ตั้ง สต (สติ) ก่อน สต (ส่งต่อ)


ไม่นานกลายเป็นเครื่องมือ เพาะกิเลส (สร้างการบริโภค) มากกว่า สร้างปัญญา (นิสัยการเรียนรู้)

วัฒนธรรม การ share ผ่าน social media เป็นส่วนหนึ่งของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ต้องช่วยกัน ครุ่นคิด ไตร่ตรอง เพื่อพัฒนาให้เป็นวัฒนธรรมแห่งความเจริญ

สื่อทุกประเภท ช่วยให้คนเราติดต่อ และเรียนรู้จากผู้อื่นได้ง่ายขึ้น แต่มีผลทั้งด้านบวกและลบ หากใช้อย่างขาดสติ (ของปัจเจกและของสังคม)

internet เป็นช่องทางสื่อสารที่เพิ่งมีให้มนุษย์เรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางไม่ถึง 30 ปี แต่สร้างนิสัยใหม่ๆ ในการสื่อสารขึ้นมากมาย กระทบไปถึงนิสัยการดำเนินชีวิตตามปกติ เช่น การคบเพื่อน การให้ และหาความรู้ การซื้อและขายของ ฯลฯ

สื่อทุกประเภท ตั้งแต่ กระดาษ หนังสือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ล้วนแต่เคยถูกคาดหวังให้นำไปสู่การเรียนรู้

แต่ที่สุดก็ชัดเจนว่า ไม่นานมันกลายเป็นเครื่องมือ เพาะกิเลส (สร้างการบริโภค) มากกว่า สร้างปัญญา (นิสัยการเรียนรู้)

จนบางประเทศ คิดออกกติกาให้สถานีโทรทัศน์ ต้องมีเวลาที่มากพอ ให้กับการศึกษา ข่าว หรือ รายการสำหรับเด็ก เพราะปล่อยตามกลไกตลาด จะมีแต่เนื้อหา บันเทิงปลอดสาระ และพื้นที่ขายของ

แม้ทุกคนจะเชื่อใน เสรีภาพแห่งการแสดงออก และการรับรู้ แต่ก็ชัดเจนว่า หลายฝ่ายเริ่มเห็นข้อจำกัด และอยากเห็นจุดสมดุล ของการใช้สื่อ

social media ช่วยให้ผู้คนแบ่งปัน สิ่งที่มีอยู่ และ สิ่งที่ได้รับมา ได้ง่ายขึ้น

แต่เชื่อว่าหลายคนเคยพบกับ สถานการณ์ลำบากใจ หรือไม่แน่ใจ ว่าควรจะแบ่งปัน สิ่งที่มีอยู่ หรือ สิ่งที่ได้รับ ยังไงดี

บางคนแบ่งปันความรู้สึก ความเห็น ประสบการณ์ และภาพ (ของตัวเอง) จนกลายเป็นประจานตัวเอง ต้องออกมาขอโทษผู้คน ทั้งที่เป็นเรื่องและสิทธิส่วนตัว ที่จะแสดงออก ที่จะแบ่งปัน

บางคนส่งต่อข้อความที่คนอื่นส่งมา แต่ได้รับคำต่อว่า หรือคำถาม จากคนที่ได้รับ (น่าจะยังมีน้อย เพราะไม่รักกันจริงก็คงไม่มีใครมาถาม มาท้วง)

ไม่ต้องพูดถึงความพยายามของ อำนาจรัฐ ที่จะเข้ามาควบคุมดูแลการแสดงออก และการส่งต่อ กลายเป็น จำกัดเสรีภาพของการแสดงออก

แต่ชัดเจนว่า ไม่ต้องรอกฎหมายมากำหนดว่า อะไรถูก หรือ ผิด การแสดงออก และการส่งต่อที่ขาดการไตร่ตรอง ได้สร้าง feedback mechanism ของตัวเองอยู่ไม่น้อย

ค่อยๆทำให้ แต่ละคนต้องถามตัวเองว่า เราควรทำอย่างไรดี กับการสื่อตรง และการส่งต่อ ผ่านสื่อสมัยใหม่

การแสดงออก แบ่งปันเรื่องราว และความคิดส่วนตัว ทำไงจึงจะเหมาะสม เชื่อว่าหลายคนพอจะมีสติ ไตร่ตรองก่อนแสดงออกได้

อาจต้องใช้เวลา ค่อยๆเรียนรู้ว่า พื้นที่ใน social media ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัว แม้ตอนแสดงออกจะอยู่ในที่ส่วนตัวมากๆ ไม่มีใครรู้เห็น แต่พอส่งออกไปใน social media คนที่จะได้เห็น ได้รู้ จะมีมากมาย แม้จะตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไว้สูงมาก

ก็ยังต้องเผชิญกับ ความไม่แน่นอนของ การตัดสินใจส่งต่อ ของคนสนิทที่เราส่งไปแบ่งปัน

เราอาจจะคิดว่า เราแสดงออกกับเฉพาะคนที่รู้ใจ ไม่มีความลับต่อกัน แต่ใครจะไปรู้ว่า สิ่งที่แสดงออกไป อาจถูกนำไป ส่งต่อ ไม่ว่าจะเพราะพอใจ สะใจ หรือตกใจ

แต่ใน social media ยังมีเนื้อหาอีกประเภทหนึ่ง ที่คนส่งตั้งใจให้มีการส่งต่อ เพราะอยากเผยแพร่ความคิด ความเห็น ที่ตัวเองเชื่อ ตัวเองเห็น

มีการตกแต่งด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่อาจจะตรวจสอบได้ ยากบ้างง่ายบ้าง ตามแต่ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

<code>จะไม่ตกเป็นเหยื่อ ช่วยกระพือ ความเท็จ หรือความเกลียดชัง ต้องรู้เท่าทันตัวเอง พร้อมสร้างทักษะ ซึ่งจะมาพูดกันต่อไป
</code>
หมายเลขบันทึก: 601599เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2016 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2016 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท