KM @ เชียงใหม่ (๔) สุขภาพช่องปากคนพิการ : stronger together


บรรยากาศการเรียนรู้ภายในกลุ่มเมื่อวาน

พอบอกว่า ไม่ต้องนำเสนอทุกจุดเรียนรู้ มีเฮ ๆ

เช้านี้ใครมาตรงเวลาก่อน มาลงชื่อเตรียมนำเสนอตามลำดับได้เลยจร้า

วิทยากรใจดีรออยู่นะจ๊ะ พร้อมนาฬิกาจับเวลาและระฆังแห่งสติ

^_,^

คุณหมอน้ำหวาน ตัวแทนกลุ่ม ๑ นำเสนอผลการเรียนรู้ของสมาชิกกลุ่ม

แต่ละจุดเรียนรู้ (Booth) สมาชิกกลุ่มประทับใจและเลือกมาเป็นจุดเด่น ๆ

จุดเรียนรู้ ศรีบุญเรือง หนองบัวลำภู

จุดเด่น

๑. มีแหล่งงบหลากหลาย

ทีมสร้างความสัมพันธ์/ความร่วมมือกับแหล่งทุน

มีข้อมูลแหล่งทุน มองเห็นแหล่งทุน ข้อจำกัด

๒. มีภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง

มีต้นทุนบุคลากรที่ดี ทำงานร่วมกัน สร้างความเข้มแข็งของทีมร่วมกัน

ทำในหลายตำบล เช่น ใกล้ ง่าย หรือเลือกคนที่ทำงานร่วมกันได้สบายใจ

ทำให้มีกำลังใจในการทำงาน

พัฒนาศักยภาพทีมต่อเนื่อง ความรู้ แนวคิด ประชุมติดตามงานต่อเนื่อง กระตุ้น

มีการคืนข้อมูลแก่ทีม ออกไปทำงานเจอผลลัพธ์อะไร รับทราบร่วมกัน ร่วมคิดแก้ปัญหาร่วมกัน

๓. สร้างนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการ

ต้นทุนด้านบุคลากร งบประมาณ ความคิดสร้างสรรค์ของบุคลกร

ในชมรมคนพิการเอง มีคนที่มีฝืมือทางช่าง

^_,^


จุดเรียนรู้ สูงเนิน นครราชสีมา

๑. มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามงานต่อเนื่อง

- สร้างความร่วมมือระหว่างสหสาขาวิชาชีพ ศูนย์การดูแลต่อเนื่อง (Cotinuing of care : COC) ผู้นำชุมชน

- มีตัวแทนเยี่ยมบ้านแทนทันตฯ เพราะการมีแบบตรวจที่ง่าย เรียนรู้ได้ง่าย

๒. ช่องทางพิเศษในการให้บริการคนพิการ

- เตรียมทีมทันตบุคลากร อบรมที่สถาบันราชานุกูล

- การบริหารจัดการภายในฝ่าย จัดระบบคิวพิเศษ ช่วงเวลา ที่คนในฝ่ายยอมรับ

๓. จัดรถ EMS (การแพทย์ฉุกเฉิน ๑๖๖๙) รับส่งคนพิการมารับบริการ

-เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำปัญหามาร่วมคิด ร่วมแก้ไข ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง

^_,^

พี่เป็ด ตัวแทนนำเสนอผลการเรียนรู้ของกลุ่ม ๒

จุดเรียนรู้ น้ำพอง ขอนแก่น

๑. มีcare worker ผู้ดูแลคนพิการ

  • เป็นอสม.ที่ผ่านการอบรม มีตารางจัดเวรไปดูแลคนพิการ ๓-๔ คนต่อวัน ได้ค่าเดินทาง ๓๐๐ บาท/คน/วัน ทุนไจก้าจากญี่ปุ่น

๒. ได้รับงบสนับสนุนจาก สปสช./เทศบาล

  • สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเทศบาล
  • ดูแลกันอย่างต่อเนื่อง

๓. เจ้าหน้าที่เข้มแข็ง

  • อยู่ในพื้นที่นาน สร้างสัมพันธภาพต่อเนื่อง
  • ตั้งใจทำงานในพื้นที่
  • บูรณาการงานร่วมกับหลายภาคส่วน
  • มีผลงานเชิงประจักษ์ ทำให้ได้รับการยอมรับ


จุดเรียนรู้ ปง พะเยา

๑. นวัตกรรม

  • รพ.สต.มีการนำเสนอนวัตกรรมต่อเนื่อง ปรับปรุงทุกปี

๒. ทีมเยี่ยมบ้าน ครบสหสาขาวิชาชีพ

  • พนักงานขับรถ แพทย์ พยาบาล ทันตฯ กายภาพ เภสัช โภชนากร

๓. การเข้าถึงบริการทันตกรรมของคนพิการรวดเร็ว

  • จัดช่องทางด่วนในการรับบริการ คิวแยกต่างหาก

^_,^

พี่ป๋อง ตัวแทนนำเสนอผลการเรียนรู้ของกลุ่ม ๕

จุดเรียนรู้ นากลาง หนองบัวลำภู

  • ๑. นสค. (นักสุขภาพครอบครัว) ตัวแทนของประชาชนของแต่ละครอบครัวมาดูแลเรื่องสุขภาพ ครัวเรือนละ ๑ คน
  • จัดกิจกรรมให้ความรู้ นสค.
  • กลุ่มเจ้าหน้าที่ ที่ผ่านการอบรม ดูแลผู้ป่วย
  • ๒. COC
  • ๓. มีcare giver ผู้ดูแลคนพิการ/ผู้ป่วย
  • ให้ความรู้ care giver
  • อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน)
  • อบรมคนพิการ


จุดเรียนรู้ น่าน

๑. ออกหน่วยเคลื่อนที่ เดือนละ ๒ ครั้ง

- ออกทุกวิชาชีพ ให้บริการ ทำมา ๔ ปี ใช้เงินบำรุงโรงพยาบาล

๒. มีคนที่มีไฟ มีความสามารถ (น้องทิพย์)

เอาความรู้เรื่องทำกระเป๋ามาสอนคนพิการ เพื่อต่อยอดคุณภาพชีวิตคนพิการ มีสติ๊กเกอร์แทนคำขอบคุณจากคนพิการ

หาเงินจากผู้ใหญ่ใจดี มาตั้งทุน ทำครั้งแรกยังไม่สวยแต่รับซื้อ เพราะอยากให้คนพิการมีกำลังใจ เมื่อทำบ่อยๆ ชำนาญขึ้น สวยขึ้น ทำมา ๔ ปีแล้ว

๓. ขยายผลไปกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิต

^_,^

พี่แพ็คกี้ จากกลุ่ม ๖ นำเสนอ

จุดเรียนรู้ ๕๐ พรรษาฯ อุบลราชธานี

  • . คู่มือการสอนทันตสุขศึกษาคนพิการ
  • ทำเอง
  • . มีชุดเยี่ยมบ้าน
  • กระเป๋า ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ไม้กดลิ้น ซื้อจากโรงงานไอศกรีม ไม้พันสำลีเช็ดเหงือก/ฟัน น้ำยาบ้วนปาก
  • . มีระบบข้อมูลชัดเจน
  • - แบ่งระดับสุขภาพช่องปากคนพิการเป็น ๔ ดาว เขียว ปกติ เหลือง เริ่มมีปัญหา ส้ม มีปัญหาชัดเจน ต้องได้รับการดูแลจากทีมทันตฯ แดง มีปัญหาเร่งด่วน

^_,^

น้องบี ตัวแทนกลุ่ม ๓ นำเสนอ

จุดเรียนรู้ บ้านฝาง ขอนแก่น

  • . เครือข่ายบริการสุขภาพเป็นทีมสหวิชาชีพ
  • ทีมหมอครอบครัว อปท. (องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น)
  • ประสานงานกับบริษัทเอกชน (เบทาโกร) เพื่อให้คนพิการมีอาชีพ
  • . กิจกรรม
  • เยี่ยมบ้าน นำปัญหาคืนสู่ชุมชน บอกบทบาทของตัวเองในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสุขภาพเพื่อให้เข้าถึงบริการ
  • เขียนแผนเพื่อไปพัฒนา
  • . ใช้เทคโนโลยี line group ปรึกษา case

^_,^

คุณหมอใหม่ กลุ่ม ๔ นำเสนอ

จุดเรียนรู้ สงขลา

  • ได้งบ ๕๐,๐๐๐ บาท เลือกทำในโรงเรียน ช่วงแรกครู/ผู้ปกครอง ยังไม่ให้ความร่วมมือ สร้างความคุ้นเคยกับผู้ปกครอง เยี่ยมบ้าน
  • ๑. มีการทำงานต่อเนื่อง เป็นขั้นตอน
  • วางแผน จัดประชุมผู้ปกครอง/ครู/เด็ก เยี่ยมบ้าน
  • ๒. ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง
  • จากที่โรงพยาบาลเข้าไปทำกิจกรรมในโรงเรียนบ่อยๆ ต่อเนื่อง ๖ ปี
  • ๓. ทันตบุคลกร ทำด้วยใจ มีความมุ่งมั่น

^_,^

ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรด้านสุขภาพทั้งนั้นที่นำเสนอ

ลองมาติดตามความเห็นจากผู้สังเกตการณ์

พื้นที่ที่รับเชิญมาร่วมนำเสนอ และภาคีส่วนต่าง ๆ บ้างนะคะ

สองสามวันมานี้ คิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ด้านการดูแลคนพิการอย่างไรบ้าง

^_,^

เทศบาลตำบลโนนฆ้อง บ้านฝาง ขอนแก่น

  • ตอนแรกยังไม่รู้ความเป็นมาของโครงการ ได้รับการติดต่อจากน้องไผ่มาแนะนำโครงการ หัวหน้าสำนักปลัด ก็ยินดีเพราะยังไม่เคยทำงานนี้ จากนั้นก็ได้ติดต่อประสานงานกัน เวลาทีมโรงพยาบาลออกเยี่ยมบ้านจะโทรศัพท์มาประสานตลอด
  • ทีมงานโรงพยาบาลมีความเป็นกันเอง
  • เขียนโครงการขอเงินจากกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ทำงานในกลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการได้

^_,^

นักพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลฝั่งแดง นากลาง

  • อปท.ไม่ได้ดูแลแค่เรื่องเบี้ยยังชีพ แต่ดูแลเรื่องคุณภาพชีวิต ตั้งแต่กลุ่มเด็กจนถึงผู้สูงอายุ
  • ทำงานร่วมกับ รพ.สต.(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) ๒ แห่ง เวลาทีม รพ.สต.ออกจะโทรศัพท์นัดหมายออกเยี่ยมบ้านร่วมกัน
  • ดูแลสภาพแวดล้อมทั่วไป เพื่อให้การช่วยเหลือ
  • ถ้างบไม่พอ จะของบจากกองทุนฟื้นฟูของ อบจ. หนองบัวลำภู
  • กองทุนกู้ยืมเงินสำหรับคนพิการ ของ พมจ. มีทุกจังหวัด คนพิการ/ผู้ดูแลที่มีชื่อ ใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท ไม่มีดอกเบี้ย
  • มีเงินสงเคราะห์ครอบครัว ซ่อมแซมบ้าน
  • การอบรมครั้งนี้เป็นประสบการณ์ใหม่ เป็นกันเอง อบอุ่น ชอบ ไม่เคยเจอ

^_,^

ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย รพ.สต.บ้านก่าน นากลาง

  • ได้เรียนรู้เรื่องคนพิการที่ไม่ให้ความร่วมมือในการทำฟัน จาก รพ.น่าน
  • เดิมจะเน้นการดูแลกล้ามเนื้อ กายภาพ แต่พอได้ทำงานร่วมกับทันตฯ ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องภายในช่องปากคนพิการ เป็นหน้าต่างอีกบานหนึ่งในการดูแลคนพิการ ได้มองลึกถึงการกินอยู่ของคนพิการ ได้บุคลากรหลายด้านเข้าไปทำงานร่วมกัน
  • สนุก ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

^_,^

แม่บุญหวาน อสม. รพ.สต.บ้านก่าน นากลาง

  • มาอบรมดี๊ดี ได้เที่ยว ได้ไหว้พระ ดอยสุเทพ วัดดอยคำ
  • ได้เจอหมอหลายๆ คน
  • ได้ความรู้มาก แม่เก็บความรู้ไว้ในสมอง
  • ได้พักโรงแรมหรู ๆ
  • จะกลับไปบอกคนพิการที่ดูแลอยู่ ให้แปรงฟัน แม่สิพาเพิ่นเฮ็ด (แม่จะพาทำ)

^_,^

ป้าอนงค์ ตัวแทนคนพิการ สูงเนิน นครราชสีมา

  • ดีใจมากที่ได้มาร่วมกับคุณหมอโรงพยาบาล
  • เป็น อสม. ประสานงานทุกอย่างกับ รพ.สต. รพ.สูงเนิน
  • คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกปฏิบัติได้
  • แม้หน้าที่เราจะไม่สูง แต่เราก็จะปฏิบัติหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด

^_,^

คุณหมอต้อม รพ.บุ่งคล้า บึงกาฬ

  • รู้สึกดีที่ได้เข้ามาร่วมโครงการ
  • โดน ER ตาม เพราะมีหนอนในปากคนไข้ เป็นหนอนแมลงวันประมาณ ๒๐ ตัว ในปากคุณตา อายุ ๗๐ กว่า ติดเตียง หายใจทางปาก เคลื่อนไหวไม่ได้ กระพริบตาได้อย่างเดียว ที่บ้านให้นอนไม่ได้กางมุ้ง แมลงวันเข้าไปไข่ในปาก หนอนชอนไชในปาก ลิ้น
  • รู้สึกว่าคนไข้ได้รับความทุกข์ทรมาน และคิดว่าเราจะทำอะไรได้
  • ออกเยี่ยมบ้านเท่าที่ทำได้ เตรียมเครื่องมือไปด้วย ถ้าถอนฟันได้จะถอนให้เลย รพ. มีทันตแพทย์ ๑ คน มีทันตาภิบาล ๒ คน
  • จะนำประสบการณ์จากที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในพื้นที่

^_,^

คุณจุ๋ม ปง พะเยา

  • ขอชื่นชมทุกที่ยอดเยี่ยมมาก จะขอนำไปพัฒนาต่อยอดในพื้นที่
  • เห็นทิศทางการทำงาน Humanized health care มากขึ้น
  • คนที่เป็นทันตาภิบาลตัวเล็กๆ คนนึง ภูมิใจที่ได้ทำงานที่ยิ่งใหญ่ เป็นงานที่มีคนยกมือไหว้มากที่สุด
  • ได้เครือข่าย กัลยาณมิตร
  • ยินดีต้อนรับทุกคนมาเที่ยวปง หนาวนี้ที่ภูลังกา

^_,^

ป้าสมหมาย ตัวแทนคนพิการ สูงเนิน

  • ขอบคุณผู้จัดทำโครงการทุกคน ทีมงาน รพ.สูงเนิน
  • ขอพูดแทนคนพิการว่า ไม่ถูกทอดทิ้ง เป็นนางเอก ไม่ถูกลืม
  • โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อคนพิการทุกคน เป็นโอกาสดีที่ได้รับสิ่งดีๆ จากโครงการนี้ จะเอาไปบอกเพื่อนๆ คนพิการด้วยกัน
  • เวลาไปเยี่ยมคนพิการ จะไปดูทุกอย่าง ไม่ใช่แค่ช่องปาก ดูสภาพแวดล้อม

^_,^

เห็นได้ชัดว่าทุกท่านที่กล่าวมา มีความรู้สึกดีงามเป็นทุนเดิม

ความรู้สึกดีๆ เพิ่มทวี มีเพื่อนที่ทำงานเพื่อคนพิการเหมือนกับเรา

ความดีต่อความดียิ่งขยายเพิ่มจากเวทีนี้

สร้างความแข็งแรงไปด้วยกันทั้งด้านการทำงาน .... นอกตัว

ผสานกับความอ่อนโยนงดงามภายในจิตใจ

เป็นความแข็งแรงภายใน .... ที่รู้สึกได้ด้วยใจเราเองเท่านั้น

^_,^

เดี๋ยวติดตามต่อนะคะ พื้นที่ริเริ่มของโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก

จากงบประมาณของสำนักทันตสาธารณสุข และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขนี้

จะทบทวน ปรับปรุง ต่อยอด ในการพัฒนางานในพื้นที่อย่างไรบ้าง

ใกล้จบบันทึกชุดนี้แล้วนะคะ

สวัสดีค่ะ

^_,^

(ทีมเก็บข้อมูลเพื่อถอดบทเรียน สังเคราะห์เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป เบื้องหลังจริง ๆ อิ อิ)


หมายเลขบันทึก: 597349เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2015 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2015 01:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เหมือนว่า "นวตกรรม" จำต้องเป็น "นวัตกรรม" นะครับ ;)...

ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวแก้ไขอย่างเร่งด่วน อิ อิ

-สวัสดีครับ


-ตามมาให้กำลังใจทีมหมอเยี่ยมบ้านครับ


-แต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลกันเพียบเลยนะครับ


-แบบนี้ล่ะ....ผมชอบ 5555


-ขอบคุณครับ






ขยายผลองค์ความรู้ดีๆอย่างกว้างขวาง ชื่นชมค่ะ...


มีเรื่องดีๆเกิดขึ้นมากกมาย


อ่านแล้วได้เรื่องนวัตกรรมดีๆมากเลย


เอาโครงปลูกบวบมาฝากครับ






ใหญ่มากๆๆ




อันนี้ปลูกถั่วพูครับ อีกด้านปลูกบวบครับ





เรามันคนสาระนี่นา สาระน้อย อิ อิ

ขอบพระคุณมากค่ะคุณป้าใหญ่

ชอบจริง ๆ นะ อ.ขจิต ค้างถั่วพูและบวบเนี่ย

แปลงผักถาวรมากค่ะ น้ำเยอะด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท