สรุปการประชุมทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)


ในวันจันทร์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๘ ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

โดยนายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ กรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา

ก่อนที่จะสรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) อยากฉายภาพแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) โดยที่แผนฉบับที่ ๑๑ มุ่ง

  • สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม
  • มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
  • น้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เป็นต้นมา

โดยแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๑๑ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

  • ในการสร้างความแข็งแกร่งของระบบและโครงสร้างต่างๆภายในประเทศให้สามารถพี่งตนเองได้มากขึ้น
  • สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีของประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและบริหารการพัฒนาประเทศให้อยู่บนหลักธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย
  • เพื่อนำมาซึ่งความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของสังคมไทยและความยั่งยืนของการพัฒนา

โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ๖ ยุทธศาสตร์

  • ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
  • ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
  • ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) ยังมีความต่อเนื่องจากแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๑๑ ที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๑๒ ให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายไดสูง มีการกระจายรายได้และการพัฒนาอย่างเท่าเทียมมีระบบนิเวศน์ที่ดี สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ

การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศ

  • ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
  • เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ (Trading and Service Nation)
  • เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรกรรมยั่งยืน
  • แหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สรุปเป็นภาพที่เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.อาคม เติมพิทยาไพสิฐ (ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) ฉายภาพ

หมายเลขบันทึก: 595065เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2015 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2015 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามมาเชียร์การทำงาน

อยู่สงขลาแล้วครับ

555

เสียดายไม่ได้พบอ.ขจิตครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท