เรือนจำค่าย (PRISON CAMP)


สภาพทางภูมิศาสตร์ของไทยที่มีลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรม ภูเขาหัวโล้น จำนวนมาก หากได้นำแนวคิดของเรือนจำค่าย (Prison camp) มาให้นักโทษซึ่งในปัจจุบันที่อยู่ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน มาช่วยกันปลูกป่าเศรษฐกิจ หรือ สวนป่า เพื่อคืนสภาพผืนป่าให้กับประเทศ โดยการรับจ้าง หรือ บริการปลูกสวนป่าฟรีในรูปแบบที่เรียกว่า Public service ก็น่าจะเป็นประโยชน์ ............................


เรือนจำค่าย (PRISON CAMP)


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


เรือนจำค่าย Hanmer Springs


เรือนจำค่าย (Prison camp) ที่นำเสนอในบทความนี้ คือ เรือนจำค่าย Hanmer Springs (The prison camp, Hanmer Springs) เมือง Hanmer Springs ในภูมิภาคแคนเทอร์ นิวซีแลนด์ เปิดดำเนินการครั้งแรกในปี 1902 ในเขตพื้นที่ป่า Hanmer Springs มีภารกิจในการใช้แรงงานนักโทษปลูกต้นไม้ หรือ สวนป่า ประเภทไม้ที่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ป่าสน และ หาตลาดจำหน่าย โดยใช้แรงงานนักโทษทำงานครั้งแรก จำนวน ๒๕ คน ลักษณะเรือนจำค่าย มีการก่อสร้างด้วยโครงไม้ และ ผืนหลังคาผ้าใบ ได้รับการออกแบบเป็นแบบน็อคดาวน์ขนาดพอดีกับรถบรรทุก หรือ รถไฟ เพื่อความสะดวกในการขนย้ายค่าย กรณีที่ต้องการย้ายค่ายไปทำโครงการสวนป่าในพื้นที่แห่งใหม่ นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ เตาผิงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น สภาพเรือนจำค่ายโดยทั่วไปไม่มีรั้วสำหรับใช้ป้องกันการหลบหนี แต่ปรากฏว่าไม่มีนักโทษเรือนจำค่าย Hanmer Springs หลบหนีแต่อย่างใด


การขนย้ายเรือนจำค่ายทางรถยนต์


โดยสรุป


การดำเนินงานของเรือนจำค่าย Hanmer Springs นิวซีแลนด์ เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี ที่ผ่านมา เป็นการดำเนินงานภายใต้ แนวคิดระบบเรือนจำแรงงา (Prison Labor System)โดยการใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ ตาม ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายเรือนจำ ( Reduction in immediate costs Theory) โดยการปลูกป่าเศรษฐกิจ หรือ สวนป่า เช่น ไม้สน และ ไม้อื่นๆ ที่เป็นที่นิยมของท้องตลาด เพื่อจำหน่ายหารายได้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายเรือนจำ และ การออกแบบเรือนจำเป็นแบบน็อคดาวน์ หรือ เรือนจำเคลื่อนที่ ขนาดพอดีกับรถบรรทุก หรือ รถไฟ เพื่อความสะดวกในการขนย้ายเรือนจำค่าย กรณีที่ต้องการย้ายค่ายไปทำโครงการสวนป่าในพื้นที่แห่งใหม่ นับเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเมื่อนำมาคิดเชื่อมโยงกับลักษณะทางกายภาพ หรือ สภาพทางภูมิศาสตร์ของไทยเราที่มีลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรม และ เปลี่ยนสภาพเป็นภูเขาหัวโล้นจำนวนมาก หากได้นำแนวคิดของเรือนจำค่าย (Prison camp) มาให้นักโทษซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน มาช่วยกันปลูกป่าเศรษฐกิจ หรือ สวนป่า เพื่อคืนสภาพผืนป่าให้กับประเทศ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรับจ้าง หรือ บริการปลูกสวนป่าฟรีในรูปแบบที่เรียกว่า Public service ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ และ สร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเรือนจำ หรือความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของกระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนของการบังคับโทษจำคุก ให้กับประชาชน ได้อีกแนวทางหนึ่ง


....................



References


ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://christchurchcitylibraries.com/Heritage

/Phot... IMG0004.asp และ

เว็บไซต์ https://cantage.wordpress.com/showcase/hanmer-spri...




ความเห็น (2)

เป็นความคิดที่ดีมากค่ะ แต่การควบคุมดูแลไม่ให้พวกเขาหลบหนีจะทำได้ง่ายหรือไม่ ถ้าต้องเอาเจ้าหน้าที่จำนวนมากมาควบคุมหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมหาศาลแลกกับแรงงานนักโทษจะคุ้มกันหรือไม่

เป็นสิ่งที่น่าคิดนะคะ ทุกวันนี้เห็นเจ้าหน้าที่ทหารออกมาควบคุมสถานการณืต่าง ๆแทบไม่เว้นวันแล้วอดคิดถึงงบประมาณไม่ได้ค่ะ ยกเว้นน้ำท่วมปีนั้นซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

ไม่น่าจะมีปัญหาด้านการควบคุม และ งบประมาณ น่ะครับอาจารย์ เพราะการให้นักโทษออกไปทำงานที่เรือนจำค่าย น่าจะใช้นักโทษใกล้พ้นโทษที่เหลือโทษน้อย ประมาณ ๑ ปี หรือ น้อยกว่านั้น มีความประพฤติดี ผ่านการประเมินความเสี่ยงของคณะกรรมการเรือนจำแล้ว และ งานที่ทำอาจเป็นงานที่มีค่าจ้าง ครับผม ขอบพระคุณมาก น่ะครับ อาจารย์ ผ.ศ. ดร.กัลยา ธรรมพงษา (GD)


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท