ทฤษฎีแกน X (X-Axis Theory) ตอนที่ 2


การควบรวมทั้งสองมุมมองเข้าด้วยกัน เพื่อให้ครอบคลุมทั้งการคำนึงถึงปัจจัยภายใน (จุดแข็ง-จุดอ่อน) และปัจจัยภายนอก (โอกาส-ความเสี่ยง) ซึ่งผมเรียกมันว่า Absolute Optimization

แกน X คือ สาขาวิชา กลุ่มอุตสาหกรรม หรืออะไรก็ตามที่แสดงถึงความหลายหลายของประเภทความรู้ต่างๆ แกน Y คือ ระดับความเชี่ยวชาญ ความลึกซึ้ง ปริมาณความรู้ความสามารถในเรื่องหรือสาขานั้นๆ หากลองเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจน นาย A มีความรู้ด้านการเงินมากกว่า B และ C แต่มีเพียงนาย C เท่านั้นที่มีความรู้หลากหลายแขนงทั้ง IT HR ตลอดจนเรื่องสุขอนามัย หากเราพิจารณาที่เรื่องการเงินเพียงด้านเดียวด้วย "การวิ่งตามแกน Y" ก็จะพบว่านาย A มีความสามารถมากกว่าคนอื่น ซึ่งในปัจจุบันก็จะมีค่านิยมเป็นแนวนี้เสียส่วนใหญ่ ส่วนการพิจารณาด้วย "การวิ่งตามแกน X" ก็จะพบ นาย C มีความรู้หลากหลายมากกว่าคนอื่น ซึ่งค่านิยมในอนาคตจะมีแนวโน้มโอนเอียงมาในรูปแบบนี้มากยิ่งขึ้น

xaxis_3

แล้วแบบไหนดีกว่ากันหละ ก็ลองมาพิจารณาในแง่จุดแข็งจุดอ่อนกันเสียก่อน ซึ่งการวิ่งตามแกน X จะทำให้เรารู้กว้างแต่รู้ตื้น ตรงกันข้ามกับการวิ่งตามแกน Y ที่จะทำให้เรารู้ลึกแต่รู้แคบ ตรงไปตรงมา ไม่มีอะไรซับซ้อนในประเด็นนี้ ทั้งนี้เราควรจะปรับสมดุลทั้งสองแนวทางนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือ ให้เพิ่มจุดแข็ง และลดจุดอ่อน หรือเรียกว่า การทำ Optimization

xaxis_4

ในแง่การพิจารณาถึงโอกาสและความเสี่ยง ก็จะพบว่าการวิ่งตามแกน X จะมีโอกาสได้บูรณาการความรู้ที่มีในหลายส่วน อาจเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ช่วยให้เกิดความหลากหลายในการแก้ปัญหาหรือสร้างคุณค่าใหม่ แต่ก็มีความเสี่ยงในด้านความสามารถทางการแข่งขันที่ต่ำกว่าการวิ่งตามแกน Y ที่ไม่ต้องพะวง สับสน กับความรู้ในหลายมิติมากนัก ทำให้มีความเรียบง่ายกว่า ซับซ้อนน้อยกว่า รวมไปถึงการใช้เวลาในการเรียนรู้ที่น้อยกว่า ในอีกมุมหนึ่ง การวิ่งตามแกน X จะช่วยให้มีความมั่นคงมากกว่า เพราะสามารถยืดหยุ่นไปใช้ความความสามารถด้านอื่นเพื่อทำงานอื่นในสภาวะที่ไม่ปกติที่ทำให้ไม่สามารถทำงานตามความสามารถหลักได้ เช่น นาย C สามารถย้ายงานไปทำงานด้าน HR ได้ ในกรณีที่อุตสาหกรรมการเงินเกิดวิกฤต มีการเลิกจ้างงาน แต่นาย A และ B ไม่มีความสามารถด้านอื่นเพื่อหางานอื่นต่อไปได้ ทั้งนี้ การทำ Optimization เพื่อเพิ่มโอกาสและลดความเสี่ยง จึงเป็นอีกมุมมองหนึ่งที่สำคัญ

xaxis_5

สุดท้ายนี้ เป็นการควบรวมทั้งสองมุมมองเข้าด้วยกัน เพื่อให้ครอบคลุมทั้งการคำนึงถึงปัจจัยภายใน (จุดแข็ง-จุดอ่อน) และปัจจัยภายนอก (โอกาส-ความเสี่ยง) ซึ่งผมเรียกมันว่า Absolute Optimization

xaxis_6

อ้างอิง: http://www.thanakrit.net/x-axis-theory-2

หมายเลขบันทึก: 599028เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2016 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2016 07:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท