KM วันละคำ : 646. ใช้พลังชี่


ใน KM 3.0 ที่จะดำเนินการในอนาคต ควรใช้พลังชี่ (CI) ให้มากขึ้น และทรงพลังยิ่งขึ้น ทำอย่างไร ต้องช่วยกันหาทางดำเนินการต่อไป ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ใครมีคำแนะนำ หรือประสบการณ์ โปรดแชร์ จะเป็นพระคุณอย่างสูง

KM วันละคำ : 646. ใช้พลังชี่

ในการประชุมโฟกัสกรุ๊ป KM 3.0 in Higher Educaion เช้าวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ ผมเสนอที่ประชุมว่า การเรียนรู้แบบเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Experiential Learning) ต้องมีวิธีการใช้พลังชี่ (CI) ให้ทรงพลังยิ่งขึ้น

ผมมีข้อสังเกตว่า KM ในบริบทไทย ใช้ SECI Model แบบหนักที่ S กับ I หย่อนที่ E กับ C คือเราจัดการ ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ได้ดี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (S - Socialization) ได้ดี และมีการ I – Internalzation เอาความรู้ไปใช้ในกิจการ หรือการปฏิบัติ ได้ดี แต่เราจัดการความรู้แจ้งชัด (Explicit Knowledge) ได้ไม่ดี ดำเนินการ E – Externalize ความรู้ฝังลึกไปเป็นความรู้แจ้งชัด ได้ไม่เก่ง และ C – Combine หรือสังเคราะห์ (synthesize) ความรู้แจ้งชัดที่ได้จากประสบการณ์ เข้ากับความรู้ที่มีอยู่แล้วในโลก ได้ไม่เก่ง หรือเอาใจใส่น้อย

ผมจึงมีความคิดว่า ใน KM 3.0 ที่จะดำเนินการในอนาคต ควรใช้พลังชี่ (CI) ให้มากขึ้น และทรงพลังยิ่งขึ้น ทำอย่างไร ต้องช่วยกันหาทางดำเนินการต่อไป ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ใครมีคำแนะนำ หรือประสบการณ์ โปรดแชร์ จะเป็นพระคุณอย่างสูง

วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 599016เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2016 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2016 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะอาจารย์

วิธีใช้พลัง(ชี)ภายในตน..(เพื่อนคนจีนสอนมา..จะได้ผลรึไม่ต้องลองเอง)...ให้ใช้มือที่ต้องการพลังเหนือบริเวณห่างจากสะดือหนึ่งฝ่ามือสูงประมาณคืบ..แล้วใช้มือข้างที่ว่างอยู่..เคลื่อนไป..ตามจุดอ่อนของร่างกาย..ที่ต้องการ..เพิ่มพลังวางห่างบริเวณนั้น..ประมาณห้านาทีมีระยะห่างประมาณคืบจากบริเวณ...

ผมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัว C - Combine ที่ท่านอาจารย์ขยายความว่า คือ การสังเคราะห์ (synthesize) ความรู้แจ้งชัดที่ได้จากประสบการณ์ เข้ากับความรู้ที่มีอยู่แล้วในโลก ได้ไม่เก่ง หรือเอาใจใส่น้อย ในบริบทที่ตนเองสนใจด้วยการดูแลสวนป่าพรั่งพร้อม โดยพยายามศึกษาหาความรู้ตามแนวทาง Permaculture แล้วนำมาทดลองปฏิบัติ ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของจุดเริ่มต้นและท่ามกลางที่ Bill Mollison และนักเรียนของเขาได้ร่วมกันพัฒนาแนวคิดนี้ขึ้นมาหลังจากที่ได้ทำการวิจัย สอน และเรียนรู้จากการทดลองทำ จนเกิดการพัฒนาความรู้กลายเป็นศาสตร์ของการออกแบบเชิงปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนที่แพร่หลายไปทั่วโลกด้วยพลังของเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท