ปราชญ์/ผูำนำชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : พระครูจริยาภิรัต ( ลงชุมชนครั้งที่3 )


สมุนไพรมีมากมายหลายชนิด แต่ที่นำมาใช้เป็นยาอบสมุนไพร คือสมุนที่หาได้ง่าย ทั่วไป

ส่วนประกอบสมุนไพรที่นำมาต้มยา

1.ใบมะขาม

เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้บิด รักษาหวัด ขับเสมหะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ ต้มผสมกับสมุนไพรอื่นๆ อาบหลังคลอดช่วยให้สะอาดขึ้น

มะขาม ชื่อสามัญ Tamarind

มะขาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica L. จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)


2.ลูกมะกรูด

มะกรูดเป็นพืชสมุนไพรโบราณที่มีคุณประโยชน์ทางยามากมาย โดยสามารถนำส่วนต่าง ๆ มาใช้รักษาอาการต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย มะกรูดมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงมีส่วนช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายและต้านทานโรคหลายชนิดรวมทั้งมะเร็งบางชนิดด้วยนอกจากนี้มะกรูดยังมีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ อย่างเช่นเชื้ออีโคไล (E.coli) และซาลโมเนลลา (Salmonella) ได้ ช่วยบำรุงประจำเดือน ขับระดู และมักเป็นส่วนผสมสำคัญในยาสตรีต่าง ๆ อีกด้วย

มะกรูด ชื่อสามัญ Kaffir lime, Leech lime, Mauritius papeda

มะกรูด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)


3.ใบมะกรูด

ช่วยแก้ไอ แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยแก้อาการช้ำใน ใบมะกรูดอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งช่วยในการชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งและช่วยต่อต้านมะเร็งได้

สมากชิกในกลุ่ม


4.ใบเตยหอม

ใบเตยให้กลิ่นหอมหวานและหอมเย็น ช่วยลดการกระหายน้ำเมื่อรับประทานนำ้ใบเตยจะรู้สึกสดชื่น

รักษาโรคหัดหรือโรคผิวหนังได้ โดยนำนำใบเตยมาตำแล้วพอกผิว

ใบเตยยังให้เป็นยาบำรุงหัวใจได้อีกด้วย เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จืงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี

เตย หรือ เตยหอม ชื่อสามัญ Pandan Leaves, Fragrant Pandan, Pandom wangi

เตย ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus odorus Ridl.) จัดอยู่ในวงศ์เตยทะเล (PANDANACEAE)


5.ขี้เหล็ก

เป็นพืชผักสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามตลาด นอกจากจะนำมาใช้ทำเป็นอาหารไว้รับประทานแล้วในตำราการแพทย์แผนไทยยังได้มีการใช้ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กในหลายๆด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยกำจัดรังแค ทำความสะอาดผมทำให้ผมชุ่มชื่นเงางาม


6. สะเดา

ดอก ยอดอ่อน - แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี

ก้านใบ- แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย

สะเดา ชื่อสามัญ Neem, Neem Tree, Nim, Margosa, Quinine, Holy tree, Indian Margosa Tree, Pride of china, Siamese Neem Tree

สะเดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica A.Juss. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica var. siamensis Valeton, Melia azadirachta L.) วงศ์กระท้อน (MELIACEAE


7.การบูร

ใช้เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ยากระตุ้นหัวใจ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ทำยาทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ

การบูร ชื่อสามัญ Camphor, Gum Camphor, Formosan Camphor, Laurel Camphor

การบูร ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl[1],[5],[6] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.[1]) จัดอยู่ในวงศ์อบเชย (LAURACEAE)

8.ไพล

  1. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  2. ช่วยรักษาฝี
  3. ช่วยดูดหนอง
  4. ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้เหง้านำมาบดทำเป็นผงผสมกับน้ำ หรือจะใช้เหง้าสดนำมาล้างให้สะอาดฝนร้ำทาบริเวณที่เป็นก็ได้เช่นกัน
  5. เหง้าใช้ทาเคลือบแผลเพื่อป้องกันอาการติดเชื้อได้
  6. ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว
  7. ช่วยรักษาโรคเหน็บชา
  8. ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่

ไพล หรือ ว่านไพล ชื่อสามัญ Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root

ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum (J.Koenig) LinkEX A.Dietr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb., Zingiber purpureum Roscoe) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

สมุนไพรที่นำมาอบ

1.ตูดหมูตูดหมา 2.ตะไคร้หอม 3.ยูคา 4.ผักบุ้ง 5.หญ้าคา 6.กระเพา 7.ระหุ่ง 8.เถาเอ็นอ่อน 9.ไพรหรือขมิ้น 10.มะกรูด 11.ใบเต 12.การบูร 13.พิมเสม





หมายเลขบันทึก: 601675เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2016 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2016 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท