beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

นิสิต Apiculture รุ่น ๒/๒๕๔๙ กับบทเรียนวันนี้


เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ bee space และ รวงผึ้ง

   วันนี้ เป็นวันแรกที่นิสิต Apiculture ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๔๙ มาเรียนครบทั้ง 7 คน เนื่องจากมีการตกลงกันจะให้คะแนน Attention หรือ ความตั้งใจเรียนถึง 10%

    นิสิตที่เรียนวิชาการเลี้ยงผึ้งเทอมนี้ เรียงลำดับดังนี้

  1. นางสาวรสสุคนธ์ ขุนเณร     ปี 4
  2. นางสาวอมิดา วัฒนคณิต    ปี 4
  3. นางสาวจิราภรณ์ เนาวรัตน์ ปี 3
  4. นางสาวณัฐณิตย์ ถาวรศักดิ์ ปี 3
  5. นางสาวสุพัตรา ตั้งใจ  ปี 3
  6. นางสาวเทวิกา กล้าถิ่นภู  ปี 3
  7. นายกฤษณะ กุลศิริ  ปี 3

    การสอนในวันนี้ ให้นิสิตเรียนเรียนเกี่ยวกับ รังผึ้ง (bee hive, bee colonies) และ รวงผึ้ง (bee comb)...ลองดูภาพนี้ครับ

รังผึ้ง 1 รัง ซึ่งมี 3 รวง

ภาพที่ ๑ แสดงรวงผึ้ง 3 รวง ของผึ้ง 1 รัง

 

    วันนี้ ผมลองย้อนยุคไปสมัย บาทหลวง Langstroth ...

Lorenzo Langstroth (1810-1895)

ภาพที่ ๒ บาทหลวง
Langstroth

 

    เอารวงผึ้งมาให้นิสิตดู แล้วลองจินตนาการเป็น Langstroth มองดูรวงผึ้งและช่องว่างระหว่างรวง จากนั้นให้ตั้งชื่อ ช่องว่างนั้น......

    ได้ชื่อที่น่าสนใจหลายชื่อ ซึ่งเมื่อนิสิตสร้างบล็อกได้แล้ว เขาคงนำมาเล่าอีกครั้งหนึ่ง....การให้นิสิตจินตนาการ โดยสมองไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผึ้งอยู่ (เพราะนิสิตยังไม่ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับผึ้ง) ทำให้ไม่ติดกรอบความคิด จินตนาการได้กว้างขวาง

....คนหนึ่งได้ Keyword ว่า "Space" อีกคนหนึ่งได้ Key Word ว่า "bee" ซึ่งไปตรงกับที่ Langstroth ตั้งไว้ว่า "bee space" แปลเป็นไทยว่า "ช่องว่างระหว่างรวงผึ้ง" ...นี่ถ้าคนไทยคิดได้ก่อน Langstroth เราอาจเรียกช่องนี้ว่า "ช่องรอดแห่งความสุข" ก็ได้..ใครจะไปรู้....ลองให้นิสิตวัดช่องว่างนี้ดู พบว่ามีขนาดประมาณ 10 มิลลิเมตร (วัดโดยไม้บรรทัด..วัดแบบไม่ละเอียด...สรุปว่าช่องว่างนี้ไม่ควรมีขนาดเกิน 10 มิลลิเมตร)

   เมื่อพบช่องว่างระหว่างรวงแล้ว Langstroth ก็วัดขนาดความกว้างความยาว ของรวงผึ้ง (bee comb) เพื่อไปออกแบบกรอบรวงผึ้ง (Frame = Empty comb หรือ คอน) เขาได้ลิขสิทธิ์ กรอบรวงผึ้งในปี 1852...

   รูปร่างของ Frame ดังภาพด้านล่าง มี 2 แบบ เป็น Frame สำหรับตัวอ่อน และ Frame สำหรับน้ำผึ้ง

Frame 
ภาพที่ ๓ Frame ของ Langstroth ยาว 46.5 เซนติเมตร (18 5/16 นิ้ว)
มีคอนตัวอ่อน (บน) และคอนน้ำหวาน (ล่าง)

   ลองให้นิสิตวัดคอนของ beeman ดูบ้าง พบว่ายาว 48.5 เซนติเมตร ที่ยาวกว่าของ Langstroth เพราะของเราเป็นคอนแบบประยุกต์ครับ (ใช้กับรังผึ้งแบบไต้หวัน)

   ต่อจากนั้นก็ให้นิสิตไปดูรวงผึ้ง และ หลอดรวง (cell) ผึ้ง ซึ่งจะหาโอกาสนำมาเล่าอีกครั้งหนึ่ง.....

   สุดท้ายให้นิสิตไปวัดรังผึ้งแบบไต้หวันว่ามีขนาดเท่าไร....ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบครับ

    แต่รังผึ้งแบบมาตรฐานแบบ Langstroth มีขนาด กว้าง ยาว ลึก (วัดด้านใน) ดังนี้ 37.3  (14 11/16 นิ้ว), 46.5 (18 5/16 นิ้ว) และ 24.3 (9 9/16 นิ้ว) เซนติเมตร ตามลำดับ...

   ต่อไปเราก็ให้น้ำตาลแก่ผึ้ง นิสิตช่วยกันคนน้ำตาลมิตรผล 8 ถุง (ได้รับความอนุเคราะห์จากภาควิชาฯ ครั้งแรก 5 ถุง 125 กิโลกรัม) ผึ้งได้กินน้ำตาลทรายขาวเป็นครั้งแรก...

   เมื่อเสร็จกิจกรรมให้น้ำตาลแล้ว เราก็ถ่ายภาพนิสิต ทั้ง 7 คนร่วมกัน

นิสิต Apiculture รุ่น ๒/๒๕๔๙
ภาพที่ ๔ นิสิต Apicuture รุ่น ๒/๒๕๔๙ (จากซ้ายไปขวา)
๑.นางสาวรสสุคนธ์ ขุนเณร ปี 4, ๒.นางสาวสุพัตรา ตั้งใจ ปี 3
๓.นางสาวจิราภรณ์ เนาวรัตน์ ปี 3, ๔.นางสาวเทวิกา กล้าถิ่นภู ปี 3
๕.นางสาวณัฐณิตย์ ถาวรศักดิ์ ปี 3,๖.นางสาวอมิดา วัฒนคณิต ปี 4
๗.นายกฤษณะ กุลศิริ  ปี 3
 

 

นิสิต Apiculture รุ่น ๒/๒๕๔๙ 
ภาพที่ ๕ นิสิต Apicuture รุ่น ๒/๒๕๔๙
นิสิต Apicuture รุ่น ๒/๒๕๔๙
ภาพที่ ๖ นิสิต Apicuture รุ่น ๒/๒๕๔๙
 

   อ้างอิง  http://en.wikipedia.org/wiki/Langstroth_hive

หมายเหตุ

  1. Rev. Lorenzo Lorraine Langstroth (25 December 1810—October 6, 1895)
  2. พบ bee space เมื่อฤดูร้อนของปี 1851 ซี่งมีค่าอยู่ระหว่าง 1/4-3/8 นิ้ว หรือ 6.4 - 9.5 มิลลิเมตร
  3. จดลิขสิทธิ์ movable frame ปี 1852
  4. ผลิตหีบเลี้ยงผึ้งแบบมาตรฐานแลงสตรอท (Langstroth beehive) ในปี 1852
  5. ปี 1853 พิมพ์หนังสือชื่อ "The Hive and Honey-Bee"

 

หมายเลขบันทึก: 59683เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท