ส่งออกรูปแแบบการค้าออนไลน์



จากการที่ปัจจุบันเราจะเห็นว่า มีผู้ที่จัดอบรมการค้าออนไลน์ไปยังตลาดต่างประเทศอยู่ดาดดื่น แต่ละรายดูเหมือนจะรับรองการรันตีความร่ำรวย หากทำการค้าผ่านช่องทางเหล่านี้ โดยที่ส่วนใหญ่จะล่อด้วยการอบรมฟรี หรือเก็บเบื้องต้นในราคาถูกก่อน แล้วจะต้องไปต่อด้วยค่าอบรมที่แพงขึ้นอย่างมาก หากถึงจะมีค่าอบรมที่แพงแต่แรงจูงใจที่ว่าทำแล้วรวยแน่ และข่าวสารการเติบโตในอัตราสูง อย่างต่อเนื่อง ของตลาดออนไลน์ จึงทำให้ผู้เขียนเอง และอีกหลายท่านอาจเคยเป็นหนึ่งในผู้ที่สนใจมาแล้วบ้าง (?)

ดังนั้นรูปแบบของการค้าระหว่างประเทศที่ต้องการกล่าวถึงด้วย และกำลังเป็นอีกช่องทางที่ได้รับความนิยม ด้วยพฤติกรรม life style หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ก็คือการค้าออนไลน์ที่มีมูลค่ามากขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปีนั่นเอง นอกจากปริมาณที่เพิ่มขึ้นของแต่ละตลาดเอง ยังมีการเจริญเติบโตในแง่พื้นที่เข้าไปในตลาดใหม่ๆ พร้อมๆกับการขยายการพัฒนาด้านโครงข่ายอินเทอร์เนต จะเห็นว่าเป็นอัตราการเติบโตที่สวนทางกับการส่งออกในรูปแบบปกติที่เป็น Wholesales ที่ปัจจุบันตัวเลขจากกรมเศรฐกิจการค้าบอกว่ายอดส่งออกของไทย ติดลบอยู่ประมาณ 5% (ตค 58)

ทั้งนี้ส่วนใหญ่การค้าออนไลน์จะเป็นรูปแบบการค้าปลีก ซึ่งหลายท่านอาจเคยเห็นที่เขาเรียกว่าเป็น B to C (Business to Consumer) คือการขายตรงไปที่ตัวผู้บริโภค หากเราอยู่ในรูปแบบองค์กรหรือบริษัท ส่วนใหญ่ที่เข้าข่ายนี้จะเป็นการค้าออนไลน์ในประเทศมากว่าการส่งออก เช่น Central Online, Lazada เป็นต้น แต่ที่ขายผ่านออนไลน์ไปต่างประเทศที่เราจะพูดถึงคือในแง่การส่งสินค้าออกไปยังผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ ผู้ขายในไทยส่วนใหญ่ยังเป็นบุคคลธรรมดามากว่า ดังนั้นที่ถูกต้องสำหรับคำจำกัดความในส่วนนี้จึงน่าจะเป็น S to C (Seller to Consumer) โดยใช้พื้นที่ขายหรือหน้าร้านออนไลน์อยู่ในต่างประเทศ ที่ท่านอาจคุ้นเคยหรือเคยซื้อของกับเขาแล้วบ้างก็เช่น Amazon, หรือ E Bay ของสหรัฐอเมริกา ประเทศที่นับว่ามีการพัฒนาการค้าออนไลน์เป็นประเทศแรกๆ และมีขนาดตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ มีมูลค่าการค้ามาก มีอีกตลาดที่อยากจะกล่าวถึงของเอเชียคือ Alibaba ซึ่งแรกๆ เขาจะมุ่งเน้นในการขาย Wholesales หรือขายส่ง โดยช่วงนั้นได้โโปรโมทในงานแสดงสินค้าที่ Hong Kong และงานใหญ่ๆในประเทศจีนเช่น Canton Fair แต่หลังจากพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เนตเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น การขยายการค้าที่เป็นค้าปลีกก็ตามมาคู่กัน ในปัจจุบัน ผู้ก่อตั้ง Alibaba อย่าง Jack Ma อดีตครูสอนภาษาอังกฤษจึงเป็นผู้โด่งดัง และเป็นแรงบันดาลใจของผู้ค้าออนไลน์ยุคใหม่ ทีนี้มาดูกันว่าหากท่านต้องการเป็นผู้ค้าผ่านช่องทางออนไลน์บ้างหล่ะ ท่านจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการที่ต้องจ่ายค่าอบรมการค้าออนไลน์อยู่ดาดดื่นในราคาแพง มาดูขั้นตอนการเข้าเป็นผู้ค้ากับตลาดเหล่านั้นบ้าง ขั้นตอนก็ดังนี้…

  1. การที่จะเป็นผู้ค้าใน Amazon และ E Bay ผู้ค้าจำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกซึ่งใน form ของระบบจะมีให้กรอกว่าต้องการสมัครเพื่อเป็นผู้ซื้อของ หรือผู้ขายของ และอีกส่วนที่สำคัญคือต้องกรอกเครื่องมือการชำระเงิน หรือการรับเงินในกรณีขายสินค้า ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นรอบการรับเงินในส่วนที่ขายได้หักค่าธรรมเนียมแล้วอยู่ระหว่าง 15-30 วัน ค่าธรรมเนียมก็จะแตกต่างกันไป อยู่ราวๆ 10-15% ท่านจะสามารถดูรายละเอียดอัตราที่แท้จริงได้ในเวปไซต์ของแต่ละตลาด ซึ่งผู้สมัครสามารถใช้เครื่องมือทางการเงินเป็น Credit card, บัญชีธนาคาร. Paypal หรือ Debit card ข้อมูลทั้งหมดที่เขาให้กรอกต้องเป็นจริง เพราะจะมีการตรวจสอบก่อนการอนุมัต ทีนี้มาว่ากันในกรณีที่เราต้องการเป็นผู้ขาย การสมัครเป็นผู้ขายจะเริ่มจากอัตราที่ไม่มีค่าทำเนียมการเปิดร้าน คือเรียกว่าเข้าไปขายฟรี แต่จะมีข้อจำกัดเช่นสามารถขายสินค้าได้จำกัดชนิด (SKU) หรือภายในระยะเวลาจำกัดเช่น 3 เดือน หลังจากนั้นจะมี Package ให้เลือกคือผู้ค้าระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ซึ่งค่าทำเนียมก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว รวมทั้งสิทธิต่างๆก็มากขึ้นตามระดับเช่น จำนวนชนิดของสินค้า เป็นต้น ระดับต้นเองจะเริ่มที่หลักไม่กี่ร้อยเหรียญ ซึ่งรายละเอียดจะระบุในเงื่อนไขของแต่ละเวปไซต์เช่นกัน
  2. หลังจากสมัครเป็นผู้ค้าเรียบร้อยแล้ว เราก็เริ่มลงรายการสินค้าที่ต้องการขาย เช่นลงรูปสินค้า (ซึ่งรูปสินค้านี้จะมีข้อจำกัดที่ทางเวปไซต์จะแจ้งไว้ว่าจะมีขนาดเท่าไหร่ พื้นหรือ Back ground ต้องเป็นสีอะไร -ส่วนใหญ่จะกำหนดสีขาวเป็นต้น) ลงข้อความอธิบายสินค้า ราคา และเงื่อนไขการส่งว่าฟรีหรือไม่ อย่างไร (เช่นฟรีกรณีน้ำหนักไม่เกิน…. โดยการส่งทางพัสดุธรรมดา หากส่ง EMS จะแพงขึ้น…. เป็นต้น) ซึ่งเงื่อนไขการค้าเหล่านี้จะต้องลงไว้อย่างชัดเจน
  3. เราต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการค้าเหล่านั้นตามระบุในข้อ 2 ด้วย เพราะหากมีลูกค้าร้องเรียนกรณีเราผิดเงื่อนไขต่างๆแล้วเราผิดจริง อนาคตการเป็นผู้ค้าก็จะปิดลง ไม่ว่ารักษาระยะเวลาการส่งของ การรับรองความพึงพอใจในสินค้า และอัตราค่าส่งของที่ได้ระบุไว้ สำหรับการจัดส่งของไปต่างประเทศนั้น เราต้องให้มั่นใจว่าสินค้าเมื่อไปถึงมือผู้บริโภคแล้วจะไม่เสียหาย ซึ่งตรงนี้เราเองก็ต้องคำนึงด้วยว่าต้นทุนของหีบห่อนั้นจะอยู่ในงบต้นสินทุนสินค้าโดยที่กำไรเราก็ยังไม่หดหายในขณะเดียวกันด้วย หรือเราต้องมีการเช็คก่อนล่วงหน้านั่นเอง ก่อนที่จะเข้าไป LIST รายการสินค้าเพื่อขายว่าหีบห่อมาตรฐานเราจะมีต้นทุนเท่าไหร่ ต้นทุนสินค้าเท่าไหร่ค่าดำเนินการอื่นๆเท่าไหร่ ก่อนที่จะเป็นราคาขายที่จะทำการระบุลงไปนั่นเอง

ที่สำคัญที่สุดที่อยากย้ำก็คือการโต้ตอบกับลูกค้าสำหรับไม่ว่าจะ online หรือ off line ก็ตามผู้ขายต้องมีความรวดเร็ว ถูกต้อง อาจมีกรณีที่เราอาจโต้ตอบด้วยความคลาดเคลื่อนไปบ้าง ก็ต้องมีการกล่าวขอโทษและแก้ไขข้อมูลอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ท่านจะต้องมีทักษะในภาษาอังกฤษระดับหนึ่ง ที่พูดว่าระดับหนึ่งนั้นคืออาจไม่ถึงกับให้ถูกต้องตาม Tense หรือ Gramma แต่ต้องอย่างน้อยได้ความหมาย เพราะปัจจุบันมีผู้ค้าหลายรายที่ไม่ได้ชำนาญภาษามากแต่เรียกว่าผลงานเป็นที่น่าพอใจก็มีอยู่มากเช่นกัน แต่ทั้งนี้ที่ปรึกษาเองไม่แนะนำให้ใช้ Google Translate เพราะเครื่องมือนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก มีความเสี่ยงเรื่องการผิดความหมายที่แท้จริงอยู่มาก ส่วนการเป็นผู้ส่งออกในช่องทางเดิมๆที่ต้องพบปะเจรจาเป็นแบบ B to B (Business to Business) หรือในฐานะผู้ส่งออกปกติที่เป็น Wholesales ที่จะต้องมีความชำนาญด้านภาษาในระดับดี เพราะเงื่อนไขการค้า กระบวนการการผลิต กระบวนการค้าที่ยาวนานกว่าจะสรุป Order ได้ กว่าจะส่งของได้ จะต้องมีการสื่อสารกันเรียกว่าเกือบทุกวัน ไม่เหมือนการค้าออนไลน์ ที่ปริมาณการสื่อสารน้อยกว่า บางที่ก็ไม่ต้องสื่อสารหากสินค้ามีคำอธิบายชัดเจน ลูกค้าก็สามารถเลือกสินค้า ทำการชำระเงิน แล้วรอรับสินค้าได้เลย

และข้อดีอีกอย่างสำหรับผู้ค้าออนไลน์คือเราอาจเป็นแค่ผู้ซื้อมาขายไป (Trader) ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ผลิต ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ค้าในรูปแแบนี้ก็อยู่ในรูปแบบนี้คือเป็น trader กัน มันอยู่ที่ว่าการเลือกสินค้าให้ตรงใจกับตลาดจะทำอย่างไร ก็เป็นหน้าที่ที่ผู้ค้าต้องมีการสำรวจตลาดกันบ้างว่าสินค้าใดเป็นที่นิยม ราคาที่ขายอยู่ในช่วงไหนถึงจะขายได้ ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ต่างกับผู้ค้า off line ที่ต้องทำการสำรวจเบื้องต้นเช่นกัน และที่สำคัญต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบในคุณภาพของสินค้าต่อผู้บริโภค จะต่างจากการสำรวจของผู้ส่งออกปกติก็แหล่งที่จะต้องสำรวจ ในแง่ออนไลน์นั้นเครื่องมือ หรือแหล่งที่จะสำรวจจะมีอยู่เยอะและเข้าถึงได้ง่าย หลักๆก็เช็คในอินเทอร์เนตนั่นเองที่จะมีผู้ให้บริการข้อมูลอยู่หลายๆที่ ผู้ค้าก็ต้องค่อยๆศึกษาว่าจะมีไหนบ้าง แล้วในระหว่างการเป็นผู้ค้าก็ต้องมาการปรับตัวไปเรื่อยๆกับข้อมูลเหล่านั้น ในด้านการหาสินค้าไปลงขายให้ตรงความต้องการของตลาด ให้ได้ราคาที่ใช่ หรือหากลุ่มเป้าหมายให้เจอ กรณีหลังหมายความว่าอาจเป็นสินค้า Niche ก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็น Mass หรือกลุ่มที่เป็นที่นิยม เพราะหากลุ่มเป้าหมายเจอแล้ว ขณะที่ Supply ในตลาดนั้นเองมีน้อยโอกาสของเราย่อมมากได้นั่นเอง

ดังนั้นต่อคำถามที่ว่าท่านจำเป็นหรือไม่ที่ต้องจ่ายค่าอบรมราคาแพงๆในเบื้องต้นเลย กับผู้ที่ทำการเปิดอบรมที่โฆษณากันทางอินเทอร์เนตในการที่จะเป็นผู้ค้าออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จนั้น ท่านต้องพิจารณาจากพื้นฐานตนเองก่อน เบื้องต้นของการประเมินตัวเอง อาจเริ่มจากคำถามเหล่านี้…

  1. ท่านชำนาญในอินเทอร์เนตแค่ไหน เช่นเล่น social ประจำ, search ข้อมูลประจำ, เคยซื้อของออนไลน์, มี internet banking คุ้นเคยกับการทำธุรกรรมออนไลน์ (Internet Skill)
  2. ท่านรับผิดชอบในการสื่อสารกับลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน ท่านใส่ใจที่จะตอบทุกคำถาม ด้วยความรวดเร็วหรือไม่ เคยเห็นผู้ค้าหลายรายไม่ใส่ใจในการตอบคำถามของลูกค้า เห็นจากปริมาณคำถามต่างๆค้างในเวปบอร์ดเป็นเวลานาน เพราะบางคำถามหากท่านใส่ใจตอบ อาจมีผู้บริโภคอีกหลายรายมีคำถามเดียวกัน และมันเป็นมารยาทพื้นฐาน และเป็นความใส่ใจที่ผู้ค้าต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าเสมอ (Customer Oriented)
  3. ความสามารถในการหาสินค้าคุณภาพดี ต้นทุนต่ำ คุณภาพดีจะกลายเป็นความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อเราในระยะยาว ต้นทุนต่ำจะเป็นความสามารถในการแข่งขัน และเป็นกำไรที่ยั่งยืน (Sourcing skill)
  4. ความสามารถในการทำ Content หรือการลงรายละเอียดสินค้าให้ดึงดูดได้ เพื่อที่จะสร้างการเข้าชม (Traffic) และสามารถจะ convert หรือเปลี่ยนลูกค้าที่สนใจ เป็นผู้ซื้อได้ (turn suspect to be prospect, then to close the deal) ตรงนี้อาจต้องอาศัยทักษะทางด้านการตลาด หากท่านไม่ได้เรียนการตลาดมาโดยตรงหล่ะ ท่านก็ต้องเป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง จากการสังเกตตัวอย่างต่างๆทีมีอยู่ในท้องตลาดด้วย ซึ่งการอบรมต่อยอดในส่วนนี้เองอาจมีประโยชน์อยู่บ้างหากท่านไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน

หลังการตอบคำถามเหล่านี้ ท่านก็จะสามารถประเมิน และตอบตนเองได้ว่าหากต้องการเป็นผู้ค้าออนไลน์จริงๆ ท่านจำเป็นต้องจ่ายค่าเรียน ค่าอบรมเพิ่มหรือไม่นั่นเอง และหากพื้นฐานท่านห่างมากกับการที่จะเป็นผู้ค้าออนไลน์ และมีความจำเป็นต้องจ่ายค่าเรียนค่าอบรมจริงๆแล้ว ขอแนะนำให้ท่านเข้าอบรมฟรีก่อน ซึ่งจะมีอยู่หลายๆที่ แล้วเริ่มฝึกฝนตัวเองไปด้วยอาจเริ่มจากการค้าออนไลน์ในประเทศ ที่มีทั้งร้านค้าฟรี และที่อัตรารายปีไม่แพงเหมือนของต่างประเทศเช่น เทพช้อบ ตลาดดอทคอม เป็นต้น พอเริ่มคุ้นเคยกับระบบการค้าออนไลน์ในประเทศ แล้วค่อยขยับออกไปต่างประเทศ ด้วยวิธีนี้ท่านก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าอบรมแพงๆ เพราะถือว่าท่านเรียนรู้ฝึกฝนตนเองอยู่เรื่อยๆ ซึ่งผู้ให้การอบรมอยู่เหล่านั้นก็ผ่านวิธีการ learning by doing นี้มาเช่นกัน จนพวกเขาชำนาญ สามารถนำมาเปิดสอนได้ ซึ่งการเรียนรู้ด้วยตนเองไม่ใช่สิ่งที่เกินความสามารถแต่อย่างใด มีทั้งผู้ที่ post ไว้บ้างใน Youtube

สุดท้ายการทำกิจการงานใดๆ ก็ขึ้นอยู่ที่ความตั้งใจจริง ความมุ่งมั่นที่จะศึกษา ฝึกฝน การช่างสังเกตด้วยกันทั้งนั้น รวมทั้งหมั่นแสวงหาข้อมูลและความรู้ที่ปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ง่าย สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เรามีความรู้ ความชำนาญมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงจะต้องจ่ายเงินเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม กับแหล่งอบรมโดยตรง ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายในปริมาณมากนั่นเอง

หวังว่าผู้เริ่มต้นใหม่จะได้แนวทางบ้างไม่มากก็น้อย ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านประสบความสำเร็จไม่ว่าท่านอยากจะเป็นผู้ค้า online หรือ off line และขอให้มีความสุขในวันจันทร์ วันแรกของอาทิตย์นี้ นะคะ


อยากเป็นเถ้าแก่ขายของออนไลน์ คลิกที่นี่

หมายเลขบันทึก: 597616เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2015 06:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2015 07:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท