ประวัติศาสตร์คุก


ประวัติศาสตร์คุก (Prison History) ในมิติของกฎ กติกา สนธิสัญญา (treaty) ระหว่างประเทศ สามารถนับการเริ่มต้น ตั้งแต่ปี 1785 เมื่อสหรัฐอเมริกา และ ปรัสเซีย ได้ลงนามในสนธิสัญญาเรียกร้องให้มีการควบคุม และ ปฏิบัติต่อนักโทษ หรือ เชลยศึก จากสงคราม ด้วยความเป็นธรรม..........................


ประวัติศาสตร์คุก


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


ประวัติศาสตร์คุกที่นำเสนอในบทความนี้ ได้แก่ ประวัติศาสตร์คุกของประเทศต่างๆ นำโดยสหรัฐอเมริกา ปรัสเซีย เนเธอร์แลนด์ และ สวิตเซอร์แลนด์ เป็นการกล่าวถึงประวัติศาสตร์คุกในมิติของกฎ กติกา สนธิสัญญาคุกฉบับแรกๆ ที่ประเทศต่างๆ นำไปใช้เป็นหลักเกณฑ์ กฎ กติกา ในการปฏิบัติงานคุก หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นประวัติศาสตร์คุกโลก ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า ประวัติศาสตร์คุก ข้อมูลโดยสังเขปจากบทความเรื่อง ประวัติศาสตร์คุก (Prison History) เว็บไซต์ http://www.stoptheaca.org /prison.html ดังนี้



ในปี 1785 สหรัฐอเมริกา และ ปรัสเซีย ได้ลงนามในสนธิสัญญาเรียกร้องให้มีการควบคุม และ การปฏิบัติต่อนักโทษ หรือ เชลยศึกจากสงครามด้วยความเป็นธรรม ได้แก่ อนุสัญญากรุงเฮก 1899 และ 1907 และ การประชุมที่กรุงเจนีวา 1929 และ 1949 นับเป็นสนธิสัญญา และ การประชุมแรกๆ ที่ว่าด้วยเรื่อง การกำหนดกฎระเบียบคุกระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม และ ปฏิบัติต่อนักโทษ หรือ เชลยศึก ซึ่งประเทศต่างๆ ได้ยินยอมตกลงที่จะปฏิบัติตามกฎ กติกา สนธิสัญญาเหล่านี้ โดยสนธิสัญญาคุกกรุงเฮก และ การประชุมเรื่องคุกที่กรุงเจนีวา ได้กำหนด กฎ กติกา สนธิสัญญา เรื่อง การปฏิบัติต่อนักโทษ หรือ เชลยศึก จากสงคราม ทั้งในด้านการควบคุม การรักษาความปลอดภัย และ การสุขาภิบาลคุก ที่ประเทศต่างๆ จะต้องยึดถือ และ ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงานคุก โดยแต่ละประเทศ จะต้องอนุญาตให้ผู้แทนของประเทศเป็นกลางหรือประเทศที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้ (nonfighting) สามารถเข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติงานคุก ทั้งด้านการควบคุม การรักษาความปลอดภัย ด้านอาหาร การรักษาพยาบาล การส่งจดหมาย รวมตลอดถึงการจ่ายเงินค่าแรงงานนักโทษ เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากปรากฏว่าได้มีการปฏิบัติต่อนักโทษ หรือ เชลยศึก ด้วยความรุนแรง และ ทารุณในประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น และ สหภาพโซเวียต ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อนักโทษ หรือ เชลยศึก ในสหภาพโซเวียตที่ได้มีการปฏิบัติต่อนักโทษด้วยวิธีการที่รุนแรง ทำให้นักโทษ หรือ เชลยศึก หลายล้านคนต้องเสียชีวิต รวมทั้งเสียชีวิตจากความหนาวเย็น การอดอาหาร หรือ เพราะการกระทำความผิด ในช่วงสงครามเกาหลีที่กองกำลังสหประชาชาติ (UN) จีน และ เกาหลีเหนือ ได้มีการกล่าวหาว่ามีการล้างสมองนักโทษ หรือ เชลยศึก ซึ่งสนธิสัญญากรุงเฮก และ การประชุมที่กรุงเจนีวา ดังกล่าว มาปรากฏผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในประเทศต่างๆ ที่มีการเคารพกฎ กฏิกา สนธิสัญญาในการปฏิบัติต่อนักโทษในช่วงสงคราม เป็นผลให้นักโทษนับล้านคนได้มีโอกาสรอดชีวิตจากการจับกุม เช่น ในตอนท้ายของสงครามระหว่างอเมริกันกับเวียดนาม หลายพันนักโทษเวียดนามเหนือ และ อเมริกัน ที่ถูกจับกุมมีโอกาสรอดชีวิตได้กลับไปยังประเทศของตน เป็นต้น




โดยสรุป


ประวัติศาสตร์คุก (Prison History) ในมิติของกฎ กติกา สนธิสัญญา (treaty) ระหว่างประเทศ สามารถนับการเริ่มต้น ตั้งแต่ปี 1785 เมื่อสหรัฐอเมริกา และ ปรัสเซีย ได้ลงนามในสนธิสัญญาเรียกร้องให้มีการควบคุม และ ปฏิบัติต่อนักโทษ หรือ เชลยศึก จากสงคราม ด้วยความเป็นธรรม ตามอนุสัญญากรุงเฮก 1899 และ 1907 และ การประชุมที่กรุงเจนีวา 1929 และ 1949 นับเป็นสนธิสัญญา และ การประชุมแรกๆ ที่ว่าด้วยเรื่องการกำหนดกฎระเบียบคุกระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม และ การปฏิบัติต่อนักโทษ หรือ เชลยศึก ที่ต้องคำนึงถึงหลักความเป็นธรรม หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และ หลักสิทธิมนุษย์ชน ที่หลายประเทศได้ยินยอมตกลงที่จะปฏิบัติตามกฎ กติกา สนธิสัญญาเหล่านี้ โดยเฉพาะการอนุญาตให้ผู้แทนของประเทศเป็นกลางหรือประเทศที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้ (nonfighting) สามารถเข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติงานคุก และ ปรากฏผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในช่วงสงครามระหว่างอเมริกันกับเวียดนาม ที่หลายพันนักโทษเวียดนามเหนือ และ อเมริกัน ที่ถูกจับกุมมีโอกาสรอดชีวิตได้กลับไปยังประเทศของตน เป็นต้น


..........................



อ้างอิง

ข้อมูลเนื้อหาจากบทความเรื่อง ประวัติศาสตร์คุก (prison history) ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www. stoptheaca.org/prison.html

ข้อมูลภาพจาก เว็บไซต์ http://whatstrending.com/funny/12766-one-prison-ch... และ

เว็บไซต์ http://www.thinkstockphotos.co.uk/image/stock-illu...




หมายเลขบันทึก: 599177เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2016 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2016 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณท่านอาจารย์วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei มากน่ะครับที่กรุณาติดตามและให้กำลังใจ

ขอขอบคุณท่านอาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณ มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตามและให้กำลังใจ

ขอขอบคุณท่านอาจารย์คุณมะเดื่อ มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตามและให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท