ภาพใหม่ของการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด (๒)


          ในตอนที่แล้ว  ผมยังบันทึกเรื่องนี้ได้ไม่ครบใจความ   นักศึกษาของ มอ. ที่ผมได้คุยด้วยระหว่างวันที่  ๖-๘  พ.ย. ๔๙   บอกว่า  เขาเลือกมาเรียนไกลบ้านหน่อย  เพื่อจะได้ฝึกดูแลตนเอง  ได้เรียนรู้ที่ใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆ   คือมองการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเป็นการเรียนรู้โลกกว้าง

          ที่แปลกคือ   เขตการศึกษาภูเก็ตมีเด็กที่บ้านอยู่ในภูเก็ตเพียง ๑๒%   ที่ตรังก็มีเด็กตรังเรียนแค่ ๑๐%   ที่สุราษฎร์ก็เช่นกัน

          ที่เขตการศึกษาสุราษฎร์   นักศึกษาเป็นเด็กสงขลา ๒๕%   นครฯ ๒๕%

          เด็กนักศึกษาบอกว่า   มาเรียนด้านการจัดการที่สุราษฎร์เพราะตรงความต้องการมากกว่า   คือเมื่อจบแล้วจะไปทำธุรกิจเล็กๆ ที่บ้าน

          ผมมองว่า   ระบบบริหารการอุดมศึกษาของประเทศ   ระบบประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ   น่าจะดำเนินการเพื่อให้มีสารสนเทศ (information)  ที่ถูกต้อง และลึก   สำหรับให้นักเรียน-ผู้ปกครอง ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกสถานศึกษา

          เวลานี้สารสนเทศเรื่องคุณภาพการศึกษาระดับประเทศ  กับระดับที่ชาวบ้านใช้ในการเลือกเรียน  คล้ายๆ จะเป็นคนละชุด   ไม่ค่อยเชื่อมโยงกัน

          ชุดสารสนเทศเหล่านี้   ควรละเอียดลงไปในระดับ  micro  เพื่อประกอบการเลือกเข้าเรียน   เวลานี้เด็ก-ครู-ผู้ปกครอง  เขาใช้สารสนเทศที่ได้จากรุ่นพี่ที่ไปเรียนอยู่แล้ว

          ผู้เข้าเรียนเขาฉลาด   เขามีความต้องการที่จำเพาะ   ระบบอุดมศึกษาควรเผยแพร่สารสนเทศที่จำเพาะเหล่านั้น    เพื่อประโยชน์ในการเลือกสถานศึกษา สาขาวิชา สถานที่เรียน

วิจารณ์   พานิช
๑๐ พ.ย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 59954เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท