เรียนแบบร่วมมือ



เรียนแบบร่วมมือ (Collaborative Learning) เป็นการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ เป็นการเรียนรู้ที่จะทำให้เกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ โดยไม่รู้ตัว

บรรณาธิการวารสาร Science แนะนำเรื่อง Peer + peer = increased learning โดย Melissa McCartneyว่าเป็นรายงานผลการวิจัยที่น่าอ่าน ในเอกสารเอ่ยถึง PAR – peer-assisted reflection ว่าช่วยให้ผลการเรียนคณิตศาสตร์ดีขึ้นอย่างมากมาย

อ่านรายงานผลการวิจัยฉบับเต็มเรื่อง Peer-Assisted Reflection : A Design-Based Intervention for Improving Success in Calculus โดย Daniel A. Reinholz ได้ ที่นี่

ผมมองว่า ในชีวิตจริงของการเรียน นอกจาก PAR แล้ว นศ. ควรได้รับ EFA + CFB จากอาจารย์ด้วย ซึ่งจะทำให้ไม่เพียงแค่ได้เรียนวิชา แต่จะได้ฝึกฝนทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ และได้พัฒนาตนเองทั้ง ๗ ด้าน ตามแนวทาง Chickering’s Seven Vectors ด้วย

เรียนแบบร่วมมือ มีทั้งร่วมมือระหว่างนักเรียน/นักศึกษาด้วยกัน และร่วมมือระหว่างนักเรียน/นักศึกษา กับครู/อาจารย์ ทั้งนี้เพราะครู/อาจารย์ก็ต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันด้วย

ดียิ่งขึ้น หากได้ฝึกร่วมมือกับผู้คนในที่ทำงาน และในชีวิตจริงในสังคม/ชุมชน


วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 600283เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2016 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2016 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท