การคำนวนราคาสินค้าส่งออก คิดอย่างไร?


ตั้งราคาขายเพื่อการส่งออก ทำอย่างไร

สำหรับการค้าระหว่างประเทศแล้ว นอกจากจะต้องซื้อขายเป็นเงินตราต่างประเทศที่ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายใหม่ๆ ที่ยังไม่มีประสบการณ์นักงุนงงอยู่บ้างว่าจะต้อง บวก ลบ คูณ หาร อย่างไร เพราะอัตราการแลกเปลี่ยนไม่คงที่ เราจะทำอย่างไรเพื่อให้สุดท้ายแล้วการได้รับเงินบาทเข้ามาได้เท่ากับที่เรา "คาดหวัง" ซึ่งก็หรืออัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เราคำนวนราคานั่นเอง ยังมีปัจจัยอื่นๆเพิ่มเข้ามาตัวตัวแปรเพิ่มเติมนอกจากปัจจัยต้นทุนหลักที่คล้ายกันของการค้าในประเทศ เช่น ราคาสินค้าเมื่อจบการผลิต ราคาบรรจุภัณฑ์ ราคาขนส่ง ราคาการตลาด ราคาค่าโสหุ้ยหน้าร้าน หลังจากนั้นก็กำไรของเราเอง เป็นต้น แต่กระบวนการของการค้าระหว่างประเทศไม่ได้จบลงแค่นั้น กระบวนการต่างๆที่ตามมามีอะไร มีต้นทุน อย่างไร ตรงนี้ที่จะเป็นปัญหาที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นว่า ทำให้เกิดการงุนงงขึ้นได้ว่า เราได้บวกค่าใช้จ่ายไปครบถ้วนมั้ย บวกไปนั้นมากเกินไป น้อยเกินไปครอบคลุมค่าใช้จ่ายดีแล้วหรือยัง และที่สำคัญอื่นใดคือ แล้วราคานี้จะขายได้มั้ย เป็นราคาที่ใช่แล้วหรือยัง....

ทีนี้ลองมาทบทวนกันว่าต้นทุนอะไรบ้างที่เราต้องบวกเข้าไป...

  1. มูลค่าสินค้าหลังผลิต - Finished goods
  2. ค่าบรรจุภัณฑ์ - Packaging
  3. ค่าบริหารจัดการหว่างการผลิต - Production administrative cost
  4. ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด - Marketing cost
  5. ค่าการดำเนินพิธีการศุลการกรเพื่อการส่งออก - Customs processing fee
  6. ค่าดำเนินการในการ Load สินค้าเช่น การจองเรือ ค่าขนส่งระหว่างโรงงานจนสิ้นสุดการโหลดสินค้า เป็นต้น - Shipment processing fee
  7. ค่าทำเนียมในการออกเอกสารอนุญาติพิเศษเฉพาะสินค้ารายการนั้นๆ - Certificate or required documents cost
  8. กำไรของผู้ประกอบการ - Margin

แน่นอนที่สุดว่าต้นทุนของสินค้าแต่ละอย่าง และของผู้ประกอบการแต่ละรายจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกันไป หรือสินค้าเดียวกันแต่ต่างผู้ประกอการ ต่างวิธีการผลิตก็จะแตกต่างกันด้วย ซึ่งจะเหมือนกันกับการค้าในประเทศ ดังนั้นรายการด้านบนเป็นเพียงตัวอย่างที่ผู้ประกอบการต้องไปหาค่าใช้จ่ายของตนเอง ว่าจริงๆแล้วตนเองมีรายการใดอีกบ้าง หรือไม่ได้มีรายการใดใน list ด้านบนนี้ ยกตัวอย่างเช่น รายการค่าทำเนียมเอกสารพิเศษเฉพาะรายการสินค้า อย่างการส่งสินค้าทั่วไปหากได้รับสิทธิพิเศษอัตราภาษีนำเข้า "0%" ก็ต้องมีเอกสารรับรองถิ่นกำเนิด หรือ Form A บวกกับเอกสารที่ประเทศปลายทางได้มีข้อกำหนดไว้เช่น หากเป็นสินค้าเครื่องประดับโลหะเงิน ผู้ประกอบการต้องส่งสินค้าตรวจสอบปริมาณนิเกิ้ลว่ามีสัดส่วนไม่เกินมาตรฐาน ตามที่ได้กล่าวไว้ในห้วข้อเรื่องการเริ่มต้น หนึ่งในความรู้ที่เราต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ท่านทราบหรือไม่ว่าสินค้าของเราที่ต้องหารส่งไปประเทศนั้น ทางปลายทางเขามีมาตรฐานเช่นไร ซึ่งก็คือประเด็นนี้ หากเราไม่ทราบว่าประเทศปลายทางเขามีข้อกำหนดตรงนี้ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จะไม่ได้ถูกบวกเข้าไป กลายเป็นว่าราคาที่เราเสนอไปนั้นทำให้ตัวเองกำไรน้อยลง หรือถึงขั้นขาดทุนได้ หากไม่ละเอียดละครบถ้วน ที่บอกว่าค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการอาจไม่เหมือนกัน สำหรับตัวอย่างในกรณีเดียวกันเช่นสินค้าเครื่องประดับเงินเหมือนกันในข้อกำหนดด้านปริมาณสารนิเกิ้ลเหมือนกัน แต่หากโรงงานผู้ผลิตได้หนังสือรับรองจากผู้ขายวัตถุดิบรายหนึ่ง ที่เป็นที่ยอมรับว่าวัตถุดิบจากเขาได้ผ่านการตรวจสอบได้ตามมาตรฐานแล้ว และลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวผู้ขายวัตถุดิบ หากเห็นแค่หนังสือรับรองจากคู่ค้ารายนั้นว่าโรงงานนี้ได้สั่งวัตถุดิบมาจากเขา โรงงานก็ไม่ต้องส่งสินค้าตนเองไปตรวจสอบอีกเป็นต้น ซึ่งตรงนี้จะเป็นข้อยกเว้นแล้วแต่กรณี แล้วแต่การตกลงเฉพาะราย และแล้วแต่ความยืดหยุ่นของกฏหมายของทั้งประเทศต้นทาง และปลายทางซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการต้องศึกษาให้ละเอียด เพื่อไม่ให้ตกหล่น จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องด้านเอกสาร และด้านการคำนวนต้นทุนด้วยนั้นเอง ที่ปรึกษาทีดีหรือสถานที่ในการตรวจสอบในประเทศคือกรมศุลกากร สำหรับประเทศปลายทางก็คือตัวลูกค้าผู้เราเจรจาค้าขายด้วยนี่เอง เพราะเขาจะต้องเป็นผู้ทราบรายละเอียดว่าเอกสารประกอบการส่งออกนั้นมีอะไรบ้าง เขาถึงจะนำเอกสารชุดเดียวกันนี้ไปเคลียสินค้าขาเข้ากับศุลการกรประเทศของเข้าได้ เราจึงต้องเป็นผู้ที่ต้องระเอียดระหว่างการเจรจานั่นเอง ซึ่งในหัวข้อการเจรจาการค้าก็จะได้กล่าวแยกออกไปโดยเฉพาะอีกทีค่ะ

กลับมาที่หัวข้อการตั้งราคาขายอย่างไร ขอย้อนไปที่เรื่องอัตราการแลกเปลี่ยนที่ไม่คงที่ของสกลุลเงินที่ใช้ในการซื้อขาย อัตราที่นิยมใช้สกุลหนึ่งก็คือ ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากอัตราการแลกเปลี่ยนจะเป็นไปตามกลไกของตลาดที่การขึ้น และลงอยู่เสมอ ศาสตร์การคำนวนราคาต้องอาศัยประสบการณ์ ความรอบคอบบวกกับเทคนิคอื่นๆ เพื่อส่งผลในท้ายที่สุดเป็นการที่ได้รับเงินบาทเข้ามาในปริมาณที่ไม่น้อยกว่าการคาดหวัง "การคาดหวัง" ก็คืออัตราที่เราใช้คำนวนแปลงราคาสินค้าจากเงินบาทไปเป็นสกุลเงินที่ใช้ค้าขายนั่นเอง แน่นอนที่สุดว่าในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินที่ใช้ เราจะเกิดผลประโยชน์ขึ้นทันที ดังปรากฏการณ์ต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในปี 2540 ในขณะที่ธุรกิจการเงินล้มละลาย ต้องปิดกิจการ พนักงานโดนลอยแพ มีศัพท์ใหม่เกิดขึ้นคือ "คนเคยรวย" มีรูปแบบการค้าใหม่เกิดขึ้นหากท่านจำได้นั่นคือการเปิดท้ายขายของ ของคนกลุ่มที่โดนผลกระทบในทางลบนี้เนื่องจากสถาบันการเงินเหล่านี้มีเงินกู้ต่างประเทศ เมื่อวันที่ทำการกู้อัตราอยู่ที่ 25 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แต่พอค่าเงินลอยตัวค่าเงินไหลไป ไหลไปจนแตะ 58 บาท จากที่มีหนี้ 25 บาท มันกลายเป็น 58 บาททันทีคนกลุ่มนี้จึงกลายเป็นคนเคยรวย และฝั่งตรงกันข้ามที่ได้รับผลประโยชน์ แต่ข่าวดีมักไม่เป็นที่สนในหรือจดจำของคนเท่าไหร่ คือกลุ่มผู้ส่งสินค้าออกนี่เอง ขณะที่เกิดกลุ่มคนเคยรวย ก็เกิดกลุ่มเศรษฐีใหม่ขึ้นในท่ามกลางหมู่คนที่ทำการค้าระหว่าประเทศจู่ๆ เงิน 25 บาท กลายเป็น 58 บาท หลายโรงงานทำการปลดหนี้จากการลงทุนเครื่องจักรได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงวัตถุดิบจากต่างปะเทศน้อย มีเงินจ่ายโบนัสพนักงานสูงกว่าปกติ อย่างกิจการที่ไม่พึ่งวัตถุดิบนำเข้าเลย วิกฤตครั้งนั้นส่งผลกระทบไปในหลายประเทศ แต่เมื่อใดที่เงินบาทแข็งตัวเลยจุดของอัตรา "คาดหวัง" เมื่อนั้นก็จะทำให้เกิดเหตุการณ์ตรงกันข้ามที่เป็นผลร้าย อันไม่เป็นที่ปราถนาทันทีต่อธุรกิจส่งออกได้เหมือนกัน

แล้วอะไรที่เราต้องคำนึงถึง ศาสตร์ป้องกันความเสี่ยง และเทคนิคต่างๆเหล่านี้คืออะไร หากต้องการปรึกษาพูดคุยติดต่อเราเพิ่มเติมได้ เราพร้อมที่จะช่วยเหลือในการให้คำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงตรงนี้ค่ะ พร้อมทั้งหากท่านต้องการขายแบบ on line หล่ะ ซึ่งจะขอเขียนแยกออกไปต่างหาก กรุณารอติดตาม "ความรู้มีอยู่ทั่วไปให้หาได้ หากตั้งใจเสาะหาเราก็จะได้มา" ขอให้ท่านประสบแต่ความมั่งคั่งในการค้าระหว่างประเทศค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 597407เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2015 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2015 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท