ห้าร่วมของพันธกิจมหาวิทยาลัยกับสังคม



ในการประชุมสภาสถาบันอาศรมศิลป์ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ มีวาระเรื่องการสัมมนาวิชาการว่าด้วยมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม เพื่อขับเคลื่อนงานด้าน university engagement

ผมจึงเสนอต่อที่ประชุมว่า น่าจะมีการตรวจสอบโครงการที่นำมาเสนอ ตามหลักการ ๕ ร่วม ของ University Engagement ที่อยู่ภายใต้หลักการความร่วมมือภายใต้ความสัมพันธ์แนวราบ ระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย คือ

  • ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
  • ร่วมกันกำหนดแผนยุทธศาสตร์
  • ร่วมกันปฏิบัติ หรือดำเนินการ
  • ร่วมกันรับผล
  • เรียนรู้ร่วมกัน

ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ ให้ความเห็นว่า อุปสรรคอย่างหนึ่งของ university engagement คือการแยกศาสตร์ แต่กิจกรรมในชุมชนต้องดำเนินการโดยใช้ความรู้หลายศาสตร์ร่วมกัน การจัดการให้มหาวิทยาลัยสามารถทำงานสหวิทยาการได้ในสภาพจริงของสังคม จึงเป็นความท้าทายมาก

ที่ประชุมพูดกันเรื่องคุณค่าของ university engagement ว่าจะเป็น means ของการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัย



วิจารณ์ พานิช

๑๕ ธ.ค. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 599675เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2016 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2016 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หลักการ 5 ร่วม ของ University Engagement มีความแตกต่างจาก แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สถาบันพระปกเกล้า นำมาประยุกต์ใช้ ซึ่งจําแนกออกเปน 4 ระดับ คือ

1) การมีสวนรวมในการตัดสินใจ (Decision Making)
2) การมีสวนรวมในการดําเนินการ (Implementation)
3) การมีสวนรวมในการรับผลประโยชน (Benefit)
4) การมีสวนรวมในการประเมินผล (Evaluation)

ความแตกต่างคงจะขึ้นอยู่กับภารกิจ บริบท ความสัมพันธ์ กิจกรรม ฯลฯ ระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย เรื่องนี้น่าสนใจเพราะจะเป็น means ของการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัย...เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท