ปราชญ์/ผู้นำชุมชนในภูมิภาคตะวันตก: ศึกษาผู้ใหญ่สุธรรม จันทร์อ่อน (ครั้งที่1)


"ผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการทำเกษตรเเบบยั่งยืน"

ความเป็นมา(Time line)

นายสุธรรม จันทร์อ่อน จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา

การพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้อุปสมบทในปี 2520 จนกระทงั่ ปี2524 จึงได้

ลาสิกขาบทและหันมาประกอบอาชีพการเกษตรด้วยการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรผสมผสาน อีกทั้ง

ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านประธานชมรม อสม.อำเภอกาํแพงแสน ประธาน อพม. ตำบลทุ่งขวาง

ประธานหมอดินอาสาอำเภอกาํแพงแสน เป็นผู้ก่อตั้งศูนยเ์รียนรู้ชุมชนตามหลกัปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ และเป็นผู้ตั้งชื่อพร้อมกบัผลิตมะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย

กลุ่มรางวัลเชิดชูเกยีรติที่เคยได้รับ

- ปี 2551 ไดร้ับการคัดเลือกเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น ระดับภาค สาขาคุ้มครอง

ผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

- ปี 2549 ไดร้ับการคัดเลือกเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น ระดับตาํบล สาขาการควบคุม

ป้องกันโรคไขเ้ลือดออก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

- ปี 2546 ได้เป็นหมอดินอาสาดีเด่น จังหวัดนครปฐม ด้านวิทยากรการจัดการดินจากกรม

พัฒนาที่ดิน

- ปี 2545 ได้เป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านดีเด่น ประจำปี2545 จากสถานีพัฒนาที่ดิน

- ปี 2543 ได้รับรางวัลที่ 1 ในการประกวดถั่วฝักยาวงานเปิดศูนยถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบลทุ่งขวางโดยกรมส่งเสริมการเกษตร

กลุ่มเราได้เดินทางไปบ้านผู้ใหญ่บ้านสุธรรม จันทร์อ่อน ที่หมู่บ้านปักไม้ลายเพื่อไปหาข้อมูลในการทำโครงงานเรื่องเกษตรอินทรีย์ ที่บ้านผู้ใหญ่เป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและยังมีกลุ่มของเกษตรอินทรีย์ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเกษตรอื่นๆอีกมากมายรวมทั้งกลุ่มอาชีพให้ได้ศึกษา กลุ่มเราได้ความรู้และคำแนะนำจากผู้ใหญ่บ้านสุธรรม จันทร์อ่อน มากมาย ผู้ใหญ่บ้านบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นคือพอมีพอใช้จ่ายกับในชีวิตประจำวันพอเหลือก็เก็บออมไว้ ไม่ใช้จ่ายเกินรายได้ที่มี ถ้าใช้จ่ายเกินรายได้เราก็จะมีหนี้สิน ทุกอย่างเราต้องรู้จักมีการวางแผน ต้องมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ผู้ใหญ่บ้านได้บอกว่ากลุ่มเกษตรที่เราเห็นนั้นคือกลุ่มที่ผู้ใหญ่ทดลองทำแล้วประสบผลสำเร็จจริงๆทุกกลุ่มและผู้ใหญ่ได้บอกว่าครอบครัวของผู้ใหญ่บ้านไม่มีหนี้สินก็เพราะได้ทฤษฎีของในหลวงมาใช้จึงมีอยู่มีกินถึงทุกวันนี้และยังกลายเป็นอาชีพที่ถาวรให้กลับครอบครัวของผู้ใหญ่บ้านและผู้ใหญ่บ้านยังได้นำประสบการณ์ไปสอนอาชีพและให้ความรู้กับผู้อื่นมากมายผู้ใหญ่บ้านบอกกับกลุ่มเราว่าถ้าเรามี100บาทให้เขา100บาทแต่เขานำไปใช้จ่ายในครอบครัวเขา เท่ากับเราได้ช่วยคนมากกว่า1คน

(รูปตอนผู้ใหญ่เล่าถึงประวัติของผู้ใหญ่)

หมายเลขบันทึก: 599814เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2016 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2016 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท