญคือ เปิดโลกทัศน์ ของสมาชิกของมหาวิทยาลัยทักษิณ

ส่วนแนวคิด การนำเทตโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ รศ .ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ดร.สร้อยสนธ์ นิยมวาณิช รวมถึงวิทยากรประธานหอการค้า และจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดแนวคิดการปรับตัวด้านเทคโนโลยีที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้

  • โลกของ Cloud มาแรง ต้องเข้าใจก่อนสื่อใหม่เป็น POWER LAW
  • ความรู้เข้าถึงได้ง่ายและเร็ว อาจารย์ต้องเปิดใจกว้าง
  • การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
  • ความคิดสร้างสรรค์จำเป็นสำหรับคนยุคใหม่
  • การนำเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • มหาวิทยาลัยต้องคิดแบบ Proactive คิดเป็น Chain

คุณกรณ์ จาติกวานิช ได้กล่าวในภาพกว้างของเศรษฐกิจโลกและของอาเซียน การคิดกว้าง คิดไกลไม่หยุดแค่ในประเทศไทย การใช้ภาษาอย่างน้อย 2 ภาษา การเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้และสามารถเติบโตได้ในกลุ่มอาเซียนเป็นสิ่งที่ท้าทาย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ รศ .ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและทิศทางของการก้าวไปโดยที่เราเองจะต้องติดตามและใช้งานอย่างรู้ทัน การใช้เทคโนโลยี Cloud การบริหารสถาบันการศึกษาเอกชนที่ต้องพึ่งพาตนเอง 100% การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เพื่อประหยัดต้นทุน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และเพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนใหม่ๆ

ในช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2559

การบรรยายของคุณกรณ์ จาติกวานิช สะท้อนให้เกิดการตระหนักถึงการปรับวิธี ปรับยุทธศาตร์เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน โดยไม่ทิ้งสิ่งที่เป็นตัวตนของเรา ดัง 2 โครงการตัวอย่างของคุณกรณ์ ได้แก่ 1)โครงการ English for all เป็นโครงการสร้างเสริมพัฒนาจุดออ่นของคนไทย ให้เท่าทันสังคมโลก 2) โครงการเกษตรเข้มแข็ง เป็นตัวอย่างที่ดีของการต่อยอดสิ่งที่เป็นจุดแข็งของเกษตกรไทยและประเทศไทย

ดังนั้นในก้าวไปสู่สังคมโลกได้อย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องรู้ตำแหน่งที่เป็นจุดแข็งจุดอ่อนของตัวเองเพื่อหาวิธีการที่จะรักษาพัฒนาจุดแข็ง และปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนให้ลดลงไปได้

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน AEC .... เราพร้อมหรือยัง? สิ่งที่สำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น.... ภาษาเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน English for all คนไทยต้องพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา คนไทยทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษได้..... เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับประเทศไทย และการเรียนรู้ในปัจจุบัน เป็นโลกของ Cloud ความรู้สามารถเข้าถึงได้ง่วยและรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่มจึงเป็นการสร้างโอกาสให้กับมหาวิทยาลัย

การเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

(ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559)

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณโดย คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ทำให้เราทราบถึงสถานการณ์ในปัจจุบันของเศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง รวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เราต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ต้องเตรียมคน ให้พร้อม เราต้องเพิ่มมูลค่าทรัพยากรต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว สินค้าต่างๆให้มีมาตรฐานส่งขายต่างประเทศได้ ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวยอมรับสินค้าของประเทศไทย โดยต้องกำหนดยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน เน้นคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ และอีกประการสำคัญที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลง คือ การศึกษา โดยอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยสามารถที่จะมีแนวทางในการจัดให้การศึกษาที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

จากการฟังคุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรื่อง เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ นั้น ทำให้ได้ข้อคิดที่สำคัญหลายประการที่พวกเราในฐานะของบุคลากรใน TSU ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงาน ว่าทำอย่างไรที่จะทำให้งานในหน้าที่ที่เรารับผิดชอบให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ ทำอย่างไรถึงจะสร้างแบรนด์ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ให้เป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่บริการโดยเริ่มจากจังหวัดในเขตภาคใต้ และขยายต่อไปยังประเทศที่เป็นเขตติดต่ออย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ และยังทำให้เห็นความสำคัญในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนสร้างให้เป็นทักษะที่นิสิตควรมีเมื่อจบการศึกษาออกไปสู่ตลาดแรงงานในอนาคต


หลักคิดสำคัญที่ได้รับจากการอบรมในช่วงที่ 3 คือ ผู้นำในอนาคตจำเป็นจะต้องมีความรู้เพิ่มและกว้างขวางมากขึ้น นอกเหนือจากทักษะในการบริหาร จะต้องก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อองค์กร มองเห็นอนาคตเพื่อการปรับตัวอย่างทันเวลา ผู้นำจะต้องมีทักษะสากล ทั้งในเรื่องภาษา การสื่อสาร และเทคโนโลยี

ได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเเศรษบกิจไทยและการับมือการเปลี่ยนแปลง

สรุปประเด็นโดนใจและการนำไปปรับใช้ในการทำงาน

จากการเข้ารับการอบรม

"โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1"

(Tsu Executives and Leader Development Program for The Future)

ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ตั้งแต่ปีค.ศ. 1980-2017 อัตราขยายตัวเศรษฐกิจไทยสูงกว่าโลกมาก เป็นผลจากการลดจำนวนคนยากจน เหลือ 6-7%ถ้าแบ่งช่วงละ 10 ปี ส่วนต่างความได้เปรียบลดลง ต่อมาอัตราขยายของไทยลดลง น่าเป็นห่วงมาก จึงต้องมีการปรับตัว มียุทธศาสตร์เสริมความได้เปรียบโดยอันดับแรก ทำต้องมีการปรับยุทธศาสตร์วิธีคิดการผลิตสินค้าและการให้บริการเป็นเรื่องสำคัญส่วนเรื่องภาษา English for all คนไทยต้องพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา คนไทยทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษได้ถือเป็นยุทธศาสตร์เสริมความได้เปรียบเช่นกัน

สิ่งสำคัญต้องมียุทธศาสตร์ชัดเจนต้องมีการยกระดับทุกอย่าง ต้องผลิตสินค้าพรีเมี่ยมเท่านั้น แล้วควรหันกลับมาดูว่าจะไปจุดนั้นได้อย่างไร เพราะฉะนั้นควรใช้ใช้การศึกษาพัฒนาคนภาระที่ท้าทายมากที่สุดของมหาวิทยาลัยทักษิณคือ การพัฒนาเด็กด้วยระบบการศึกษาที่ดีขึ้นให้พร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

การเป็นผู้นำที่แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำต้องรอบรู้ในหลายเรื่องและด้านเศรษฐกิจก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้นำต้องสามารถเข้าใจและวิเคราะห์เรื่องราวเศรษฐกิจในอดีต ปัจจุบันและทำนายไปถึงอนาคตได้ ด๊ใจมากที่ได้พบกับผู้นำอย่าง คุณกรณ์ จติกวนิช ชื่นชอบท่านตั้งแต่ผมเรียนเศรษฐศาสตร์ที่รามคำแหงและได้เคยมีโอกาสเรียกับท่านด้านการเงิน ตอนนั้นท่านเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟธนาคม และเมื่อเป็นรัฐมนตรีก็สามารถทำงานด้านเศรษฐกิจให้ได้รับการยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศทำให้เรียนรู้ว่า ผู้นำต้องมีความรู้ด้านเศรษฐกิจและต้องนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับชีวิตและประเทศ ความรู้ด้านเศรษฐกิจมีความซับซ้อนแต่ก็เกี่ยวกับหลาย ๆ ส่วน ชอบมากวันนี้ทำให้ได้เข้าใจเศรษฐกิจของประเทศไทยเราว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างไร

วีณา ลีลาประเสริฐศิลป์

การนำพามหาวิทยาลัยทักษิณไปสู่ความก้าวหน้าผู้นำจะต้องรอบรู้ถึงเศรษฐกิจมหภาค การเปลี่ยนแปลงของโลก การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและกระแสของวัฒนธรรม จะต้องปรับตัวเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน การทำงานเป็นทีม การสร้าง Network ทั้งภายในและภายนอกประเทศ การตื่นรู้และตื่นตัว รวมทั้งจะต้องพัฒนาทางด้านทักษะทางภาษาและด้านเทคโนโลยีให้สามารถทันต่อการพัฒนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท