​พลังของ Growth Mind-Sets


กระบวนทัศน์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ คนมี Fixed Mind-sets ก็เปลี่ยนให้มี Growth Mind-sets ได้ ซึ่งทำโดยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง คือเรียนด้วยการปฏิบัติ (Action) ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด (Reflection)

พลังของ Growth Mind-Sets

บทความเรื่อง The Remarkable Reach of Growth Mind-Sets เขียนโดยศาสตราจารย์ Carol S. Dweck แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ลงพิมพ์ใน Scientific American Mind ฉบับเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ บอกเราว่า ความเชื่อว่าความฉลาด หรือความสามารถของคนเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้ มีผลต่อชีวิตของผู้นั้นมากมาย มากกว่าที่เราคิด ตรงกับที่ผมเคยแนะนำไว้ในคำนิยมของหนังสือ เลี้ยงให้รุ่ง

ความเชื่อ มีผลต่อชีวิตผู้คน ความเชื่อที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ในที่นี้คือ เชื่อในพรแสวง ความอดทนมานะพยายามในการฝึกฝนตนเอง หรือ Growth Mind-sets

Carol Dweck เขียนหนังสือชื่อ Mindset : The New Psychology of Success ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 แต่ความรู้ที่นำมาเขียนบทความเป็นผลงานวิจัยต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ทำให้เข้าใจผลของความเชื่อพรแสวงเพิ่มขึ้นมากมาย ได้แก่ ช่วยลด “จิตตก” (depression - ซึมเศร้า) ในวัยรุ่น, ลดความก้าวร้าว, เพิ่มพลังใจ, เพิ่มความสร้างสรรค์ในสถานที่ทำงาน, และลดความขัดแย้งทางการเมือง

การปลูกฝัง หรืองอกงามความเชื่อนี้แก่เด็กต้องเริ่มทั้งที่บ้าน โรงเรียน และสังคม โดยเอาใจใส่วิธีให้คำชมเชย คำชมเชยที่ไม่ดีคือชมความเก่ง คำชมเชยที่ดีคือชมความมานะพยายาม ผลที่ต้องการคือ เด็กไม่มุ่งอวดความเก่งของตน ไม่กังวลว่าตนเก่งหรือไม่ แต่มุ่งขวนขวายหาวิธีเรียนให้ได้ผล นำไปสู่นิสัยกล้าทำสิ่งที่ยากหรือท้าทาย มุ่งมั่นฝึกหรือทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ท้อถอยละทิ้งกลางคัน

บทความเล่าผลงานวิจัยใหม่ๆ ผลงานแรกออกมาในปี ค.ศ. 2014 จากการไปศึกษาในประเทศชิลี ในนักเรียนชั้น ม. ๔ จำนวน ๑๔๗,๐๐๐ คน แยกเด็กด้วยผลการตอบแบบสอบถาม ออกเป็นกลุ่มที่มี Growth Mind-sets กับกลุ่มที่มี Fixed Mind-sets พบว่าในเด็กทุกระดับของเศรษฐฐานะ กลุ่ม Growth Mind-sets มีผลการเรียนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ และเด็กจากครอบครัวยากจนที่มี Growth Mind-sets มีผลการเรียนเท่าเทียมกับนักเรียนจากครอบครัวฐานะดีกว่าอย่างมากมาย ที่มี Fixed Mind-sets

เขาทำวิจัยค้นพบว่า กระบวนทัศน์ดังกล่าวถ่ายทอดมาจากบ้านและโรงเรียนอย่างไร รวมทั้งค้นพบว่า กระบวนทัศน์ดังกล่าวเปลี่ยนได้ โดยเขาได้คิดค้น workshop และ online module เพื่อฝึกกระบวนทัศน์ เชื่อพรแสวง

เขานำผลงานวิจัยกระบวนทัศน์เชื่อพรแสวง ที่มีผลดี ๔ แบบมาเล่า ได้แก่

  • ลดอารมณ์รุนแรงในวัยรุ่น ผลการวิจัยบอกว่า การมีกระบวนทัศน์เชื่อพรแสวง ไม่เพียงทำให้ผลการเรียนดีขึ้น แต่ยังทำให้ชีวิตทางสังคมของนักเรียนดีขึ้นด้วย เป็นผลของการวิจัยในปี 2011 โดยวัดกระบวนทัศน์ของวัยรุ่น (ม. ๓ และ ๔) เกี่ยวกับบุคลิก แล้วนำกลุ่มที่มี Fixed mind-sets มาเข้า workshop 6 ครั้งเพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ หลังจากนั้น ๑ เดือนก็มีเหตุการณ์ทดสอบอารมณ์ โดยครูไม่รู้ว่านักเรียนคนไหนอยู่ในกลุ่มได้รับการฝึก คนไหนอยู่ในกลุ่มเปรียบเทียบ ผลออกมาชัดเจนว่า กลุ่มผ่านการฝึกควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่า การวิจัยนี้ซับซ้อนมาก ผมเอามาเล่าคร่าวๆ เท่านั้น
  • เพิ่มความริเริ่มสร้างสรรค์ในงาน ความหมายคือ Growth mind-sets ไม่เพียงมีผลต่อ พฤติกรรมระดับบุคคลเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อพฤติกรรมระดับองค์กร หรือกลุ่มคน ได้ด้วย
  • ลดอคติ นี่คือเรื่อง mindset ของวงวิชาการสาขาต่างๆ เขาเล่าผลงานวิจัย ที่สอบถามนักวิชาการในสาขาต่างๆ ๓๐ สาขา และพบว่าสาขาที่ยึดถือ Fixed Mind-sets มีนักวิชาการเพศหญิง และนักวิชาการเชื้อชาติอัฟริกันอเมริกัน น้อย สาขาเหล่านี้ได้แก่ คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ และปรัชญา
  • คำชมของพ่อแม่ และผู้ใหญ่ ในปี 2013 เขาทำงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ตรวจสอบคำชมของแม่ ต่อลูกเล็กโดยวิเคราะห์เทปวีดิทัศน์ที่บันทึกไว้ตอนลูกอายุ ๑, ๒, และ ๓ ปี หลังจากนั้น ๕ ปี เมื่อเด็กเรียนชั้น ป. ๒ จึงวัดตัวเด็ก ด้าน mind-sets และวัดว่าเป็นคนชอบความท้าทาย (challenge appetite) แค่ไหน รวมทั้งถามแม่ในเรื่อง mind-sets ของตน รวมทั้งความเชื่อ ว่าความฉลาดของคนเป็นสิ่งพัฒนาได้ หรือเป็นสิ่งคงที่

ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า เปลี่ยนกระบวนทัศน์พรสวรรค์เป็นกระบวนทัศน์พรแสวงได้ และเมื่อเปลี่ยนแล้ว ควบคุมอารมณ์ของตนได้ดีขึ้น

นั่นคือ มี Growth mind-sets / Fixed mind-sets ในระดับองค์กรด้วย ผลการวิจัยบอกว่า พนักงานในองค์กรที่มี Growth mind-sets มีความริเริ่มสร้างสรรค์มากกว่าพนักงานขององค์กร ที่มี Fixed mind-sets

ข้อค้นพบนี้บอกเราว่า หากต้องการลดความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม นักวิชาการระดับผู้นำในสาขาวิชาต่างๆ ต้องสื่อสาร Growth Mind-sets กับนักเรียนนักศึกษา ก็จะลดอคติที่หลงเชื่อว่าบางเพศ หรือบางเชื้อชาติ ไม่เก่งบางวิชา เกิดผลให้มีนักศึกษา กระจายอยู่ในสาขาวิชาต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันยิ่งขึ้นด้านเพศ และเชื้อชาติ ซึ่งจะส่งผลต่อความเท่าเทียมกันในสังคมวงกว้าง

ผลการวิจัยพบว่า mind-sets ของเด็ก ตรงกับสิ่งที่แม่ปฏิบัติต่อลูก คือลูกที่มี Growth Mind-set ได้รับการชมกระบวนการที่ลูกทำเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ชมความมานะพยายาม ไม่ละความพยายาม และชมยุทธศาสตร์ แต่ไม่ตรงกับสิ่งที่แม่บอก

ซึ่งหมายความว่า แม่บางคนอาจเข้าใจเรื่อง Growth Mind-sets และเห็นคุณค่า แต่ไม่รู้วิธีปฏิบัติ จึงชมลูกด้วยวิธีการและถ้อยคำที่ผิด กลายเป็นปลูกฝัง Fixed Mind-sets ให้แก่ลูกโดยไม่รู้ตัว

คำแนะนำคือ ให้ชมวิธีการที่เด็กใช้ในการบรรลุเป้าหมาย ในภาษาอังกฤษเรียก process praise ซึ่งตรงกันข้ามกับการชมผลสำเร็จ หรือชมว่าเก่ง คือต้องไม่ชมแบบฉาบฉวย ต้องชวนเด็กตั้งคำถาม ต่อกระบวนการที่ใช้ ไม่ว่าเด็กจะบรรลุผลสำเร็จหรือยังไม่บรรลุ ผู้ใหญ่ (พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู) ชวนไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection/AAR) โดยตั้งคำถามเชิงทำความเข้าใจกระบวนการ เรียนรู้จากกระบวนการ ซึ่งผมตีความว่าเป็นกระบวนการ เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง นั่นเอง

อีกงานวิจัย คราวนี้ในนักเรียนชั้น ม. ต้น ถามครูคณิตศาสตร์แบบเดียวกับถามแม่ ในเรื่องความเชื่อความเข้าใจ mind-sets กับเข้าไปสังเกตการร์ในห้องเรียน ว่าครูใช้ growth-focused teaching methods (เน้นความเข้าใจหลักการ ให้ feedback เพื่อให้ศิษย์เข้าใจลึกขึ้น และให้โอกาสนักเรียนส่งผลงานใหม่ เพื่อแก้ไขความเข้าใจของตนเอง) หรือไม่ พบว่า mind-sets ของศิษย์สอดคล้องกับสิ่งที่ครูปฏิบัติ ไม่ใช่สอดคล้องกับความเชื่อของครู

ผมตีความว่าการพัฒนา Growth Mind-sets ก็คือการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) นั่นเอง โดยในช่วง reflection ครู/ผู้ปกครอง ตั้งคำถามเชิงกระตุ้นให้ตระหนักในคุณค่าของ ความมานะพยายาม และการเรียนรู้ต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง

ดังได้กล่าวแล้วว่า กระบวนทัศน์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ คนมี Fixed Mind-sets ก็เปลี่ยนให้มี Growth Mind-sets ได้ ซึ่งทำโดยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง คือเรียนด้วยการปฏิบัติ (Action) ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด (Reflection)

เรื่องกระบวนทัศน์เชื่อพรแสวง จึงมาบรรจบกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ด้วยประการฉะนี้

ความเชื่อ มีผลต่อชีวิตผู้คน ชีวิตของผมเป็นอย่างนี้เพราะเชื่อในความดีทั้งปวง รวมทั้ง ความอ่อนน้อมถ่อมตน และเคารพผู้อื่น เชื่อในการทำประโยชน์แก่ผู้อื่นและแก่สังคม เชื่อในผลกรรมที่ตนทำ ไม่เชื่อผลจากการอ้อนวอนร้องขอจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหมดนั้น ส่วนใหญ่ ผมได้จากพ่อแม่และบรรพบุรุษ และที่เพิ่งตระหนักเป็นความเชื่อชิ้นใหม่เมื่อยี่สิบสามสิบปีมานี้ คือเชื่อในพลังของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ม.ค. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 599905เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2016 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2016 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วรรคทองที่ขอ capture ไว้ใช้

  • ความเชื่อว่าความฉลาด หรือความสามารถของคนเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้ มีผลต่อชีวิตของผู้นั้นมากมาย มากกว่าที่เราคิด
  • ความเชื่อ มีผลต่อชีวิตผู้คน ความเชื่อที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ในที่นี้คือ เชื่อในพรแสวง ความอดทนมานะพยายามในการฝึกฝนตนเอง หรือ Growth Mind-sets
  • การปลูกฝัง หรืองอกงามความเชื่อนี้แก่เด็กต้องเริ่มทั้งที่บ้าน โรงเรียน และสังคม โดยเอาใจใส่วิธีให้คำชมเชย คำชมเชยที่ไม่ดีคือชมความเก่ง คำชมเชยที่ดีคือชมความมานะพยายาม ผลที่ต้องการคือ เด็กไม่มุ่งอวดความเก่งของตน ไม่กังวลว่าตนเก่งหรือไม่ แต่มุ่งขวนขวายหาวิธีเรียนให้ได้ผล นำไปสู่นิสัยกล้าทำสิ่งที่ยากหรือท้าทาย มุ่งมั่นฝึกหรือทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ท้อถอยละทิ้งกลางคัน
  • คำแนะนำ (ในการเป็นเชียร์ลีดเดอร์ให้กับเด็กๆ) คือ ให้ชมวิธีการที่เด็กใช้ในการบรรลุเป้าหมาย ในภาษาอังกฤษเรียก process praise ซึ่งตรงกันข้ามกับการชมผลสำเร็จ หรือชมว่าเก่ง คือต้องไม่ชมแบบฉาบฉวย ต้องชวนเด็กตั้งคำถาม ต่อกระบวนการที่ใช้ ไม่ว่าเด็กจะบรรลุผลสำเร็จหรือยังไม่บรรลุ ผู้ใหญ่ (พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู) ชวนไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection/AAR) โดยตั้งคำถามเชิงทำความเข้าใจกระบวนการ เรียนรู้จากกระบวนการ ซึ่งผมตีความว่าเป็น กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง นั่นเอง

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท