โปรแกรมบันทึกข้อมูล ผู้มารับบริการ ของโรงพยาบาลแกลง


Him Pro คือ โปรแกรมบันทึกข้อมูลผู้มารับบริการ ของโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง

โรงพยาบาลแกลง มีการเริ่มนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ ในช่วงเวลานั้นเป็นยุคที่ระบบคอมพิวเตอร์ เริ่มเข้ามาทดแทนระบบบันทึกด้วยมือลงกระดาษ ด้วยหวังจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ที่ ทวีจำนวนขึ้นทุกวัน อันจะลดความสับสนในด้านการอ่านบันทึกข้อมูลผู้ป่วยในบัตรประวัติผู้ป่วยเพิ่มความถูกต้องในการรักษา ค่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่เราเรียกติดปากกันว่า "ผลLAB" ที่ถูกตัว ถูกค่า และเพื่อเพิ่มความถูกต้องในการจ่ายยาให้กับผุ้ป่วย ของฝ่ายเภสัชกรรม ฯลฯ เราได้รับความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จ.ศีรสะเกษมาเป็นพี่เลี้ยงในการใช้โปรแกรม พี่เอกสถิต มั่นคง โปรแกรมเมอร์ ท่านเป็นพยาบาลวิชาชีพ(โดยตำแหน่ง ตาม กพ.) ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เข้าใจบริบท กระบวนการทำงานต่างๆในโรงพยาบาลเป็นอย่างดี มีการพัฒนาต่อเนื่องแทบเรียกได้ว่ามีการปรับปรุงทุกวัน(จนถึงวันนี้) ตามสถานะการณ์จริงๆ

หากมีผู้มารับบริการมาใช้บริการในโรงพยาบาลแกลง จุดแรกที่ผู้มารับบริการต้องมาติดต่อคือ ห้องบัตร ห้องบัตรจะเป็นหน่วยให้บริการเป็นหน่วยแรก

หากผู้มารับบริการต้องการ พบแพทย์เพื่อ ตรวจรักษา ต่อไป เรามาดูกันว่า จุดบริการ ห้องบัตร ใน โปรแกรมบันทึกข้อมูลผู้มารับบริการ ทำอะไร

ในจุดบริการห้องบัตร จะเป็นจุดลงทะเบียนว่า ผู้รับบริการ เป็น ใคร ? คำว่า "ใคร?" ขยายได้อีกก็คือ ชื่อ นามสกุล อะไร,อายุเท่าไหร่?,สถานะภาพทางครอบครัว,กรุ๊ปเลือด?,เชื้อชาติ ศาสนา ที่อยู่ สิทธิ์ที่ใช้ในการรักษาพยาบาลจะใช้ สิทธิ์ อะไร อันนี้ เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้มารับบริการจะต้องแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบว่า ท่านเป็น "ใคร?" ในการรักษาพยาบาล หรือการให้บริการในโรงพยาบาลนั้น ได้ให้ความสำคัญมากกับคำว่า"ใคร?" เพราะจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในกระบวนการให้บริการ ต่อๆไป และ คำถามที่ผู้มารับบริการจะต้องถูกถามต่อ ว่าวันนี้มาทำอะไร นั่นก็เพื่อจะได้ ส่งผู้มารับบริการ ไปยังจุดใด ต่อ

จุดต่อมาที่"ใคร?" จะต้องมารับบริการต่อคือ หน้าห้องตรวจ ของแพทย์ จุดนี้จะมีหน้าที่บันทึกข้อมูลว่า "ใคร?" "เป็นอะไร?" จุดนี้เราเรียกว่า จุด screen ในหน้าต่างการบันทึกข้อมูล นี้

จะเป็นจุดที่ต้อง สืบค้นข้อมูลประกอบกับข้อมูลเบื้องต้น ด้านสุขภาพของผู้มารับบริการ เช่น ค่าความดันโลหิต ,น้ำหนักตัว, อุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นของชีพจร, อัตราการหายใจ, ประวัติการแพ้ยา, โรคประจำตัว ฯลฯ พร้อม บันทึกเป็นข้อความถึงอาการป่วย ที่ผู้มารับบริการ แจ้งให้ทราบว่า

"เป็นอะไร?" ก่อนที่จะเข้าไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษา ในลำดับต่อไป ซึ่งเมื่อทราบว่า "เป็นอะไร?" จุดนี้จะจัดการให้ผู้มารับบริการ เข้าตรวจในห้องตรวจของแพทย์ประจำ สาขาของการเจ็บป่วยครั้งนั้นๆ ซึง ในโปรแกรมยังได้อำนวยความสะดวกเรื่องของการจัดแยก ผู้มารับบริการตามหมวดหมู่ และลำดับ ก่อนหลัง ไว้ให้แล้ว ดังนั้นปัญหา การแซงคิว การเข้าตรวจกับแพทย์เจ้าของไข้ผิด จึงไม่มีอีกต่อไป

(ยังไม่จบนะ ไว้มาเขียนต่อ)


คำสำคัญ (Tags): #้Him Pro
หมายเลขบันทึก: 599951เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2016 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2016 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท