ครูกับการทำผลงานทางวิชาการ


ในบรรดาอาชีพในประเทศไทย ข้าราชการครูจะเป็นอาชีพราชการ อาชีพหนึ่งที่คนมาสนใจเรียนและสอบเข้าปฏิบัติหน้าที่จำนวนมาก และทุกครั้งที่พูดถึงเสาหลักของสังคม อาชีพครูจะถูกจัดเป็นอาชีพหนึ่งที่ช่วยสร้างสังคมให้มีคุณภาพ

ความก้าวหน้าของข้าราชการครู ถึงแม้จะปฏิรูปการศึกษาบ่อยครั้ง ส่วนราชการและรัฐบาลก็ให้ความสำคัญของการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษามาโดยตลอด ระยะหลังจะมีคำว่า "วิทยฐานะ" เป็นคำซึ่งเรียกชื่อห้อยท้ายตำแหน่ง เพื่อจะบอกถึงระดับความสามารถที่เป็นชำนาญการหรือเชี่ยวชาญในการบริหารหรือการจัดการเรียนการสอนของข้าราชการครูคนนั้น

วิทยฐานะ จึงมีหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมิน ตามที่ ก.ค.ศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) กำหนดขึ้น และมีหนังสือเวียน (นิยมเรียกว่า ว.) ต่างๆ ซึ่งขณะนี้มี 3 เกณฑ์หลัก คือ ว.17 ว.10 และ ว.13 ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการประเมินที่แตกต่างกัน และ ว.13 หรือเรียกว่าเกณฑ์เชิงประจักษ์ ที่นำเอารางวัลที่ข้าราชการครูคนนั้นได้รับจากหน่วยงานต่างๆ ย้อนหลัง มายืนยันว่ามีความเก่ง ความดีและมีความสามารถมาใช้ในการพัฒนางานจนเกิดประโยชน์กับการจัดการศึกษาที่ตนเองรับผิดชอบ โดยมีกรรมการมาตรวจสอบผลงานที่ปรากฎ และยืนยันว่าข้าราชการครูคนนั้น ควรได้รับวิทยฐานะสูงขึ้นและมีเงินค่าวิทยฐานะนั้นๆเพิ่มเติมจากเงินเดือนปกติ หรือเรียกว่าเงินวิทยฐานะ คล้ายๆกับเงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งของฝ่ายทหาร ตุลาการหรือข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่ได้รับ

ท่านพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ซึ่งรับผิดชอบในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวว่า" จากที่ได้มีการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 ซึ่งมีพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานการประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ ว13/2556 ซึ่ง ก.ค.ศ. ให้การรับรองรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป จำนวน 281 รางวัล (ทุกส่วนราชการ) เพื่อนำไปใช้พิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมิน โดยกำหนดให้ยื่นคำขอ พร้อมแบบรายงานและข้อเสนอในการพัฒนางานต่อผู้บังคับบัญชา ได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 เมษายน 2559 ผู้เสนอขอรับการประเมินต้องมีผลงานดีเด่น ที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดคือ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่น้อยกว่า 2 รางวัล/เรื่อง และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่น้อยกว่า 3 รางวัล/เรื่อง ต้องเป็นผลงาน ดีเด่นฯ ระหว่าง วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 – 30 เมษายน 2559 (3 ปี) และผลงานดีเด่นต้องตรงหรือสอดคล้องกับสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ขอรับการประเมิน ทั้งนี้เขตพื้นที่การศึกษาและส่วนราชการต้องพิจารณาคัดกรองคุณสมบัติในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงเสนอรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 กันยายน 2559 กรณีผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ปี 2559 ให้เสนอรายชื่อถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ผู้มีคุณสมบัติที่จะขอรับการประเมินต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินทั้ง 3 ด้าน ดังนี้

ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยพิจารณาจากการมีวินัย การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ความรักและศรัทธา ในวิชาชีพ และความรับผิดชอบในวิชาชีพ

ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ พิจารณาจาก ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน/ความสามารถในการการบริหารจัดการสถานศึกษา/ ความสามารถในการบริหารและการจัดการศึกษา/ ความสามารถในการนิเทศการศึกษา และการพัฒนาตนเอง

ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารและจัดการสถานศึกษา/ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารและจัดการศึกษา/ ผลการพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษา

ส่วนที่ 2 ผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์

ส่วนที่ 3 ผลงานทางวิชาการ ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ซึ่งการพัฒนางานตามข้อตกลงจะต้องต่อยอดจากผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

สำหรับรายชื่อรางวัลที่ ก.ค.ศ. ให้การรับรอง สำนักงาน ก.ค.ศ. จะมีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่ในเว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ" (ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559)

ท่านเลขาธิการ ก.ค.ศ. จึงเป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนให้มีการประเมินเพื่อให้ครูมีวิทยฐานะสูงขึ้น และทุกเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนดจะใช้ในการบริหารจัดการกำลังคนในภาคของข้าราชการครูได้อย่างสมดุล

ขอส่งแรงใจให้กับคุณครูทุกคนครับ

คำสำคัญ (Tags): #การประเมิน ว.13
หมายเลขบันทึก: 600365เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2016 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2016 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วเพลีย....นึกย้อนไปยุคแรกของคำว่า " คศ.๓ "

ที่ทำให้คุณมะเดื่อ เกิดอาการ " ขึ้้เกียจทำเอกสาร"

มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ัจ้ะ

  1. แสงเทียน: บุคคลใด มุ่งมั่น. ขยัน เอาใจใส่ มีวินัยในหน้าที่ของตนเอง
  2. คิดเห็นว่าคงไม่ไกลเกินเอื้อมที่จะ ไขว่คว้ามา

ตามมาอ่าน

กำลังจะทำค่ายภาษาอังกฤษให้ โรงเรียนบ้านลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท