ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้อย่างไรเด็กจึงจะได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน


ผมได้ไปเยี่ยมติดตามการเตรียมการและดำเนินงานตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่เขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนนำร่องมาได้ 1 สัปดาห์ พบความจริงว่าทั้งเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งมี smart trainer เป็นกำลังสำคัญในการนิเทศ ช่วยเหลือเป็นกำลังใจอย่างใกล้ชิดให้โรงเรียน และโรงเรียนนำร่องทุกโรงเรียนต่างทุ่มเทหากลวิธีสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่พร้อมทั้งร่วมกันวางแผน set program ให้สอดคล้องกับบริบทของตนและดำเนินการกันอย่างกระตือรือล้น แม้เพิ่งเริ่มเปิดภาคเรียนมาไม่นานแต่ก็เห็นความก้าวหน้าปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามผมก็ยังมองเห็นบางจุดที่อยากนำมาแลกเปลี่ยนกัน ณ ที่นี้ เพื่ออาจเป็นข้อคิดให้เขตและโรงเรียนนำไปคิดพิจารณาให้เกิดความลุ่มลึกในการดำเนินงานมากขึ้นก็ได้ กล่าวคือ สภาพที่ปรากฏซึ่งโรงเรียนพยายามเชื่อมโยงโครงการและกิจกรรมที่ตนเองทำมาตลอดเข้ากับเรื่องนี้นั้นนับเป็นเรื่องดี แต่ผมเห็นว่าโรงเรียนยังขาดการเชื่อมโยงที่บูรณาการอย่างแยบยล ยังเห็นการจัดกิจกรรมที่เลือกตามเมนูที่ตนเองคุ้นชินมาset program อย่างเป็นท่อนๆให้ครบถ้วนตามโครงสร้างที่นโบายกำหนด และสอนตามแบบที่เคยสอน ซึ่งแม้กิจกรรมดังกล่าวจะบ่งบอกว่าช่วยพัฒนา 4H ก็ตาม แต่ผมไม่แน่ใจว่าจะบรรลุในขั้นปฏิบัติการจริงหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมพับกระดาษ ทำขนม นวดแผนไทย อนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม หรืออื่นๆที่ผมเห็น และซักถามเด็ก ยังเป็นการทำตามแบบหรือเล่นตามบทละคร จบแล้วก็จบเลย แม้เด็กจะสนุกที่ได้เล่น ได้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียน แต่ยังขาดการเชื่อมโยงความรู้ในสาระพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งขาดการศึกษาค้นคว้าหาความรู้นำมาใช้ในการทำกิจกรรมหรือทำโครงงานอย่างแท้จริง และยังเห็นจุดอ่อนในกระบวนการสร้างความรู้ของเด็ก อีกอย่างหนึ่งคือการสะท้อนความรู้ ให้เกิดความแตกฉานมากขึ้น รวมทั้งการกระตุ้นด้วยคำถามจากครูและนักเรียนด้วยกันให้เกิดการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์มากขึ้นด้วย

อีกประการหนึ่งผมเห็นว่าหากโรงเรียนใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นเป็นแกนนำสำคัญร่วมด้วย เพราะครูที่ปรึกษาจะใกล้ชิดรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลเหมือนหมอที่รู้อาการโรคของคนไข้เป็นรายคนก็จะสามารถช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมให้เขาได้รับการพัฒนาตามพหุปัญญาได้มากขึ้น และเป็นการสนับสนุนให้ครูมีจิตวิญญาณความเป็นครูเพิ่มขึ้นด้วยโดยเฉพาะเรื่องที่หลายฝ่ายกลัวกันว่านักเรียนจะด้อยด้านวิชาการก็จะสามารถสร้างเมนูกิจกรรมช่วยเหลือเขาตามความต้องการจำเป็นได้อย่างใกล้ชิดด้วย

หากทุกคนมีความเชื่อว่า นักเรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ และพยายามจัดกิจกรรมกระตุ้นสนับสนุนส่งเสริมให้เขาได้รับการพัฒนาก้าวหน้าในทุกๆด้านตามพหุปัญญาที่เขามีแวว โดยให้ความสำคัญที่กระบวนการพัฒนามากกว่าผลผลิตที่เกิดขึ้น ก็คงจะทำให้นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้เกิดขึ้นในทุกอณูของการเรียนการสอนตั้งแต่ภาคเช้าในสาระพื้นฐานแล้วเด็กจะแตกฉานในการทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมต่างๆในภาคบ่ายที่สนุกสนานและพัฒนา 4H ได้ย่างครบถ้วนอย่างบูรณาการด้วย

หมายเลขบันทึก: 597578เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2015 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2015 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

It is early days. But already some useful observations arise.

It is a challenge to share this learning from experience with other schools. How do we do it -- in the same style of "less instruction time, more learning time"?

บรรยากาศเหมาะกับการกลับมากระตุ้นการจัดการความรู้ในวงการศึกษากันอีกรอบนะคะ หัวปลาที่สำคัญคือเรื่องนี้เลยค่ะ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"

เอามาเพิ่มให้ครับ

ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้เกษตรพอเพียง

https://www.gotoknow.org/posts/597661

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท