​การจัดการความเสี่ยงของสถาบันการเงิน


การจัดการความเสี่ยงของสถาบันการเงิน

1.ความเสี่ยงด้านเครดิต ลูกหนี้หรือคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ และการลงทุน เป็นต้น ความเสี่ยงด้านเครดิตเป็นความเสี่ยงหลักของกิจการประเภทสถาบันการเงิน และส่งผลกระทบต่อผลประกอบการโดยรวมของกิจการอย่างรุนแรงถึงขั้นที่ทำให้เกิดผลขาดทุน การตัดสินใจด้านการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่ดีจึงช่วยให้กิจการสามารถทำกำไรได้ กระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตจึงจำเป็นต้องเริ่มต้นมาจากระดับนโยบาย กรอบแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน รวมไปถึงกระบวนการทบทวนสินเชื่อ และความสามารถในการวัดและประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตให้ถูกต้อง

บริหารความเสี่ยง

สถาบันการเงินจะตองมีวิธีการวัดและควบคุมความเสี่ยงดานเครดิตที่เกิดจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงินอยางมีประสิทธิผล ผูตรวจสอบตองทราบวาสถาบันการเงินอยูในฐานะเปน dealer หรือ end-user และระบบการควบคุมนั้นเหมาะสมหรือไมโดยที่สภาพแวดลอมในการควบคุมที่เหมาะสมควรประกอบดวย

1.การควบคุมดูแลอย่างมีประสิทธิผลโดยคณะกรรมการบริหารและผู้บริหารระดับสูง

2.การกําหนดนโยบายและวิธีการควบคุมดูแล

3.การสอบทานด้านเครดิตที่เข็มแข็งการอนุมัติที่เข้มงวด และกระบวนการ กําหนดเพดานความเสี่ยง (limits)

4.ระบบการวัดความเสี่ยงที่ถูกต้องและเชื่อถือได

5.ระบบการติดตามและรายงานความเสี่ยงอย่างประสิทธิผลและตรงเวลารวมทั้งกระบวนการอนุมัติธุรกรรมที่ไมเป็นไปตามนโยบายและระเบียบ ปฏิบัติปกติ

6.มาตรฐานในการรวบรวมหรือเก็บรักษาเอกสารในด้านเครดิตที่เหมาะสม (proper credit documentation standards)

2.ความเสี่ยงด้านการตลาด ได้รับความเสี่ยงมาจากด้านราคาหรือมูลค่าสินทรัพย์ หนี้สิน ซึ่งเกิดจากการผันผวนของตลาด

บริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่ดีจำเป็นต้องมีกระบวนการที่รัดกุม ครอบคลุมการ ระบุ วัด ติดตาม รายงาน และการควบคุมความเสี่ยงอย่างทันเวลา สถาบันการเงินแต่ละแห่งอาจมี กระบวนการแตกต่างตามขนาดและความซับซ้อนองธุรกรรม หลักการและวิธีปฏิบัติในการ บริหารความเสี่ยงควรกําหนดเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อสามารถสื่อสารแนวทางและการควบคุม ไดอยางมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการริเริ่มจัดการความเสี่ยง

1. รวบรวมข้อมูล

2.การจำลองสถานการณ์และสมมติฐานเพื่อรองรับความเสี่ยง (อัตราดอกเบี้ย พฤติกรรมลูกค้า ระดับรายได้)

3.สรุปและติดตามพร้อมทั้งรายงานความเสี่ยงด้านตลาด

3.ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เนื่องมาจากความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของบุคลากร ระบบงาน การปฏิบัติงานภายใน เป็นต้น

บริหารความเสี่ยง

แผนรองรับการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องนั้นควรมีการกําหนดรายละเอียดวิธีการ ปฏิบัติงานท ี่สามารถปฏิบัติไดรวมทั้ง มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ และขอบเขตอำนาจการสั่งการในระดับต่างๆไวอยางชัดเจน รวมทั้งควรมีรายละเอียดขั้นต่ำครอบคลุมประเด็น

สถาบันการเงินควรมีการกำหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในการทบทวน และปรับปรุงแผนฉุกเฉินอย่างชัดเจน และควรดำเนินการปรับปรุงแผนฉุกเฉินให้เป็นปัจจุบันทักครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนการทำงาน สถานที่ ระบบงาน หรือโครงสรางการบังคับบัญชา เพื่อให้แผนการมีความเป็นปัจจุบันและสามารถปฏิบัติได้อยู่เสมอ

สถาบันการเงินควรจัดให้มีการอบรมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน และผู้เกี่ยวข้องตามแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

4.ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ไม่สามารถชำระหนี้หรือภาระผูกผันเมื่อถึงเวลากำหนดหรือเวลาทวงถาม

บริหารความเสี่ยง

การศึกษากระแสเงินสดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของรายงานงบดุลธนาคาร เช่น การฝากเงิน การถอนเงิน การเบิกจ่ายเงินกู้ การชำระคืนหนี้ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณเงินที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละวัน และดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องรายวัน รวมถึงจัดเตรียมแหล่งสภาพคล่องให้พอเพียงกับความต้องการใช้เงินสำหรับการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงมีต้นทุนที่ยอมรับได้


https://www.bot.or.th/thai/financialinstitutions

หมายเลขบันทึก: 600526เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความเสี่ยงด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Risk) ปัจจุบัน ยังแฝงอยู่ภายใต้ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operation Risk) แต่อนาคตจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

โดยดูได้จากธนาคารต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการให้บริการลูกค้า เช่น Internet Banking, Mobile Banking, ATM เป็นต้น ต่อไปเราจะเห็นสาขาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น เช่น เดินเข้าไปจะเจอแต่หน้าจอ หรือบางทีอาจจะเจอแค่หุ่นยนต์ ที่คอยให้บริการธุรกรรมลูกค้า เป็นต้น ซึ่งนี่เป็นแนวโน้ม (Trend) ที่สถาบันการเงินกำลังมุ่งไปสู่ในไม่ช้า


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท