นักโทษไทยแรงงานที่สูญเปล่า


นักโทษไทยแรงงานที่สูญเปล่า เปรียบเทียบจากข้อมูลสถิติรายได้จากการใช้แรงงานนักโทษผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ การรับจ้างทำงานสาธารณะ และ การใช้แรงงานนักโทษหาผลประโยชน์อื่นๆ กับ จำนวนนักโทษในปี 2554 สามารถคิดเป็นเงินได้เพียงวันละประมาณ 2.11 บาท ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก.....................


นักโทษไทยแรงงานที่สูญเปล่า


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


นักโทษไทยแรงงานที่สูญเปล่า เปรียบเทียบจากข้อมูล สถิติรายได้จากการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จำหน่ายในงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ สถิติรายได้จากการใช้แรงงานผู้ต้องขังของเรือนจำ / ทัณฑสถาน และ สถิติรายได้จากการรับจ้างงานสาธารณะ กับ สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศดังนี้

1. สถิติปริมาณรายได้จากการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ จำหน่ายในงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ ณ เรือนจำกลางคลองเปรม ดังนี้

ครั้งที่ 44 ระหว่างวันที่ 3-13 กุมภาพันธ์ 2554 คิดเป็นเงินรวม 63,957,778.00 บาท , ครั้งที่ 45 ระหว่าง วันที่ 1-11 มีนาคม 2555 คิดเป็นเงินรวม 64,129,016.00 บาท ,

ครั้งที่ 46 ระหว่าง วันที่ 7-17 ธันวาคม 2555 คิดเป็นเงินรวม 69,402,372.00 บาท ,

ครั้งที่ 47 ระหว่าง วันที่ 9-19 ธันวาคม 2556 คิดเป็นเงินรวม 65,038,002.00 บาท และ

2. สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ ดังนี้

สำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 มีผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งสิ้น 189,042 คน

สำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 มีผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งสิ้น 192,054 คน

สำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม 2556 มีผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งสิ้น 214,833 คน

3. สถิติรายได้จากการใช้แรงงานผู้ต้องขัง ของเรือนจำ / ทัณฑสถาน ในปี 2554

ข้อมูล ณ วันที่31 ธันวาคม 2554 ผู้ต้องขังสามารถหารายได้ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 8,587,478.50 บาท

4. สถิติรายได้จากการรับจ้างงานสาธารณะ

ประจำประปี 2554 เป็นเงินทั้งสิ้น 73,232,136.52 บาท

ประจำประปี 2555 เป็นเงินทั้งสิ้น 26,151,391 บาท




เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากสถิติปริมาณสินค้า (บาท) ในงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ จำนวน 4 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2556 , สถิติการใช้แรงงานผู้ต้องขังของเรือนจำ/ทัณฑสถาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ สถิติรายได้จากการรับจ้างงานสาธารณะ ประจำประปี 2554 และ 2555 กับข้อมูลอัตตราส่วนนักโทษในแต่ละปี ดังนี้

1) เปรียบเทียบข้อมูลปริมาณสินค้าจากงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ ครั้งที่ 44 ปี 2554 เป็นเงินรวม 63,957,778.00 บาท กับ ปริมาณนักโทษ ในปี พ.ศ. 2554 จำนวน 189,042 คน สามารถใช้แรงงานนักโทษผลิตสินค้าเป็นเงิน 0.92 บาท ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน

2) เปรียบเทียบข้อมูลปริมาณสินค้าจากงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ ครั้งที่ 45 ปี 2555 เป็นเงินรวม 64,129,016.00 บาท กับ ปริมาณนักโทษ ในปี 2555 จำนวน 192,054 คน สามารถใช้แรงงานผลิตสินค้าเป็นเงิน 0.91 บาท ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน

3) เปรียบเทียบข้อมูลปริมาณสินค้าจากงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ ครั้งที่ 46 ปี 2555 เป็นเงินรวม 69,402,372.00 บาท กับ ปริมาณนักโทษ ในปี 2555 จำนวน 192,054 คน สามารถใช้แรงงานผลิตสินค้าเป็นเงิน 0.99 บาท ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน

4) เปรียบเทียบข้อมูลปริมาณสินค้าจากงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ ครั้งที่ 47 ปี 2556 เป็นเงินรวม 65,038,002.00 บาท กับ ปริมาณนักโทษ ในปี 2556 จำนวน 214,833 คน สามารถใช้แรงงานผลิตสินค้าเป็นเงิน 0.82 บาท ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน

5) เปรียบเทียบสถิติรายได้จากการใช้แรงงานนักโทษหาผลประโยชน์อื่นๆ ของเรือนจำ / ทัณฑสถาน ในปี 2554 นักโทษสามารถหารายได้ เป็นเงิน จำนวน 8,587,478.50 บาท กับ ปริมาณนักโทษในปี ในปี 2554 จำนวน 189,042 คน สามารถใช้แรงงานหาผลประโยชน์เป็นเงิน 0.12 บาท ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน

6) เปรียบเทียบรายได้จากการรับจ้างงานสาธารณะ ในปี 2554 เป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 73,232,136.52 บาท กับข้อปริมาณโทษในปี 2554 จำนวน 189,042 คน ทำให้กรมราชทัณฑ์มีรายได้จากการรับจ้างทำงานสาธารณะ 1.06 บาท ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน

7) เปรียบเทียบรายได้จากการรับจ้างงานสาธารณะ ประจำประปี 2555 เป็นเงินทั้งสิ้น 26,151,391 บาท กับปริมาณนักโทษในปี 2555 จำนวน 192,054 คน ทำให้กรมราชทัณฑ์มีรายได้จากการรับจ้างทำงานสาธารณะ 0.37 บาท ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน

8) เปรียบเทียบข้อมูลจากรายได้จากการใช้แรงงานนักโทษในปี 2554 ประกอบด้วยมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ จำนวน 63,957,778.00 บาท , รายได้จากการรับจ้างงานสาธารณะ จำนวน 73,232,136.52 บาท และ รายได้จากการหาผลประโยชน์อื่นๆ จำนวน 8,587,478.50 บาท รวม 3 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 145,777,393.32 บาท กับ ปริมาณนักโทษจำนวน 189,042 คน สามารถทำงานเป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ คิดเป็นเงินโดยเฉลี่ย วันละประมาณ 2.11 บาท ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน




โดยสรุป


ผลการเปรียบเทียบสถิติรายได้จากการใช้แรงงานนักโทษผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ สถิติรายได้จากการรับจ้างทำงานสาธารณะ และ สถิติรายได้จากการใช้แรงงานหาผลประโยชน์อื่นๆ รวม 3 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 145,777,393.32 บาท (หนึ่งร้อยสี่สิบห้าล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสามร้อยเก้าสิบสามบาทสามสิบสองสตางค์) กับ ปริมาณนักโทษที่มีอยู่ทั้งหมด จำนวน 189,042 คน ในปี 2554 พบว่า นักโทษไทยสามารถทำงานเป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ คิดเป็นเงินโดยเฉลี่ย วันละประมาณ 2.11 บาท (สองบาทสิบเอ็ดสตางค์) ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก อาจเรียกได้ว่า "นักโทษไทยแรงงานที่สูญเปล่า" โดยเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากการใช้แรงงานนักโทษในต่างประเทศ เช่น ประเทศ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น ที่มีการใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจของประเทศ ตามทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก ( Reduction in immediate costs Theory) โดยเฉพาะประเทศจีน และ รัสเซียที่เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับกำลังผลิตของแรงงานนักโทษเป็นสำคัญ จึงนับเป็นตัวอย่างแนวทางในการใช้แรงงานนักโทษที่น่าสนใจอีกแนวทางหนึ่ง



.............................



เอกสารอ้างอิง


ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://br.correct.go.th/spn /index. php/pubreations/104-2012-12-02-07-23-18.html ดังนี้

1. เรื่อง ปริมาณสินค้า (บาท) จากงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ ครั้งที่ 44 ระหว่างวันที่ 3-13 กุมภาพันธ์ 2554 ณ เรือนจำกลางคลองเปรม

2. เรื่อง ปริมาณสินค้า (บาท) ในงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ ครั้งที่ 45 ระหว่าง

วันที่ 1-11 มีนาคม 2555 ณ เรือนจำกลางคลองเปรม

3. เรื่อง ปริมาณสินค้า (บาท) ในงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ ครั้งที่ 46 ระหว่าง

วันที่ 7-17 ธันวาคม 2555 ณ เรือนจำกลางคลองเปรม

4. เรื่อง ปริมาณสินค้า (บาท) ในงานนิทรรศการผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ ครั้งที่ 47 ระหว่าง

วันที่ 9-19 ธันวาคม 2556 ณ เรือนจำกลางคลองเปรม และ

5. ข้อมูลจาก เว็บไซต์ http://www.correct.go.th/stat102/display/ result.php? date=2011-01-01&Submit=%B5%A1%C5%A7 เรื่อง สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ สำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

6. ข้อมูลจาก เว็บไซต์ http://www.correct.go.th/stat102/display/result. php?date=2012-01-01&Submit=%B5%A1%C5%A7 เรื่อง สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ สำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555

7. ข้อมูลจาก เว็บไซต์ http://www.correct.go.th/stat102/display/result. php?date=2013-01-01&Submit=%B5%A1%C5%A7 เรื่อง สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ สำรวจ ณ วันที่ 1 มกราคม 2556

8. ข้อมูลจาก เว็บไซต์ http://br.correct.go.th/spn/index.php/2011-12-14-03-17-26/67-2012-04-19-15-42-38 เรื่องสถิติการใช้แรงงานผู้ต้องขังของเรือนจำ/ทัณฑสถาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

9. ข้อมูลจากส่วนเลื่อน – ลดชั้น และ ลดวันต้องโทษ สำนักทัณฑปฏิบัติ รายได้จากการรับจ้างงานสาธารณะ ประจำประปี 2554

10. ข้อมูลจากส่วนเลื่อน – ลดชั้น และ ลดวันต้องโทษ สำนักทัณฑปฏิบัติ รายได้จากการรับจ้างงานสาธารณะ ประจำประปี 2555




หมายเลขบันทึก: 599551เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2016 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2016 05:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เสียดายบ้านเราวางแผนไม่ดี

ทำให้ใช้แรงงานไม่ค่อยเกิดประโยชน์มากนักครับ

น่าเสียดายจริงๆค่ะ นับวันแรงงานยิ่งหายากและค่าแรงก็สูงมาก น่าจะมีการวางแผนการใช้แรงงานส่วนนี้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศนะคะ ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆค่ะ

ฝากติดตามด้วยนะคะ

https://www.gotoknow.org/posts/599555


ขอบคุณมากครับอาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง ความจริงแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานนักโทษ ปรากฎอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 แต่เรามาสาละวนอยุู่กับการแก้ไขพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ ดังกล่าว มาเป็นเวลานานแต่ยังไม่สำเร็จเพราะโดนตีกลับด้วยเหตุผลว่าไมมีอะไรใหม่ รวมตลอดถึงการสาละวนอยุู่กับแก้ปัญหาการกระทำความผิดซ้ำ และ การแก้ปัญหานักโทษล้นคุก........ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์.....

ขอบคุณอาจารย์จากศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ที่ได้กรุณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้แรงงานนักโทษ ผมขออนุญาตตอบประเด็นคำถามเช่นเดียวกันกับที่ตอบ อาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง ที่ว่า ความจริงแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานนักโทษ ปรากฎอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 แต่เรามาสาละวนอยุู่กับการแก้ไขพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ ดังกล่าว มาเป็นเวลานานแต่ยังไม่สำเร็จเพราะโดนตีกลับด้วยเหตุผลว่าไมมีอะไรใหม่ รวมตลอดถึงการสาละวนอยุู่กับแก้ปัญหาการกระทำความผิดซ้ำ และ การแก้ปัญหานักโทษล้นคุก........ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์...

ขอบคุณอาจารย์มะเดื่อ และ อาจารย์ต้น มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตามและให้กำลังใจ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท