ญี่ปุ่นความสำเร็จที่ควรเอาอย่าง - จับตาการเยือนญี่ปุ่นของสมคิดกับการเพิ่มโอกาส SME


ธุรกิจส่งออก สำเร็จได้ รวยเร็ว หาซื้อได้ที่ซีเอ็ดบุคส์ทุกสาขา

---------------------------------

ความคิดเห็นหัวข้อ ญี่ปุ่นความสำเร็จที่ควรเอาอย่าง เสนอไว้ด้านล่างของข่าว มีเนื้อข่าวเกี่ยวข้องเสนอก่อนดังนี้ค่ะ
"อภิรดี" รมว.พาณิชย์ หารือ "ชิโระ ซะโดะชิมะ" ทูตญี่ปุ่น เผยเร่งขยายความร่วมมือการค้าการลงทุน และจับคู่ธุรกิจSMEs
เครดิตข่าว :http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/673106

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเข้าพบของนายชิโระ ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่นประจำประเทศไทยว่า ในการหารือร่วมกับเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นในวันนี้ ทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยเกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย นโยบายเร่งด่วนของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2559 ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจปีหน้าโดยรวมคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีนี้ ส่งผลให้การส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีทิศทางที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากโครงการใหม่ๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน การกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยการเริ่มดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

สำหรับในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการค้าการลงทุน อาทิ การลดขั้นตอนและอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา และการทบทวนกฎหมายการแข่งขันทางการค้าโดยเน้นดำเนินการในแนวทางที่เป็นสากลและการค้ายุคใหม่ เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางการค้าการลงทุนเพิ่มมากขึ้น

ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นได้นำเสนอนโยบายของญี่ปุ่นที่ต้องการเน้นผลักดันประเด็นเศรษฐกิจ 4 เรื่อง ได้แก่ 1) การเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรม 2) การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาบุคลากร 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพสูง และ 4) การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่ง รมว.พาณิชย์ ยินดีที่จะสนับสนุนแนวคิดของเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ เนื่องจากนโยบายเหล่านี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทย

นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือด้านการจับคู่ทางธุรกิจระหว่าง SMEs ของไทยและญี่ปุ่น โดยรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs ไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

รมว.พาณิชย์ กล่าวด้วยว่า ทั้งสองฝ่ายได้หารือเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเยือนญี่ปุ่นของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ระหว่างวันที่ 25-28 พ.ย.58 ซึ่งจะมีการจัดการประชุม High Level Joint Commission (HLJC) และการหารือกับผู้บริหารในรัฐบาลและนักธุรกิจรายสำคัญของญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น (จบข่าว)

จากข่าวนี้ผู้เขียนสนใจประเด็นการจับคู่ทางธุรกิจระหว่าง SMEs ของไทยและญี่ปุ่น ที่มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs ไทย อย่างที่ทราบดีในความสามารถของ SME และผู้ประกอบการญี่ปุ่นโดยทั่วไปนั้นมีความสามารถ และมีประสิทธิภาพในการบริหารความสามารถให้ออกมาตรงหรือเป็นที่ยอมรับของตลาดได้เป็นอย่างดี หากเราจะย้อนหลังไปสัก 25 ปีจะเห็นว่าสินค้าญี่ปุ่นไม่แตกต่างจากสินค้าจากประเทศจีนสักประมาณ ก่อน 10 ปีหลังมานี้ คือมาตรฐานด้านคุณภาพยังไม่ชัดเจนและไม่คงที่ แต่ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดว่าสินค้าญี่ปุ่นในทุกแขนงได้พัฒนาไปในระดับมาตรฐานโลกหมดแล้ว เป็นเจ้าของทฤษฎีมาตรฐานคุณภาพหลายอย่างที่ทั้งอุตสาหกรรมภาคผลิต และภาคบริการทั่วโลกต่างนำเอามาใช้ในการปรับปรุงกิจการของตนเป็นว่า 5ส, Toyota Way (ที่บางองค์กรนำบางส่วนมาใช้คือ LEAN บ้าง หรือ JIT บ้าง) เป็นต้น
ขณะที่ประเทศไทยได้เข้าสู่การที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงนั้น บ้างก็ว่าจะต้องหันมาผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และมาผลิตสินค้าที่เป็น ODM (Original Design Manuafacturing) มีการใช้เทคโนโลยี, Innovation (นวัตรกรรม) ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องเพิ่มมูลค่าในสินค้าของเรา และต้องเป็น Brand หรือ Design ที่เราพัฒนาขึ้นมาไม่ซ้ำใคร เราต้องเลิกเป็นผู้รับจ้างผลิต (OEM) เหมือนในยุคประมาณ 20 ปีที่แล้วดังได้กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนๆ เพราะเรามาไกลจนต้นทุนการผลิตพุ่งขึ้นสูงมากสำหรับการแข่งขันในตลาดนั้น (Mass) ในขณะที่ไทยได้เพิ่มความเชี่ยวชาญในการผลิตมาระยะนานพอสมควรแล้ว ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้มีการเรียนรู้ด้านการตลาดดังนั้น จากนี้เราต้องนำสิ่งต่างๆเหล่านั้นมาประมวลพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของตลาด ซึ่งหมายถึงความยั่งยืนของธุรกิจ ส่วนใน 2 ประเด็นหลังคือ เทคโนโลยี และนวัตรกรรม แท้จริงเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของนวัตรกรรม หลายๆท่านรวมทั้งผู้เขียนเองในอดีตอาจมองว่ามันต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากเพื่อจัดหาสิ่งเหล่านี้มา แต่แท้ที่จริงในส่วนตัวนวัตรกรรมเองมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1) ส่วนที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ต้องใช้วิทยาการในการผลิต ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะในการพัฒนาขึ้นมาเองหรือเพื่อการจัดซื้อมา ขอเรียกส่วนนี้ว่า Hardware ทั้งนี้บางเทคโนโลยีก็สามารถดัดแปลงขึ้นเองภายในองค์กร หากเรามีบุคคลากรที่มีความชำนาญอยู่ก็สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ ก็ต้องพิจารณาว่าเงื่อนไขไหนจะเหมาะกับตนเอง และสิ่งที่เรามีอยู่สามารถจะดัดแปลงเพิ่มประสิทธิภาพได้ก่อนมั้ย 2) นวัตรกรรมที่เป็นกระบวนการ เป็นวิธีการทำงาน เป็นหลัการนโยบาย ซึ่งไม่เกี่ยวกับเครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์ แต่เป็นเครื่องมือในส่วนแนวคิด ส่วนนี้ก็เป็นนวัตรกรรมที่สำคัญที่ขอเรียกว่าเป็นส่วน Software ซึ๋งส่วนนี้เองจะมีเงินลงทุนน้อยมาก หรือไม่มีเลย ที่ว่ามีอยู่บ้างจากคำที่ว่ามีน้อยมากนั้นอาจเป็นส่วนที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ใช้ในการอบรมบ้าง เพื่อให้เรามีแนวคิดที่เป็นระบบ ก่อนที่จะนำมาประมวลมาทำนวัตรกรรมในกระบวนการทำงานต่างๆได้ หรือบางท่านหากเป็นผู้ที่มีความรู้มีประสบการณ์และเป็นผู้ที่สามารถนำมาประมวลออกมาเป็นนวัตกรรมต่างๆด้านกระบวนการได้เลยแล้ว ก็จะเข้าข่ายที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มเป็นตัวเงินนั่นเอง
ซึ่งผู้ประกอบการของญี่ปุ่นนั้นหากจะศึกษากันให้ละเอียดเราจะเห็นว่าแท้ที่จริงเขามีทัศนคติในการที่จะใช้สิ่งที่มีอยู่ให้คุ้มค่าให้เต็มประสิทธิภาพก่อนเสมอ หรือค่อยๆดัดแปลงโดยใช้ต้นทุนต่ำสุด หรือที่มีชื่อเรียกอันเป็นที่คุ้นเคยว่า Kaisen นั่นเองเมื่อ 2-3 วันก่อนผู้เขียนดูสารคดีในช่อง NHK เขาเสนอเรื่องราวของนักกราฟิกดีไซด์หญิงท่านหนึ่งที่ใช้โปรแกรมพื้นฐานของ Microsoftword ในการสร้างสรรค์ผลงาน ไม่ได้ใช้โปรแกรมล้ำๆ อย่างที่ส่วนใหญ่เราจะเห็นวงการการออกแบบเขาพูดถึง Photoshop, 3D หรือ Mac หรืออะไรที่ล้ำๆกว่านี้ที่ผู้เขียนเองไม่ทราบชื่อเรียกแน่ชัดนัก แต่ผลงานของ designer ท่านนั้นมีความละเอียดสวยงามไม่สามารถแยกได้ว่ามาจากเครื่องมือใหม่สุดในยุค หรือเก่าเป็น 10 ปี และในสารคดีมีรายงานอีกว่า SME ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นไม่ได้เปลี่ยนเครื่องมือสื่อสารกันตาม trend หรือยุคสมัยเท่าไหร่หากเขายังสามารถคงประสิทธิภาพการสื่อสารเอาไว้ได้ เช่นในรายงานกล่าวว่า เทปคาสเซทยังคงมีขายที่ญี่ปุ่น การส่งข้อความทางธุรกิจหลายๆบริษัทใช้โปรแกรมเดิมๆอย่าง CC MAIL การส่ง software ให้กันยังคงใช้วิธีถ่ายข้อมูลลงใน cd แล้วนำแผ่นไปส่งทางไปรษณีย์ให้กันแทนที่จะแชร์ file กันบน drop box เป็นต้น (เนื่องจากเครื่องและsoftwareของเขาไม่รองรับ) โปรแกรมต่างๆที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ก็ไม่นิยมที่จะทำการ upgrade หรือเปลี่ยนแปลงใดๆ มักจะเป็นโปรแกรมที่ build in มาในเครื่องเท่านั้น และหากเกิดการเสียหายก็มักจะทำการซ่อมแทนถึงจะมีรุ่นใหม่ๆออกมา หากยังไม่ถึงที่สุดที่ว่าซ่อมไม่ได้แล้วก็จะยังไม่เปลี่ยน ตรงนี้เองที่ผู้เขียนจะชี้ให้เห็นว่าบนพื้นฐานของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้ล้ำยุคเป็นเทคโนโลยีล่าสุดซักเท่าไหร่ในการ in put แต่ out put หรือผลงานของเขาที่ออกมาหล่ะกลับดูโดดเด่น มีความสวยงาม มีประโยชน์ในการใช้สอย เป็นที่พึงพอใจของผู้พบเห็นอย่างมาก มูลค่าเพิ่ม-value added ที่เขาเพิ่มเข้าไป ก็แล้วแต่ว่าเป็นสินค้ากลุ่มไหน ควรจะเพิ่มอย่างไร หากไม่ใช่สินค้าเทคโนโลยีก็ไม่ได้จำเป็นว่าต้องล้ำในด้านเทคโนโลยีหรือลงทุนเป็นตัวเงินที่สูง อย่างสินค้า OTOP ญี่ปุ่นที่เป็นต้นแบบแนวทางการพัฒนา OTOP ของไทยเราเองนั้นกลับไม่ได้มุ่งในการเพิ่ม value ในทางเทคโนโลยี การผลิตหลายอย่างยังใช้มือเช่น ตัวอย่างการผลิตเต้าหู้จากน้ำพุร้อนธรรมชาติที่มีมาเป็นร้อยๆปี แต่ยังใช้วิธีการเดิม ทั้งนี้ในเรื่อง Packaging และการสื่อสารการตลาดต่างหากที่จะต้องมีการปรับกระบวนการซึ่งญี่ปุ่นมีความโดดเด่นที่ทั่วโลกต่างให้การยอมรับ

(ภาพแสดงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้ mobile phone - backing case ธรรมดาที่มาพร้อมกับซอง สินค้าสำหรับให้เป็นของฝากที่น่าประทับใจยิ่ง โดยใช้รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสวยงาม ประณีต เพิ่มมูลค่าของความภูมิใจของผู้ให้และผู้รับในทุกโอกาส)

หากรองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สามารถดึงเอาจุดแข็งต่างๆเหล่านี้จาก SME ญี่ปุ่นมาช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ SME ไทยได้ในการเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี หรือเราฐานะผู้ประกอบการเองก็สามารถทำการเรียนรู้จากสิ่งต่างๆที่เป็นสินค้าญี่ปุ่นเองในท้องตลาด นำมาปรับให้สินค้าเรามีรูปลักษณ์ที่เพิ่มมูลค่าทันสมัยแต่คงเอกลักษณ์ท้องถิ่นด้านคุณประโยชน์ไว้ หรือเพิ่มประโยชน์ที่มากขึ้นได้ ใช้ได้อย่างสะดวกสบาย ตัวอย่างหนึ่งของ SME ไทยที่น่ายกย่องที่อยากกล่าวถึงคือ มะพร้าวน้ำหอมที่มีจุกเปิดแบบขวดเครื่องดื่มสมัยใหม่ หลายๆท่านน่าจะนึกออก นี่เป็นตัวอย่างที่ดีมากอย่างหนึ่งที่แต่ละท่านน่าจะลองกลับไปดูสินค้าของเราว่า เราสามารถจะเพิ่มมูลค่าเข้าไปได้อย่างไร หวังว่าทุกท่านจะประสบความสำเร็จในตลาดการค้าโลกด้วยสินค้าที่มีอัตลักษณ์ แต่เปี่ยมไปด้วยมูลค่าภูมิปัญญาท่านเอง ที่โด่ดเด่นและเป็นที่ประทับใจของตลาดโดยทั่วกัน และอย่าลืมที่สำคัญ จดสิทธิบัตรด้วยนะคะ


อยากรู้จักญี่ปุ่นมากขึ้น หรือเตรียมตัวเที่ยวญี่ปุ่น คลิก

หมายเลขบันทึก: 597638เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2015 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2019 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท