ปวดท้องไม่ใช่เรื่องตลก


ปวดท้องไม่ใช่เรื่องตลก

อาการปวดท้อง ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่คนเรามักจะมองข้าม

อาการปวดท้องกระเพาะอาหาร หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าปวดท้อง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน จากการสำรวจในประชากรทุกๆ 100 คน มักจะมีอาการปวดท้อง 5-40 คน อาการปวดท้องจะแบ่งออกเป็น ปวดช่องท้องส่วนบน โดยอาการปวดอาจร้าวไปถึงด้านบนขวาหรือด้านบนซ้ายของท้อง ลักษณะการปวดมีหลายรูปแบบ เช่น จุกเสียด แน่นท้อง ปวดมึนมวนปั่นป่วนในท้อง แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเหมือนอาหารไม่ย่อย มักเกิดขึ้นในช่วงท้องว่าง รับประทานอาหารผิดเวลา อาการมักจะเกิดขึ้นตอนพลบค่ำหรือตอนนอนหลับ พบว่าอาการดังกล่าวจะดีขึ้นเื่อรับประทานอาหารรองท้อง หรือดื่มยาลดกรด นอกจากนี้บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เรอบ่อย เบื่ออาหาร

โรคกระเพาะอาหารแปรปรวน แบ่งตามอาการเกิดได้ 2 ประเภท

1. Orgamic dyspepsia คือ เกิดจากการทำงานผิดปกติของอวัยวบางอย่าง ซึ่งหากปล่อยให้เกิดอาการเรื้อรังอาจเป็นต้นเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร, มะเร็งในทางเดินอาหาร, โรคตับ เป็นต้น

สัญญาณอันตรายที่บ่งชี้ว่าควรตรวจหาอาการที่แน่ชัดของโรคกระเพาะอาหาร

2.Functional dyspepsia คือ ผู้ป่วยปวดท้องชนิดเรื้อรังที่เป็นๆ หายๆ ซึ่งเป็นประเภทที่พบได้บ่อย 60-70% ของผู้ที่ปวดท้อง ผู้ป่วยมักมีอาการเรื้ัอรัง แต่เมื่อได้รับการตรวจจากแพทย์รวมถึงการส่องกล้องกลับไม่พบปัญหาใดๆ แพทย์จะเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่าโรคกระเพาะอาหารแปรปรวน

แนวทางการรักษาหากพบว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารแปรปรวน

1.พบแพทย์และตรวจหาเชื้อแบททีเรีย H-pylori

2.รักษาโดยการใช้ยารักษาตามอาการ

3.ปรับเปลี่ยนพฏติกรรมการรับประทานอาหารให้มีความเหมาะสมต่อเวลาและพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม

สนใจอ่านเพิ่มเติมฉบับเต็มได้ที่นี้ คลิก

เครดิต นพ.สุริยา กีรติชนานนท์ ศูนย์โรคเฉพาะทางโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่

หมายเลขบันทึก: 600445เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2016 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2016 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท