เสียงที่ไม่ได้ยินของประเทศไทย ตอนจบ


ไม่เคยมีนโยบายหลักๆในการช่วยดำรงสันติภาพในประเทศนี้ และทหารก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ สำมะหาอะไรกับความขัดแย้งในประเทศเล่า?

สำหรับผู้คนโดยส่วนใหญ่, ชุมชนในระดับโลก, และประชาชนอื่นๆในประเทศไทย ไม่ได้สนใจในความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกวันในภาคใต้ ในหนังเรื่อง Hotel Rwanda มีชายที่ชื่อ Paul ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงแรมใน Rwanda คุยกับ Jack ซึ่งเป็นช่างภาพชาวตะวันตกในเรื่องความโหดเหี้ยมในพื้นที่

Paul คาดหวังถึงถึงการแทรกแซงจากองค์กรมนุษยชาตินาๆชาติ (international humanitarian organization) Jack ได้พยายามหยุดความคิดของของเขา โดยการบอกว่า

“ฉันคิดว่าหากประชาชนเห็นสิ่งนี้แล้วหละก็ พวกเขาจะบอกว่า “โอพระเจ้า นั่นมันช่างน่ากลัวจริงๆ” และพวกเขาก็กินข้าวเย็นต่อไป”

ประชาชนในประเทศไทยต้องหยุดกินข้าวเย็น และให้ความสนใจต่อสถานการณ์ในภาคใต้นี้ก่อน

บทเรียนอะไร ที่ประเทศไทยจะได้เรียนรู้ได้จากความรุนแรงในชายแดนใต้หละ? การจัดการความรุนแรงไม่ใช่การบีบบังคับ และบังคับให้ทุกๆคนคิดและพูดอย่างเดียวกัน เพราะการกระทำดังกล่าวจะก่อให้เกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

การรักษาสันติภาพจำเป็นที่จะต้องเกิดการร่วมมือระหว่างคนที่คิดและพูดแตกต่างกัน อาจเริ่มต้นด้วยการนำคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียมาอยู่ในโต๊ะเดียวกัน เพื่ออภิปรายและต่อรองเพื่อทำให้ได้วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

ในตอนนี้มีกระบวนการสันติภาพเกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มต้นโดยประชาสังคมในพื้นที่

ในการปฏิบัติงาน เจตจำนงทางการเมืองทั้งของข้าราชการไทยกับผู้ก่อความไม่สงบเป็นสิ่งจำเป็น ความมีน้ำใสใจจริงของทั้งสองฝ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน กระบวนการเพื่อสันติภาพเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลายาวนาน แต่อย่างน้อยประชาชนในพื้นที่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น

เมื่อเหตุการณ์ระเบิดเกิดขึ้นในศาลเอราวัณ ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้สวดมนต์ภาวนาให้กับกรุงเทพฯ โดยนัยยะเดียวกัน พวกเขามุ่งหวัดที่จะทำอย่างเดียวกันกับทั้งประเทศ

เมื่อคนไทยกระตุ้นให้รัฐบาลนำผู้กระทำผิดในการระเบิดมาทำโทษ รัฐบาลต่างตอบรับโดยทันที โดยนัยยะเดียวกัน ประชาชนที่อยู่ทางภาคใต้ก็ต้องการกระทำอย่างเดียวกันจากรัฐบาล

ประชาชนในจังหวัดชายแดนทางภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศ มิใช่ประชาชนชั้นสอง

แปลและเรียบเรียงจาก

Daungyewa Utarasint. Thailand’s unheard voice.

http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2015/08/25/thailands-unheard-voices/

หมายเลขบันทึก: 594984เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2015 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2015 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การจัดการความรุนแรง...ไม่ใช่การบีบบังคับ และบังคับให้ทุกๆคนคิดและพูดอย่างเดียวกัน เพราะการกระทำดังกล่าวจะก่อให้เกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง....

เห็นด้วยจริงๆ ค่ะ

ความโกลาหลอลหม่าน..กำลังเกิดขึ้นทุกมุมโลก..(คงไม่ใช่ภาคใต้ของประเทศไทยประเทศเดียว)..และมีความต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา..ยาวนาน..สาเหตุหนึ่ง..คือ..ความหิวโหยอดอยาก..การต่อสู้แย่งชิงดินแดน..ระหว่างผู้รุกรานและผู้พยายามดำรงรักษาถิ่นฐานและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนชาติผิวพันธุ์ ที่แตกต่าง..ปรากฏการณ์นี้กำลังย้อนยุคเกิดขึ้นในยุโรป..ขณะนี้..(ที่น่าจับตามอง)....สาเหตุที่เป็นผลพวง..คือ"สงคราม"..ผู้ลี้ภัย..คือผู้ต้องการ "ความสงบสุข"..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท