ความเสี่ยง (Risk)


ความเสี่ยง (Risk)

ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงาน การเงินและการบริหาร

การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ

ความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

1)ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (

2) ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (

3) ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (

4) ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)

การบริหารความเสี่ยงที่ควรจะถือว่าเป็นการบริหารจัดการหลักของกิจการทุกกิจการ คือ การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) เพราะผลกระทบของความเสี่ยงทางธุรกิจคือ ผลประกอบการโดยรวมหรือความสามารถในการทำกำไรของกิจการซึ่งเราอาจจะเรียกความเสี่ยงประเภทนี้อีกอย่างหนึ่งว่า “Company Risk”

วิธีการบริหารจัดการกับความเสี่ยงทางธุรกิจ ก็คือ การมองดูที่สถานการณ์และสภาพแวดล้อมภายในกิจการควบคู่กับสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อค้นหาปัจจัยความเสี่ยงและจัดการกับปัจจัยความเสี่ยงเหล่านี้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ

ปัจจัยความเสี่ยงภายนอกที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงทางด้านธุรกิจ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของความต้องการสินค้าและบริการที่อาจจะมีแนวโน้มลดลงจากเดิมไม่ว่าจะเป็นไปตามวัฏจักรทางธุรกิจหรือวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือไม่ก็ตามต่างก็ส่งผลต่อการสูญเสียทางธุรกิจให้แก่คู่แข่งขันทั้งสิ้น

หากเป็นกรณีของปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจที่มาจากภายนอกกิจการแล้ว ก็เป็นการยากที่กิจการจะบริหารจัดการปัจจัยความเสี่ยงดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการควบคุม เหมือนกับการควบคุมภายใน

ในส่วนของปัจจัยความเสี่ยงที่มาจากสภาพแวดล้อมภายในกิจการอย่างเช่น

ก)ความไร้ประสิทธิภาพของกิจกรรมทางการตลาด หรือ

ข)คุณภาพและศักยภาพของทีมขาย จนทำให้ผลประกอบการออกมามาเป็นไปตามความคาดหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

กรณีของปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจที่มาจากภายในกิจการเช่นนี้ ผู้บริหารกิจการสามารถบริหารจัดการได้ด้วยการปรับแผนงานส่งเสริมทางการตลาดหรือปรับปรุงทีมงานขายหรือเพิ่มการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีมขายได้

หรือในกรณีที่งานการผลิตสินค้าและบริการเป็นปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจเป็นความเสี่ยงสำคัญ ผู้บริหารก็สามารถที่จะปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อที่จะลดความเสี่ยงทางธุรกิจลง

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันและในอนาคตความเสี่ยงทางธุรกิจก็จะยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่กิจการทุกกิจการยังคงต้องบริหารจัดการเป็นงานประจำวันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เนื่องจาก

  1. สภาพแวดล้อมภายในและตัวธุรกิจเองมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่คงที่ ไม่แน่นอน
  2. สภาพแวดล้อมภายนอกกิจการเองตลอดจนสถานการณ์ต่าง ๆ ก็มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และสามารถสร้างภัยคุกคามและอุปสรรคต่อการดำเนินงานของกิจการได้เสมอ


เนื้อหาอ้างอิง https://chirapon.wordpress.com/tag/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/



คำสำคัญ (Tags): #-
หมายเลขบันทึก: 600666เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท