การสร้างแรงบันดาลใจ..ของพยาบาล


สร้างแรงบันดาลใจ และการเรียนรู้ทุกขณะจิต

เราทำงานมาจนถึงวันนี้ เราไม่เคยรู้คำว่า แรงบันดาลใจให้เราสามารถทำงานจนสำเร็จ คืออะไร

การทำงานของเรา อะไรก็ตามที่จำเป็นต้องทำ เราทำเป็นไหม ถ้าทำไม่เป็น ก็ขอไปอบรมเรื่องนั้นๆ

เมื่อกลับมา ต้องมาลองทำดู ทำไป เรื่อยๆ ทำไม่ได้ก็ถามผู้ที่ทำเป็น

เพราะการนั่งอบรม ฟังดูเหมือนจะทำได้ แต่พอลงมือทำ มักจะติดนั่นนี่ ถ้ามีพี่เลี้ยง เรามักจะทำจนสำเร็จ

สิ่งที่เรามักจะเข้าไปฟัง คือ คนต้นแบบหรือคนที่เราคิดว่า เขาเป็นโมเดลในการทำงาน

ถ้าท่านนั้นเป็นวิทยากร เราต้องเข้าฟัง ว่า สิ่งที่เขาเดินมาถึงวันนี้ได้ เขามีเทคนิกอย่างไร มีวิธีคิดอย่างไร

โมเดลที่ดีของพยาบาลมีมากมายค่ะ เช่น ศ ดร สมจิต หนุเจริญกุล ดร ยุวดี เกตุสัมพันธ์ รศ ดร พิกุล นันทชัยพันธ์ และคนอื่นๆๆอีกเยอะค่ะ

ดังนั้น ถ้ามีการจัดประชุมที่มีกระบี่มือหนึ่งมาพบกัน เราควรจะต้องไป

เพราะ การที่เราจะวิง่ไปหาท่าน ให้ท่านเล่าให้ฟัง เป็นไปไม่ได้ เพราะท่านก็งานล้นมือ

ตอนนี้มี เรื่อง พยาบาลผู้เชี่ยวชาญกับการขับเคลื่อนระบบการพยาบาล

2016-02-06-Meetingupdate.pdf

๑๑๑๑๑๑

สิ่งที่เราคิดว่าเราทำจนสำเร็จ คือ...

การนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาสร้างเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาล

การพัฒนางานประจำให้เป็นวิจัย

ทำไป อ่านไป ค้นไป ทำทุกวัน โดยไม่คิดว่าจะต้องได้ผลตอบแทนอะไร แต่มีเป้าหมายเสมอ

"ทำจนสำเร็จทุกงาน ต้องกัดไม่ปล่อย ตั้งแต่การหาประเด็นที่จะต้องทำ ทำโครงร่างวิจัยขอทุน ขอจริยธรรม ลงมือทำ บริหารจัดการงานวิจัยให้ทำจนเสร็จ วิเคราะห์ข้อมูล เขียนรายงาน และตีพิมพ์ แล้วนำเสนอผลงานวิจัยทั้งภายในงานพยาบาล คณะแพทยศาสตร์และระดับชาติ รวมทั้งต่างประเทศ"

เราได้เคล็ดวิชาจาก ดร ยุวดี เกตุสัมพันธ์ ว่า...

  • ทุกขั้นตอนได้เรียนรู้ทั้งตนเอง กับ ผู้ร่วมทีมเสมอ
  • คนที่พูดได้โดยไม่มีโพย คือคนที่ทำจริง
  • เราจะต้องหาเวลา มาเจอกัน พูดกับทีมให้ฟังง่ายเข้าไว้
  • ถ้าเราเก่งจริง เราต้องหาน้องที่เก่งกว่าเรามาร่วมทีม ไม่ต้องกลัวว่าน้องจะมาคอยหักแข้งหักขา
  • เราต้องทำหน้าที่ successor จูงแขนและชวนมา copy ทำโคลนนิ่งไว้หลายๆคน
  • อย่าคิดใหญ่ หรือ ยากเกินไป อย่าเอาความทุกข์มาคุยกัน
  • ตัวเราเองก็ต้องทำให้ทีมเห็น เราต้องทำก่อน ทำให้คนเห็น
  • ไม่ควรพูดเฉยๆ (talk only) เราไม่ใช่ประสาน เราต้องเป็นผู้ร่วมทีม ผลงานที่เกิดขึ้นจะเป็นผลงานของเรา
  • สิ่งสำคัญและจำเป็นในการทำงาน คือ providing the clinical expertise, leadership, organization influence
  • เราต้องเป็นพันธมิตรกับแพทย์

"สิ่งสำคัญ อาจารย์จะให้กำลังใจดีดีเสมอ คำขวัญที่ได้ คือ ถ้าโลกนี้ไม่มีคำว่า อุปสรรค มนุษย์ก็ไม่รู้จักคำว่า ความพยายาม"

คิดว่า ประโยคนี้นั่นเองที่ สร้างแรงบันดาลใจทุกครั้งที่ได้ฟัง

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑


การทำงานของเรา

ก็พบว่า..การบริหารจัดการงานวิจัยไม่ยากนัก ทำเรื่อยๆ งานวิจัยแต่ละเรื่องใช้เวลา 1-2 ปี

ทำจนสามารถเป็นพี่เลี้ยงคนอื่น เป็นวิทยากร

แต่ก็พบว่า สิ่งที่ยากกว่า คือ การจะนำผลงานวิจัยที่ทำสำเร็จแล้ว ไปใช้ในงานประจำนั่นเอง

เราก็กำลังหากลยุทธ์ที่จะไปทำ

แต่โชคมักเข้าข้างคนอย่างเราเสมอ....

ปีนี้หัวหน้าฯ บอกเราว่า หน้าที่การนำผลวิจัยไปใช้คือ สิ่งงที่อยากให้ทำปูพรมในองค์กรของเรา

โชคดีอีกอย่าง คือ

  • เรามีเครื่อข่าย คือ รพ ศิริราช ที่จะมาช่วยจัดอบรมหลักสูตรพี่เลียงวิจัย
  • โดยมี FA คนเก่ง คือ ศ นพ สมบูรณ์ เทียนทอง คอยหนุนตลอดเวลา เข้าถึงได้ง่าย
  • และมีน้องพยาบาลทีมทำงาน คอยรับลูกที่จะช่วยเราได้ดังในนึก

๑๑๑๑๑

ดังนั้น เราต้องมีแรงบันดาลใจไหม?

เราก็ไม่เคยคิดว่าจะต้องมี มีแต่เป้าหมายที่อยากพัฒนาองค์กร พัฒนาคน และสิ่งที่ต้องได้แน่นอนคือ การบริการที่ดีที่จะถึงผู้ป่วยและครอบครัว

มาวันนี้ ...

เราก็เห็นความสำคัญเหมือนกัน เพราะ การอบรม R2R ตอนหลังเรามักจะเชิญวิทยากรมาสร้างแรงบันดาลใจ

งานนั้นมักจะได้ผลเกินความคาดหมาย

ทำให้มีแรงบันดาลใจที่อยากทำ

๑๑๑๑๑

มาถึงวันนี้ หลายคน หลายสถาบัน มักจะเชิญให้เราและทีมงาน

ไปสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมพยาบาลที่อื่นๆๆบ้าง

เรามักจะตอบรับไปเสมอมา....

บางครั้งที่เรามีเวลาไม่เพียงพอ

เราฝากมาตามรอยเราที่นี่ โกทูโน

เพราะเป็นที่ ที่เราปิ๊งอะไร เราก็จะกลับมาทิ้งรอยไว้เสมอค่ะ

เชิญน้องๆ เพื่อนๆ พี่ๆๆมาร่วม...

สร้างแรงบันดาลใจ สู่ความเป็นเลิศทางการพยาบาลกันนะคะ

เราสามารถเรียนรู้ในทุกขณะจิตค่ะ

แก้ว...

7 กุมภาพันธ์ 2559

7.17น.

หมายเลขบันทึก: 600531เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2016 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2016 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เคล็ดวิชามากเลยนะคะ ทำงานสำเร็จเป็นเลิศอย่างมีความสุข สร้างผู้นำรุ่นต่อไป

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะพี่แก้ว

ขอบคุณที่มาร่วมให้ความเห็น พี่แก้วก็ได้เคล็ดวิชากูรูท่านอื่นๆมาค่ะ

มาปรับใช้กับตัวเองและทีมงาน

กำลังหาโคลนนิ่งไว้

เพื่อเราจะได้เห็นการพัฒนาองค์กรเจิญยิ่งสืบไป

รศ ดร ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ ผอ ศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาล

บรรยายว่า

  • การปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ ต้องมาจากฐานความรู้เชิงประจักษ์ ได้ผล เป็นไปได้ มีความหมาย ง่ายต่อการนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย
  • การจะเป็น best practice ต้องมี 4 ตัวที่กว่าวมาข้างต้น
  • การปฏิบัติดี ควรมีการ transfer K จนสามารถ synthesis research ไปใช้ ก็ถือว่า นำ best practice ที่ทำแล้ว ไปใช้เกิดประโยชน์และ Bencemark ให้กับผู้อื่นได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท