โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2558)


สวัสดีครับลูกศิษย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ชาว Blog

ภารกิจสำคัญของผมอีกภารกิจหนึ่งนับจากวันนี้ คือ การได้รับเกียรติจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบให้ผมเป็นครูใหญ่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3สำหรับบุคลากรของคณะแพทย์ฯ และหน่วยงานเครือข่ายของคณะแพทย์ จำนวน 55 คน ต่อเนื่องจากรุ่นที่ 1 และ 2 ซึ่งได้พัฒนาผู้นำรุ่นใหม่สำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ ในอนาคตไปแล้วจำนวน 100 คน เมื่อปีที่ผ่านมา

ผมขอขอบคุณท่านคณบดี รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มอ. พญ.กันยิกา ชำนิประศาสน์ ศ.นพ.สงวนสิน รัตนเลิศ ท่านรองคณบดีทั้ง 2 ท่านซึ่งให้เกียรติผมและทีมงานเสมอ และขอชื่นชมที่ท่านเป็นผู้นำที่มีปรัชญาและความเชื่อเรื่องทุนมนุษย์ว่าเป็นทุนที่สำคัญที่สุดที่จะขับเคลื่อนความเป็นเลิศขององค์กร ซึ่งเป็นความเชื่อและศรัทธาที่ทำให้ผมมุ่งมั่นทำงานในเรื่องทุนมนุษย์ หรือ ทรัพยากรมนุษย์ มากว่า 35 ปี

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 จะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรต่อเนื่องระยะยาว รวม 20 วัน โดยในช่วงที่ 4 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2558

ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองของลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงาน

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2558

ช่วงเช้า

ศึกษาดูงาน ณ บริษัท ที ซี ซี แลนด์ จำกัด

บรรยายเกี่ยวกับโครงการเอเชียทีค

โดย คุณรุ่งเรือง วิโรจน์ชีวัน Vice President TCC Land Group

และ คุณกันตพัฒน์ อัครเลิศวัชรคุณ Head of Marketing & PR Asiatique

เริ่มต้นโดย นายสุรสิทธิ์ มานะวัฒนากิจ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 พร้อมทั้งได้แนะนำวิทยากรบรรยายที่เป็นผู้บริหารจากโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ 2 ท่าน คือ คุณรุ่งเรือง วิโรจน์ชีวัน Vice President TCC Land Group และคุณกันตพัฒน์ อัครเลิศวัชรคุณ Head of Marketing & PR Asiatique

หลังจากนั้น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงการมาศึกษาดูงานที่ โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เนื่องจากทางคณะแพทยศาสตร์ มีโครงการที่จะทำแผนการสร้างคอมเพล็กซ์ ในลักษณะคล้ายกับแนวคิดของเติ้งเสี่ยวผิงคือ หนึ่งประเทศ สองระบบ (One country Two systems) มาใช้แก้ปัญหาการรวบรวมเกาะฮ่องกง อ้าวเหมิน(มาเก๊า) และไต้หวัน โดย 1 ประเทศที่ว่า คือความเป็นจีนเดียวโดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษชาวจีนต้องสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อพิทักษ์มาตุภูมิไว้ ส่วน 2 ระบบ คือความปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างการปกครองด้วยระบบสังคมนิยมของแผ่นดินใหญ่ กับระบบทุนนิยมของฮ่องกง อ้าวเหมิน และไต้หวัน ที่ถึงแตกต่าง แต่ก็เป็นชาติเดียวกัน

ซึ่งประเด็นที่ ดร.จีระ ฝากไว้คือ อยากให้คนรุ่นใหม่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาสมองไหล

การรับฟังบรรยายจากผู้บริหารของเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

บรรยายโดย คุณรุ่งเรือง วิโรจน์ชีวัน Vice President TCC Land Group

คุณรุ่งเรืองได้กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจของ TCC Land ว่าเป็นธุรกิจที่มีความครอบคลุมหลากหลาย ดูแลธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายเดียวในเมืองไทยที่ทัดเทียมกับระดับโลกเพราะครอบคลุมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “The Leading Regional Integrated Real Estate Group” คือความต้องการเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกกลุ่ม

พันธกิจ คือ การสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ลงไปถึงลูกค้าและพนักงาน และการนำคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาสร้าง Business

สิ่งที่ TCC Land มีจุดเด่นคือ การมี Partnership หรือเครือข่ายทางธุรกิจจำนวนมากโดยเฉพาะเครือข่ายกับต่างชาติมากที่สุด ดังนั้นสิ่งที่ TCC Land ยึดเป็นหลักการคือความยุติธรรม (Fair) ต้องให้ผลตอบแทนที่ดี เพราะในมุมมองด้านการตลาดนั้น TCC Land เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะสร้าง Benchmark ใหม่ในตลาดที่มีความแตกต่าง และเป็นที่จับตามองของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกหลายแห่ง

ในด้าน ชุมชน (Community) TCC Land ได้เน้นหลักที่ทีม QC มีการใช้น้ำหมุนเวียน และได้มีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นแสงไฟยามค่ำคืน เป็นต้น

ธุรกิจในกลุ่ม TCC Land ประกอบด้วย 5 กลุ่มธุรกิจคือ

1. Residential Group ได้แก่ Condominium, Housing

2. Hotels & Serviced Residence Group ได้แก่ Int’l Hotels, Domestic Hotels, Branded Hotels , Serviced Apartment และเป็นเครือโรงแรมที่ถือเป็น Biggest Owner

3. Retail Group ได้แก่ Shopping Center, IT Center , Luxury Center, F&B , Market Place

4. Commercial Group ได้แก่ CBD Office , Non CBD

5. Master Plan Development Group ได้แก่ Master Plan Development การพัฒนาโครงการที่ดิน มีการทำ Master Plan และมีการระดมสมองจากแต่ละกลุ่มว่าจะพัฒนาที่ดินตรงนั้นจะเป็นอะไรที่เหมาะสมที่สุด

โดยจะมี Property Funds คือ Thai Commercial (TCIF) , Thai Retail (TRIF) และกองทุนที่ตลาดหลักทรัพย์ในการทำหน้าที่หาเงิน และได้นำองค์กรที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์มาสนับสนุนซึ่งกันคือ Hospitality และ Hotel

TCC Land จึงเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดศักยภาพใหม่ของที่ดินในเมืองไทย และสร้างความประหลาดใจในเรื่อง Designer Material เกรด A เริ่มจากการที่มีประสบการณ์ในการเป็นเจ้าของพันธุ์ทิพย์พลาซ่า สู่การเก็บสะสมเรื่องราวของสินค้า และภาพวาดทางศิลปะ

Residence Place and Villa แบ่ง Life Style ใหญ่ ๆ เป็นเจ้าของพันธุ์ทิพย์พลาซ่า เริ่มเปลี่ยนภาพลักษณ์ เก็บรักษาให้มีเรื่องราวของสินค้า เป็นภาพวาดศิลปะ

สิทธิประโยชน์ที่ทำให้กับพนักงานคือ มีการทำบัตรเครดิตให้กับพนักงานที่สามารถใช้เป็นค่าส่วนลดที่พักและธุรกิจในเครือ

TCC Land มีความทุ่มเทและมุ่งมั่นในการทำธุรกิจอย่างมาก สังเกตได้จากรางวัล ผู้พัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ยอดเยี่ยมปี 2009 (Thailand Property Awards 2009) ได้แก่ รางวัล Best Developer และรางวัล Best Housing Development Bangkok

โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เป็น First Shopping Destination and life style complex in Asia ภายใต้ค่านิยม (Core Value) คือ การมี Philosophyที่เป็น Integrity และการคิดแบบครบวงจร แบบ Flagship Destination คือ ต้องการให้เอเชียทีคเป็นสถานที่สะท้อนประวัติศาสตร์และสามารถเล่าเรื่องราวของเจริญกรุง ในรูปแบบของ Museum ผสม Entertainment

การศึกษาข้อมูลก่อนเริ่มทำ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ จะมีการศึกษาวิจัยสถานที่บริเวณโดยรอบ และแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เช่น ถนนเจริญกรุง พระทองวัดไตรมิตร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวเสริมว่า ธุรกิจของคุณเจริญเป็นธุรกิจที่มีปรัชญาในการทำเพื่อส่วนรวม ให้ความสนใจในการดูแลสภาพแวดล้อมที่ดีจึงสามารถส่งให้ธุรกิจกระเด้งต่อไปได้ และในอนาคตก็ต้องเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น เพื่อสามารถมี Benchmark แข่งขันกับที่อื่นในโลกได้

บรรยายโดย คุณกันตพัฒน์ อัครเลิศวัชรคุณ ผจก.ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์

ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ว่า

ก่อนได้มาซึ่งพื้นที่นี้ ได้ทำการวิเคราะห์และสำรวจโครงการฯว่าจะพัฒนาเป็นรูปแบบใดได้บ้าง โดยพบว่ามีโรงแรม คอนโด ออฟฟิศ อยู่บริเวณนี้จำนวนมาก และมีการวิเคราะห์รายละเอียดในธุรกิจห้างสรรพสินค้าอย่างเครือเซ็นทรัล ซึ่งถ้าเอเชียทีค ไปแข่งคงไม่สามารถแข่งได้ จึงเน้นการสร้างความแตกต่าง จึงเริ่มทำการศึกษาตัวตน แต่ยังไม่มี Concept ที่แน่ชัด มีการศึกษาข้อมูล และเดินทางเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบกับแนวคิดประวัติศาสตร์และความเป็นมาที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย มาผสมผสานกับการศึกษาพื้นที่ พบว่า ที่เดิมแห่งนี้เป็นพื้นที่ของวังเก่า สังเกตได้จากกำแพงที่ถูกค้นพบในใต้ดิน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ประเทศ ในแถบทวีปเอเชียถูกรุกรานโดยชาติมหาอำนาจจากยุโรป และด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงทรงตัดสินพระทัยเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรเดนมาร์ก พร้อมกับการก่อกำเนิดท่าเรือของบริษัท อีสท์ เอเชียติก ซึ่งมีนายฮันส์ นิลล์ แอนเดอร์เซน ชาวเดนมาร์กเป็นเจ้าของ เพื่อการค้าไม้สักไปต่างประเทศ จึงสร้างท่าเรือขนถ่ายสินค้าขึ้น ณ ท่าเรือแห่งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของประตูการค้าสากลระหว่างสยามประเทศและยุโรป เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้สยามดำรงความเป็นเอกราชมาจนปัจจุบัน รวมระยะเวลาประมาณ 211 ปีแล้ว

หลังจากที่ดูพื้นที่นี้ว่าประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างไรก็นำมา Integrate ร้อยเรียงเป็นเรื่องราว เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ มีการทำสิ่งปลูกสร้างที่สามารถเห็นได้ชัดเจน บรรยากาศในปัจจุบันจึงมีโครงสร้างคล้าย ๆ เดิม คือมีความเป็น Lifestyle และเป็น Fresh Supermarket มีย่านริมน้ำ ย่านเจริญกรุง ย่านโรงงาน และย่านกลางเมือง มีการขนถ่ายสินค้า มีการแปรรูป เกิดเป็นธุรกิจกลายเป็นย่านกลางเมือง เกิดความเจริญรุ่งเรืองมา เป็นย่านเจริญกรุง

ในวันนี้ ณ ผืนแผ่นดินเดิม อันเป็นที่ตั้งของท่าเรือ อีสท์ เอเชียติก ได้ถูกเนรมิตให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ภายใต้ชื่อ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ “ASIATIQUE The Riverfront”โครงการไลฟ์สไตล์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แลนด์มาร์คใหม่ล่าสุดของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนพื้นที่ 72 ไร่ ติดแม่น้ำ และติดถนนยาวข้างละ 300 เมตร

เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ถือกำเนิดขึ้น ภายใต้แนวคิด Festival Market and Living Museum แหล่งท่องเที่ยวและไลฟสไตล์ช้อปปิ้งริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เป็นพื้นที่ซึ่งได้ออกแบบให้พร้อมด้วยองค์ประกอบหลากหลาย เพื่อรองรับและเติมเต็มความต้องการของนักท่องเที่ยวและคนหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น

  • ย่านเจริญกรุง ประกอบไปด้วย ร้านขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว และสินค้าของตกแต่งบ้าน ที่สวยงามหลากหลาย อีกทั้งยังมีโรงละคร ที่รองรับผู้ชมได้กว่า 400 ที่นั่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมไทย กับหุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ หรือโชว์สุดอลังการจากคาลิปโซ่ รวมถึงร้านอาหารชั้นน
  • ย่านกลางเมือง เป็นลานจัดกิจกรรมกลางแจ้ง และโซนอาหารนานาชาติ ที่รวบรวมอาหารขึ้นชื่อจากประเทศต่างๆ ในบรรยากาศง่ายๆ สบายๆ พร้อมรื่นเริงไปกับ เครื่องดื่มและเบียร์เย็นๆ ที่ Asia House
  • ย่านโรงงาน เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์แห่งใหม่บนถนนเจริญกรุง ที่รวบรวมร้านอาหาร ผับ และร้านค้ามีสไตล์มากมาย ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจหลังเลิกงาน พรั่งพร้อมไปด้วยสินค้าแฟชั่น และของประดับตกแต่ง ให้เลือกซื้ออย่างจุใจ ในบรรยากาศสนุกสนานยามค่ำคืน
  • ย่านริมน้ำ ที่สามารถสัมผัสและดื่มด่ำไปกับบรรยากาศแบบพาโนราม่า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยทางเดินริมแม่น้ำที่ยาวกว่า 300 เมตร พบกับร้านอาหารมีระดับ มากมาย ทั้งอาหารญี่ปุ่น อิตาเลี่ยน ไทย จีน และซีฟู้ด

นอกจากนี้ ภายในโครงการ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ได้สอดแทรกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อเป็นการให้ความรู้ในลักษณะจดหมายเหตุ เกี่ยวกับความสำคัญในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิตริมแม่น้ำเจ้าพระยา การค้าขายกับต่างประเทศในยุคล่าอาณานิคม พร้อมบอกเล่าถึงความเจริญของสถาปัตยกรรมในยุคนั้น ด้วยการปรับปรุงอาคารเก่า และรักษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในสภาพเดิมไว้เกือบทั้งหมด

ปัจจุบันมีผู้เข้ามาเอเชียทีค วันละ 40,000 คน ประกอบด้วยกลุ่ม FIT (Foreign Industrial Traveler) Tour Group , Gen Y , และ Family

สิ่งที่น่าสนใจของเอเชียทีค เดอะ รีเวอร์ฟร้อนท์ คือ

  • มี 7 สิ่งมหัศจรรย์ ได้แก่ หลุมหลบภัยสมัยสงครามโลก รางรถโบราณ โรงเลื่อยเก่า เครนโรงเลื่อย ซุ้มโค้งโกดังสินค้า 100 ปี ท่าเรือประวัติศาสตร์ ปั่นจั่นยกของริมน้ำ
  • แหล่งสร้างความบันเทิงได้แก่ คาลิปโซ่ แบงคอก หุ่นละครเล็กโจหลุยส์เธียเตอร์
  • มีมุมถ่ายภาพ 360 องศา มีทางเดินริมน้ำที่สามารถถ่ายภาพพาโนรามา
  • มีร้านอาหารกว่า 40 ร้านที่หลากหลายสไตล์ทั้งไทย จีน ญี่ปุ่น อิตาเลี่ยน และซีฟู้ด
  • มีร้านขายสินค้าที่มีการสร้างแบรนด์ว่าเป็นร้านที่หาที่ไหนไม่ได้ต้องมาที่เดียวคือ เอเชียทีค
  • มีสิ่งที่เป็นแลนด์มาร์ก คือชิงช้าสวรรค์ สูง 60 ม. ที่สูงที่สุดในประเทศไทย
  • และมีลานจัดกิจกรรมริมแม่น้ำ ขนาด 12,000 ตารางเมตรที่สามารถรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งคอนเสิร์ต และงานเปิดตัวสินค้า
  • ในช่วงการเปิดตัว 18 เดือนต้องมีการศึกษาโดยตลอดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง พยายามสอบถามนักท่องเที่ยวและวิเคราะห์นักท่องเที่ยว และพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ จนได้รับรางวัลเป็น Amazing Thailand Destination จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • มีการสร้างบรรยากาศและเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ อาทิ มีแนวคิดสร้าง IT Event ที่น่าสนใจคือคือตอน Count down ช่วงวันส่งท้ายปีเก่าขึ้นปีใหม่ มีความพยายามสร้าง Organic Event โดยเชิญภาคส่วนต่าง ๆเข้ามาและทำกิจกรรม
  • มีการนำสื่อต่าง ๆ เข้ามา มีการเพิ่มและพัฒนาส่วน Facility ต่าง ๆ

กลยุทธ์ทางการตลาด

คำถาม

  • ก่อนเริ่มทำโครงการฯ ได้มีการสำรวจและศึกษาว่าจะเอเชียทีค เดอะ รีเวอร์ฟร้อนท์ เป็นรูปแบบใด

ตอบ เริ่มจากการมีที่ดิน 3 ผืนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 แล้วศึกษาว่าจะทำอะไร แต่ได้เริ่มทำจริงในปี ค.ศ. 2010 (รวมเก็บที่ดินไว้ 13 ปี) เพื่อศึกษาข้อมูล มีการศึกษาว่าจะทำในรูปแบบใด เช่น ถ้าทำแบบ Central หมายถึง จะต้องสร้างแบบเป็น Platform ทั่วไป และถ้าทำจะแข่งได้หรือไม่ จึงพยายามหาจุดขาย และจุดแตกต่าง ซึ่งแนวคิดที่จะสร้างเอเชียทีค เดอะ รีเวอร์ฟร้อนท์ ก็มาจากคุณณภัทร เจริญกุลเสนอ และดึงจุดเด่นที่มีคือแม่น้ำมาสร้าง

2.การวิเคราะห์โครงการฯ มีตัวเลือกที่ 2 และ 3 ก่อนที่จะเลือกหรือไม่

ตอบ มี3 ตัวเลือกคือ 1. การทำแบบตลาดนัดรถไฟ แต่เมื่อวิเคราะห์ดูคิดว่าไม่น่าจะยั่งยืน เนื่องจากลูกค้าที่เช่าเป็นรายวัน และไม่สามารถคุม Concept แล้วตลาดแบบนี้ก็สามารถเปิดที่ไหนก็ได้ 2. การสร้างเป็นห้างสรรพสินค้าอย่าง The Mall หรือ Central ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านนี้ ถ้าจะสร้างตามคงยาก และเหนื่อย อีกอย่างการแนะนำ คู่ค้า และร้านค้าต่าง ๆ ที่ดีมาเปิดในศูนย์การค้าใหม่นั้นยากมากเพราะไม่มีประสบการณ์ มีเพียงธุรกิจร้านค้าปลีกด้าน IT อย่าง พันธ์ทิพย์ เท่านั้น 3. การสร้าง Festival Market and Living Museum คือที่ เอเชียทีค เลือก จึงต้องหากลุ่ม Player ใหม่ ๆ ที่ส่วนใหญ่ไม่มีในห้าง The Mall หรือ Central โดยต้องถามไอเดียของานเขาด้วยว่าเป็นอย่างไร สามารถเข้ากันหรือไม่ที่จะ เป็น Festival Market เฉพาะตอนกลางคืน

3.มีวิธีการการมอบหมายทีมงานอย่างไร

ตอบ มีทีม Development Division เป็นหัวใจในการตั้งต้น และชงทุกอย่างให้บอร์ดรองรับ เริ่มจากการคิด Concept และเมื่อได้ Concept แล้วจึงออกแบบ (Design) ให้เข้าคอนเซปต์ แล้วดูว่าร้านค้าที่จะเข้ามาในแต่ละโซนจะดีไซน์อย่างไรให้เหมาะสมกัน

ข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าลูกค้าต่างชาติส่วนใหญ่จะชอบ พวกงาน ศิลปะ จิวเวอรี่ ส่วนคนไทยจะชอบพวกแฟชั่น ของกิน และ Accessories ต่าง ๆ ปัญหาที่พบในช่วงเริ่มต้นคือไม่มีแรงจูงใจในการดึงลูกค้าดี ๆ เข้ามา และจากการสำรวจลูกค้าบอกว่าร้านเสื้อที่มาขายเหมือนร้านแพลตตินั่ม แต่ราคาสูงกว่า ต่อมาจึงได้พยายามปรับปรุง มีการทำ Survey กับลูกค้าว่ามาที่นี่แล้วได้อะไร มีการจัดทำร้านค้าที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่น กลุ่ม Gen Y คือทำงานระดับหนึ่งแล้วแต่ไม่มีที่จับจ่าย ก็จัดให้มีการตั้งโซนใหม่คัดสรรร้านค้าที่เหมาะกับ Gen Y

4.การแบ่งสัดส่วนงบประมาณในการบริหารเป็นอย่างไร

ตอบ ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากรประมาณบุคลากร 10-15% ของรายได้ ใช้งบทางด้านการตลาดประมาณ 5% และงบพัฒนาบุคลากรประมาณ 3 % (เทียบได้กับ Benchmark ของโลก)

ช่วงบ่าย

ศึกษาดูงาน ณ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)

คุณเพชรพริ้ง สารสิน ผู้อำนวยการใหญ่ ภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร ให้การต้อนรับและถ่ายรูปร่วมกับคณะ

และคุณจักรพงศ์ คล้ายมุข ผู้จัดการกองโฆษณา บรรยายเรื่องการสรัางและรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

เริ่มต้น โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึงการบริหารบุคลากรในการทำงานภายใต้วิกฤติ อย่างโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่ต้องพบกับสถานการณ์ซึ่งค่อนข้างรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะแพทยศาสตร์ทำหน้าที่ดูแลและผลิตบุคลากรที่เป็นแพทย์ แพทย์ต้องเสียสละเวลาเพื่อเรียนรู้และนำไปพัฒนา อย่างบางท่านที่มาก็เป็นหมอผ่าตัด

ในหลักสูตรนี้ ดร.จีระ ใช้ทฤษฎี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง เน้นการฝึกให้คนเป็นสังคมการเรียนรู้ และให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

คุณเพชรพริ้ง สารสิน ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และได้กล่าวถึงการบินไทยว่าจะ มี Code รหัสในการสื่อสารอย่างในส่วนของ Complex communication จะมี Code ที่ใช้เรียกกัน เช่น DD หมายถึงกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ส่วนคุณเพชรพริ้ง จะมี Code เรียกว่า D5 เป็นต้น

ได้กล่าวถึงการสื่อสารว่ามีทำ 2 อย่างคือ สื่อ Good News และ สื่อ Bad News

Good News – คือการส่งต่อภาพลักษณ์ให้คนทราบ อย่างการเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่ช่วยเหลือสังคม ส่งเสริมสังคม และรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดไฟล์ทพิเศษในพิธีฮัทช์ มีการร่วมกับนักท่องเที่ยวนำเด็ก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาชมการทำงานของฝ่ายช่างที่การบินไทย เป็นต้น

Bad News – คือเรื่องการรักษา Branding หรือภาพลักษณ์ ให้คงอยู่ จะทำได้อย่างไร อย่างกรณีเหตุการณ์ Crisis ที่เกิดขึ้นที่ราชประสงค์มีผลกระทบอย่างไร ทางการบินไทยอาจให้ความช่วยเหลือในการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงการเดินทาง และให้มีการดูแลผู้ป่วยจนถึงปลายทาง

เน้นการรักษา Branding เพื่อต่อสู้กับวิกฤติ มีการทำเรื่อง Marketing Communication และ Complex Communication อยากให้ดูทั้งในเรื่อง Internal และ External โดยต้องให้ข่าวใน Internal เท่าเทียมกับ External สม่ำเสมอ และควรให้มีความมั่นใจในการลงทุน ให้เชื่อมงาน Corporate Communication กับ Marketing Communication เข้าด้วยกัน ให้แต่ละโหนดของ Communication Network มีการสื่อสารกันเอง

ในด้าน Marketing Communication คนที่รับเรื่องคือ ลูกค้า (Customer)

ในด้าน Corporate Communication เป็นสิ่งที่โกหกไม่ได้ต้องมีการดูแลมากขึ้น ระวังด้านการสื่อสารและข้อความ (Message) เพื่อไม่ให้เสียภาพลักษณ์ของบริษัท

และเมื่อเกิด Crisis ทาง CMOC จะรายงาน DD โดยตรง เพื่อจะได้ชี้แจงไปยังส่วนต่าง ๆ

การวางแผนให้ภาพลักษณ์องค์กรออกไปทาง Good News มีการบริการอย่างไรที่ทำให้ลูกค้าสะดวกสบาย ต้องดูที่ Right tool, Right message, Right time , Right people

คุณจักรพงศ์ คล้ายมุข ผู้จัดการกองโฆษณา บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) บรรยายเรื่อง “การสร้างและบริหารองค์กรให้เป็นที่รู้จักของมวลชน”

เริ่มต้นว่าทำไมถึงต้องสร้างแบรนด์ Why Branding ?

  • การบินไทยมองที่จุดหมายปลายทางคือคุณ (คุณคือลูกค้าสำคัญที่สุดสำหรับเรา)
  • แบรนด์การบินไทยจัดได้ว่าเป็นแบรนด์แข็งแรงติดอันดับโลกแม้ว่าในช่วงที่การบินไทยประสบกับภาวะวิกฤติก็ตาม
  • วันนี้ธุรกิจแข่งขันกันด้วยสิ่งที่จับต้องไม่ได้
  • ทุกวันนี้ทุกคนซื้อสินค้าจากยี่ห้อ (หมายถึงแต่ละคนจะมีแบรนด์ในใจอยู่แล้ว) แต่ Consumer จะแตกต่างกันไป
  • Brand = สิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นความทรงจำของคน
  • Brandที่มี Value มาก ๆ อาจไม่ใช่สินค้าที่ต้องแพงก็ได้ เช่น โค้ก กับสิงห์ สิงห์ราคาสินค้าแพงกว่าโค้ก แต่ค่าแบรนด์โค้กแพงกว่า เป็นต้น
  • แบรนด์ระดับโลก และแบรนด์ของไทย
  • มีการนำแฟชั่นมาผนวกกับชิ้นงาน และ Focus ไปที่ Customer เป็นหลัก แต่ก่อนการบินไทย บินไปทั่วโลกถึง 5 ทวีป
  • มีสายการบินที่ร่ำรวยจำนวนมากในตะวันออกกลาง ดังนั้นการต่อสู้กันเชิงธุรกิจ ต้องพูดในข้อที่ได้เปรียบ จึงไม่สามารถพูดในเรื่อง Product ได้ เนื่องจากสายการบินตะวันออกกลางมีต้นทุนด้าน Product ที่เยอะกว่า และราคาน้ำมันถูกกว่า จึงควรหันมาเน้นที่การบริการกับรูปลักษณ์ที่คนให้การยอมรับ

Brand & Logo

ความสำเร็จของการสร้างแบรนด์

1. การเลือกสี สังเกตได้ว่าผลิตภัณฑ์ในทุก ๆ แบรนด์ต้องเป็นเจ้าของสี อย่างเช่น ธนาคาร สายการบิน เป็นต้น

2. การสร้างโลโก้ โลโก้เป็นตราสัญลักษณ์ที่คนจำได้ เช่น Cannon Sumsung Apple Nike แบรนด์บางอย่างที่เจ๋ง ๆ บางครั้งไม่จำเป็นต้องเขียนชื่อยี่ห้อก็สามารถรู้เลยว่าเป็นยี่ห้ออะไร เช่น แมคโดนัลล์ หลุยส์ เบนซ์ เชลล์ BMW(จากการสำรวจพบว่าถ้าคนมีเงินส่วนใหญ่ที่อายุไม่มากจะซื้อ BMW เป็นอันดับแรกเพราะมองว่าเป็นสัญญลักษณ์ที่แทนความไม่แก่)

Brand need Fan not Consumer “แบรนด์ที่จับต้องทางความคิดจะให้ผลทางพฤติกรรม แบรนด์ที่จับต้องจิตใจต้องการความรัก”

Think it good… Change to…

Feel it Good

เราต้องสร้างแบรนด์ของเราให้เป็นแบบนี้ให้ได้

เรื่องคุณค่า จับต้องไม่ได้ แต่มีผลในแง่ของจิตใจ เคยคิดหรือไม่ว่านาฬิกาทำไมราคาถึงแพง เช่น Rolex

ทำไม MK สุกี้ ถึงเกิดได้ ทั้ง ๆ ที่ โคคาสุกี้ดังมาก

โคคาสุกี้แต่ก่อนดังมาก แต่ MK สุกี้ สามารถเข้ามาในตลาดและสร้างชื่อเสียงได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยพยายามสร้างแนวคิดที่เป็นจุดขาย MK ได้นำแนวคิดเรื่องการมาทานอาหารร่วมกับครอบครัว สร้างเวลาแห่งความสุขที่อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา โปรโมทการตลาดของ MK ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และทำให้ MK เป็นที่รู้จักในระยะเวลาไม่นาน

Honda and Toyota

Honda จะพยายามสร้างแบรนด์ให้รู้สึก Premium กว่า Toyota โดยการไม่ยอมให้ Honda เป็น Taxi

Apple and Sumsung

ปัจจุบัน Apple กับ Sumsung มีการแข่งขันสูงมากในปัจจุบัน และได้มาแทน Nokia และยี่ห้ออื่น ๆ ที่อดีตเคยเป็นยักษ์ใหญ่

3. แบรนด์ต้องมีบุคลิกภาพ คือต้องเป็นตัวตนของแบรนด์ ทำอย่างไรให้ทุกคนสร้างคาแรกเตอร์ให้เป็นที่จดจำมากขึ้น

ณ ปัจจุบันแบรนด์สำคัญมากขึ้น Product สำคัญน้อยลง ณ วันนี้เทคโนโลยีทันกันหมด

“ต้องเป็นผู้นำเสมอเมื่ออยากสร้างแบรนด์ระดับโลก”

การสร้างแบรนด์ให้สำเร็จต้องมี 3 D มาจากแนวคิดของ Walt Disney ที่เติบโตมาจนถึงวันนี้ และเป็นที่รู้จักมาจากหนูหรือมิกกี้เม้าส์ คือ กล้าที่จะฝันและลงมือทำ ทั้ง ๆ ที่เขาเคยถูกมองว่าไม่มีความคิดสร้างสรรค์เพียงพอ และ ไม่มีผู้หญิงคนไหนชอบหนู แต่ก็สามารถทำให้ Walt Disney กลายเป็นที่รู้จัก เพราะไม่ล้มเลิกที่จะทิ้งความฝัน ต้องทำงานหนักเพื่อแลกกับอะไรหลายอย่าง และการยืนหยัดอย่างอดทนจึงทำให้เขาประสบความสำเร็จและมีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่คือ Disneyland

  • การสร้าง Dream
  • Product & Services

การบินไทย เติบโตมาในระยะเวลา 55 ปี ที่ต้องมีการพัฒนาไปพร้อมกับกระแสโลกปัจจุบัน

ดังนั้น การพัฒนาการบินไทยให้ก้าวหน้าต้องปรับให้ดูแปลกใหม่ขึ้น ล้ำสมัยขึ้น อย่างเช่น โลโก้แต่เดิมยังเป็นตัวโลโก้ร่วมกับฟอนต์ไทย ปรับให้เป็นสีม่วงกับสีน้ำเงิน เนื่องจากต้องการปรับลุ๊กซ์ให้ดูเป็น Business look มากขึ้น

พนักงานต้อนรับ เป็นจุดแข็งของการบินไทยที่สะท้อนไปที่งานด้านบริการ เชื่อว่าดีที่สุด

การบินไทยจึงมีแบรนด์ เรื่องการให้บริการ

วิธีการสร้างแบรนด์

ให้ลองศึกษาตัวอย่างการสร้างแบรนด์ของห้างในประเทศไทย เช่น ถ้ามองว่า ห้างที่เป็นอันดับหนึ่งระดับ Hi-end คือห้างใด คำตอบคือ Siam Paragon สังเกตได้จาก การทำการตลาดของหลุยส์ วิตตอง จะเปิดที่ห้างทอปหรือห้าง Hi-end เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีที่เกสร สยามพารากอน และเอ็มโพเรียม นับได้ว่าเป็นอีกกลยุทธ์ที่สร้างให้แบรนด์คงอยู่

สิ่งที่ยากสำหรับการบินไทยคือการรักษาแบรนด์ให้ดูพรีเมี่ยมสมที่เป็นสายการบินแห่งชาติ

คำถาม

  • โรงพยาบาลต่าง ๆ พยายามชูแบรนด์ด้านใดด้านหนึ่ง แต่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ต้องการให้คนมาใช้บริการน้อยเนื่องจากอยากให้คนมีสุขภาพดีขึ้น ในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ ในมุมมองของภาคเอกชนคิดว่าควรสร้างแบรนด์ในลักษณะใด
  • การบินไทยคิดว่าปัจจัยที่สำเร็จในการให้ลูกค้ามาใช้งานในปัจจุบันเป็นอย่างไร คู่แข่งคือใคร และจะมองหาความได้เปรียบได้อย่างไร
  • การจัดการเรื่องภาวะฉุกเฉินและวิกฤติผ่านมาได้อย่างไร
  • ภาวะวิกฤติ แตกต่างอย่างไร ถ้าไปประสบเหตุที่ใดใครต้องช่วยใครบ้าง

ตอบ โรงพยาบาลรัฐไม่เหมือนโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลรัฐจึงน่าจะมีการสร้างแบรนด์ให้น่าเชื่อถือเป็นที่พึ่งของประชาชน การทำ CSR เป็นส่วนสำคัญในการสร้างแบรนด์ จะทำให้รู้สึกดี สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รักของประชาชน ให้เป็นที่พึ่ง และเป็นที่น่าเชื่อถือ

ตอบ โดยหลักการไม่ถือว่าสายการบินภายในประเทศเป็นคู่แข่งเนื่องจากสายการบินไทยเป็นสายการบินพรีเมี่ยมแต่คู่แข่งที่น่ากลัวคือต่างประเทศ แต่ก่อนสิงคโปร์แอร์ไลน์ แต่ตอนหลังสิงคโปร์แอร์ไลน์นำหน้าไปแล้ว ที่เหลือแค่มาเลเซียแอร์ไลน์ แต่เรื่องการบริการของการบินไทยยังดีอยู่

จะสร้างแบรนด์อย่างเดียวไม่ได้ต้องมีทั้ง Product & Service ด้วย

แบรนด์สำคัญที่สุดคือคน คนคือปัจจัยสำคัญ การสร้างบุคลากรที่มีคุณค่าในสาขาอาชีพคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ภาพลักษณ์จะเกิดไม่ได้เลยถ้าไม่มีคนในการ Service นั้นด้วย

สิ่งที่การบินไทยเสนอคือ ทุกคนต้องจำวิสัยทัศน์องค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และตัวบุคคลคือแบรนด์ เป็น Thai International Brand

ดร.จีระ เสนอว่า ควรมีเรื่องความเป็นมืออาชีพ การทำอะไรเพื่อส่วนรวม ต้องสร้างให้คนมี Emotion ร่วมคือต้องมีคนไปพรวนดินหรือการพัฒนา และช่วยดู

ตอบ การบินไทยบินทั้งหมด 61 จุดหมาย นโยบายบริษัทขึ้นลงตลอดเวลา ภายในประเทศ มีการบินอยู่หลายเมือง Airbus 380 อาจยังมีน้อยอยู่ แต่ดูแลอย่างดี

โครงสร้างการบริหาร และเรื่องความปลอดภัยต้องรายงานตรงต่อ CEO เท่านั้น ประกอบด้วย 4 ฝ่าย มี 4 Area ที่สำคัญที่ต้องดูแล คือ การปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ ต้องมีเครื่องมือให้พร้อม ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถบินได้

เรื่อง Standard และความปลอดภัย เมื่อสายการบินเกิดเหตุขึ้นมาต้องมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมสามารถผ่านพ้นเหตุฉุกเฉินได้

หลักการการบริหาร

  • Reduction ลดโอกาสที่จะเกิดเหตุ การบินไทยมีศูนย์ CMOP ที่สำนักงานใหญ่และสุวรรณภูมิ ทำหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์การบิน และแจ้งเตือนผู้เกิดเหตุ ต้องประสานการประชาสัมพันธ์ นำเสนอเป็น Public Relation ออกไป
  • Readiness เตรียมความพร้อม คนพร้อม อุปกรณ์ ศูนย์ปฏิบัติการ แผนการฝึกซ้อม มี Crisis Combination Network ที่รวบรวมศูนย์ปฏิบัติการทั้งหมด มีศูนย์ให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบภัยทางอากาศและญาตมิตร แผนมีรองรับหลายรูปแบบทั้งฉุกเฉินและจัดการวิกฤติ เมื่อมีแผนพร้อม คนพร้อม ได้นำมาสู่การฝึกซ้อม เหตุที่เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่นเครื่องประสบอุบัติเหตุในสนามบิน และมีการกรณี Hijack ต่อต้านการก่อการร้ายสากล ทุกคนที่ลงมาเหมือนเป็น Suspect Person นอกจากนี้มีการซ้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
  • Reaction เมื่อเกิดเหตุต้องทำให้ได้ตามแผน
  • Recovery พยายามให้สู่ภาวะปกติเร็วสุด เสียหายน้อยสุดและแสวงหาประโยชน์

กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์เช่นผู้บริหารติดเชื้อ มีข้อแนะนำจากสายการบินพลเรือนระหว่างประเทศ มีเมื่อลงมาแล้วจะจัดการอย่างไรไม่ให้แพร่ระบาดได้ ต้องมีการฝึกในหลาย ๆ ฝ่าย และมีฝ่ายบริหารร่วมด้วยเพราะมีส่วนตัดสินใจ และเมื่อเกิดเหตุจริงต้องเอาบทเรียนที่เกิดมาซ้อม ซ้อมในเวลาจริง สถานที่จริงกับที่เกิดเหตุ การดูแลผู้โดยสารจนถึงการแถลงข่าวจริง ๆ ต้องมีการฝึกซ้อมทั้งภายในและภายนอกด้วย เมื่อเกิดเหตุฝ่ายบริหารต้องรวมตัวกันเพื่อบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินและสั่งการออกไป ต้องมีศักยภาพในการกู้อากาศยาน การใช้เทคโนโลยีที่ดีและกำลังคนที่ดี

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินส่วนสำคัญคือการสื่อสารในหลายมิติ การสื่อสารให้พนักงานภายในเข้าใจ จำเป็นอย่างยิ่งต้องสื่อสารให้ได้ในภาวะวิกฤติ ต้องมีแนวทางช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

กรณี Emergencyเหตุฉุกเฉิน

กรณี MH370 การบินไทยต้องเตรียมแสตนด์บายช่วยเหลือ ไม่รู้ว่าตกที่ไหนรู้ว่าหายไปที่ปลายแหลมยวนหรือไม่

ตัวอย่างของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ การบินไทยก็มีเส้นทางการบินใช้บินจากยุโรปมาสู่กรุงเทพฯ ทันทีที่เกิดเหตุ มีสั่งเปลี่ยนเส้นทางการบินทันที ทุกเส้นทางสามารถสับเปลี่ยนได้

สิงคโปร์แอร์ไลน์ มีออกข่าวไม่ได้บินในเส้นทางนี้

กรณีที่ปากีสถานเกิดเหตุผู้ก่อการร้ายโจมตีสนามบิน มีการระเบิดไปเยอะ เป็นกรณีบินฉุกเฉิน ตอนที่เกิดเหตุ เครื่องจอดอยู่ที่สนามบินพอดี สนามบินปิด ผู้โดยสารลูกเรือออกไม่ได้ คนอื่นที่ค้างมีสั่งในกรณีฉุกเฉิน ส่วนที่กำลังเดินทางมาสั่งเปลี่ยนสนามบิน

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนใหญ่มุ่งไปที่จุดเกิดเหตุเป็นหลัก ดังนั้นส่วนที่แถลงข่าวที่ดีที่สุดคือจุดเกิดเหตุ แสดงออกถึงความใส่ใจ ตระหนักรู้และรับผิดชอบต่อสถานการณ์

Crisis

ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่การบินไทยบินเยอะมาก เมื่อเกิดอะไรกับญี่ปุ่นจะกระเทือนกับการบินไทย เช่น นิวเคลียร์ระเบิดเครื่องที่กลับจากญี่ปุ่นทุกลำเปลี่ยนไส้กรองอากาศใหม่หมด ห้ามพนักงานนอนพักที่ญี่ปุ่น เตรียมพร้อมอพยพทันทีตลอดเวลา

น้ำท่วมปี 54 บางส่วนนอนที่สนามบิน ต้องย้ายศูนย์ปฏิบัติการไม่ให้น้ำทะลักเข้ามา พนักงานใจสู้ ทุกคนที่ทำงานไหวมาทำงาน ย้ายฐานปฏิบัติการจากดอนเมืองหนี รักษาส่วนที่สำคัญไว้ ที่สำนักงานใหญ่ย้ายฐาน

กรณีเสื้อแดง และกปปส. มาก็มีแผนปฏิบัติการย้ายฐานทัพหนี ตอนคุณสุเทพมาก็รับ มีการเลี้ยงอย่างดี มีการแก้ปัญหาวิกฤติจนทำให้ผ่านไปได้

กรณี Health Decease

ต้องประเมินทั่วโลกว่ามี Public Health ที่ไหนบ้าง ต้องหาโอกาส เราผ่านประสบการณ์การทำงานด้านนี้หลายครั้ง มีมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกได้

อีโบล่า Times จัดอันดับแพทย์ผู้ต่อสู้ เป็น Person of the year มีผู้ที่เดินทางจากประเทศเหล่านี้เดินทางมาที่สายการบินไทย ต้องมีแผนรองรับให้ได้

เรื่องเมอร์ส ที่เกาหลี ต้องมีมาตรการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและพนักงาน สายการบินไทยเป็นสายการบินที่ได้รางวัลการจัดการดีเด่น มีมาตรการการประชาสัมพันธ์ให้ Stakeholder เข้าใจว่าบินกับการบินไทยปลอดภัยที่สุด

Nepal Crisis

โชคดีที่สนามบินใช้ได้อยู่ สายการบินอื่นไม่บิน แต่การบินไทยบิน แต่รอจนปลอดภัยเพียงพอแล้วถึงลงจอด และมีทีมแพทย์ที่อำนวยความสะดวกจากสายการบินไทยเดินทางไปด้วย

คำถาม

  • น้ำท่วมที่ดอนเมืองมีบุคลากรมาทำงานไม่ได้และใช้เพียง 50% สามารถทำงานได้ หลังจากผ่านวิกฤติ ให้ค่าตอบแทนเขาหรือไม่
  • การที่รัฐบาลประกาศวันหยุด เป็นวันหยุดทางศาสนาอิสลาม ต้องนัดคนไข้ล่วงหน้า นัดแล้วตรงกับวันหยุด คณะแพทย์ประกาศหาความสมัครใจจากเจ้าหน้าที่ด้วยการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรเต็มใจมาปฏิบัติงานเยอะมากจึงสามารถช่วยรักษาพยาบาลได้ เป็นจุดศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือและพยาบาลผู้ป่วย การจัดการ Crisis คือความพลาดพลั้งในการรักษาผู้ป่วยจนเกิดการฟ้องร้องเกิดขึ้น ถ้าเกิดวิกฤติทางการแพทย์เกิดขึ้นด้วยเหตุอะไรก็ตามคนไข้เสียชีวิต มีมุมมองหรือข้อเสนอแนะในการจัดการด้านนี้อย่างไร
  • ถ้าประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งกลับมา มีรัฐมนตรีคุมกระทรวงคมนาคม มีบอร์ดที่ไม่หวังดี มีการคอรัปชั่นมหาศาล ทำให้ผลประกอบการไม่ดี อันนี้เป็น Crisis อันนึง แบบนี้ในอนาคตข้างหน้า มีความคิดเห็นอย่างไรที่จะ Defense Mechanism ผู้นำที่ดีต้องแก้ปัญหา เพราะวิกฤติแบบนี้เกิดขึ้นตลอดเวลา
  • องค์กรการบินระหว่างประเทศเป็นวิกฤติการบินไทยหรือไม่ กระทบหรือไม่และมีระบบการบริหารจัดการอย่างไร

ตอบ ยกตัวอย่างที่ครัวการบินไทย ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้เขาเนื่องจากเขารักษาฐานได้ดี และยินดีทำงานเต็มที่ การบินไทยชดเชยให้ส่วนนี้ และบ้านใครน้ำท่วมการบินไทยให้ส่วนชดเชยและความช่วยเหลือในกรณีบ้านน้ำท่วมด้วยทั้งที่มาทำงานได้และไม่ได้ มีการเลี้ยงดูครอบครัวพนักงานฟรี มีการจัดที่พักให้ มีการให้เช่าบ้านพักของทหารที่ระยอง มีการจัดการดูแลครอบครัวพนักงานในกรณีพิเศษ ได้เต้นท์เป็น 1,000 หลังจากวัดพระธรรมกาย มีเปิดห้องโรงแรมที่รัชดาให้พนักงานต้อนรับอยู่ด้วย

ตอบ อันดับแรกคือใครเป็น Authority และทำตามคำแนะนำเขา แนะนำได้แล้วปฏิบัติได้หรือไม่ มีการดำเนินงานตาม Authority ของเขาหรือไม่อย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่าในทางวิชาการไม่ว่าจะมอ.หรือการบินไทย Crisis นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นไม่ว่าอย่างไรต้องเตรียมความพร้อม เพราะเกิดแล้วก็เกิดอีกเรียกว่า Permanent Crisis ในอนาคตควรเก็บไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และถ้าถ่ายทอดให้คนไทยได้ทราบจะดีมาก

ตอบ ในส่วน Crisis management จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นหลัก อย่างกรณี กปปส. สหภาพถือหางข้างนึง ฝ่ายบริหารถือหางข้างนึง แต่เน้นอย่าให้มีผลกระทบกับธุรกิจการบินไทย อย่าให้มีการประท้วง หยุดงาน ทุจริต ละเมิดความปลอดภัยของบริษัท ต้องประสานกับสหภาพในการเคลื่อนไหว แต่อย่าให้มีผลกระทบกับบริษัท อย่าทุบหม้อข้าวตนเอง และพยายามคุยกับฝ่ายบริหารว่าประเด็นต่าง ๆ จะแก้อย่างไรในส่วนที่รับผิดชอบอยู่ แต่กรณีที่อาจารย์จีระกล่าว มี EEM ทำการควบคุมและแก้ไขปัญหาอีกที

ตอบ ต้นเหตุเกิดจากการบริหารของกรมการบินพลเรือนที่อาจดำเนินการทำให้ผู้ตรวจ IKO พบข้อบกพร่องว่ามีนัยสำคัญในการส่งต่อมาตรฐานไปยังประเทศต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานการบินสูงเช่นยุโรป

การบินไทยมีการดำเนินงานมาตั้งแต่เราทราบเหตุ ตัวมาตรฐานเป็น Minimum Standard ทำอย่างไรให้คนเชื่อ มีการเชิญหน่วยงานภายนอกมาตรวจจะพบว่า การบินไทยมีมาตรฐานสูงกว่า IKO อีก

มีการเตรียมพร้อม ถ้าเกิดโชคร้ายมา ถ้าบินไม่ได้ จะไปทำที่ไหน ต้องคิดล่วงหน้า และมีการทำแผนให้เรียบร้อย

การบินไทยเป็นสายการบินที่มีความเชี่ยวชาญ มีนักบินทุกส่วนที่ทำให้การบินผ่านไปได้ จะเอาตัวรอดอย่างไร

คุณเพชรพริ้ง สารสิน ได้กล่าวสรุปปิดท้ายว่าการมอง Core Value ที่มุ่งเน้นอยู่เสมอ คือการบินไทยเป็นมาตรฐานระดับโลก แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้คือความเป็นไทย Thai touch ภายใต้ค่านิยมHigh Touch , World Class, Thai Touch

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน 2558

ช่วงเช้า

การศึกษาดูงาน ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


กล่าวต้อนรับ โดย คุณสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์ รองผู้ว่าการบริหาร กฟผ.

ในนามการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้นำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลาคนรินทร์มาเยี่ยมชมกฟผ. เป็นความภาคภูมิใจที่ทางแพทยศาสตร์สนใจมาศึกษาดูงาน

การบรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ และแนวทางการจัดการพลังงานของกฟผ.

โดย คุณวราวุธ ศิริผล ผู้ช่วยผู้ว่าการนโยบาย กฟผ.

ก่อนที่ไฟฟ้าจะไปถึงแต่ละบ้าน ก็ต้องผลิตที่โรงไฟฟ้า ผ่านระบบส่ง กฟผ.มีส่วนในการผลิตและส่งไฟฟ้ากำลังสูง นอกจากนี้ ก็มีการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลดทอนกำลังไฟลงเพื่อให้มีขนาดเหมาะสมกับสายส่งไปยังแต่ละบ้าน

ผู้ที่ทำงานเรื่องไฟฟ้ามีอยู่ 2 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงานกับกระทรวงมหาดไทย กฟผ.ทำงานอยู่กับกระทรวงพลังงาน มีความพยายามหลายครั้งที่จะนำการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้ามาร่วมอยู่ในกระทรวงพลังงานด้วย แต่ว่า ยังไม่ได้ข้อสรุป ส่วนในเรื่องการวางแผนระบบในอนาคต กฟผ.ทำร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งจะต้องเชิญการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้ามาร่วมวางแผนด้วย

กฟผ.มีหน้าที่หลักในการผลิตและส่งกระแสไฟฟ้า เพื่อหารายได้พิเศษ จึงมีงานเพิ่มเช่น

1.ส่งพนักงานกฟผ.ที่เก่งไปเดินเครื่องให้กับโรงไฟฟ้าเอกชน

2.มีการให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรม

3.มีธุรกิจสื่อสาร เนื่องจากสายไฟฟ้าของกฟผ. เป็นใยแก้วนำแสงอยู่ส่วนหนึ่ง สามารถใช้ในการสื่อสารได้

4.กฟผ.ยังมีบริษัทในเครือ 5 แห่งในปัจจุบัน บางแห่งก็มีชื่อเสียงในตลาดหุ้นพอสมควรเช่น EGCO และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ทั้งสองบริษัทนี้ก็เป็นธุรกิจผลิตไฟฟ้า มีกิจการทั้งประเทศไทยและในต่างประเทศ กฟผ.ก็ถือหุ้นในบริษัทเหล่านี้ด้วย

5.ในระยะยาว ก็มีการไปหาเงินลงทุน ไปหาโอกาสลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน

6.สร้างพลังงานทดแทนให้เหมาะสมกับแผนของรัฐบาล

7.ปฏิบัติตนเป็นองค์การชั้นนำ

ไม่ว่ารัฐบาลจะแถลงนโยบายมาอย่างไร ก็มาถึงกฟผ.ทั้งนั้น ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกันคือนำพลังงานไปสร้างรายได้ให้มีความมั่นคง มีราคาเหมาะสม ไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มที่

คนทำแผนก็ต้องรับนโยบายผู้ว่าการด้วย ยังมีนโยบายอีกหลายด้าน ซึ่งผู้ว่าการไม่ได้แค่สั่งการเท่านั้น แต่ยังรับผิดชอบด้วยและต้องนำไปเสนอต่อคณะกรรมการกฟผ.ด้วย

ผู้ว่าการกฟผ.มีนโยบายคือ ธุรกิจหลักต้องมั่นคง การเงินต้องดีพอสมควร ต้องดูแลสิ่งแวดล้อม ต้องทำให้บุคลากรมีความสุข

ในแผนกฟผ. ก็จะเน้นเรื่องความท้าทายด้วย เช่น

1.การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ กฟผ.กำลังพยายามทำความเข้าใจกับชุมชนอยู่

2.เรื่องความมั่นคงของระบบ ต้องป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าดับ

3.เรื่องภาพลักษณ์ที่ดี กฟผ.ก็พยายามทำให้ประชาชนเห็นในคุณงามความดีของกฟผ.

4.เรื่ององค์กร ให้เป็นไปตามมาตรฐานของ องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง

5.เรื่องบริษัทลูก ก็ต้องดูแลให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายกฟผ.ด้วย

ในส่วนของรัฐบาล รัฐบาลก็ทำแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ ก็ถ่ายทอดมาให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงานก็มาถ่ายทอดให้แก่กฟผ. แสดงถึงการได้รับการถ่ายทอดมาจากหลายทาง แต่ข้อดีคือมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องความมั่นคง ราคาที่เหมาะสม สิ่งแวดล้อม เวลาที่กฟผ.ทำแผนก็จะยึดแนวทางเหล่านี้

เครื่องมือในการใช้ทำยุทธศาสตร์เหมือนส่วนอื่นๆ อาจจะมีเครื่องมือซับซ้อนขึ้นมาเช่น TQM และอื่นๆ เครื่องมือที่ใช้ในระดับบริหารคือ การวิเคราะห์การเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กฎหมาย มีการนำ SWOT มาใช้ ยึดหลัก Balance Scorecard ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กฟผ.ใช้เครื่องมือเหมือนที่อื่น แต่จะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์

แผนพลังงานของประเทศครอบคลุมความสมดุลทั้งสามด้านคือ

1.ความมั่นคง (Security)

2.ความเท่าเทียมกัน (Equity) ทุกคนสามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้

3.ดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment)

แผนนี้ถูกกำหนดอยู่บน 5 เสาหลัก คือ

1.Power Development Plan คือ แผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้า

2.Energy Efficiency Development Plan คือ การสร้างประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าให้สูงขึ้น

3.Alternative Energy Development Plan

4.แผนแก๊ส

5.แผนน้ำมัน

ทั้งหมดนี้รวมบูรณาการเป็นแผนพลังงานของชาติ โดยเน้น 3 เสาหลักคือ ความมั่นคง (Security)

ความเท่าเทียมกัน (Equity) และดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment)

กฟผ.มีการดูแลความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าโดยกระจายแหล่งผลิตไปยังส่วนอื่นๆด้วย ได้แก่

1.ลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติลงจาก 70% เหลือ 37% ในปลายแผน

2.โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนก็จะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 7% เป็น 18%

3.มีโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วย

ในเรื่องสิ่งแวดล้อม กฟผ.หันมาใช้พลังงานทดแทน โดยจะมีพลังงานทดแทนมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล (Biomass) จากพืชและสัตว์

มีการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า มีการลดการใช้ไฟฟ้าลงในภาคต่างๆเช่น

1.ภาคราชการจะลดลง 8%

2.ภาคที่อยู่อาศัยลดลง 15%

3.ภาคธุรกิจลดลง 40%

4.ภาคอุตสาหกรรมลดลง 38%

ทั้งหมดนี้เป็นการลดการใช้ไฟฟ้า ไม่ใช่การลดความสะดวก

สรุปแล้ว แผนพลังงานของประเทศจะทำอยู่บนความสมดุล 3 ด้านซึ่งเป็นหลักการของโลกเรียกว่า World Energy Council ซึ่งกำหนดว่า ในการพัฒนาพลังงานจะต้องดูแล 3 ด้านให้สมดุลกัน ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เช่นเรื่องความมั่นคง ก็จะต้องดี เรื่องราคา ทุกคนจะต้องเข้าถึงไฟฟ้าได้ ราคาจึงต้องเหมาะสม ในเรื่องสิ่งแวดล้อม จะต้องไม่สร้างผลกระทบ ถ้าเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว ก็เน้น Renewable Energy มาก ทำให้ลงทุนสูง จะได้สิ่งแวดล้อมที่ดี แต่มีความมั่นคงน้อย ราคาสูง แต่ถ้าเน้นเรื่องความมั่นคง เช่นโรงไฟฟ้าฟอสซิลมากๆ สิ่งแวดล้อมก็ไม่ดี แต่ราคาต่ำ ดังนั้นต้องให้ความสำคัญทั้งสามด้านเท่าเทียมกัน (Optimize)

การบรรยายเรื่อง การพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคลของกฟผ. โดย คุณภาวนา อังคณานุวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการทรัพยากรบุคคล กฟผ.

กฟผ.มีการทำโครงการ Chula Talent ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมาเข้าโครงการ ตอนที่มา ก็มาสมัครสอบ ทำให้ทราบว่า กฟผ.ก็ไม่ด้อยกว่าที่อื่น

HRM ต้องมีหน้าที่ติดตามความเป็นไปของโลกด้วย วันนี้ทุกคนเร่งที่จะทำสิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอ

สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนมีความสุขคืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย เช่น สภาพแสงและอุณหภูมิในการทำงาน สภาพอากาศ ที่นั่งทำงาน องค์กรจะต้องดูแลให้ดี

เมื่อพนักงานเข้ามา ก็ต้องมีการขัดเกลาให้เข้ากับองค์กร มีระบบต่างๆ ดูแลแล้ว ก็ต้องมีการประเมินผล กฟผ.มี KPIs สำหรับประเมินผล KPIs บุคคลก็ร้อยตาม KPIs ที่มาจากองค์กร

เมื่อกำหนดยุทธศาสตร์ขึ้นมา ก็จะมีการกำหนดแผนต่างๆขึ้นตามมา มีตัวชี้วัดในระดับองค์กรซึ่งจะถูกถ่ายโอนลงมาจนกระทั่งในระดับบุคคล เพราะฉะนั้นการประเมินจะสอดคล้องกับ KPIs โดยใน KPIs นั้นไม่ใช่แค่เรื่องงานเท่านั้น แต่ยังมี KPIs พฤติกรรมที่เป็นไปตามค่านิยมขององค์กร ซึ่งจะประเมินทั้งการทำงานและพฤติกรรมตามความเป็นจริง เมื่อเป็นแบบนี้ พนักงานย่อมมีความพึงพอใจ แล้วจะเกิดความมุ่งมั่นทำงาน เห็นผลลัพธ์ และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของในงานที่ทำ เกิดความผูกพัน องค์กรก็จะรักษาคนไว้ได้

จากที่ได้ไปที่ฮาร์วาร์ดและเคมบริดจ์ ก็ได้ผนวกความรู้ที่ได้เป็นโมเดลนี้ กฟผ.มีความเชื่อมั่นว่า ถ้าคนอยู่ในองค์กรกฟผ. ทำงานอย่างทุ่มเทเต็มที่แล้ว ก็จะทำให้องค์กรกฟผ.เป็นองค์กรแห่งความภาคภูมิใจของประเทศชาติ

ในด้านการพัฒนาคน ต้องแปลงวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ยุทธศาสตร์องค์การ กฟผ.มีการจัดทำ Competencies และ Core Capabilities ต้องแปลงพวกนี้ให้ชัดเจน กฟผ.มีตัวขับเคลื่อนทางธุรกิจ HR Master Plan วันนี้มีแผนขับเคลื่อนเรื่องธรรมาภิบาลในการจัดทำเป็นแผนแม่บท พวกนี้เป็นสิ่งที่ต้องนำมาเป็นตัวตั้งทั้งสิ้น แล้วใส่ในโปรแกรมที่ให้กับพนักงาน

เรื่องคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในโปรแกรมตั้งแต่ต้น

1.ในการเลือกคน จุดแรกในการคัดเลือกบุคลากร มีแบบทดสอบก่อนเข้า มีการ Mapping ระดับหนึ่งว่า ผู้สมัครมีค่านิยมใกล้เคียงกับกฟผ.หรือไม่

2.การสัมภาษณ์ กระบวนการสัมภาษณ์ทำให้ทราบ Mindset ของผู้สมัคร ทำให้ทราบว่าผู้สมัครสามารถอดทนทำงานให้กับองค์กรได้มากเท่าไร ปีนี้ คุณภาวนาได้สัมภาษณ์ผู้สมัครในส่วนภาษาอังกฤษ 100 กว่าคน แต่คนที่สามารถรับเข้ามาทำงานได้ เป็นผู้สมัครที่มีใจใหญ่ ซึ่งสามารถทำงานหนักได้ดีแม้จะเหนื่อยก็ตาม

3.กระบวนการเสริมสร้าง เมื่อรับคนเข้าทำงานแล้ว มีการพัฒนาตั้งแต่แรกเข้าคือปฐมนิเทศ มีโปรแกรมดูแลตลอดช่วงการทำงานในกฟผ.

ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ปักตามค่านิยมกฟผ.แล้ว เมื่อ1 สัปดาห์ก่อนการดูงานครั้งนี้ กฟผ.ได้เชิญท่านกล้าณรงค์ จันทิกมาบรรยาย ท่านกล่าวว่า กฟผ.ควรภูมิใจว่า ท่านได้นำค่านิยมกฟผ.ไปบรรยายทุกแห่ง เพราะค่านิยมกฟผ.สอดคล้องกับธรรมาภิบาล กฟผ.มีของดีครบทุกอย่างแล้ว

4.ระบบการประเมินผล กฟผ.มี Soft KPIs ประเมินโดยสอดคล้องกับค่านิยมกฟผ. ในส่วนโครงสร้าง กฟผ.มีหน่วยงานเฉพาะที่ดูแลและส่งเสริมค่านิยมกฟผ. กฟผ.มีการจัดทำคู่มือจรรยาบรรณและค่านิยมสำหับผู้ปฏิบัติงาน และคู่มือสำหรับผู้บริหารใช้บริหาร เพื่อช่วยกันส่งเสริมค่านิยมให้เกิดขึ้นในองค์กร ส่งเสริมค่านิยมในการทำงานรายวัน ในขณะเดียวกัน กฟผ.มีการรณรงค์พฤติกรรมพึงประสงค์ให้กับพนักงาน เมื่อทำดี มีการยกย่อง เชิดชู ให้รางวัล มีรางวัลบุคคลต้นแบบ กฟผ.ยังมีการกระตุ้นจิตสำนึกโดยใช้ภาพยนตร์สั้นด้านคุณธรรม จริยธรรม กระตุกอยู่เสมอ กฟผ.มีชมรมเสริมสร้างการเป็นศาสนิกชนที่ดีตามแนวปฏิบัติของแต่ละศาสนา จะเห็นได้ว่า กฟผ.ไม่ได้เลือกปฏิบัติ นี่เป็นเรื่องที่กฟผ.ให้ความสำคัญมาก สำหรับคนนับถือศาสนาพุทธ ก็มีกิจกรรมใส่บาตรทุกวันพฤหัส มีห้องของชมรมให้นั่งสมาธิได้ทุกวัน สำหรับชาวมุสลิม ก็มีห้องละหมาด มีการละหมาดทุกวัน สำหรับชาวคริสต์ ก็มีกิจกรรมสวดภาวนาทุกวัน มีการนิมนต์บาทหลวงมาเทศน์ ซึ่งดำเนินการมานานแล้ว กฟผ.ยังมีระบบรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะทำให้เกิดการติดตามผลและแก้ไขปัญหา เมื่อมีคนทำผิด ก็มีการลงโทษทางวินัย

ช่วงถาม-ตอบ

คำถาม

อาชีพหมอที่ทำงานให้กับกฟผ. เนื่องจากไม่ใช่วิชาชีพหลัก หมอได้รับการดูแลในเรื่อง career น้ำหนักได้แค่ไหน มันจะแตกต่างไปในทุกองค์กร

ตอบ

หมอที่อยู่ในกฟผ.ที่ผ่านมาเคยเติบโตไปถึงระดับรองผู้ว่าการ เมื่อเติบโตขึ้นมาในจุดบริหาร ไม่ได้มาในส่วนของวิชาชีพ เมื่อมาถึงตำแหน่งบริหาร ต้องมีหน่วยงานภายใต้บังคับบัญชา เรื่องความเป็นธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามองในหน่วยงานเดิม วิชาชีพเดิมจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมได้

ช่วงบ่าย

การศึกษาดูงานโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

การนำชมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและพืชสมุนไพร

1.ตาล ตาลนำมาสู่อาชีพลอกร่องสวน เพื่อไม่ให้คูตื้นเขินและจะทำให้น้ำเข้าถึง อาชีพการลอกร่องสวนก็เริ่มหายไป ราคาจากเดิมร่องละ 300 บาท ก็จะเริ่มสูงขึ้น อายุเฉลี่ยของคนทำอาชีพนี้คือ 60 ปีขึ้นไปเพราะเด็กสมัยนี้ไม่นิยมทำ

2.มะพร้าวแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

2.1 มะพร้าวพันธุ์เตี้ย อายุ 1-2 ปี ให้ผลผลิต

2.2 มะพร้าวพันธุ์สูง อายุ 5-10 ปีขึ้นไปจึงให้ผลผลิต มักมาพร้อมกับที่ดินที่ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลผลิตจากมะพร้าวพันธุ์สูงคุ้มค่ากว่า

แต่ก่อนมีคนขึ้นมะพร้าวต้นละ 15 บาท ตอนนี้ไม่มีคนขึ้นแล้ว เพราะมีอัตราเสี่ยงตกลงมาเสียชีวิตสูงขึ้น อาชีพเกี่ยวกับมะพร้าวจึงลดลงเรื่อยๆ

พันธุ์มะพร้าวที่มีเป็นพันธุ์ในท้องถิ่นได้แก่ มะพร้าวไฟ มะพร้าวหมูสี มะพร้าวนาฬิเกซึ่งเป็นพันธุ์หายาก

3. ลิ้นจี่ เป็นพืชเศรษฐกิจเดิม สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรปีละเป็นล้านๆบาท ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว ปัญหาคือช่วงอากาศร้อนนาน แต่ช่วงอากาศหนาวสั้น จึงไม่สามารถให้ผล ตามปกติ ลิ้นจี่จะให้ผลแค่ 1 เดือนคือ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ตอนหลังเป็นพืชอนุรักษ์

ลิ้นจี่พันธุ์ค่อมลำเจียกเป็นที่นิยมมากที่สุด

ข้อดีของลิ้นจี่ที่โครงการคือเนื้อแห้ง รสชาติหวานอมเปรี้ยว เมล็ดค่อนข้างเล็ก

ในด้านการตลาด เกษตรกรที่อัมพวาไม่ได้ออกไปหาตลาดเหมือนทางภาคเหนือ แต่สามารถเก็บลิ้นจี่ขายในสวน พ่อค้าคนกลางและลูกค้าจะเข้ามาซื้อถึงในสวนเพราะลิ้นจี่มีคุณภาพ ทำให้เกษตรกรสามารถกำหนดราคาได้ มีราคาขายเฉลี่ยออกจากสวนประมาณ 120-300 บาท จังหวัดสมุทรสสงครามจึงไม่ค่อยมีปัญหาในการจำหน่ายผลผลิต

ลิ้นจี่พันธุ์อื่นๆที่มีได้แก่ ลิ้นจี่พันธุ์ ไทย จีน กะโหลก สำเภาแก้ว กระโถนท้องพระโรง เขียวหวาน ซึ่งมีรสชาติที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม คนจึงไม่รู้จัก

ลิ้นจี่พันธุ์เขียวหวาน เวลาสุก ลูกจะเป็นสีเทา

ลิ้นจี่พันธุ์กระโถนท้องพระโรง ลูกใหญ่มากแต่รสชาติเหมือนกระโถน

ลิ้นจี่พันธุ์สำเภาแก้วมีสีชมพู เนื้อหอม รสชาติค่อนข้างดี หายาก ให้ผลเมื่อมีอุณหภูมิน้อยกว่า 15 องศาเซลเซียส ซึ่งที่โครงการนี้มีต้นใหญ่อยู่ด้านในของสวน มีอายุยืนถึง 80 ปี แต่ลิ้นจี่พันธุ์อื่นๆในสวนโครงการมีอายุ 50 ปีขึ้น

ลิ้นจี่ค่อมให้ผลเมื่อมีอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

ปีนี้ ลิ้นจี่ให้ผลน้อย ทำให้เกษตรกรเก็บต้นลิ้นจี่ไว้น้อย

พื้นที่ปลูกลิ้นจี่ลดลงจาก 2,000 ไร่ เหลือแค่ 1,500 ไร่

3. ส้มโอ ส้มโอพันธุ์ที่มีอยู่ในสวนโครงการคือส้มโอขาวใหญ่ ซึ่งมีเนื้อแห้งหวานกรอบ ไม่มีเมล็ด ปัจจุบันนี้ปลูกได้ทั้งปี ส้มโอจะมีรสชาติดีในช่วงฤดูร้อน

วิถีชีวิตชาวอัมพวาจะกลายเป็นระบบโรงงานอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก

ทางโครงการทำเตาตาลขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตของคนทำน้ำตาลมะพร้าวแต่ดั้งเดิมทั้งหมดและทำให้ผู้บริโภคได้รับประทานน้ำตาลที่มีคุณภาพแท้ ช่วยให้ราคาน้ำตาลสูงขึ้นเป็นการป้องกันไม่ให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม

การสร้างกลุ่มเกษตรกรทำให้เกิดความยั่งยืน ไม่ผลิตน้ำตาลที่ได้คุณภาพ

เตาตาลทำงานทุกวันเริ่มตั้งแต่เวลา 9.30 น. เวลา 14.30 น. เป็นการยกน้ำตาลลง ขั้นตอนสุดท้ายคือการบรรจุหีบห่อ

น้ำตาลมะพร้าวได้จากส่วนของดอกมะพร้าว ทำโดยโน้มงวงหรือดอกมะพร้าวมาปาดเพื่อให้ได้น้ำตาลใส แล้วนำไปเคี่ยวในกระทะประมาณ 1-2 ชั่วโมง เมื่อเคี่ยวจนงวดแล้วยกลงจะได้ Syrup ถ้าไม่กระทุ้ง ถ้านำเหล็กเข้าไปตี ให้อากาศเข้าไปทำปฏิกิริยากับเนื้อน้ำตาลจนน้ำตาลแข็งตัวแล้วหยอดใส่ภาชนะเรียกว่า น้ำตาลหม้อ ซึ่งเดิมหม้อดิน ต่อมาใส่ปี๊บจึงเรียกว่า น้ำตาลปี๊บ

การทำน้ำตาลเป็นการกระจายรายได้ให้ชุมชน

การบรรยายแนวทางการดำเนินงานโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

มูลนิธิชัยพัฒนามีโครงการหลากหลายทั่วประเทศ โครงการนี้เป็นโครงการในหลวงที่อยู่ในตลาดน้ำ มีการทดลองการผลิตพลังงานให้สามารถใช้ได้จริงก่อนขยายผลไปยังชุมชน

ปัญหาของโครงการในระยะแรกคือเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แต่ปัญหาในปัจจุบันเป็นเรื่องการตลาด

โครงการนี้แตกต่างจากโครงการอื่น เพราะเป็นงานวัฒนธรรมกับการพัฒนา

เมื่อปี 2545 คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวาได้น้อมเกล้าฯถวายที่ดินต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ บรมราชกุมารี ซึ่งมีพื้นที่ 21 ไร่ 12 ตารางวา แล้วมีรายอื่นๆถวายที่ดินเพิ่มอีก 25 ไร่ จึงมีพื้นที่รวมในปัจจุบัน 26 ไร่ เป็นพื้นที่ใหญ่ใจกลางตลาดน้ำ

ปี 2547 เทศบาลตำบลอัมพวารื้อฟื้นตลาดน้ำอัมพวาจนเป็นที่รู้จักอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2551 ชาวบ้านต้องการทำตลาด เปิดปรับปรุงพื้นที่

ปัญหาเดิมที่พบคือ การขาดอาชีพ ทำให้มีขโมยมาก เมื่อคนมีอาชีพ แต่ปัญหาในปัจจุบันคือการไม่รู้จักพอ

โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ดำเนินงานตามแนวพระราชดำริคือ

  • การอนุรักษ์วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน แต่ต้องช่วยให้ประชาชนพออยู่พอกิน การ
  • ส่งเสริมอาชีพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และวิถีชุมชนคือการเกษตร
  • นำการท่องเที่ยวเข้ามาเป็นเครื่องมือการพัฒนา ทำการท่องเที่ยวแล้วต้องให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์ แล้วจะเกิดความยั่งยืน ตัวอย่างเช่น ในฤดูร้อนทำเส้นทางมัสมั่น เส้นทางน้ำตาลมะพร้าว มีการบอกเล่าเรื่องราว ทำเป็นกิจกรรมท่องเที่ยว มีการจัดให้นักท่องเที่ยวชมการแกะสลักกะลามะพร้าวเป็นกะลาซอ การทำว่าวจุฬา มีกิจกรรมผจญภัยแบบปลูกป่าชายเลน มีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ห้องน้ำ ความปลอดภัย มีการค้นหาคนที่กล้าเปลี่ยนผ่าน กล้าลงมือทำแล้วนำเสนอผ่านรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมคนดี
  • สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เช่นร่วมกันกับภาคประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีปราชญ์และศิลปินเป็นที่ปรึกษา

พัฒนาจะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่มีในชุมชน

กิจกรรมโครงการได้แก่

ทำการค้าขายในวันเสาร์อาทิตย์ ถือเป็นการทำการท่องเที่ยว ทำเป็นตลาดตอนเย็น นำคนกรุงเทพมาเที่ยวส่วนวันจันทร์ถึงศุกร์ ทำสวน

ร้านชานชาลาขายในสิ่งที่คนอื่นไม่ขาย คิดการค้าขายแบบเพื่อนคู่ค้า

โครงการเป็นต้นแบบ ให้ชาวบ้านปฏิบัติตาม แล้วพัฒนาชาวบ้านให้เก่งกว่า เมื่อเก่งกว่า โครงการก็ไปบุกเบิกพัฒนาด้านอื่น

บริการการท่องเที่ยวประกอบด้วย 3 อย่าง

1.ชม คือ อาหารตา

2.ชิมคือ ของกิน

3.ช็อป คือ ของฝาก เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น

ทางโครงการเริ่มวิจัยโดยทำร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตบางมด และมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด ในด้านวุ้นจากมะพร้าว กระดาษ และการผลิตสินค้าจากวัสดุเหลือใช้

ร้านสินค้าชุมชน มีปัญหาคือ คนขายเป็นเกษตรกร มีทักษะการขายไม่ค่อยดี มีภาพลักษณ์ไม่น่าเชื่อถือ ขายแป้งเกลือจืด จะต้องมีคนผิวสวยเป็นคนขาย จึงต้องพัฒนาทักษะการพูดและการขาย ซึ่งทำมา 5 ปีแล้วมาทำเป็นวิสาหกิจชุมชน มีคนสั่งซื้อให้ไปส่งถึงไปรษณีย์

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ชัยชนะการพัฒนาคือต้องอนุรักษ์แล้วพัฒนา

คำถาม

1. เมื่อพัฒนาแล้ว มีตัวชี้วัดว่าลูกหลานของชุมชนกลับมาหรือไม่

ตอบ

ในอดีต ไม่มีคนรุ่นใหม่กลับมา แต่ตอนหลังมีวิศวกรกลับมาเป็นเกษตรกร เด็กรุ่นใหม่ที่ทำงานมีประสบการณ์แล้ว ก็กลับมาพัฒนาธุรกิจของตนเองบนพื้นฐานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

บางคนอาจอยู่ศึกษาต่อต่างประเทศ เป็นการมองตลาดไกล

ร้านค้าในวิสาหกิจชุมชนเป็นร้านค้าของคนรุ่นใหม่ในจังหวัดสมุทรสงคราม ถ้าธุรกิจไปได้ เด็กรุ่นใหม่ก็กลับมา แต่ต้องมีการสร้างแรงจูงใจ

2. อีก 10 ปีข้างหน้า อัมพวาจะเป็นอย่างไร

ตอบ

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การขยายโอกาสจากตลาดน้ำไปสู่การเกษตร ทำอย่างไรให้เกษตรกรทำสวนได้

น้ำตาลมะพร้าวมีคุณสมบัติเทียบเท่า Maple Syrup จึงได้มีการพยายามสื่อสารว่าคนเก็บน้ำตาลต้องได้รับผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยง

ในอีก 10 ปีข้างหน้า สมุทรสงครามจะเต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวและพัฒนากิจการสืบทอดจากบรรพบุรุษ และจะมีความยั่งยืนในอาชีพค้าขายด้วย

ช่วงค่ำ

เสวนาระหว่างผู้แทนจาก 4 สถาบัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “ประสบการณ์จากการเรียนรู้ผ่าน

ทฤษฎีของ ดร.จีระนำไปสู่การปฏิบัติและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารความหลากหลาย ระหว่าง

- คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

- มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และ

- มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เปิดการเสวนาโดยเล่าว่า ได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มา 30 ปี ตอนที่เรียนจบปริญญาเอกใหม่ๆ ก็ได้มาสอนที่คณะวิทยาการจัดการและเป็นที่มาที่ได้มาเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เนื่องจากพี่ชายของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ชื่อศ.นพ.ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์เป็นอธิการบดี และผศ.จงพิศ ศิริรัตน์ซึ่งเป็นคณบดี คณะวิทยาการจัดการได้เสนอชื่อไป และได้เป็นโอกาสมาทำงานกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยที่มาร่วมเสวนาครั้งนี้ได้แก่

1.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2.มหาวิทยาลัยคริสเตียนซึ่งมีการสอนระดับปริญญาโทสาขาพยาบาล

3.มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง

4.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึงและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีการสอนระดับปริญญาเอก อาจารย์ที่มามาร่วมเสวนาครั้งนี้ส่วนมากเป็นลูกศิษย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเรียนกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์แค่ 6 ชั่วโมง แต่ผู้เข้าร่วมโครงการเรียน 18 วัน ครั้งนี้คณาจารย์หลายท่านและที่ไม่ได้เรียนกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ก็เชิญให้ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กลับไปเป็นที่ปรึกษา

เมื่อ 2 เดือนก่อนการเสวนาครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เชิญศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ไปบรรยายเรื่องการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เน้นวิชาการเชิงลึกคือตัว T แล้วไปทำมุมกว้างคือเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เสวนาครั้งนี้เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ ทีมงานของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์คือคุณจงกลกร สิงห์โตได้สนอมาและก็ประสานงานกับทั้ง 4 สถาบัน

ทั้ง 4 สถาบันมาด้วยความรักต่อศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ไม่ได้เป็นโค้ชแค่เรื่อง 8K’s และ5K’s เท่านั้น แต่ยังเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ด้วย วิทยานิพนธ์ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ตีพิมพ์ลงใน Journal ของ University of Chicago ติดอันดับหนึ่งในสามของโลก อาจารย์ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ก็ได้รับรางวัลโนเบล เวลาเรียนกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ต้องเน้นความลุ่มลึก คณะแพทย์ยิ่งใหญ่มาก ทุกอย่างที่เรียนสามารถนำไปต่อยอดได้

ตอนที่ไปดูงานที่การบินไทย ก็มีการกล่าวถึง Crisis Management ซึ่งถือเป็นภาวะผู้นำแบบหนึ่งของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คณะแพทย์ มอ.สามารถนำเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ได้

หลังจากเสวนาครั้งนี้ ทั้ง 5 สถาบันสามารถเชื่อมโยงกันได้ทาง Social Media ถ้ามีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันจะเกิด 3V’s คือ Value Diversity ด้วย

นพ.อนุพงศ์ นิติเรืองจรัส ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการคลังและบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำเสนอว่า

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้

วิสัยทัศน์ของคณะแพทย์คือเป็นคณะแพทย์ชั้นนำระดับนานาชาติเพื่อเมืองไทย

ภารกิจหลักคือ

1.การเรียนการสอน ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

2.การวิจัย

3.การบริการ

4.ทำนุบำรุงวัฒนธรรม

โชคดีที่คณบดีเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จึงเชิญดร.จีระมาทำโครงการให้ โครงการนี้ให้โอกาสผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับกลางเข้าร่วมโครงการด้วย

พญ.สุมิตรา ประเทพ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำเสนอว่า พญ.สุมิตรา ประเทพ ดูแลงานวิเทศสัมพันธ์ ทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน ติดต่อประสานงานกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ พยายามส่งเสริมให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนได้ออกไปเปิดโลกทัศน์และได้รู้จักมหาวิทยาลัยต่างๆในต่างประเทศ การมีการลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับประเทศในเอเชีย ยุโรป สหรัฐอเมริกา จะมีการแลกเปลี่ยนด้านต่างๆ เช่น ด้านเจ้าหน้าที่ หลักสูตร ทำให้สามารถดำเนินการตามวิสัยทัศน์คณแพทย์ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้กล่าวว่า คณะแพทย์มีบทบาทมาก เพราะเป็นแหล่งงบประมาณมหาศาลของมหาวิทยาลัย หลักสูตรนี้เรียน 3 เดือน อ่านบทความ Harvard Business Review และผู้เข้าร่วมโครงการวิเคราะห์แบบตีโจทย์แตก

ตอนนี้มีโครงการที่แก่งกระจาน เชิญดร.จีระ ฝึกลูกเสือชาวบ้าน สนับสนุนโดยคุณโอฬาร อัศวฤทธิกุล อาจจะเชิญทั้ง 4 สถาบันไปร่วมด้วย

บรรยากาศครั้งนี้ต้องช่วยกันกระเด้ง

พญ.สุมิตรา ประเทพ จะร่วมมือกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ทำงานร่วมกับ University of Washington

ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้นำเสนอว่า ได้รู้จักศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ตั้งแต่สมัยหนุ่มที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ยินชื่อเสียงศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์คือ เก่ง ดี เจ๋ง แจ๋ว และต่อมาได้เรียนปริญญาเอกกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นผู้ให้อย่างแท้จริง ให้ความรู้มากมาย

ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ เป็นผู้บริหารของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ทางวิชาการก็เป็นคณบดีคณะวิทยาการจัดการ 2 สมัย เมื่อขึ้นมาเป็นรองอธิการบดีก็บริหารหน่วยธุรกิจของมหาวิทยาลัย หารายได้ให้มหาวิทยาลัย

ทฤษฎีของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์สามารถนำไปใช้ได้มากมาย จากที่ได้เรียนรู้จากศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์คือ คนสำคัญที่สุดในทุกสิ่ง ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าคนขาดจริยธรรมและความรู้จะทำให้องค์กรแย่

หลักการที่สำคัญคือ

1.พัฒนาคน

2.พัฒนาวิธีคิดและระบบ

3.ทำงานแล้วต้องมี Recovery หรือ Evaluation

4.ทำงานร่วมกันแล้วจะเกิด Smart Organization

พันธกิจของมหาวิทยาลัยคือ ในด้านวิชาการ เน้นการเป็น Academic Excellence คนมีคุณธรรม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และดูแลสังคม

ในเรื่องวิสัยทัศน์ส่วนตัว คือ คิดไปข้างหน้า ในสิ่งที่อยากทำและทำได้ การคิดได้แบบนี้เพราะศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์สอน แล้วผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ นำไปต่อยอดได้มากมาย

ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ มีลูกญาติเป็นหมอและพยาบาล ที่บอกว่า คณะแพทยศาสตร์เป็นหัวใจในการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศยั่งยืน ด้านสุขภาพและอนามัย

การที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้มีโอกาสเข้ามาทำโครงการให้คณะแพทยศาสตร์ เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเพราะได้มาปลูกฝังทุนมนุษย์เพื่อให้เห็นคุณค่าของมนุษย์มากขึ้น

ดร.ธนพล ก่อฐานะ ผู้อำนวยการหลักสูตร ปริญญาโท โลจิสติกส์และซัพพลายเซน มหาวิทยาลัยคริสเตียน ได้กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาพูดให้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และได้ขอบคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อปี 2540 ดร.ธนพล ก่อฐานะล้มละลายพันกว่าล้านบาท และได้เขียนบทความแต่ไม่ได้รวมเล่ม

ดร.ธนพล ก่อฐานะ มาจากครอบครัวยากจนแล้วรวยด้วยตนเอง หลงตัวเองจึงผิดพลาด ประสบความสำเร็จมากเกินไป ทำให้ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง ดร.ธนพล ก่อฐานะเรียนจบปริญญาตรีด้านบัญชีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในขณะที่เรียนอยู่ ก็ได้ทำกิจกรรมตลอดเวลา ได้รับการยอมรับ ไปสอนปริญญาโทจนสุดท้ายไปเรียนต่อปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะเรียนจบปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ต้องสอบรายงานที่ทำมาตลอด 2 ปี ก็ตอบได้เพราะรายงานแต่ละเล่ม ก็ได้นำเสนอต่อธนาคารถึง 10 รอบจึงจะกู้ได้ จำได้ทุกอย่างเพราะทำเอง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยช่วยให้ดร.ธนพล ก่อฐานะ ไม่ตายด้วยความผิดหวัง จึงประสบความสำเร็จมาก

ดร.ธนพล ก่อฐานะ ล้มละลายหลังจบปริญญาโท แล้วมาเรียนปริญญาเอกกับอาจารย์จีระ ตัดสินใจเรียนเพราะเลือกอาจารย์ที่สอนที่มีชื่อเสียงคือศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รศ.ดร.สมชาย ภาคภาสน์วิวัฒน์ และ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

ดร.ธนพล ก่อฐานะรูดบัตรเครดิตเพื่อเรียนไม่สนใจอัตราดอกเบี้ย เงินหมดไป 1 ล้านบาทแต่คุ้มค่ามาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์สอน Reality (รู้จริง) และ Relevance (ตรงประเด็น) ซึ่งดร.ธนพล ก่อฐานะชอบมาก

ดร.ธนพล ก่อฐานะ ไม่ค่อยได้เรียนแต่ทำกิจกรรมเป็นหลัก เช่น เป็นนักกีฬามหาวิทยาลัย ไปหาทุนและอื่นๆอีกมากมาย ก็เรียนจบมาได้ด้วยดี อ่านหนังสือเร็ว สอบผ่าน ตอนที่เรียนปริญญาเอก ดร.ธนพล ก่อฐานะก็อ่านหนังสือละเอียด พัฒนาตนให้เป็นที่ผู้รู้จริงเรื่องนวัตกรรมการจัดการ

8K’s ของอาจารย์จีระคือสิ่งที่ต้องมี

5K’s คือสิ่งที่ต้องสร้างคือมี Creativity

4L’s คือการเรียนรู้ เวลาไปฟังหรือสัมมนาจะทำอย่างไรให้เรียนรู้เองได้

ช่วงท้ายของชีวิต ดร.ธนพล ก่อฐานะได้ทำหนังสือ ก็คิดถึง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สิ่งที่ท่านสอนมีประโยชน์มาก แต่ขึ้นอยู่กับคนฟังว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวไปได้มากเท่าไร

ดร.ธนพล ก่อฐานะเป็นตัวอย่างทฤษฎีศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่นำทำไปทำแล้วได้ผล

เวลาที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึงวิกฤติ (Crisis) ดร.ธนพล ก่อฐานะก็ทำหนังสือ Crisis Fighter

ประเทศไทยมีวิกฤติตลอด ถ้าคนไหนรอโอกาสแล้วไม่ทำ ก็จะล้มเหลวตลอด ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พูดเรื่องอะไร ดร.ธนพล ก่อฐานะก็ทำเรื่องนั้นและเขียนผลงานเรื่องที่เกี่ยวข้อง

นวัตกรรมการจัดการมาจากทฤษฎีจากศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และประสบการณ์ของดร.ธนพล ก่อฐานะในการเป็นที่ปรึกษาระดับโลกด้วย แล้วสร้างนวัตกรรมการจัดการ มีองค์ประกอบคือ

1.Systematic ตัดระบบที่ยาวและมีมานานทิ้งไป

2.Process ตัดขั้นตอน และขั้นที่ทำให้เกิดความเสียหาย เพิ่ม QC

3.Partnership พันธมิตรพันธุ์แท้ ต้องหาพันธมิตรพันธุ์แท้เพื่อจะไม่ได้ถูกทิ้งในยามวิกฤติ

4.Network คนเป็น Synergy อีกอย่างคือ Electronic Transaction ใช้เครือข่ายเพิ่มศักยภาพในการทำงาน

5.Innovation มีสิ่งใหม่ ง่าย ทำได้จริง ทำแล้วดีขึ้นทันที

6.Social Media และ CSR ต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์

ทั้งหมดนี้เป็นนวัตกรรมการจัดการที่แท้จริง ง่ายและนำไปปฏิบัติได้

ดร.ธนพล ก่อฐานะอยากเชิญคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาร่วมมือกับโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน จะทำ Logistics Park ที่นครปฐม มีเป้าหมายคือวิชาการ งานวิจัย ทำให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความยั่งยืน มีความสุขในชุมชน

ดร.พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ ประธานหลักสูตรปริญญาเอกการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ได้นำเสนอว่า การเสวนาครั้งนี้ถือเป็นบุญวาสนาที่ได้มาพบกัน

มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง เคยเป็นวิทยาลัยครู คนที่มาเรียนเป็นนักเรียนทุนจากทุกจังหวัด แต่ช่วงหลัง นโยบายเปลี่ยน มหาวิทยาลัยเล็กแต่คณะครุศาสตร์ใหญ่ มีคนมาเรียนมาก

ดร.พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ สนใจเรื่องการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ประเทศไทยมีปัญหาการศึกษาเพราะยังไม่สามารถสร้างชุมชนการเรียนรู้ ดร.พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ ชอบ 4L’s ปัญหาคือครูสอนตามหนังสือ ไม่ใช่วิธีการเรียนรู้ ดร.พรศักดิ์ สุจริตรักษ์สอนวิธีการเรียนรู้ สืบค้น ให้นักศึกษาค้นคว้าเป็นภาษาอังกฤษ เพราะในโลกนี้มีแหล่งเรียนรู้มากมาย มีการสร้างบรรยากาศการเป็นกัลยาณมิตรที่ดี ปรึกษาหารือ อาจารย์และนักศึกษาใกล้ชิดกัน สร้างโอกาส สร้างความท้าทายให้นักศึกษา โดยให้ส่งงานเป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษาลดลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังสอนเพื่อให้จบไปอย่างมีคุณภาพ สร้างชุมชนการเรียนรู้ สร้างกลุ่มไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ หรือปรึกษาหารือ

ตอนนี้ดร.พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ใช้ทฤษฎีของตนเองคือ JIPP

P ตัวกลางคือ Profession Learning Community ครูต้องสร้างสังคมการเรียนรู้ในโรงเรียน

ต้องมีการให้กำลังใจนักศึกษาเป็นแรงเสริมให้เกิดสังคมการเรียนรู้

อาจารย์ ดร.พิชญาภา ยืนยาว ผู้อำนวยการบัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ได้นำเสนอว่า ได้เรียนปริญญาเอกกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมหาวิทยาลัยส่งเสริมให้เรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่า ตนสนใจทรัพยากรมนุษย์ และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นนักวิชาการด้านนี้เป็นอันดับต้นของไทย จึงได้ไปติดต่อศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เพื่อขอสัมภาษณ์เชิงลึก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ให้เวลา 3 ชั่วโมง ทำให้เกิดความประทับใจและได้บทเรียน ถูกศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ถามกลับว่ารู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับท่านบ้าง ท่านก็สอนทฤษฎี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นครูต้นแบบที่แท้จริง ต่างจากนักวิชาการท่านอื่นที่ไปขอสัมภาษณ์ ที่ไม่ยอมให้สัมภาษณ์

งานที่ทำคือ พาอาจารย์มหาวิทยาลัยไปดูงานต่างประเทศ ต้องมีการอบรมในประเทศก่อน ได้อ้างอิงถึงการเข้าไปสัมภาษณ์ในอดีตเพื่อเรียนเชิญศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มาสอน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ให้ความสำคัญกับลูกศิษย์มาก จึงอยากให้ลูกศิษย์ได้รับโอกาสที่ดีจากศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ด้วย จึงได้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มคือสร้างลูกศิษย์เพิ่ม ซึ่งก็ประทับใจศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และขอติดตามไปทุกงานที่ท่านไป

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า หลังจากเสวนาครั้งนี้ ควรจะร่วมมือกันทำโครงการต่างๆ

อาจารย์ ดร.พิชญาภา ยืนยาว ผู้อำนวยการบัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ได้นำเสนอต่อไปว่า ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นต้นแบบในการดูแลลูกศิษย์มีการค้นคว้าไม่หยุดนิ่ง มีการสร้างเครือข่าย ท่านมีลูกศิษย์ไปทั่ว เป็นโอกาสที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ตนเองและองค์กรต่อไป

พญ.สุมิตรา ประเทพ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวสรุปว่า ได้เริ่มเรียนในโครงการนี้มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยเรียนเป็นช่วง ช่วงละ 3 วัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์จีระมีมากมายดังนี้

  • แนวคิดมุมมองพัฒนาตนเองและงาน และสามารถนำไปดูแลลูกน้องได้ ทำให้เห็นโลกภายนอกมากขึ้น
  • แนวคิดที่สื่อสารทำงานกับคนทุกระดับ

พญ.สุมิตรา ประเทพ ทำงานด้านวิเทศสัมพันธ์ และเคยได้ไปเรียนที่ University of Washington จึงอยากจะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องและศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ก็เป็นศิษย์เก่าของที่นี่ จึงเป็น network สำคัญ

นพ.อนุพงศ์ นิติเรืองจรัส คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวสรุปว่า

คณบดีมีสายตาแหลมคม เห็นว่า Chira Academy ดีจริง แต่ตนเป็นแพทย์ เรียนสิ่งที่เป็นรูปธรรม จึงค่อยๆเรียนรู้ไป จะเป็นความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกว่า ตอนที่เรียน ศึกษาวิชาความรู้ ไม่ชำนาญแนวสังคมศาสตร์ แต่สนใจพัฒนาทุนมนุษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ให้ความรู้ดีมาก อาจารย์มีเครือข่าย ดึงคนมีความรู้ด้านต่างๆมาช่วยสอนได้ ทุกบทเรียนที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์สอน ทำให้ได้ความรู้มาก และได้ศึกษาการทำงาน Chira Academy เป็นแบบอย่างองค์กรที่ดี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มีความรู้จริง สามารถดึงดูดเครือข่ายมาช่วยทำงานได้ง่าย ทีมงานศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มีความสามารถมาก และมีการประสานงานที่ดี หัวใจที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จคือมีเครือข่ายกว้างขวางขยายไปเรื่อยๆ ตอนนี้พยายามเก็บความรู้เพื่อช่วยองค์กรให้ดีขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวปิดท้ายว่า เสวนาครั้งนี้เป็น Value Diversity มีหมอ 2 ท่านเรียนอยู่

นพ.อนุพงศ์ นิติเรืองจรัส พูดจากใจ ตรงประเด็น คนที่ชนะใจศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้คือคนที่พูดความจริง Reality

กิจกรรมนี้เป็นโชคดี นอกจากรู้เรื่องภาคใต้แล้ว มหาวิทยาลัยสวขลานครินทร์ก็อาจจะศึกษาเรื่องพม่าหรือภาคกลางจากมหาวิทยาลัยอีก 2 แห่ง ในอาเซียน ทางมหาวิทยาลัยสามารถผลิตพยาบาลเพื่อหารายได้ด้วย เพราะตอนนี้ขาดแคลนพยาบาล

สิ่งสำคัญคือ Process and Knowledge ต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และมาประยุกต์กับสภาพความเป็นจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นลูกศิษย์ของกลุ่มนี้ ได้เรียนรู้จากการที่กลุ่มนี้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษและวิเคราะห์ได้ดี การคิดเป็นระบบและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่หมอเก่งอยู่แล้ว สามารถจะนำไปเรียนรู้เรื่องนามธรรมได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ขอบคุณที่ได้รับบรรยากาศที่อบอุ่น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ไม่อยากเป็นแค่อาจารย์แต่อยากเป็นผู้ร่วมงานด้วย หัวหน้างานควรจะส่งเสริมให้ลูกน้องเสนอสิ่งใหม่ๆ

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2558

การเยี่ยมชมวัดราชนัดดาราม

กล่าวต้อนรับโดย คุณจีราภา ริ้วเหลือง

ผู้อำนวยการกองส่งเสริมพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ก่อนหน้านี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ต้อนรับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มาแล้ว และศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ก็ได้นำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาเยี่ยมชม

ทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขอขอบพระคุณและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเยี่ยมชมภารกิจของสำนักงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์

นอกจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะให้เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ ทางสำนักงานทำงานด้านสังคมมา 20 ปีแล้ว ยังไม่เป็นที่รู้จักมาก เพราะยังไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์มากมายนัก การนำชมก็เป็นภารกิจหนึ่งด้านสังคม

โลหะปราสาทในวัดราชนัดดารามวรวิหารเป็น 1 ใน 40 พระอารามหลวงที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดูแล

การบรรยายเกี่ยวกับ โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร โดย พระมหาแสงศิวโร

รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชนัดดารามวรวิหาร และตั้งชื่อตามพระราชนัดดาของท่านคือพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี มีการสร้างอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ แต่สิ่งที่แตกต่างคือมีโลหะปราสาทซึ่งสร้างแทนเจดีย์ ต้องอาศัยศรัทธา ความอุตสาหะ และงบประมาณสูง

โลหะปราสาทที่อินเดียสร้างโดยนางวิสาขาเพื่อถวายพระพุทธเจ้า

โลหะปราสาทที่ศรีลังกา สร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งเมืองอนุราธปุระ ซึ่งเป็นแห่งที่สอง

รัชกาลที่ 3 ทรงมีศรัทธาจึงสร้างโลหะปราสาทขึ้นโดยให้ช่างไปศึกษาต้นแบบจากศรีลังกา ใช้การสร้างแบบศิลปกรรมไทย มีช่อฟ้า ใบระกาคล้ายพระอุโบสถ และมีการแฝงคติธรรมไว้ที่ยอดโลหะปราสาท

โลหะปราสาทไทยมี 37 ยอดซึ่งมาจากโพธิปักขิยธรรม 37 คือธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ประกอบด้วย สัมมัปธาน 4 สติปัฏฐาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรค 8 เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้มาศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้มาปรับปรุงนิทรรศการให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปชมแต่ละชั้นของโลหะปราสาทซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ชั้นสองเป็นสถานที่อ่านหนังสือ มีป้ายโพธิปักขิยธรรม 37 กลางปราสาทเป็นช่องกลวง มีบันไดเวียน ให้เดินขึ้นไปดูทิวทัศน์ข้างบนได้

การสร้างโลหะปราสาทใช้เสาจำนวนพอสมควร เพราะเสาโตมาก มีศิลาแลงประกบเสาเพื่อให้แข็งแรง ข้างในเป็นดินเผา

เสาที่สามารถยกยอดโลหะได้ มีความหนาพอสมควร เป็นท่อนซุงตอกลิ่มขึ้นมาเป็นชั้นๆจนถึงชั้น 6 และตอกบันไดให้ผนัง บันไดเดิมมี 67 ขั้น ในปัจจุบันมี 81 ขั้นโดยไม่นับพื้นปูนเพื่อให้ผู้เข้าชมเดินขึ้นมาสะดวก

ประโยชน์ใช้สอยของโลหะปราสาทคือตามช่องเสาเป็นที่ปฏิบัติธรรม ชั้นล่างเป็นสถานที่แสดงนิทรรศการโลหะปราสาท และชั้นบนเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ

ตอนนี้ปิดทองที่ยอดโลหะปราสาทแล้วเสร็จ 13 ยอด

สมัยรัชกาลที่ 5 มีการทำลายปูนปั้น พอนานไปก็แตกร้าว

คณะกรรมการจึงได้ทำให้เป็นโลหะให้สมพระเกียรติรัชกาลที่ 3 ที่ทรงพระราชทานนามไว้

ที่อินเดียมีวัดพระเชตวันที่พระพุทธเจ้าเคยทรงจำพรรษา ด้านข้างวัดนี้เป็นวัดบุพพาราม ที่นางวิสาขาสร้างโลหะปราสาทองค์แรกของอินเดีย

ส่วนที่ศรีลังกา ด้านล่างของโลหะปราสาทเป็นเสาหิน ชั้นบนเป็นไม้ สร้าง 9 ชั้น แต่สร้างต้นเสา 1,600 ต้น ซึ่งถือว่าใหญ่มาก

โลหะปราสาทที่วัดราชนัดดาสร้างด้วยอิฐแต่ไม่ได้สร้างเป็นที่อยู่ของพระ

ภายในโลหะปราสาทมีระบบมัลติมีเดียในการนำเสนอธรรมะ โดยผู้เข้าชมสามารถใช้เหรียญหรือไม้เคาะระฆัง ก็จะปรากฏความหมายของหลักธรรมที่เป็นองค์ประกอบของโพธิปักขิยธรรมขึ้นมา

ชั้น 5 เป็นบริเวณที่สามารถเห็นยอดโลหะปราสาทยอดที่ใกล้ที่สุดได้

ส่วนช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เป็นทองเหลืองหล่อมาประกบบนยอดโลหะ

ส่วนที่เป็นกระเบื้องทำด้วยทองแดง ช่วงนี้มีการบูรณะปิดทองคำเปลวเข้าไปที่ยอด

การเยี่ยมชมอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์


การชมนิทรรศการโขน

นิทรรศการนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระชนมายุครบ 83 พรรษาให้รวบรวมศาสตร์และศิลป์จัดแสดงโขนขึ้นไม่ว่าจะเป็นราชรถ เทคนิคการทำฉากบนเวทีของโขนพระราชทาน วิธีการปักผ้า การทอผ้า เครื่องประดับ

โขนเป็นมหานาฏกรรมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งเป็นเรื่องราวศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โขนไทยมีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นการสรรเสริญพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ สงวนการแสดงไว้ให้พระมหากษัตริย์และแขกบ้านแขกเมือง ดังนั้นสามัญชนจึงไม่มีโอกาสได้ดู

รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นว่า โขนเป็นศิลปะและเป็นเอกลักษณ์ที่มีความจำเป็นมากของประเทศไทย เป็นหน้าตาของประเทศไทยในสมัยก่อน จึงทรงตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโขนโดยตรงคือ กรมมหรสพ ซึ่งในปัจจุบันนี้ เป็นภารกิจหนึ่งของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

นิทรรศการนี้อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่จัดแสดงโขนในภาครัฐและเอกชน จากเดิมประชาชนสามัญชนที่ไม่มีโอกาสได้ดูโขนกัน ก็มีส่วนร่วมในการดูโขนมากขึ้น โขนมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เดิมเป็นโขนโบราณ ก็มีการผสมผสานโขนที่เป็นเอกลักษณ์เป็นหลากหลายแขนงเข้าด้วยกัน เกิดเป็นโขนแบบต่างๆ

1.โขนกลางแปลงแสดงในลานกว้าง ใช้ฉากยกทัพเกี่ยวกับพระลักษณ์ พระรามและทศกัณฑ์

2.โขนหน้าจอ เป็นการแสดงโขนสลับกับหนังใหญ่ที่คล้ายหนังตะลุง

3.โขนนั่งราว จะเหมือนโรงลิเกในปัจจุบัน ทำโรง 1 โรง วาดฉากเดียวในการแสดงทั้งเรื่อง มีวงปี่พาทย์ 2 ฝั่ง ซ้ายและขวา ตั้งราวไม้ไผ่ 1 ราวหน้าเวที ถ้ายังไม่ถึงลำดับการแสดงหรือแสดงเสร็จแล้วก็จะมานั่งตรงราวไม้ไผ่

4.โขนโรงใน เป็นการผสมผสานโขนกับละครในเพิ่มกระบวนการร่ายร้องขึ้น ละครในใช้ผู้หญิงแสดง ถ้ามีโขนมาผสม ก็จะมีตัวละครบทบาทผู้ชายมาแสดงด้วย

5. โขนฉาก เป็นการแสดงโขนในยุคปัจจุบัน เพิ่มเทคนิค แสงสีเสียงที่ตระการตามากขึ้น เป็นโขนที่สมเด็จพระนางเจ้าฯโปรดแสดงประทานขึ้นทุกปี

แต่เดิมไม่ได้เรียกว่าเป็นโขนพระราชทาน แต่เรียกว่า โขนสมเด็จหรือโขนพระนางเจ้า โขนเป็นศิลปะการแสดงที่รวบรวมหลายแขนงเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นนาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์ และวิจิตรศิลป์

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเล็งเห็นว่า ประชาชนชาวไทยหาดูโขนได้ยากมาก เพราะต้องมีองค์ประกอบ งบประมาณ เครื่องแต่งกาย กว่าจะได้โขนมาชุดหนึ่งต้องใช้เวลานาน จึงทรงจัดให้มีการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับโขนโดยตรงไม่ว่าจะเป็นช่างหัตถศิลป์ ครูอาจารย์ที่สอนการร่ายรำที่เกี่ยวกับโขน ทรงกำชับให้แสดงโขนแบบโบราณ มีความสวยงามและคงทนมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนเรียบร้อยแล้ว จึงมีการจัดแสดงโขนขึ้นมาชุดแรกชื่อชุดพรหมาศ ปีพ.ศ. 2550 และ 2552 ซึ่งจัดแสดงเป็นระยะเวลา 4-5 วันเท่านั้น เมื่อมีกระแสตอบรับดี สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงปลาบปลื้มพระราชหฤทัยมาก จึงโปรดให้มีการแสดงโขนขึ้นทุกปี จึงเป็นที่มาของโขนพระราชทาน ปีนี้เป็นการนำโขนชุดพรหมาศกลับมาแสดงใหม่เนื่องจากเป็นภาคต่อของปีที่แล้วคือตอนนาคบาศ

งานพัสตราภรณ์โขนเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีมาแต่โบราณ เป็นการสร้างเลียนแบบเครื่องแต่งกายของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงเนื่องจากว่า คนโบราณสมมติตัวพระ นาง เป็นเทพอวตารลงมาเกิด จะสื่อให้คนทั่วไปมองคนเหล่านั้นเป็นเทพได้ด้วยชุดที่บ่งบอกยศถาบรรดาศักดิ์ ในสมัยก่อน ของที่จะปักลงชุดโขนเป็นของที่มีค่า ราคาแพง และหาได้ยาก เช่น ดิ้นเงิน ดิ้นทอง เลื่อมเงิน เลื่อมทอง เงินแล่ง ทองแล่ง ในการแสดงโขนแต่ละครั้ง ต้องใช้ผู้แสดง 200-300 คน จึงมีการคิดค้นนำวัสดุทดแทนอัญมณี ชุดโขนที่นำมาจัดแสดงเป็นการปักผ้าแบบสมัยโบราณ มีปีกแมลงทับ มีดิ้นทอง ประดับด้วย เลื่อมเงิน เลื่อมทอง เงินแล่ง ทองแล่ง แต่สมัยนี้เปลี่ยนเป็นดิ้นโปร่ง

การเยี่ยมชมห้องนิทรรศการภายในอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีทั้งหมด 4 ชั้น 9 ห้องนิทรรศการ นิทรรศการจัดแสดงอยู่ชั้น 2 และ 3 ส่วนชั้น 4 เป็นจุดชมวิวที่มีความสวยงามที่สุดของอาคาร เรียกว่า รัตนโกสินทร์สกายวิว จะพบกับความสวยงามของโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร ภูเขาทอง วัดสระเกศ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ป้อมมหากาฬและกำแพงเมือง

หน้าอาคารมีจอ LED Wall แสดงชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เมื่อยกมือ แล้วโบก ก็จะมีภาพนกบินออกมาต้อนรับ ถ้าโบกมือเร็วๆ นกก็จะบินออกมามากขึ้น

คณะผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าไปชมห้องกิจกรรมดังนี้

1. อุโมงค์เวลา เป็นพื้นที่จัดแสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ครั้งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์มาจนถึงปัจจุบัน

เหตุการณ์สำคัญหนึ่งคือ แฝดสยามอิน-จัน ที่นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ได้ไปขออนุญาตพ่อแม่ของทั้งสองคนเพื่อไปส่งไปให้เพื่อนที่สหรัฐอเมริกา ทั้งสองคนนี้ซึ่งถือเป็นคนไทยคู่แรกที่เป็นชาวบ้านไปสหรัฐอเมริกา ไปแสดงในคณะละครสัตว์ฐานะตัวประหลาด ส่วนที่เชื่อมทั้งสองคนติดกันคือช่วงอก มีความยาวประมาณ 5 นิ้ว ส่วนที่เป็นพังผืดนี้สามารถยืดและหันหลังชนกันได้ ยืดแล้วมีความยาวประมาณ 9 นิ้ว เวลาแสดงในต่างประเทศ ก็แสดงถึงความอ่อนตัวของร่างกาย และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีรายได้มหาศาลในช่วงแรก ต่อมา ทั้งสองเริ่มได้ค่าจ้างน้อยลง และเมื่อหมดสัญญา ก็ไปตั้งคณะของตนเอง แล้วไปออกแสดง จึงกลับมามีรายได้มหาศาลอีกครั้ง ฝรั่งเศสห้ามอินจันเข้าประเทศเพราะมีผลกระทบทางจิตวิทยาต่อหญิงมีครรภ์ที่กังวลว่าลูกที่คลอดออกมาจะผิดปกติเหมือนอินจัน

เมื่อทั้งสองคนมีรายได้มหาศาล จึงซื้อที่ดินและบ้าน และทาสที่รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ข้าวโพด มีรายได้มหาศาลกลับมาเหมือนเดิม เมื่อไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนนามสกุลเป็นบังเกอร์

อินติดน้ำชา แต่จันติดเหล้า ในช่วงชีวิตหนึ่งเคยต่อยกันด้วย ทั้งสองคนใช้ตับร่วมกัน แต่ใช้กระเพาะอาหารแยกกัน มีนักวิทยาศาสตร์ทดลองให้อินกินอาหารรสเปรี้ยว จันก็รู้สึกเปรี้ยวด้วย

อินจันแต่งงานกับผู้หญิง 2 คน ตอนแรกอยู่รวมกัน 4 คนในบ้านเดียวกัน ตอนหลังแยกบ้านกับภรรยา ผลัดกันไปหาคนละสัปดาห์ มีลูกรวมกันทั้งหมด 21 คน

จันตายก่อนแล้วอินจึงตายตาม

ทิ้งมรดกไว้บนโลกนี้คือ การเรียกชื่อแฝดตัวติดกันไม่ว่าจะเกิดที่ใดของโลกว่า แฝดสยาม

เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 มีการจัดงานรวมญาติอินจัน จำนวนญาติที่เหลืออยู่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 400 คน

ต่อมาเป็นการชมภาพจันทรา ซึ่งเป็นภาพวาดสีฝุ่นบนผืนผ้าใบ โดย จอมพล พันทวี ซึ่งนำเสนอภาพงานฉลองครอบรอบสิริราชสมบัติในหลวงครบ 60 ปีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549

2.ห้องดื่มด่ำย่านชุมชน นำเสนอ 12 ชุมชนบนเกาะรัตนโกสินทร์ที่มีวิถีทำกินและความเป็นอยู่ที่สะท้อนความเป็นไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

จุดเด่นคือที่พื้นเป็นแผนที่ 12 ชุมชน เมื่อเหยียบจุดไข่ปลาแล้วเห็นสัญลักษณ์ที่ชี้ไปยังคำบรรยายแต่ละชุมชน ได้แก่

2.1 ชุมชนถนนดินสอ เคยผลิตดินสอพอง แต่ในปัจจุบันไม่ได้ทำแล้ว เพราะย้ายฐานการผลิตไปที่จังหวัดลพบุรีหมดแล้ว

2.2 ชุมชนช่างทอง ก็ไม่มีคนทำงานด้านนี้แล้ว

2.3 ชุมชนบ้านลาน มีเพียงร้านเดียวที่อยู่แถววังบางขุนพรหม สะพานพระราม 8

2.4 ชุมชนบ้านพานถม ยังมีอยู่ 1 ร้านในกรุงเทพ

2.5 ชุมชนกรงนก ที่กรุงเทพเหลือเพียงไม่กี่ร้าน ส่วนใหญ่จะนำวัสดุจากนครศรีธรรมราชมาประกอบที่กรุงเทพ

2.6 ชุมชนบ้านธูป ทุกวันนี้ หาคนทำธูปได้ยากมาก

2.7 ชุมชนบ้านน้ำอบ มีผลิตภัณฑ์ที่โด่งดังมากมาจนถึงทุกวันนี้คือน้ำอบนางรอง และมีหลายร้านที่ทำน้ำอบ

2.8 ชุมชนบ้านสาย ผลิตสายรัดประคด สมัยก่อนใช้กี่ทอ แต่ปัจจุบันเหลือแค่กี่ทอให้ดู แต่ไม่มีคนทำแล้ว

2.9 ชุมชนบ้านดอกไม้ เหลือคนที่ทำได้ไม่เกิน 10 คน ผลิตดอกไม้ไฟ ดอกไม้พุ่ม ใช้ในงานพระราชพิธี

2.10 ชุมชนบ้านบาตร อยู่ตรงวัดสระเกศ

2.11 ชุมชนย่านสังฆภัณฑ์ ทุกวันนี้ การผลิตพระ ต้องไปทำที่โกดัง ต่างจังหวัด แล้วส่งเข้ามาขายในกรุงเทพ

2.12 ชุมชนถนนตีทอง การตีทองในสมัยก่อนเป็นการนำทองคำมาตีเป็นแผ่น

3.ห้องรัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ นำเสนอการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์

ในการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ จะต้องมองย้อนกลับไปยังกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากมีความยิ่งใหญ่ เรืองรองด้วยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่สั่งสมมายาวนานถึง 417 ปี และเป็นต้นแบบของการสร้างราชธานีในยุคต่อมาให้สืบสานความรุ่งเรืองในแทบทุกด้าน

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถาปนาราชธานีแห่งใหม่ ณ เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร อันเป็นเมืองปราการหน้าด่านสำคัญปากแม่น้ำเจ้าพระยามาแต่เดิมนั้น ก็ได้สืบทอดรูปแบบสังคมและวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยามาอย่างต่อเนื่อง แม้รัชสมัยของพระองค์ จะเป็นระยะเวลาอันสั้นแค่ 15 ปีก็ตาม

เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ภาพความเจริญรุ่งเรืองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้ปรากฏชัดเจนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร จึงทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ว่า “ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี”

พระองค์มุ่งหมายสถาปนาราชธานีใหม่ให้รุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้าที่สำคัญให้สามารถทัดเทียมกรุงศรีอยุธยาในอดีต

ด้วยทรงพระปรีชาในตำราพิชัยสงคราม จึงทรงเล็งเห็นว่า พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม เนื่องจากพื้นที่เป็นลักษณะหัวแหลม ประกอบด้วยลำน้ำถึง 3 ด้าน และคูเมืองด้านตะวันออกเป็นทะเลตม ถ้าขุดคลองเพิ่มขึ้นอีก จะป้องกันพระนครได้เป็นอย่างดี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันตกมาสู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

วันอาทิตย์ที่ 21 เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ พ.ศ. 2325 เวลาย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกอบพระราชพิธีประดิษฐานเสาหลักเมืองสำหรับพระนครเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นจึงเริ่มสร้างพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับขุดคูคลอง ขุดราก ก่อกำแพงพระนครและสร้างป้อมปราการ การวางตำแหน่งที่ตั้งวังต่างๆ จัดเรียงรายให้มีชัยภูมิแบบนาคนาม ถูกต้องตามตำราพิชัยสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างเคร่งครัด พร้อมกันนั้น ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและรื้อฟื้นวรรณกรรมอันเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์สำคัญของชาติ เป็นการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และบำรุงขวัญให้ราษฎร

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณและพระวิริยอุตสาหะที่ยิ่งใหญ่แห่งสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แผ่นดินก็เป็นปึกแผ่น สงบ ร่มเย็น สมดังความหมายของชื่อราชธานีที่ได้พระราชทานไว้คือ เป็นพระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตแห่งพระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร พระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีผู้ใดจะรบชนะได้ มีความงดงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการอันน่ารื่นรมย์ ประกอบทั้งหมู่พระมหามณเฑียรและพระมหาปราสาท เป็นพระราชนิเวศเวียงวังอันโอฬาร เปรียบดังวิมานของสมมติเทพ ผู้เสด็จอวตารลงมา โดยท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ โปรดฯให้พระวิษณุกรรมเนรมิตไว้

กรุงรัตนโกสินทร์ได้กำเนิดขึ้นแล้วและเริ่มนับเป็นรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 เป็นต้นมา

4.ห้องเกียรติยศแผ่นดินสยาม นำเสนอแบบจำลองพระบรมมหาราชวัง และการแบ่งเขตพระบรมมหาราชวัง

ความวิจิตรงดงามของพระบรมมหาราชวังแสดงถึงพระอิสริยยศและอิสริยศักดิ์ของพระมหากษัตริย์ไทยในฐานะสมมติเทพตามธรรมเนียมแบบแผนที่สืบทอดมาแต่โบราณ

เมื่อเวลาผ่านไป 200 ปี ได้เปลี่ยนแปลงพระบรมมหาราชวังไปตามยุคสมัย

ในระยะแรก พระบรมมหาราชวังก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา และเริ่มมีสถาปัตยกรรมไทย-จีนในรัชกาลที่ 2 และ 3 เพราะได้รับอิทธิพลจากการค้าขายกับจีน ในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 เป็นการปรับปรุงประเทศไทยให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ทำให้พระบรมมหาราชวังเริ่มมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเข้ามาผสมผสาน

พระบรมมหาราชวังเดิมมีพื้นที่ 132 ไร่ แต่ปัจจุบันมีพื้นที่ 152 ไร่ 2 งาน แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 เขตดังนี้

  • พระราชฐานชั้นนอกเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการ และวัดพระแก้ว ประกอบด้วย 3 สถานที่สำคัญคือ
    • ปราสาทประเทพบิดร ซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต แต่ว่าเมื่อประกอบพระราชพิธี พื้นที่แคบเกินไป ปัจจุบันจึงเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหล่อรัชกาลที่ 1-8 จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้สักการะในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันจักรี วันฉัตรมงคลและวันปิยมหาราช
    • พระมณฑป ประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับแรกที่มีการสังคายนาคือ ฉบับทองใหญ่และอีกหลายฉบับที่มีการสังคายนาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1
    • พระศรีรัตนเจดีย์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4
  • พระราชฐานชั้นกลางเป็นหัวใจของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประทับ และเป็นที่เสด็จออกว่าราชการในรัชกาลที่ 1-5 ต่อมาเป็นที่ประกอบพระราชพิธีและรับรองพระราชอาคันตุกะในปัจจุบัน มีพระที่นั่งสำคัญเรียกกว่า หมู่พระมหามณเฑียร มีพระที่นั่ง 3 องค์ติดกันคือ
    • พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เป็นสถานที่สำหรับขุนนางเข้าเฝ้า
    • พระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็นสถานที่ทรงงานส่วนพระองค์ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช
    • พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
  • พระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับของพระราชวงศ์หญิง และข้าราชการหญิงล้วน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาไม่มีใครไปประทับ ปัจจุบันมีประโยชน์ใช้สอยเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและการศึกษา

ตรงกลางพระที่นั่ง 3 องค์นี้คือพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมจะสร้างเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกมี โดมครอบเหมือนพระที่นั่งอนันตสมาคม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) พระราชทานแก้แบบ แต่รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้กลับมาเป็นแบบนำเครื่องยอดมาสวมทับไว้ เรียกว่า เป็นฝรั่งสวมชฎา

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เดิมเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันใช้ในพระราชพิธีพระศพและพระบรมศพของพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น

พระที่นั่งบรมพิมานเป็นสถานที่ที่รัชกาลที่ 8 สวรรคต

เวลากว่า 2 ศตวรรษ พระราชวังเป็นบทบันทึกแห่งประวัติศาสตร์ที่คงความสง่างามสมกับเป็นมรดกของชาติเป็นเกียรติยศของแผ่นดินไทย

ต่อมาเป็นการนำเสนอตำนานพระแก้วมรกต ดังนี้

พระแก้วมรกตถือกำเนิดมาจากเทวดาสร้างถวายพระอรหันต์นาม พระนาคเสนเถระ แห่งเมืองปาฏลีบุตรในอินเดีย แล้วท่านอธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานไว้ในองค์พระแก้วมรกต 7 แห่ง คือ พระโมฬี พระนลาฏ พระอุระ พระอังสะทั้งสอง และพระชานุทั้งสอง

จากหลักฐานประวัติศาสตร์ ที่เชียงรายลง ได้มีการลงรักปิดทองพระแก้วมรกต ก่อนนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์วัดพระแก้วจังหวัดเชียงราย จนมาถึงพ.ศ. 1977 เกิดฟ้าผ่าที่เจดีย์ จึงทำให้เห็นพระพุทธรูปปิดทองซ่อนอยู่ ชาวบ้านที่ไปพบจึงอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในวัดแห่งหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป ปูนที่หุ้มพระแก้วมรกตได้กะเทาะออกบริเวณปลายพระนาสิกเห็นเป็นเนื้อแก้วสีเขียว ชาวบ้านจึงช่วยกันแกะปูนออกทั้งองค์และพบว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วสีเขียวทั้งองค์ ชาวบ้านจึงพากันมากราบไหว้

เจ้าเมืองเชียงใหม่รู้เรื่องนี้ จึงอัญเชิญมาที่เชียงใหม่ แต่ช้างที่ใช้อัญเชิญได้หันไปทางลำปางถึง 3 ครั้ง จึงยอมให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่ลำปางถึง 32 ปี จากนั้นพระแก้วมรกตก็ถูกอัญเชิญไปยังเมืองต่างๆเป็นเวลากว่า 310 ปี

ในปีพ.ศ. 2321 รัชกาลที่ 1 ซึ่งตอนนั้นทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ ณ นครเวียงจันทน์ กลับมายังกรุงธนบุรี โดยประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้วซึ่งตั้งขึ้นใหม่ในบริเวณพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงเมื่อพ.ศ.2325 โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ.2327 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องทรงของพระแก้วมรกต

เครื่องทรงฤดูร้อนกำหนดเปลี่ยนเครื่องทรงประมาณเดือนมีนาคม เครื่องทรงฤดูฝนกำหนดเปลี่ยนเครื่องทรงประมาณเดือนกรกฎาคม เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องทรงฤดูหนาวเพิ่มขึ้น กำหนดเปลี่ยนเครื่องทรงประมาณเดือนพฤศจิกายน มีพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้

หลังจากนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าไปสู่พื้นที่จัดแสดงเขตพระราชฐานชั้นใน ซึ่งเป็นเขตต้องห้ามสำหรับผู้ชาย ผู้ชายที่สามารถเข้ามาในเขตนี้ได้คือ พระมหากษัตริย์ พระราชโอรสที่ยังไม่ผ่านพระราชพิธีโสกันต์ พราหมณ์ เด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี หมอหลวงแต่ต้องมีตำรวจหญิงฝ่ายในเรียกว่า โขลนติดตามไปตรวจตราด้วย

ประตูสำหรับเข้าไปยังเขตพระราชฐานชั้นในคือ ประตูสนามราชกิจหรือประตูย่ำค่ำ มี 2 ขนาด ขนาดใหญ่เปิดเมื่อมีขบวนเสด็จของพระมหากษัตริย์ผ่านเข้าออกเท่านั้น ส่วนนางในจะเข้าประตูเล็ก มีธรณีประตูด้านล่างซึ่งเป็นที่สถิตของเทวดาที่คอยปกปักรักษา เวลาเดินเข้าไป จะต้องข้ามธรณีประตู ถ้าเหยียบธรณีประตู จะถูกจ่าโขลนลงโทษ เช่น ตีตาตุ่ม เฆี่ยน

จ่าโขลนคือตำรวจหญิงฝ่ายใน มีคุณท้าวศรีสัจจาเป็นหัวหน้าจ่าโขลน จ่าบัวมีหน้าที่เป็นหัตถเลขา บันทึกรายชื่อผู้กระทำผิดและรายละเอียดการกระทำผิด และจ่าตีมีหน้าที่ตีตาตุ่มคนเหยียบธรณีประตู หน้าที่ของจ่าโขลนคือตรวจตราการแต่งกายผู้เข้ามาในเขตพระราชฐานชั้นในรวมถึงสิ่งของที่พกติดตัว จะไม่อนุญาตให้ผู้ถือของรุงรังเข้ามา โขลนที่อยู่ตามสี่แยกมีหน้าที่ถือไฟตอนกลางคืน ถ้าใครไฟดับ ต้องหยุดอยู่กับที่แล้วตะโกนว่าไฟดับ โขลนตามสี่แยกจึงไปจุดไฟให้แล้วจึงเดินต่อไปได้ ในตอนค่ำ โขลนมีหน้าที่ปิดประตูเขตพระราชฐานชั้นในให้ครบทุกบาน เหลือแต่ประตูสนามราชกิจประตูเดียวเท่านั้นที่ปิดตอน 10 ทุ่ม

สาวชาววังมีความหอมติดตัวเวลานั่งจึงหอมติดกระดาน เคล็ดลับความหอมคือ นำเครื่องแต่งกายที่ซักสะอาดแล้วใส่ภาชนะมิดชิดแล้วใส่เครื่องหอมลงไป เรียกว่าการอบผ้าและการร่ำผ้า ใช้เวลาประมาณ 3-7 วันหรือ 1 เดือน นอกจากนี้มีการแต่งกายสีตามวันเพื่อความเป็นศิริมงคล โดยเน้นผ้านุ่งสีตามวัน จะไม่ใส่สีเดียวกันหมดทั้งตัว

สาวชาววังจะนำผักผลไม้มาแกะสลักเลียนแบบลวดลายธรรมชาติ เมื่อมีเวลาว่าง จะทำอาหารเก็บสะสมไว้ด้วย รวมถึงขนมต่างๆ เช่น ขนมโสมนัส ขนมข้าวตูเป็นเสบียงยามไปรบ ขนมกงมีความหมายคล้ายวงล้อธรรมจักร ไปที่ใด ศาสนาพุทธก็กระจายไปสู่ที่นั่น เช่นเดียวกับความรักที่กระจายไปสู่ที่ต่างๆ ถือเป็นขนมเสี่ยงทายในวันแต่งงาน ข้างบนขนมกงมีการติดจุกไว้ด้วย ถ้าจุกหล่น ทำนายได้ว่าความรักไม่ยั่งยืน ดังนั้นคนทำต้องพิถีพิถันในการทำ

สาวชาววังจะนิยมนำดอกไม้มาร้อยเป็นมาลัย เครื่องแขวนต่างๆ เช่น ตาข่ายหน้าช้างใช้ในพระราชพิธีสมโภช และขึ้นระวางเป็นช้างสำคัญ เมื่อนำตาข่ายหน้าช้าง 2 อันมาประกบกันจะกลายเป็นวิมานพระอินทร์ ระย้าทรงเครื่องเป็นเครื่องแขวนห้อยลงมาจากเพดาน

5.ห้องเรืองนามมหรสพศิลป์ นำเสนอมหรสพโบราณที่พระมหากษัตริย์ตลอดสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าให้จัดแสดงเพื่อบำรุงขวัญประชาชน รูปแบบการนำเสนอเป็นวีดิทัศน์มหรสพ 360 องศา เกี่ยวกับมหรสพต่างๆได้แก่

5.1 การละเล่นเด็กไทย ม้าก้านกล้วย

5.2 ระบำดาวดึงส์ ซึ่งมีการแต่งกายคล้ายละครชาตรี

5.3 หนังใหญ่ คล้ายหนังตะลุง คนเชิดใส่ชุดมหาเล็กสีแดง หนังใหญ่ทำจากหนังวัว โดยทำเป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนหนังพระแผลง เป็นการทำตัวหนังเป็นรูปพระราม ทศกัณฑ์ เถ้าแก่ ฤๅษี แผลงศร ใช้สำหรับออกแขกแต่ไม่ใช้แสดง วัดขนอนมีหนังใหญ่ 300 ตัว นอกจากนี้ วัดบ้านดอนและวัดสว่างอารมณ์ก็ทำหนังใหญ่เช่นเดียวกัน

5.4 โขน มีวิวัฒนาการมาจากชักนาคดึกดำบรรพ์ของเขมร โดยคนเลียนแบบท่ารำของหนังใหญ่มาแสดง

5.5 งิ้ว

5.6 ละครใน ซึ่งใช้ผู้หญิงแสดงการร่ายรำทั้งหมด

5.7 หุ่นหลวง เป็นการแสดงหุ่นกระบอกเรื่องรามเกียรติ์

5.8 โมงครุ่ม

5.9 ระเบง

5.10 กายกรรม

6.ห้องดวงใจปวงประชา นำเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี และเป็นพระราชนัดดาในรัชกาลที่ 5 และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

สมเด็จพระบรมราชชนกทรงมีพระราชดำรัสว่า

“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง

ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง

ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์”

เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคตนั้น ทั้งสองพระองค์ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงทรงเป็นทั้งพ่อและแม่ดูแลพระโอรสและพระธิดาด้วยพระองค์เอง ท่านทรงเลี้ยงดูพระโอรสและพระธิดาให้เป็นคนดีเพื่อจะได้ทำประโยชน์ให้กับแผ่นดินได้อย่างแท้จริง ทรงเพียรอบรมพระโอรสและพระธิดาให้รู้จักเหตุผล มีความรับผิดชอบ รู้จักคิด ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ มีเมตตาและรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น

ชื่อ “ภูมิพล” แปลว่า พลังของแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชชนนีพระราชทานพระนามนี้ให้เพื่อให้รัชกาลที่ 9 ติดดิน ทำงานให้แก่ประชาชน

ทุกครั้งที่รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอตามรัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรตามที่ต่างๆอย่างใกล้ชิด พระองค์ยังเป็นช่างภาพประจำพระองค์รัชกาลที่ 8 ถ่ายภาพเก็บไว้เสมอ กล้องถ่ายภาพของรัชกาลที่ 9 จึงไม่ใช่กล้องธรรมดา แต่บันทึกความทรงจำที่พระองค์มีต่อรัชกาลที่ 8 ด้วย

รัชกาลที่ 9 ทรงคิดถึง รัชกาลที่ 8 อยู่ตลอดเวลา คิดว่าจะไม่ห่างจาก รัชกาลที่ 8 ตลอดชีวิต คิดว่าเป็นเคราะห์กรรม ไม่เคยคิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของรัชกาลที่ 8 เท่านั้น

เมื่อรัชกาลที่ 9 ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

กล้องถ่ายรูปของพระองค์จึงทรงเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ นับแต่ครองแผ่นดิน ไม่มีที่ใดในแผ่นดินนี้ที่พระองค์ไปไม่ถึง เสด็จไปเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรทุกภูมิภาคของประเทศ ให้ราษฎรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง อันนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง นำมาซึ่งพระราชฐานที่ประทับในสวนจิตรลดาสู่โครงการส่วนพระองค์และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ

ตลอดระยะเวลาที่ทรงงานและปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อชาวไทย รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานข้อคิดและบทเรียนอันมีค่าในแง่การงาน การใช้ชีวิตทั้งจากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่พระราชทานในวาระต่างๆ และการที่ทรงได้ปฏิบัติพระองค์ที่นับว่าเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีต่อชาวไทยทุกคน ทรงเลือกรับแบกทุกข์ปัญหาของราษฎรดุจดังปัญหาของพระองค์เองมาตั้งแต่ต้นรัชกาล ดังคำสัญญาที่ทรงให้ไว้ก่อนทรงไปศึกษาต่อประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งพระองค์ท่านทรงได้ยินประชาชนคนหนึ่งร้องขึ้นในระหว่างทางที่เสด็จว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” พระองค์ท่านอยากจะตอบเขาไปว่า “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งอย่างไรได้”

สมดังพระราชดำรัสของพระองค์ท่านว่า “ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้ คือ การได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือ คนไทยทั้งปวง”

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ


ที่มา รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ” ตอน : ห้องเรียนคณะแพทยศาสตร์ มอ.รุ่นที่ 3 : กรณีศึกษา CSR

กับห้องเรียนผู้นำคณะแพทย์ มอ. (ตอน 2)

ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2558 ทางสถานีโทรทัศน์ TGN

คุณจีระสุข ชินะโชติแจ้งว่า โปรดติดตามสัมภาษณ์ ผอ.ฝ่ายภาพลักษณ์ฯ เพชรพริ้ง สารสิน บริษัทการบินไทย จํากัด มหาชน มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

https://cdn.gotoknow.org/…/original_petpringTGinterview105M…

ที่มา: รายการ คุณธรรมสร้างชาติ ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 105 MHz.

ในวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2558 เวลา 19.30-20.00 น.

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/108/240/original_petpringTGinterview918GHz8092015.MP3?1441768627

ที่มา: รายการ เล่าเรื่องเมืองไทย ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

AM 918 kHz. ในวันอังคารที่ 8 กันยายน 2558 เวลา 23.00-24.00 น.

หมายเลขบันทึก: 594311เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2015 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2015 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สรุปการดูงาน (3-5 กย.2558)

วันที่ 3-9-58

ช่วงเช้า ศึกษาดูงานที่บ. ทีซีซี แลนด์ จำกัด

ซึ่งมีธุรกิจครบวงจร ทั้งอสังหาริมทรัพย์ ประกันภัย..และเกี่ยวกับการบริหารจัดการเอเชียทีค ...(ความต้องการเป็นผู้นำอสังหาริมทรัพย์ที่ครบวงจร ไม่มุ่งหวังแต่กำไร มุ่งตอบแทนสังคม คืนกำไรสู่สังคม)

ช่วงบ่าย บ.การบินไทย จำกัด (มหาชน)

-การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล(สร้างbrand+บุคลากรที่มีคุณค่า+บริการที่โดดเด่น)

-การบริหารจัดการในภาวะวิกฤต..ซึ่งการสื่อสารทั้งในและนอกองค์กร สำคัญมาก..และต้องสื่อสารทุกมิติ

ดูงานวันที่ 4-9-2558

ช่วงเช้า ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

(การบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ การพัฒนาบริหารคนในองค์กร)ได้แนวคิด

-การกระจายแหล่งผลิตพลังงาน เพื่อความมั่นคง ,การลงทุนที่เหมาะสมเพื่อเสถียรภาพของค่าไฟฟ้า,ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

-ด้านการพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคล...ต้องการคนแบบไหนต้องสรรหา กล่อมเกลาพัฒนาให้ตรงกับค่านิยมขององค์กร(สร้างคนเก่ง+คนดี+มีความสุขในการทำงาน)

ช่วงบ่าย ดูงานโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์

1.เน้นอนุรักษ์วัฒนธรรม ,วิถีชีวิต

2.ส่งเสริมอาชีพ

3.นำการท่องเที่ยวมาพัฒนา..ทำการท่องเที่ยวที่ประชาชนได้ผลประโยชน์ด้วย

4.ความร่วมมือ บูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน

...(นักท่องเที่ยวที่มาต้องได้รับคือ..ชม+ช็อป+ชิม)


ดูงานวันที่ 5-9-2558

ช่วงเช้า ..เที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก..เป็นหน้าที่ที่พวกเราทำได้สมบูรณ์แบบมาก..ได้ทั้งชม+ช็อป+ชิม..

ช่วงบ่ายดูงานนิทรรศน์รัตนโกสินทร์..ซึ่งแบ่งเป็น 2ส่วนคือส่วนของวัดราชนัดดาราม.และอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

ซึ่งทำให้เราเห็นถึงคุณค่าประเพณี วิถีชีวิต ศิลปะวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน...รู้สึกขอบคุณบรรพบุรุษชาวสยามที่สร้างสรรแต่สิ่งดีๆ งดงาม..ไว้ให้พวกเรา

การดูงานวันที่ 3-5 กันยายน 2558

บ.TCCแลนด์ : ก่อนลงทุนทำกิจกรรม/ธุรกิจใด ๆ ควรศึกษาสภาพแวดล้อม ชุมชน ทำเล และความเป็นมาในสมัยก่อน เพื่อจะได้วางแผนดำเนินการได้ตรงใจ

บ. การบินไทย : branding มีความสำคัญต่อองค์กร การบริหารจัดการเกี่ยวกับภาวะวิกฤติ-มีการวางแผนอย่างรอบคอบ ระดมสมองกันทุกส่วนงาน

กฟผ.(บางกรวย) : ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารงานบุคคล การดูแลตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้าทำงาน ควรรับคนให้ตรงกับค่านิยมองค์กร การจัดสวัสดิการให้กับบุคลากรได้ทุกระดับมีแผนครอบคลุม การดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา

โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ : ได้เรียนรู้วิถีชุมชน การทำน้ำตาล การทำขนม/ประดิษฐ์งานฝีมือ (ใบเตยดอกกุหลาย - สานใบมะพร้าว) การบริหารงานของผู้นำ-โดยเข้าไปถึงชุมชน ทำเพื่อความยั่งยืนของชุมชน (อยู่ได้และมีความสุข)

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ : ซาบซึ้งบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทยในยุคต่างๆ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย วิถีชีวิตของคนในอดีต

สุชาดา ดวงสุวรรณ กลุ่ม 4

บทสรุปจาการไปดูงาน 3-5/9/2558

3/9/2558

บริษัท

อีกส่วนหนึ่งคือการได้เห็นการปรับวิกฤตให้เป็นโอกาส ดังจะเห็นได้จากสถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ประกอบด้วยถนนเพียงแค่สองเลน อาจจะมีปัญหาเรื่องรถติดแต่ประชาชนแถวนั้นก็ยอมรับได้ เนื่องจากเอเซียทีคได้สร้างโอกาส และสร้างอาชีพให้แก่พวกเขา

การบินไทย

ได้เรียนรู้ความสำคัญของคำว่า

การจัดการกับภาวะวิกฤต จำเป็นต้องรู้จักการบริหารจัดการ ต้องรู้จักการสื่อสาร และเมื่อผ่านพ้นแล้ว ไม่ลืมที่จะนึกถึงและตอบแทน

4/9/2558

การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

ได้เรียนรู้ในการบริหารจัดการบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ได้แบบอย่างของ

อัพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

ได้จิตสำนึกของการกลับมาพัฒนาบ้านเกิด

5/9/2558

ได้เรียรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ปลูกจิตสำนึกรักชาติ ทำประโยชน์เพื่อทดแทนคุณแผ่นดินเกิด

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3

ศึกษาดูงาน โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

วันที่ 3 กันยายน 2558

เริ่มต้นโดย นายสุรสิทธิ์ มานะวัฒนากิจ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 พร้อมทั้งได้แนะนำวิทยากรบรรยายที่เป็นผู้บริหารจากโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ 2 ท่าน คือ คุณรุ่งเรือง วิโรจน์ชีวัน Vice President TCC Land Group และคุณกันตพัฒน์ อัครเลิศวัชรคุณ Head of Marketing & PR Asiatique

หลังจากนั้น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงการมาศึกษาดูงานที่ โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เนื่องจากทางคณะแพทยศาสตร์ มีโครงการที่จะทำแผนการสร้างคอมเพล็กซ์ ในลักษณะคล้ายกับแนวคิดของเติ้งเสี่ยวผิงคือ หนึ่งประเทศ สองระบบ (One country Two systems) มาใช้แก้ปัญหาการรวบรวมเกาะฮ่องกง อ้าวเหมิน(มาเก๊า) และไต้หวัน โดย 1 ประเทศที่ว่า คือความเป็นจีนเดียวโดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษชาวจีนต้องสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อพิทักษ์มาตุภูมิไว้ ส่วน 2 ระบบ คือความปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างการปกครองด้วยระบบสังคมนิยมของแผ่นดินใหญ่ กับระบบทุนนิยมของฮ่องกง อ้าวเหมิน และไต้หวัน ที่ถึงแตกต่าง แต่ก็เป็นชาติเดียวกัน

ซึ่งประเด็นที่ ดร.จีระ ฝากไว้คือ อยากให้คนรุ่นใหม่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาสมองไหล

การรับฟังบรรยายจากผู้บริหารของเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

บรรยายโดย คุณรุ่งเรือง วิโรจน์ชีวัน Vice President TCC Land Group

คุณรุ่งเรืองได้กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจของ TCC Land ว่าเป็นธุรกิจที่มีความครอบคลุมหลากหลาย ดูแลธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายเดียวในเมืองไทยที่ทัดเทียมกับระดับโลกเพราะครอบคลุมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “The Leading Regional Integrated Real Estate Group” คือความต้องการเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกกลุ่ม

พันธกิจ คือ การสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ลงไปถึงลูกค้าและพนักงาน และการนำคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาสร้าง Business

สิ่งที่ TCC Land มีจุดเด่นคือ การมี Partnership หรือเครือข่ายทางธุรกิจจำนวนมากโดยเฉพาะเครือข่ายกับต่างชาติมากที่สุด ดังนั้นสิ่งที่ TCC Land ยึดเป็นหลักการคือความยุติธรรม (Fair) ต้องให้ผลตอบแทนที่ดี เพราะในมุมมองด้านการตลาดนั้น TCC Land เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะสร้าง Benchmark ใหม่ในตลาดที่มีความแตกต่าง และเป็นที่จับตามองของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกหลายแห่ง

ในด้าน ชุมชน (Community) TCC Land ได้เน้นหลักที่ทีม QC มีการใช้น้ำหมุนเวียน และได้มีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นแสงไฟยามค่ำคืน เป็นต้น

ธุรกิจในกลุ่ม TCC Land ประกอบด้วย 5 กลุ่มธุรกิจคือ

1. Residential Group ได้แก่ Condominium, Housing

2. Hotels & Serviced Residence Group ได้แก่ Int’l Hotels, Domestic Hotels, Branded Hotels , Serviced Apartment และเป็นเครือโรงแรมที่ถือเป็น Biggest Owner

3. Retail Group ได้แก่ Shopping Center, IT Center , Luxury Center, F&B , Market Place

4. Commercial Group ได้แก่ CBD Office , Non CBD

5. Master Plan Development Group ได้แก่ Master Plan Development การพัฒนาโครงการที่ดิน มีการทำ Master Plan และมีการระดมสมองจากแต่ละกลุ่มว่าจะพัฒนาที่ดินตรงนั้นจะเป็นอะไรที่เหมาะสมที่สุด

โดยจะมี Property Funds คือ Thai Commercial (TCIF) , Thai Retail (TRIF) และกองทุนที่ตลาดหลักทรัพย์ในการทำหน้าที่หาเงิน และได้นำองค์กรที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์มาสนับสนุนซึ่งกันคือ Hospitality และ Hotel

TCC Land จึงเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดศักยภาพใหม่ของที่ดินในเมืองไทย และสร้างความประหลาดใจในเรื่อง Designer Material เกรด A เริ่มจากการที่มีประสบการณ์ในการเป็นเจ้าของพันธุ์ทิพย์พลาซ่า สู่การเก็บสะสมเรื่องราวของสินค้า และภาพวาดทางศิลปะ

Residence Place and Villa แบ่ง Life Style ใหญ่ ๆ เป็นเจ้าของพันธุ์ทิพย์พลาซ่า เริ่มเปลี่ยนภาพลักษณ์ เก็บรักษาให้มีเรื่องราวของสินค้า เป็นภาพวาดศิลปะ

สิทธิประโยชน์ที่ทำให้กับพนักงานคือ มีการทำบัตรเครดิตให้กับพนักงานที่สามารถใช้เป็นค่าส่วนลดที่พักและธุรกิจในเครือ

TCC Land มีความทุ่มเทและมุ่งมั่นในการทำธุรกิจอย่างมาก สังเกตได้จากรางวัล ผู้พัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ยอดเยี่ยมปี 2009 (Thailand Property Awards 2009) ได้แก่ รางวัล Best Developer และรางวัล Best Housing Development Bangkok

โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เป็น First Shopping Destination and life style complex in Asia ภายใต้ค่านิยม (Core Value) คือ การมี Philosophyที่เป็น Integrity และการคิดแบบครบวงจร แบบ Flagship Destination คือ ต้องการให้เอเชียทีคเป็นสถานที่สะท้อนประวัติศาสตร์และสามารถเล่าเรื่องราวของเจริญกรุง ในรูปแบบของ Museum ผสม Entertainment

การศึกษาข้อมูลก่อนเริ่มทำ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ จะมีการศึกษาวิจัยสถานที่บริเวณโดยรอบ และแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เช่น ถนนเจริญกรุง พระทองวัดไตรมิตร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวเสริมว่า ธุรกิจของคุณเจริญเป็นธุรกิจที่มีปรัชญาในการทำเพื่อส่วนรวม ให้ความสนใจในการดูแลสภาพแวดล้อมที่ดีจึงสามารถส่งให้ธุรกิจกระเด้งต่อไปได้ และในอนาคตก็ต้องเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น เพื่อสามารถมี Benchmark แข่งขันกับที่อื่นในโลกได้

บรรยายโดย คุณกันตพัฒน์ อัครเลิศวัชรคุณ ผจก.ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์

ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ว่า

ก่อนได้มาซึ่งพื้นที่นี้ ได้ทำการวิเคราะห์และสำรวจโครงการฯว่าจะพัฒนาเป็นรูปแบบใดได้บ้าง โดยพบว่ามีโรงแรม คอนโด ออฟฟิศ อยู่บริเวณนี้จำนวนมาก และมีการวิเคราะห์รายละเอียดในธุรกิจห้างสรรพสินค้าอย่างเครือเซ็นทรัล ซึ่งถ้าเอเชียทีค ไปแข่งคงไม่สามารถแข่งได้ จึงเน้นการสร้างความแตกต่าง จึงเริ่มทำการศึกษาตัวตน แต่ยังไม่มี Concept ที่แน่ชัด มีการศึกษาข้อมูล และเดินทางเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบกับแนวคิดประวัติศาสตร์และความเป็นมาที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย มาผสมผสานกับการศึกษาพื้นที่ พบว่า ที่เดิมแห่งนี้เป็นพื้นที่ของวังเก่า สังเกตได้จากกำแพงที่ถูกค้นพบในใต้ดิน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ประเทศ ในแถบทวีปเอเชียถูกรุกรานโดยชาติมหาอำนาจจากยุโรป และด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงทรงตัดสินพระทัยเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรเดนมาร์ก พร้อมกับการก่อกำเนิดท่าเรือของบริษัท อีสท์ เอเชียติก ซึ่งมีนายฮันส์ นิลล์ แอนเดอร์เซน ชาวเดนมาร์กเป็นเจ้าของ เพื่อการค้าไม้สักไปต่างประเทศ จึงสร้างท่าเรือขนถ่ายสินค้าขึ้น ณ ท่าเรือแห่งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของประตูการค้าสากลระหว่างสยามประเทศและยุโรป เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้สยามดำรงความเป็นเอกราชมาจนปัจจุบัน รวมระยะเวลาประมาณ 211 ปีแล้ว

หลังจากที่ดูพื้นที่นี้ว่าประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างไรก็นำมา Integrate ร้อยเรียงเป็นเรื่องราว เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ มีการทำสิ่งปลูกสร้างที่สามารถเห็นได้ชัดเจน บรรยากาศในปัจจุบันจึงมีโครงสร้างคล้าย ๆ เดิม คือมีความเป็น Lifestyle และเป็น Fresh Supermarket มีย่านริมน้ำ ย่านเจริญกรุง ย่านโรงงาน และย่านกลางเมือง มีการขนถ่ายสินค้า มีการแปรรูป เกิดเป็นธุรกิจกลายเป็นย่านกลางเมือง เกิดความเจริญรุ่งเรืองมา เป็นย่านเจริญกรุง

ในวันนี้ ณ ผืนแผ่นดินเดิม อันเป็นที่ตั้งของท่าเรือ อีสท์ เอเชียติก ได้ถูกเนรมิตให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ภายใต้ชื่อ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ “ASIATIQUE The Riverfront”โครงการไลฟ์สไตล์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แลนด์มาร์คใหม่ล่าสุดของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนพื้นที่ 72 ไร่ ติดแม่น้ำ และติดถนนยาวข้างละ 300 เมตร

เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ถือกำเนิดขึ้น ภายใต้แนวคิด Festival Market and Living Museum แหล่งท่องเที่ยวและไลฟสไตล์ช้อปปิ้งริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เป็นพื้นที่ซึ่งได้ออกแบบให้พร้อมด้วยองค์ประกอบหลากหลาย เพื่อรองรับและเติมเต็มความต้องการของนักท่องเที่ยวและคนหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น

  • ย่านเจริญกรุง ประกอบไปด้วย ร้านขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว และสินค้าของตกแต่งบ้าน ที่สวยงามหลากหลาย อีกทั้งยังมีโรงละคร ที่รองรับผู้ชมได้กว่า 400 ที่นั่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมไทย กับหุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ หรือโชว์สุดอลังการจากคาลิปโซ่ รวมถึงร้านอาหารชั้นน
  • ย่านกลางเมือง เป็นลานจัดกิจกรรมกลางแจ้ง และโซนอาหารนานาชาติ ที่รวบรวมอาหารขึ้นชื่อจากประเทศต่างๆ ในบรรยากาศง่ายๆ สบายๆ พร้อมรื่นเริงไปกับ เครื่องดื่มและเบียร์เย็นๆ ที่ Asia House
  • ย่านโรงงาน เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์แห่งใหม่บนถนนเจริญกรุง ที่รวบรวมร้านอาหาร ผับ และร้านค้ามีสไตล์มากมาย ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจหลังเลิกงาน พรั่งพร้อมไปด้วยสินค้าแฟชั่น และของประดับตกแต่ง ให้เลือกซื้ออย่างจุใจ ในบรรยากาศสนุกสนานยามค่ำคืน
  • ย่านริมน้ำ ที่สามารถสัมผัสและดื่มด่ำไปกับบรรยากาศแบบพาโนราม่า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยทางเดินริมแม่น้ำที่ยาวกว่า 300 เมตร พบกับร้านอาหารมีระดับ มากมาย ทั้งอาหารญี่ปุ่น อิตาเลี่ยน ไทย จีน และซีฟู้ด

นอกจากนี้ ภายในโครงการ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ได้สอดแทรกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อเป็นการให้ความรู้ในลักษณะจดหมายเหตุ เกี่ยวกับความสำคัญในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิตริมแม่น้ำเจ้าพระยา การค้าขายกับต่างประเทศในยุคล่าอาณานิคม พร้อมบอกเล่าถึงความเจริญของสถาปัตยกรรมในยุคนั้น ด้วยการปรับปรุงอาคารเก่า และรักษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในสภาพเดิมไว้เกือบทั้งหมด

ปัจจุบันมีผู้เข้ามาเอเชียทีค วันละ 40,000 คน ประกอบด้วยกลุ่ม FIT (Foreign Industrial Traveler) Tour Group , Gen Y , และ Family

สิ่งที่น่าสนใจของเอเชียทีค เดอะ รีเวอร์ฟร้อนท์ คือ

  • มี 7 สิ่งมหัศจรรย์ ได้แก่ หลุมหลบภัยสมัยสงครามโลก รางรถโบราณ โรงเลื่อยเก่า เครนโรงเลื่อย ซุ้มโค้งโกดังสินค้า 100 ปี ท่าเรือประวัติศาสตร์ ปั่นจั่นยกของริมน้ำ
  • แหล่งสร้างความบันเทิงได้แก่ คาลิปโซ่ แบงคอก หุ่นละครเล็กโจหลุยส์เธียเตอร์
  • มีมุมถ่ายภาพ 360 องศา มีทางเดินริมน้ำที่สามารถถ่ายภาพพาโนรามา
  • มีร้านอาหารกว่า 40 ร้านที่หลากหลายสไตล์ทั้งไทย จีน ญี่ปุ่น อิตาเลี่ยน และซีฟู้ด
  • มีร้านขายสินค้าที่มีการสร้างแบรนด์ว่าเป็นร้านที่หาที่ไหนไม่ได้ต้องมาที่เดียวคือ เอเชียทีค
  • มีสิ่งที่เป็นแลนด์มาร์ก คือชิงช้าสวรรค์ สูง 60 ม. ที่สูงที่สุดในประเทศไทย
  • และมีลานจัดกิจกรรมริมแม่น้ำ ขนาด 12,000 ตารางเมตรที่สามารถรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งคอนเสิร์ต และงานเปิดตัวสินค้า
  • ในช่วงการเปิดตัว 18 เดือนต้องมีการศึกษาโดยตลอดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง พยายามสอบถามนักท่องเที่ยวและวิเคราะห์นักท่องเที่ยว และพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ จนได้รับรางวัลเป็น Amazing Thailand Destination จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • มีการสร้างบรรยากาศและเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ อาทิ มีแนวคิดสร้าง IT Event ที่น่าสนใจคือคือตอน Count down ช่วงวันส่งท้ายปีเก่าขึ้นปีใหม่ มีความพยายามสร้าง Organic Event โดยเชิญภาคส่วนต่าง ๆเข้ามาและทำกิจกรรม
  • มีการนำสื่อต่าง ๆ เข้ามา มีการเพิ่มและพัฒนาส่วน Facility ต่าง ๆ

กลยุทธ์ทางการตลาด

คำถาม

  • ก่อนเริ่มทำโครงการฯ ได้มีการสำรวจและศึกษาว่าจะเอเชียทีค เดอะ รีเวอร์ฟร้อนท์ เป็นรูปแบบใด

ตอบ เริ่มจากการมีที่ดิน 3 ผืนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 แล้วศึกษาว่าจะทำอะไร แต่ได้เริ่มทำจริงในปี ค.ศ. 2010 (รวมเก็บที่ดินไว้ 13 ปี) เพื่อศึกษาข้อมูล มีการศึกษาว่าจะทำในรูปแบบใด เช่น ถ้าทำแบบ Central หมายถึง จะต้องสร้างแบบเป็น Platform ทั่วไป และถ้าทำจะแข่งได้หรือไม่ จึงพยายามหาจุดขาย และจุดแตกต่าง ซึ่งแนวคิดที่จะสร้างเอเชียทีค เดอะ รีเวอร์ฟร้อนท์ ก็มาจากคุณณภัทร เจริญกุลเสนอ และดึงจุดเด่นที่มีคือแม่น้ำมาสร้าง

2.การวิเคราะห์โครงการฯ มีตัวเลือกที่ 2 และ 3 ก่อนที่จะเลือกหรือไม่

ตอบ มี3 ตัวเลือกคือ 1. การทำแบบตลาดนัดรถไฟ แต่เมื่อวิเคราะห์ดูคิดว่าไม่น่าจะยั่งยืน เนื่องจากลูกค้าที่เช่าเป็นรายวัน และไม่สามารถคุม Concept แล้วตลาดแบบนี้ก็สามารถเปิดที่ไหนก็ได้ 2. การสร้างเป็นห้างสรรพสินค้าอย่าง The Mall หรือ Central ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านนี้ ถ้าจะสร้างตามคงยาก และเหนื่อย อีกอย่างการแนะนำ คู่ค้า และร้านค้าต่าง ๆ ที่ดีมาเปิดในศูนย์การค้าใหม่นั้นยากมากเพราะไม่มีประสบการณ์ มีเพียงธุรกิจร้านค้าปลีกด้าน IT อย่าง พันธ์ทิพย์ เท่านั้น 3. การสร้าง Festival Market and Living Museum คือที่ เอเชียทีค เลือก จึงต้องหากลุ่ม Player ใหม่ ๆ ที่ส่วนใหญ่ไม่มีในห้าง The Mall หรือ Central โดยต้องถามไอเดียของานเขาด้วยว่าเป็นอย่างไร สามารถเข้ากันหรือไม่ที่จะ เป็น Festival Market เฉพาะตอนกลางคืน

3.มีวิธีการการมอบหมายทีมงานอย่างไร

ตอบ มีทีม Development Division เป็นหัวใจในการตั้งต้น และชงทุกอย่างให้บอร์ดรองรับ เริ่มจากการคิด Concept และเมื่อได้ Concept แล้วจึงออกแบบ (Design) ให้เข้าคอนเซปต์ แล้วดูว่าร้านค้าที่จะเข้ามาในแต่ละโซนจะดีไซน์อย่างไรให้เหมาะสมกัน

ข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าลูกค้าต่างชาติส่วนใหญ่จะชอบ พวกงาน ศิลปะ จิวเวอรี่ ส่วนคนไทยจะชอบพวกแฟชั่น ของกิน และ Accessories ต่าง ๆ ปัญหาที่พบในช่วงเริ่มต้นคือไม่มีแรงจูงใจในการดึงลูกค้าดี ๆ เข้ามา และจากการสำรวจลูกค้าบอกว่าร้านเสื้อที่มาขายเหมือนร้านแพลตตินั่ม แต่ราคาสูงกว่า ต่อมาจึงได้พยายามปรับปรุง มีการทำ Survey กับลูกค้าว่ามาที่นี่แล้วได้อะไร มีการจัดทำร้านค้าที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่น กลุ่ม Gen Y คือทำงานระดับหนึ่งแล้วแต่ไม่มีที่จับจ่าย ก็จัดให้มีการตั้งโซนใหม่คัดสรรร้านค้าที่เหมาะกับ Gen Y

4.การแบ่งสัดส่วนงบประมาณในการบริหารเป็นอย่างไร

ตอบ ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากรประมาณบุคลากร 10-15% ของรายได้ ใช้งบทางด้านการตลาดประมาณ 5% และงบพัฒนาบุคลากรประมาณ 3 % (เทียบได้กับ Benchmark ของโลก)

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3

ศึกษาดูงาน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)

วันที่ 3 กันยายน 2558

เริ่มต้น โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึงการบริหารบุคลากรในการทำงานภายใต้วิกฤติ อย่างโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่ต้องพบกับสถานการณ์ซึ่งค่อนข้างรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะแพทยศาสตร์ทำหน้าที่ดูแลและผลิตบุคลากรที่เป็นแพทย์ แพทย์ต้องเสียสละเวลาเพื่อเรียนรู้และนำไปพัฒนา อย่างบางท่านที่มาก็เป็นหมอผ่าตัด

ในหลักสูตรนี้ ดร.จีระ ใช้ทฤษฎี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง เน้นการฝึกให้คนเป็นสังคมการเรียนรู้ และให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

คุณเพชรพริ้ง สารสิน ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และได้กล่าวถึงการบินไทยว่าจะ มี Code รหัสในการสื่อสารอย่างในส่วนของ Complex communication จะมี Code ที่ใช้เรียกกัน เช่น DD หมายถึงกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ส่วนคุณเพชรพริ้ง จะมี Code เรียกว่า D5 เป็นต้น

ได้กล่าวถึงการสื่อสารว่ามีทำ 2 อย่างคือ สื่อ Good News และ สื่อ Bad News

Good News – คือการส่งต่อภาพลักษณ์ให้คนทราบ อย่างการเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่ช่วยเหลือสังคม ส่งเสริมสังคม และรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดไฟล์ทพิเศษในพิธีฮัทช์ มีการร่วมกับนักท่องเที่ยวนำเด็ก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาชมการทำงานของฝ่ายช่างที่การบินไทย เป็นต้น

Bad News – คือเรื่องการรักษา Branding หรือภาพลักษณ์ ให้คงอยู่ จะทำได้อย่างไร อย่างกรณีเหตุการณ์ Crisis ที่เกิดขึ้นที่ราชประสงค์มีผลกระทบอย่างไร ทางการบินไทยอาจให้ความช่วยเหลือในการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงการเดินทาง และให้มีการดูแลผู้ป่วยจนถึงปลายทาง

เน้นการรักษา Branding เพื่อต่อสู้กับวิกฤติ มีการทำเรื่อง Marketing Communication และ Complex Communication อยากให้ดูทั้งในเรื่อง Internal และ External โดยต้องให้ข่าวใน Internal เท่าเทียมกับ External สม่ำเสมอ และควรให้มีความมั่นใจในการลงทุน ให้เชื่อมงาน Corporate Communication กับ Marketing Communication เข้าด้วยกัน ให้แต่ละโหนดของ Communication Network มีการสื่อสารกันเอง

ในด้าน Marketing Communication คนที่รับเรื่องคือ ลูกค้า (Customer)

ในด้าน Corporate Communication เป็นสิ่งที่โกหกไม่ได้ต้องมีการดูแลมากขึ้น ระวังด้านการสื่อสารและข้อความ (Message) เพื่อไม่ให้เสียภาพลักษณ์ของบริษัท

และเมื่อเกิด Crisis ทาง CMOC จะรายงาน DD โดยตรง เพื่อจะได้ชี้แจงไปยังส่วนต่าง ๆ

การวางแผนให้ภาพลักษณ์องค์กรออกไปทาง Good News มีการบริการอย่างไรที่ทำให้ลูกค้าสะดวกสบาย ต้องดูที่ Right tool, Right message, Right time , Right people

คุณจักรพงศ์ คล้ายมุข ผู้จัดการกองโฆษณา บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) บรรยายเรื่อง “การสร้างและบริหารองค์กรให้เป็นที่รู้จักของมวลชน”

เริ่มต้นว่าทำไมถึงต้องสร้างแบรนด์ Why Branding ?

  • การบินไทยมองที่จุดหมายปลายทางคือคุณ (คุณคือลูกค้าสำคัญที่สุดสำหรับเรา)
  • แบรนด์การบินไทยจัดได้ว่าเป็นแบรนด์แข็งแรงติดอันดับโลกแม้ว่าในช่วงที่การบินไทยประสบกับภาวะวิกฤติก็ตาม
  • วันนี้ธุรกิจแข่งขันกันด้วยสิ่งที่จับต้องไม่ได้
  • ทุกวันนี้ทุกคนซื้อสินค้าจากยี่ห้อ (หมายถึงแต่ละคนจะมีแบรนด์ในใจอยู่แล้ว) แต่ Consumer จะแตกต่างกันไป
  • Brand = สิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นความทรงจำของคน
  • Brandที่มี Value มาก ๆ อาจไม่ใช่สินค้าที่ต้องแพงก็ได้ เช่น โค้ก กับสิงห์ สิงห์ราคาสินค้าแพงกว่าโค้ก แต่ค่าแบรนด์โค้กแพงกว่า เป็นต้น
  • แบรนด์ระดับโลก และแบรนด์ของไทย
  • มีการนำแฟชั่นมาผนวกกับชิ้นงาน และ Focus ไปที่ Customer เป็นหลัก แต่ก่อนการบินไทย บินไปทั่วโลกถึง 5 ทวีป
  • มีสายการบินที่ร่ำรวยจำนวนมากในตะวันออกกลาง ดังนั้นการต่อสู้กันเชิงธุรกิจ ต้องพูดในข้อที่ได้เปรียบ จึงไม่สามารถพูดในเรื่อง Product ได้ เนื่องจากสายการบินตะวันออกกลางมีต้นทุนด้าน Product ที่เยอะกว่า และราคาน้ำมันถูกกว่า จึงควรหันมาเน้นที่การบริการกับรูปลักษณ์ที่คนให้การยอมรับ

Brand & Logo

ความสำเร็จของการสร้างแบรนด์

1. การเลือกสี สังเกตได้ว่าผลิตภัณฑ์ในทุก ๆ แบรนด์ต้องเป็นเจ้าของสี อย่างเช่น ธนาคาร สายการบิน เป็นต้น

2. การสร้างโลโก้ โลโก้เป็นตราสัญลักษณ์ที่คนจำได้ เช่น Cannon Sumsung Apple Nike แบรนด์บางอย่างที่เจ๋ง ๆ บางครั้งไม่จำเป็นต้องเขียนชื่อยี่ห้อก็สามารถรู้เลยว่าเป็นยี่ห้ออะไร เช่น แมคโดนัลล์ หลุยส์ เบนซ์ เชลล์ BMW(จากการสำรวจพบว่าถ้าคนมีเงินส่วนใหญ่ที่อายุไม่มากจะซื้อ BMW เป็นอันดับแรกเพราะมองว่าเป็นสัญญลักษณ์ที่แทนความไม่แก่)

Brand need Fan not Consumer “แบรนด์ที่จับต้องทางความคิดจะให้ผลทางพฤติกรรม แบรนด์ที่จับต้องจิตใจต้องการความรัก”

Think it good… Change to…

Feel it Good

เราต้องสร้างแบรนด์ของเราให้เป็นแบบนี้ให้ได้

เรื่องคุณค่า จับต้องไม่ได้ แต่มีผลในแง่ของจิตใจ เคยคิดหรือไม่ว่านาฬิกาทำไมราคาถึงแพง เช่น Rolex

ทำไม MK สุกี้ ถึงเกิดได้ ทั้ง ๆ ที่ โคคาสุกี้ดังมาก

โคคาสุกี้แต่ก่อนดังมาก แต่ MK สุกี้ สามารถเข้ามาในตลาดและสร้างชื่อเสียงได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยพยายามสร้างแนวคิดที่เป็นจุดขาย MK ได้นำแนวคิดเรื่องการมาทานอาหารร่วมกับครอบครัว สร้างเวลาแห่งความสุขที่อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา โปรโมทการตลาดของ MK ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และทำให้ MK เป็นที่รู้จักในระยะเวลาไม่นาน

Honda and Toyota

Honda จะพยายามสร้างแบรนด์ให้รู้สึก Premium กว่า Toyota โดยการไม่ยอมให้ Honda เป็น Taxi

Apple and Sumsung

ปัจจุบัน Apple กับ Sumsung มีการแข่งขันสูงมากในปัจจุบัน และได้มาแทน Nokia และยี่ห้ออื่น ๆ ที่อดีตเคยเป็นยักษ์ใหญ่

3. แบรนด์ต้องมีบุคลิกภาพ คือต้องเป็นตัวตนของแบรนด์ ทำอย่างไรให้ทุกคนสร้างคาแรกเตอร์ให้เป็นที่จดจำมากขึ้น

ณ ปัจจุบันแบรนด์สำคัญมากขึ้น Product สำคัญน้อยลง ณ วันนี้เทคโนโลยีทันกันหมด

“ต้องเป็นผู้นำเสมอเมื่ออยากสร้างแบรนด์ระดับโลก”

การสร้างแบรนด์ให้สำเร็จต้องมี 3 D มาจากแนวคิดของ Walt Disney ที่เติบโตมาจนถึงวันนี้ และเป็นที่รู้จักมาจากหนูหรือมิกกี้เม้าส์ คือ กล้าที่จะฝันและลงมือทำ ทั้ง ๆ ที่เขาเคยถูกมองว่าไม่มีความคิดสร้างสรรค์เพียงพอ และ ไม่มีผู้หญิงคนไหนชอบหนู แต่ก็สามารถทำให้ Walt Disney กลายเป็นที่รู้จัก เพราะไม่ล้มเลิกที่จะทิ้งความฝัน ต้องทำงานหนักเพื่อแลกกับอะไรหลายอย่าง และการยืนหยัดอย่างอดทนจึงทำให้เขาประสบความสำเร็จและมีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่คือ Disneyland

  • การสร้าง Dream
  • Product & Services

การบินไทย เติบโตมาในระยะเวลา 55 ปี ที่ต้องมีการพัฒนาไปพร้อมกับกระแสโลกปัจจุบัน

ดังนั้น การพัฒนาการบินไทยให้ก้าวหน้าต้องปรับให้ดูแปลกใหม่ขึ้น ล้ำสมัยขึ้น อย่างเช่น โลโก้แต่เดิมยังเป็นตัวโลโก้ร่วมกับฟอนต์ไทย ปรับให้เป็นสีม่วงกับสีน้ำเงิน เนื่องจากต้องการปรับลุ๊กซ์ให้ดูเป็น Business look มากขึ้น

พนักงานต้อนรับ เป็นจุดแข็งของการบินไทยที่สะท้อนไปที่งานด้านบริการ เชื่อว่าดีที่สุด

การบินไทยจึงมีแบรนด์ เรื่องการให้บริการ

วิธีการสร้างแบรนด์

ให้ลองศึกษาตัวอย่างการสร้างแบรนด์ของห้างในประเทศไทย เช่น ถ้ามองว่า ห้างที่เป็นอันดับหนึ่งระดับ Hi-end คือห้างใด คำตอบคือ Siam Paragon สังเกตได้จาก การทำการตลาดของหลุยส์ วิตตอง จะเปิดที่ห้างทอปหรือห้าง Hi-end เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีที่เกสร สยามพารากอน และเอ็มโพเรียม นับได้ว่าเป็นอีกกลยุทธ์ที่สร้างให้แบรนด์คงอยู่

สิ่งที่ยากสำหรับการบินไทยคือการรักษาแบรนด์ให้ดูพรีเมี่ยมสมที่เป็นสายการบินแห่งชาติ

คำถาม

  • โรงพยาบาลต่าง ๆ พยายามชูแบรนด์ด้านใดด้านหนึ่ง แต่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ต้องการให้คนมาใช้บริการน้อยเนื่องจากอยากให้คนมีสุขภาพดีขึ้น ในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ ในมุมมองของภาคเอกชนคิดว่าควรสร้างแบรนด์ในลักษณะใด
  • การบินไทยคิดว่าปัจจัยที่สำเร็จในการให้ลูกค้ามาใช้งานในปัจจุบันเป็นอย่างไร คู่แข่งคือใคร และจะมองหาความได้เปรียบได้อย่างไร
  • การจัดการเรื่องภาวะฉุกเฉินและวิกฤติผ่านมาได้อย่างไร
  • ภาวะวิกฤติ แตกต่างอย่างไร ถ้าไปประสบเหตุที่ใดใครต้องช่วยใครบ้าง

ตอบ โรงพยาบาลรัฐไม่เหมือนโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลรัฐจึงน่าจะมีการสร้างแบรนด์ให้น่าเชื่อถือเป็นที่พึ่งของประชาชน การทำ CSR เป็นส่วนสำคัญในการสร้างแบรนด์ จะทำให้รู้สึกดี สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รักของประชาชน ให้เป็นที่พึ่ง และเป็นที่น่าเชื่อถือ

ตอบ โดยหลักการไม่ถือว่าสายการบินภายในประเทศเป็นคู่แข่งเนื่องจากสายการบินไทยเป็นสายการบินพรีเมี่ยมแต่คู่แข่งที่น่ากลัวคือต่างประเทศ แต่ก่อนสิงคโปร์แอร์ไลน์ แต่ตอนหลังสิงคโปร์แอร์ไลน์นำหน้าไปแล้ว ที่เหลือแค่มาเลเซียแอร์ไลน์ แต่เรื่องการบริการของการบินไทยยังดีอยู่

จะสร้างแบรนด์อย่างเดียวไม่ได้ต้องมีทั้ง Product & Service ด้วย

แบรนด์สำคัญที่สุดคือคน คนคือปัจจัยสำคัญ การสร้างบุคลากรที่มีคุณค่าในสาขาอาชีพคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ภาพลักษณ์จะเกิดไม่ได้เลยถ้าไม่มีคนในการ Service นั้นด้วย

สิ่งที่การบินไทยเสนอคือ ทุกคนต้องจำวิสัยทัศน์องค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และตัวบุคคลคือแบรนด์ เป็น Thai International Brand

ดร.จีระ เสนอว่า ควรมีเรื่องความเป็นมืออาชีพ การทำอะไรเพื่อส่วนรวม ต้องสร้างให้คนมี Emotion ร่วมคือต้องมีคนไปพรวนดินหรือการพัฒนา และช่วยดู

ตอบ การบินไทยบินทั้งหมด 61 จุดหมาย นโยบายบริษัทขึ้นลงตลอดเวลา ภายในประเทศ มีการบินอยู่หลายเมือง Airbus 380 อาจยังมีน้อยอยู่ แต่ดูแลอย่างดี

โครงสร้างการบริหาร และเรื่องความปลอดภัยต้องรายงานตรงต่อ CEO เท่านั้น ประกอบด้วย 4 ฝ่าย มี 4 Area ที่สำคัญที่ต้องดูแล คือ การปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ ต้องมีเครื่องมือให้พร้อม ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถบินได้

เรื่อง Standard และความปลอดภัย เมื่อสายการบินเกิดเหตุขึ้นมาต้องมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมสามารถผ่านพ้นเหตุฉุกเฉินได้

หลักการการบริหาร

  • Reduction ลดโอกาสที่จะเกิดเหตุ การบินไทยมีศูนย์ CMOP ที่สำนักงานใหญ่และสุวรรณภูมิ ทำหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์การบิน และแจ้งเตือนผู้เกิดเหตุ ต้องประสานการประชาสัมพันธ์ นำเสนอเป็น Public Relation ออกไป
  • Readiness เตรียมความพร้อม คนพร้อม อุปกรณ์ ศูนย์ปฏิบัติการ แผนการฝึกซ้อม มี Crisis Combination Network ที่รวบรวมศูนย์ปฏิบัติการทั้งหมด มีศูนย์ให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบภัยทางอากาศและญาตมิตร แผนมีรองรับหลายรูปแบบทั้งฉุกเฉินและจัดการวิกฤติ เมื่อมีแผนพร้อม คนพร้อม ได้นำมาสู่การฝึกซ้อม เหตุที่เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่นเครื่องประสบอุบัติเหตุในสนามบิน และมีการกรณี Hijack ต่อต้านการก่อการร้ายสากล ทุกคนที่ลงมาเหมือนเป็น Suspect Person นอกจากนี้มีการซ้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
  • Reaction เมื่อเกิดเหตุต้องทำให้ได้ตามแผน
  • Recovery พยายามให้สู่ภาวะปกติเร็วสุด เสียหายน้อยสุดและแสวงหาประโยชน์

กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์เช่นผู้บริหารติดเชื้อ มีข้อแนะนำจากสายการบินพลเรือนระหว่างประเทศ มีเมื่อลงมาแล้วจะจัดการอย่างไรไม่ให้แพร่ระบาดได้ ต้องมีการฝึกในหลาย ๆ ฝ่าย และมีฝ่ายบริหารร่วมด้วยเพราะมีส่วนตัดสินใจ และเมื่อเกิดเหตุจริงต้องเอาบทเรียนที่เกิดมาซ้อม ซ้อมในเวลาจริง สถานที่จริงกับที่เกิดเหตุ การดูแลผู้โดยสารจนถึงการแถลงข่าวจริง ๆ ต้องมีการฝึกซ้อมทั้งภายในและภายนอกด้วย เมื่อเกิดเหตุฝ่ายบริหารต้องรวมตัวกันเพื่อบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินและสั่งการออกไป ต้องมีศักยภาพในการกู้อากาศยาน การใช้เทคโนโลยีที่ดีและกำลังคนที่ดี

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินส่วนสำคัญคือการสื่อสารในหลายมิติ การสื่อสารให้พนักงานภายในเข้าใจ จำเป็นอย่างยิ่งต้องสื่อสารให้ได้ในภาวะวิกฤติ ต้องมีแนวทางช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

กรณี Emergencyเหตุฉุกเฉิน

กรณี MH370 การบินไทยต้องเตรียมแสตนด์บายช่วยเหลือ ไม่รู้ว่าตกที่ไหนรู้ว่าหายไปที่ปลายแหลมยวนหรือไม่

ตัวอย่างของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ การบินไทยก็มีเส้นทางการบินใช้บินจากยุโรปมาสู่กรุงเทพฯ ทันทีที่เกิดเหตุ มีสั่งเปลี่ยนเส้นทางการบินทันที ทุกเส้นทางสามารถสับเปลี่ยนได้

สิงคโปร์แอร์ไลน์ มีออกข่าวไม่ได้บินในเส้นทางนี้

กรณีที่ปากีสถานเกิดเหตุผู้ก่อการร้ายโจมตีสนามบิน มีการระเบิดไปเยอะ เป็นกรณีบินฉุกเฉิน ตอนที่เกิดเหตุ เครื่องจอดอยู่ที่สนามบินพอดี สนามบินปิด ผู้โดยสารลูกเรือออกไม่ได้ คนอื่นที่ค้างมีสั่งในกรณีฉุกเฉิน ส่วนที่กำลังเดินทางมาสั่งเปลี่ยนสนามบิน

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนใหญ่มุ่งไปที่จุดเกิดเหตุเป็นหลัก ดังนั้นส่วนที่แถลงข่าวที่ดีที่สุดคือจุดเกิดเหตุ แสดงออกถึงความใส่ใจ ตระหนักรู้และรับผิดชอบต่อสถานการณ์

Crisis

ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่การบินไทยบินเยอะมาก เมื่อเกิดอะไรกับญี่ปุ่นจะกระเทือนกับการบินไทย เช่น นิวเคลียร์ระเบิดเครื่องที่กลับจากญี่ปุ่นทุกลำเปลี่ยนไส้กรองอากาศใหม่หมด ห้ามพนักงานนอนพักที่ญี่ปุ่น เตรียมพร้อมอพยพทันทีตลอดเวลา

น้ำท่วมปี 54 บางส่วนนอนที่สนามบิน ต้องย้ายศูนย์ปฏิบัติการไม่ให้น้ำทะลักเข้ามา พนักงานใจสู้ ทุกคนที่ทำงานไหวมาทำงาน ย้ายฐานปฏิบัติการจากดอนเมืองหนี รักษาส่วนที่สำคัญไว้ ที่สำนักงานใหญ่ย้ายฐาน

กรณีเสื้อแดง และกปปส. มาก็มีแผนปฏิบัติการย้ายฐานทัพหนี ตอนคุณสุเทพมาก็รับ มีการเลี้ยงอย่างดี มีการแก้ปัญหาวิกฤติจนทำให้ผ่านไปได้

กรณี Health Decease

ต้องประเมินทั่วโลกว่ามี Public Health ที่ไหนบ้าง ต้องหาโอกาส เราผ่านประสบการณ์การทำงานด้านนี้หลายครั้ง มีมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกได้

อีโบล่า Times จัดอันดับแพทย์ผู้ต่อสู้ เป็น Person of the year มีผู้ที่เดินทางจากประเทศเหล่านี้เดินทางมาที่สายการบินไทย ต้องมีแผนรองรับให้ได้

เรื่องเมอร์ส ที่เกาหลี ต้องมีมาตรการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและพนักงาน สายการบินไทยเป็นสายการบินที่ได้รางวัลการจัดการดีเด่น มีมาตรการการประชาสัมพันธ์ให้ Stakeholder เข้าใจว่าบินกับการบินไทยปลอดภัยที่สุด

Nepal Crisis

โชคดีที่สนามบินใช้ได้อยู่ สายการบินอื่นไม่บิน แต่การบินไทยบิน แต่รอจนปลอดภัยเพียงพอแล้วถึงลงจอด และมีทีมแพทย์ที่อำนวยความสะดวกจากสายการบินไทยเดินทางไปด้วย

คำถาม

  • น้ำท่วมที่ดอนเมืองมีบุคลากรมาทำงานไม่ได้และใช้เพียง 50% สามารถทำงานได้ หลังจากผ่านวิกฤติ ให้ค่าตอบแทนเขาหรือไม่
  • การที่รัฐบาลประกาศวันหยุด เป็นวันหยุดทางศาสนาอิสลาม ต้องนัดคนไข้ล่วงหน้า นัดแล้วตรงกับวันหยุด คณะแพทย์ประกาศหาความสมัครใจจากเจ้าหน้าที่ด้วยการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรเต็มใจมาปฏิบัติงานเยอะมากจึงสามารถช่วยรักษาพยาบาลได้ เป็นจุดศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือและพยาบาลผู้ป่วย การจัดการ Crisis คือความพลาดพลั้งในการรักษาผู้ป่วยจนเกิดการฟ้องร้องเกิดขึ้น ถ้าเกิดวิกฤติทางการแพทย์เกิดขึ้นด้วยเหตุอะไรก็ตามคนไข้เสียชีวิต มีมุมมองหรือข้อเสนอแนะในการจัดการด้านนี้อย่างไร
  • ถ้าประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งกลับมา มีรัฐมนตรีคุมกระทรวงคมนาคม มีบอร์ดที่ไม่หวังดี มีการคอรัปชั่นมหาศาล ทำให้ผลประกอบการไม่ดี อันนี้เป็น Crisis อันนึง แบบนี้ในอนาคตข้างหน้า มีความคิดเห็นอย่างไรที่จะ Defense Mechanism ผู้นำที่ดีต้องแก้ปัญหา เพราะวิกฤติแบบนี้เกิดขึ้นตลอดเวลา
  • องค์กรการบินระหว่างประเทศเป็นวิกฤติการบินไทยหรือไม่ กระทบหรือไม่และมีระบบการบริหารจัดการอย่างไร

ตอบ ยกตัวอย่างที่ครัวการบินไทย ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้เขาเนื่องจากเขารักษาฐานได้ดี และยินดีทำงานเต็มที่ การบินไทยชดเชยให้ส่วนนี้ และบ้านใครน้ำท่วมการบินไทยให้ส่วนชดเชยและความช่วยเหลือในกรณีบ้านน้ำท่วมด้วยทั้งที่มาทำงานได้และไม่ได้ มีการเลี้ยงดูครอบครัวพนักงานฟรี มีการจัดที่พักให้ มีการให้เช่าบ้านพักของทหารที่ระยอง มีการจัดการดูแลครอบครัวพนักงานในกรณีพิเศษ ได้เต้นท์เป็น 1,000 หลังจากวัดพระธรรมกาย มีเปิดห้องโรงแรมที่รัชดาให้พนักงานต้อนรับอยู่ด้วย

ตอบ อันดับแรกคือใครเป็น Authority และทำตามคำแนะนำเขา แนะนำได้แล้วปฏิบัติได้หรือไม่ มีการดำเนินงานตาม Authority ของเขาหรือไม่อย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่าในทางวิชาการไม่ว่าจะมอ.หรือการบินไทย Crisis นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นไม่ว่าอย่างไรต้องเตรียมความพร้อม เพราะเกิดแล้วก็เกิดอีกเรียกว่า Permanent Crisis ในอนาคตควรเก็บไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และถ้าถ่ายทอดให้คนไทยได้ทราบจะดีมาก

ตอบ ในส่วน Crisis management จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นหลัก อย่างกรณี กปปส. สหภาพถือหางข้างนึง ฝ่ายบริหารถือหางข้างนึง แต่เน้นอย่าให้มีผลกระทบกับธุรกิจการบินไทย อย่าให้มีการประท้วง หยุดงาน ทุจริต ละเมิดความปลอดภัยของบริษัท ต้องประสานกับสหภาพในการเคลื่อนไหว แต่อย่าให้มีผลกระทบกับบริษัท อย่าทุบหม้อข้าวตนเอง และพยายามคุยกับฝ่ายบริหารว่าประเด็นต่าง ๆ จะแก้อย่างไรในส่วนที่รับผิดชอบอยู่ แต่กรณีที่อาจารย์จีระกล่าว มี EEM ทำการควบคุมและแก้ไขปัญหาอีกที

ตอบ ต้นเหตุเกิดจากการบริหารของกรมการบินพลเรือนที่อาจดำเนินการทำให้ผู้ตรวจ IKO พบข้อบกพร่องว่ามีนัยสำคัญในการส่งต่อมาตรฐานไปยังประเทศต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานการบินสูงเช่นยุโรป

การบินไทยมีการดำเนินงานมาตั้งแต่เราทราบเหตุ ตัวมาตรฐานเป็น Minimum Standard ทำอย่างไรให้คนเชื่อ มีการเชิญหน่วยงานภายนอกมาตรวจจะพบว่า การบินไทยมีมาตรฐานสูงกว่า IKO อีก

มีการเตรียมพร้อม ถ้าเกิดโชคร้ายมา ถ้าบินไม่ได้ จะไปทำที่ไหน ต้องคิดล่วงหน้า และมีการทำแผนให้เรียบร้อย

การบินไทยเป็นสายการบินที่มีความเชี่ยวชาญ มีนักบินทุกส่วนที่ทำให้การบินผ่านไปได้ จะเอาตัวรอดอย่างไร

คุณเพชรพริ้ง สารสิน ได้กล่าวสรุปปิดท้ายว่าการมอง Core Value ที่มุ่งเน้นอยู่เสมอ คือการบินไทยเป็นมาตรฐานระดับโลก แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้คือความเป็นไทย Thai touch ภายใต้ค่านิยมHigh Touch , World Class, Thai Touch

นารี ปานทอง กลุ่มที่ 5

สรุปจาการไปดูงาน 3-5 ก.ย.58

3 ก.ย.58

บริษัท TCC Land

มีความเก่งและมีความสามารถสูง สามารถปรับปรุงสถานที่ประวัติศาสตร์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสม ลงตัว บนถนนเจริญกรุง เอเซียทีคได้สร้างโอกาส และสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนในชุมชนนั้นๆจนเป็นที่ยอมรับ ลดความขัดแย้งได้ดี

การบินไทย

มีการวางแผนและการจัดการกับภาวะวิกฤตได้อย่างเป็นระบบ มีการสื่อสารให้พนักงานเข้าใจ ยอมรับและให้ความร่วมมือจนเกิดผลดี และให้การตอบแทนได้ดี

4 ก.ย.58

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

มีระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันอย่างชัดเจน เป็นระบบ ทั้งระบบการคัดเลือกคนเข้าทำงานให้ตรงกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ต่อมาการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาที่รับผิดชอบ การส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงาน และการให้ผลตอบแทนที่พนักงานยอมรับและพร้อมทุ่มเทแรงใจ แรงกายการทำงานเพื่อองค์กร

อัพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

ได้สัมผัสวิถีชีวิตที่เป็นธรรมชาติ ที่มีคุณค่า เรียนรู้การพัฒนาชนบทตามวิถีไทย สร้างคุณค่า ก่อให้เกิดอาชีพ รายได้กับท้องถิ่น ไม่ต้องวิ่งเข้าไปหาอาชีพในเมืองหลวง ภูมิใจกับวิถีไทยค่ะ

5ก.ย.58

เยี่ยมชมโลหะปราสาทและนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ สิ่งล้ำค่าของปวงชนชาวไทยทั้งด้านศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย รู้สึกซาบซึ้ง รักและหวงแหนประเทศไทย และภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย

การศึกษาดูงาน 3-5 กย.2558

3/9/2558 บริษัททีซีซีแลนด์จำกัด ศึกษาการบริหารอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นการบริหารโดยมีต้นทุนทางการเงินที่สูง การร่วมทำ CSR การชุมชน สิ่งที่ได้รับการการดูงานที่นี้ เขามีความคิดสร้างสรรค์ และมีการบริหารที่ดี และการแก้ไขปัญาหา ต่างๆ ทั้งเรื่องการจราจร และคู่ค้า เช่น วิธีการเลื่อกลูกค้าที่ลงเรือ หรือการผูกมิตรกับชุมชน

บริษัทการบินไทย จำกัด การสร้างและรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ปัญหาและการแก้ไขวิกฤต ต่าง ๆ การสร้างแบรนด์และการสื่อสารที่ดี เราต้องมีBrand ที่ดีให้ใครเห็นก็จำได้

4/9/2558 การดูงานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้ามุ่งมั่นและคาดหวังการผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

การบริหารคน ยุทธศาสตร์ ระบบการรายงานของชาติ ต้องมีระบบการรายงานที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคม ความสำนึกในหน้าที่ การบริหารงานบุคคล สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือ ต้องรู้ก่อนว่าทิศทางขององค์กรนั้นจะไปไหน ซึ่งถือว่าองค์กรของการไฟฟ้าเป็นองค์กรที่ดี มีศักยภาพสูง

โครงการอัมพวา เป็นอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น และบริหารความเป็นอยู่ของคนให้เขาอยู่ได้ด้วย ตามแนวพระราชดำริ

5/9/58 การดูงานที่ โลหะปราสาทวัดราชนัดดา และ นิทรรศรัตนโกสินทร์ การก่อสร้างโลหะปราสาทสวยและงดงามมาก

สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานในการเยี่ยมชมและปรับใช้

1.โลหะปราสาทสร้างขึ้นด้วยความรักที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีต่อพระราชนัดาและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา

2.เป็นสถาปัตย์ที่สวยงามมาก เป็นการอนุรักษ์ศิลปะและมรดกไทยให้คงไว้

3. ความเพียรพยายามที่จะสร้างและบูรณะสถาปัตยกรรมให้ทรงคุณค่าตลอดไป

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเห็นได้ว่าเมื่อไหร่ที่เรามีความรัก ความศัทธาต่อองค์กร เราก็จะมีความพยายาม มุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ดีที่สุด ให้เกิดขึ้นได้เสมอ

นิทรรศรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างอย่างสวยงามมาก ซึ่งทำให้เราได้ระลึกถึงวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ อย่างดีเยี่ยมทีเดียว

อรพิณ นวลช่วย กลุ่ม 3

การศึกษาดูงาน 3-5 ก.ย.2558

เอเชียทีค สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.การสร้างองค์กรให้มั่นคงจะต้องใช้แนวคิดในการพัฒนาสิ่งสำคัญที่สุดน่าจะเป็นทุนและคนที่มีความสามารถทางด้านการค้าและการลงทุนการพัฒนาแนวคิดและการพัฒนาคนเป็นสิ่งที่สำคัญทีสุด

2.การลงทุนอาจจะทำในหลายรูปแบบแต่เป็นในทิศทางเดียวกัน

การทำธุรกิจให้มีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีการวางแผนและมองการไกลให้เห็นถึงวันข้างหน้าแต่ยังอนุรักษ์วัฒนธรรมต้นกำเนิด เน้นความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์

3. เอเชียทีค เป็นการบริหารจัดการที่ดินเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยการผสมผสานของเก่าและของใหม่ จุดขายน่าจะเป็นความแตกต่างของรูปแบบทีแปลกใหม่ สร้างจุดที่ทำให้เกิดความประทับใจ เช่น การนำสิ่งที่เป็นความประทับใจในต่างประเทศมาต่อยอด คือกุญแจคล้องใจ การสร้างจุดเด่นคือชิงช้าที่สูงที่สุดในประเทศไทย การอนุรักษ์ของโบราณได้แก่บ้านโบราณ โกดัง อุปกรณ์ชักรอก และสมอเรือของเก่า

4. แนวคิดในการเลือกร้านค้า จะเลือกร้านที่เป็นเอกลักษณ์มีหนึ่งเดียวในประเทศ ที่ลูกค้าไม่สามารถไปหาที่อื่นได้จึงต้องกลับมาที่นี่อีก

5.การตอบสนองความต้องการของลูกค้า การจัดสถานทีเน้นอนุรักษ์ของโบราณ สร้างวัฒนธรรมโบราณ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เนื่องจากคนสมัยนี้เน้นการถ่ายรูปเป็นหลัก ทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน

6.การสร้างทีม

การบินไทย

ทำให้ได้รู้ว่าแบรน เป็นสิ่งสำคัญมากในการสร้างธุรกิจเพื่อให้เป็นที่ยอมรับและภักดี ของลูกค้า แต่การที่จะสร้างแบรนให้ติดตลาดได้นั้นต้องสร้างชิ้นงานให้มีคุณค่าจนเกิดเป็นความประทับใจและเป็นที่จดจำไปตลอด เป็นการทำให้ดีขึ้นตลอดไปเพื่อคงความพึงพอใจและประทับใจ เหมือน มอ.ที่ที่ต้องคงคุณค่าและสร้างความพึงพอใจและความประทับใจให้เกิดตลอดไป

การแก้วิกฤติเป็นสิ่งทีสำคัญขององค์กร การฝึกคนให้สามารถแก้วิกฤติการมองวิกฤติเป็นโอกาส วิกฤติการบินไทยในเรื่องน้ำท่วมและเรืองทางการเมืองเป็นประสบการณ์ที่ต้องมีความเข้าใจในเหตุการณ์นั้นๆเพื่อทีจะสามารถแก้ไข้ได้ตรงประเด็นเป็นการแก้ไขที่ต้องอาศัยผู้นำและทีมที่เข้มแข็ง ทำให้เห็นว่าทุกปัญหามีทางแก้จริงๆ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

กลยุทธการจัดการพลังงาน หน้าที่ของ ก.ฟ.ฝ. คือทำอย่างไรให้มีไฟฟ้าใช้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การจัดการเพื่อแก้ปัญหาต่างๆเช่นที่แม่เมาะหรือที่สงขลาโดยเน้นที่การเข้าถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนเพื่อให้เข้าใจ

การบริหารคนให้เกิดความรักในองค์กร การคัดเลือกคนเข้าทำงานและการบริหารคนให้มีคุณภาพ

การดูแลคนโดยใช้หลักธรรมาภิบาล

การบริหารคนเริ่มตั้งแต่ ขั้นตอนการรับคนจะคัดเลือกคนที่มีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการขององค์กร และเน้นการดูแลคนให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุขในการทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการอัมพวา

1.การพัฒนาตลาดชุมชน โดยการใช้วัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนเป็นการใช้จุดเด่นมาพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยการสร้างชื่อเสียงให้ติดตลาดเพื่อดึงดูดให้คนมาเทียวเป็นจำนวนมาก

2.การทำให้คนในชุมชนมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่

3.ได้เรียนรู้การทำดอกกุหลาบจากใบเตย

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสัมมนาจาก 4 สถาบัน

สิ่งสำคัญจากการเรียนในครั้งนี้คือการจับประเด็นเรื่องราวเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอด ทั้งในการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาตนเอง

สิ่งทีได้เรียนรู้จากการชมนิทรรศการรัตนโกสินทร์

ทุกเรื่องราวของประวัติศาสตร์เป็นสิ่งทีควรค่าแห่งการจดจำและการเก็บรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ต่อไป



17 กันยายน 2558

เรียนรู้กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราช กรณีศึกษาของโรงพยาบาลสารภี : ต้องฝึกตนให้เป็นนักเรียนใหม่อยู่ตลอดเวลา และตั้งใจทำงาน ไม่นิ่งอยู่กับที่ แข่งขันกับตนเองเพื่อการพัฒนา คณะแพทย์อาจจะตั้ง รองคณบดีฝ่ายคุณธรรมจริยธรรม และคลินิกเจริญสติ บ้าง อุปสรรคทำให้เกิดปัญญา ปัญหาทำให้เกิดบารมี

การนำเสนอในกระดาษ A3 (รศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์) : การใช้ A3 report = PDCA เพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอโครงการ

18 กันยายน 2558 Social Innovation : ต้องมีความต่อเนื่องในการแก้ปัญหาชุมชน

19 กันยายน 2558 (อ.พจนารถ ซีบังเกิด) : การนิ่ง 4 วินาที สิ่งที่เห็นไม่ใช้ทั้งหมดที่เป็น ให้เชื่อว่าทุกคนทำดีที่สุดแล้ว มีความยืดหยุ่นของพฤติกรรม ไม่มีความล้มเหลวมีแต่เสียงสะท้อนกลับให้เราปรับปรุง

อ.เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ : ทำทุกอย่างจากใจ ไม่ฝืน

3/9/58 ดูงานบริษัทเอเชียทีค

ในการทำงานต้องมีหลักหรือปรัชญาในการทำงาน มี vision & mission+ long term career path

1+1≠ 2...... จะ มี หุ้นส่วนหรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วย อย่าลืม Act local think global

Mission for : our customer, Employee, Partner, invester, industry & Community

ดูงานบริษัทการบินไทย

TG communication network

Right : tools,

Right : message

Right : time

Right : people

และต้องคำนึงถึงปลายทางว่าคือใคร

Must change: think it good to feel it good

Brand attribute เพื่อให้คนจดจำได้ ดังนั้น brand จึงต้องมี personality

3D for brand: Dream Dare & Do

พนักงานทุกคนจะต้องจำวิสัยทัศน์ของหน่วยงานของตน

Emergency and crisis response management :

Concept 4 R

  1. Reduction ลดโอกาสที่จะเกิดเหตุ
  2. Readiness เตรียมความพร้อมทุกๆด้านและต้องฝึกซ้อม
  3. Reactive เมื่อเกตุเหตุสามารถปฏิบัติได้ตามแผน
  4. Recovery ให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็วหลังเกิดเหตุ

มี CMOC= Crisis Management Operation Centre & อย่าลืมแสวงหาโอกาสจากวิกฤติ ด้วยการใส่ใจและตระหนักรู้

วันที่ 4 กันยายน 2558 เช้า ดูงาน การไฟฟ้าฝ่าผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย นนทบุรี

แผนยุทธศาสตร์เป็นแผนการมองไปในอนาคต ไม่ใช่แผนงานประจำ เมื่อวางแผนแล้วต้องมีการต่อยอด ติดตาม และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง...ดีที่สุดต้องเปลี่ยนแปลง แผนต้องคำนึงถึง security equity & environment

การทำแผนต้องรู้ก่อนว่าทิศทางขององค์กรนั้นจะไปทางไหน เพราะฉะนั้น วิสัยทัศน์สำคัญที่สุด แล้วดูว่าคนแบบไหนที่องค์กรต้องการ เพื่อทำให้ภารกิจบรรลุเป้าหมาย เมื่อได้คนแล้วต้องจัดกิจกรรม พัฒนาàกล่อมเกลาเขาให้ตรงกับค่านิยมองค์กร (knowledge skill behavior & attitude)

แผนพัฒนารายบุคคล โจทย์ของการดีไซน์ ..ต้องรู้วัตถุประสงค์ก่อนว่า องค์กรต้องการอะไร/เจ้าตัวต้องการอะไร องค์กรได้ประโยชน์อะไร/เจ้าตัวได้ประโยชน์อะไร ดังนั้นเวลาทำแผนต้องช่วยกันระหว่างหัวหน้าและเจ้าตัว

Development model 3A… ASSESS ACQUIRE & APPLY

FIRM-C: Fairness, Integrity, Responsibility & Accountability, Mutual respect

Commitment to continuous improvement and teamwork

วันที่ 4 กันยายน 2558 ช่วงบ่าย ดูงานโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์

แรกเริ่มเดิมทีโครงการนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารความขาดแคลนของชุมชน ทุกวันนี้ดูเหมือนต้องบริหารความไม่พอ(ของคนในชุมชน) ให้พอดี ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขอส่งแรงใจไปยังเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ปฏิบัติงานในโครงการแห่งนี้ค่ะ (คุณกำลังบริหารทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศชาติ: คน เพื่อให้รู้จักคำว่า พอเพียง อย่างยั่งยืน)

วันที่ 14 กันยายน 2558 ช่วงค่ำ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายร่วมกับนักศึกษาปริญญาเอกจาก 4 สถาบันการศึกษาได้แก่

  1. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฎจอมบึง
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน

เห็นภาพที่ท่านอาจารย์จีระมักจะพูดถึงการปะทะทางปัญญา ถึงจะไม่เข้มข้นมากเพราะเวลามีน้อย แต่สะท้อน

งานที่ท่านอาจารย์จีระและทีมงานทำได้เป็นอย่างดี ว่าเกิด value diversity สร้าง value creativity และเพิ่ม value added ให้เกิดแก่สังคมและประเทศชาติได้มากเพียงใด

วันที่ 5 กันยายน 2558 เยี่ยมชมการทำงานของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

จะไม่ขอเอ่ยถึงว่าพบเจออะไรบ้าง ขอให้ทุกท่านที่อ่านถึงบรรทัดนี้ หาโอกาสไปชมให้ได้นะคะ “เยี่ยมจริงๆค่ะ” ขอบคุณทีมงานทุกท่านนะคะ

****ทริปนี้สุดยอดค่ะ ****

วิลาวรรณ ทิพย์มงคลกลุ่มที่ 2

3 กันยายน 2558

ดูงาน เอเซียทีค

สิ่งที่ได้จากการดูงานคือการทำงานต้องคิดต่างหาจุดที่เป็นจุดยืนของตนเอง ก่อนทำธุรกิจใดๆต้องการศึกษาข้อมูลก่อนเริ่มทำ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ มีการศึกษาวิจัยสถานที่บริเวณโดยรอบ ได้ทำการวิเคราะห์และสำรวจโครงการฯว่าจะพัฒนาเป็นรูปแบบใดได้บ้าง แล้ว จึงเน้นการสร้างความแตกต่างและขณะเดียวกันการมี เครือข่ายทางธุรกิจ และให้ความเป็นธรรม ก็เป็นปัจจัยหนึงที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

ดูงานบริษัทการบินไทย

สิ่งที่ได้จากการบินไทยคือ การบริหารท่ามกลางภาวะวิกฤติ ความสำคัญคือการสร้างแบรนด์หรือภาพลักษณ์ที่เราจะต้องรักษาไว้ให้คงอยู่ จะทำได้อย่างไร เน้นการรักษา Branding เพื่อต่อสู้กับวิกฤติ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานโดยการรักษาซึ่งคุณภาพและมาตรฐานไว้

วันที่ 4 กย 58

ดูงานการไฟฟ้า

ได้เรียนรู้ระบบงานบริหารงานบุคคล องค์กรการไฟฟ้าเป็นองค์ขนาดใหญ่มีบุคลากรจำนวนมากและบุคลากรส่วนมากเป็นผู้มีความรู้ดังนั้นการบริหารงานบุคล ต้องอาศัยกลยุทธ์อย่างมาก เริ่มตั้งแต่การคัดเลืกคน การฝึกคน และการรักษาคนให้อยู่กับองค์กร สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนมีความสุขคืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย เช่น สภาพแสงและอุณหภูมิในการทำงาน สภาพอากาศ ที่นั่งทำงาน องค์กรจะต้องดูแลให้ดี การมีระบบประเมินผลที่ดี กฟผ.มี KPIs สำหรับประเมินผล มีตัวชี้วัดในระดับองค์กรซึ่งจะถูกถ่ายโอนลงมาจนกระทั่งในระดับบุคคล เพราะฉะนั้นการประเมินจะสอดคล้องกับ KPIs โดยใน KPIs นั้นไม่ใช่แค่เรื่องงานเท่านั้น แต่ยังมี KPIs พฤติกรรมที่เป็นไปตามค่านิยมขององค์กร ซึ่งจะประเมินทั้งการทำงานและพฤติกรรมตามความเป็นจริง เมื่อเป็นแบบนี้ พนักงานย่อมมีความพึงพอใจ แล้วจะเกิดความมุ่งมั่นทำงาน เห็นผลลัพธ์ และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของในงานที่ทำ เกิดความผูกพัน องค์กรก็จะรักษาคนไว้ได้

ดูงานโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

การดูงานได้เห็นวิถีชิวิต การพยายามอนุรักษ์วัฒนธรรมต่างๆ การอนุรักษ์วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน แต่ต้องช่วยให้ประชาชนพออยู่พอกิน การส่งเสริมอาชีพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และวิถีชุมชน ซึ่ง ชัยชนะการพัฒนาคือต้องอนุรักษ์แล้วพัฒนา

วันที่ 5 กันยายน 2558

การเยี่ยมชมวัดราชนัดดารามและนิทรรศรัตนโกสินทร์

การดูงานวันนี้ ได้ความภูมิใจในความเป็นไทย วิถีชิวิต ความเป็นอยู่แบบไทยๆ ภาษาที่แสดงถึงความอ่อนน้อมอ่อนหวาน ซึ่งหาไม่ได้แล้วในปัจจุบัน แต่เสียดายเวลาน้อยไปไม่ได้ดูทั้งหมด


….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/594311

สรุปประเด็นจากวันที่ 3-9-58 ค่ะ

ช่วงเช้า ศึกษาดูงานของบริษัท ที ซี ซี แลนด์ จำกัด ที่โครงการเอเชียทีค เดอะ รีเวอร์ฟร้อนท์ จากการบรรยายของผู้บริหารทำให้ทราบว่าการจัดทำโครงการนั้นมีการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และดึงจุดเด่นที่มีให้เป็นจุดแข็ง ได้แก่ ทำเลซึ่งอยู่ติดแม่น้ำนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการคำนึงถึงความสำคัญของกลุ่มลูกค้า และปรับปรุงกลยุทธ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ช่วงบ่าย ศึกษาดูงาน ณ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จากความสำเร็จของการสร้างแบรนด์ เราต้องสร้างแบรนด์ของเราให้เป็นที่จดจำ อาจเป็นในแง่ของคุณค่า ที่ใครๆก็กล่าวถึง สำหรับในส่วนของการจัดการองค์กรในภาวะฉุกเฉิน คือ การเตรียมความพร้อม การศึกษาข้อมูลจากกรณีตัวอย่าง และการร่วมมือกันในองค์กรเพื่อจัดการภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น

สรุปประเด็นจากวันที่ 4-9-58

ช่วงเช้า เป็นการศึกษาดูงาน ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกบุคลากรแรกเข้า มีโปรแกรมการพัฒนาและดูแลบุคลากรตลอดการช่วงอายุการทำงาน มีการดูแลกันเหมือนพี่น้อง

ช่วงบ่าย การศึกษาดูงานที่โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ เป็นโครงการที่ทำงานทั้งทางด้านการอนุรักษ์ และ การพัฒนาอย่างแท้จริง มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญา สิ่งดั้งเดิมในชุมชน แต่ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาไปตามยุคสมัยแต่ว่ายั่งยืน

สรุปประเด็นจากวันที่ 5-9-58 ค่ะ

การเยี่ยมชมวัดราชนัดดารามและโลหะปราสาท โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้นำชมวัดราชนัดดารามและโลหะปราสาท ได้กล่าวถึงที่มาของการก่อสร้าง และความสำคัญ ทำให้ทุกท่านได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและมรดกของเมืองไทย

จากนั้นก็ได้ไปเยี่ยมชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ได้เห็นถึงศิลปะวัฒนธรรมไทยตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบต่อไป

นัฐกาญจน์ ตั้งพลาดิศัย กลุ่ม 2

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน

วันที่3 ก.ย.58

1.ศึกษาดูงานเอเชียทีค

สิ่งที่ประทับใจ คือผู้บริหารและผู้ออกแบบให้คงามสำคัญกับประวัติศาสตร์ของที่ดินผืนนี้ และถ่ายทอดเรื่องราวให้คนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวรู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ไทย

2.ศึกษาดูงานการบินไทย

ประทับใจการสร้างแบรนด์และการรักษแบรนด์ โดยใช้เอกลักษณ์ขความเป็นไทยและการบริการที่มีแห่งเดียวในโลก และการแก้ไขปัญหาวิกฤติต่าง ๆ การดูแลบุคลากรที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม

วันที่ 4 ก.ย.58

1.ศึกษาดูงานกฟผ.

ประทับใจ เรื่องการบริหารบุคคลที่เป็นระบบและการฝังรากคำว่า ซื่อสัตย์ โปร่งใส ความสำนึกใตหน้าที่ให้กับคนรุ่นใหม่

2.ศึกษาดูงานอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

ประทับใจการดำรงวัฒนธรรมความเป็นไทย การถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ผ่านกิจกรรมทำขนมลูกชุบ การจักรสาน และการพึ่งพาอาศัย คู่ค้าไม่ใช่คู่แข่ง

วันที่ 5 ก.ย.58

1.นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

ประทับใจ หด้ความรู้ประวัติศาสตร์ ความเป็นไทย ผ่านกิจกรรมต่างๆ รู้สึกรัก ภูมิใจในความเป็นคนไทย

สิริรัตน์ ชินนูปถัมภ์ กลุ่ม 4

3/9/58

วิชาที่ 21 เอเชียทีค

  • ประวัติและความเป็นมา ก่อนที่จะมาเป็นเอเชียทีค
  • ปัญหาและการแก้ปัญหา
  • Brand need fan คือ การสร้าง BRAND ให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป
  • การดูแลพันธมิตรทางการค้า
  • Vision mission
  • การให้สิทธิประโยชน์และผลตอบแทน
  • ชมสวน
  • ตลาดน้ำอัมพวาเปิดขึ้น จุดประสงค์เพื่อ
  • วิสัยพัศน์ พันธกิจ
  • การสร้างเครือข่ายและการพัฒนาองค์กรในอนาคต
  • การให้สิทธิประโยชน์กับพนักงาน
  • กลยุทธ์ทางการตลาด
  • Vision mission

วิชาที่ 22 การบินไทย

  • กลยุทธ์และบรรทัดฐานที่ดี
  • การจัดการในภาวะวิกฤต(Crisis) ต้องรายงานเรื่องความปลอดภัยทุกเรื่อง ผ่าน CEO

4/9/58

วิชาที่ 23 กฟผ

  • แผนกลยุทธ์
  • การพัฒนาบุคลากร/กลุ่มผู้มีศักยภาพ และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม
  • กล่องเกลาสมรรถภาพคนให้ตรงกับเป้าหมายในองค์กร โดยการ Training และ On The Job training
  • พี่มอบหมายงานน้อง เพื่อพัฒนาตัวเอง รู้งานมากขึ้น รู้จักคนมากขึ้น
  • ทำให้บุคลากรทีความสุขกับการทำงาน สอนตั้งคำถาม และการรู้จักแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง

วิชาที่ 24 โครงการ อัมพวา – ชัยพัฒนานุรักษ์

  • ความเป็นมาของโครงการ
  • เศรษฐกิจพอเพียง
  • ทำอย่างไรให้ที่ดินใช้ได้อย่างคุ้มค่าและรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติ ลูกหลานมาสืบสานต่อ โดยการสร้างแรงจูงใจ จัดอบรม พัฒนา Packaging การให้ค่าเช่าถูก
  • อนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนในชุมชน
  • ส่งเสริมการสร้างอาชีพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตกับคนในชุมชน
  • ใช้การท่องเที่ยวมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาถ่ายทอดความรู้
  • ความร่วมมือของภาครัฐ และภาคประชาชน ในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่

วิชาที่ 25 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 สถาบัน

กล่าวถึงความประทับใจและประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้กับ อ.จีระ

5/9/58

วิชาที่ 26 เยี่ยมชมนิทรรศการรัตนโกสินทร์

ประทับใจและสวยงามมาก เป็นเวลาที่คุ้มค่าที่สุด

ช่วงที่ 4 การศึกษาดูงาน

วันพฤหัสบดี ที่ 3 กันยายน 2558

วิชาที่ 21

ศึกษาดูงานกลุ่มบริษัท TCC Land ทำให้ทราบถึงเครือข่ายกลุ่มธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มีกระบวนการทำงานในลักษณะเครือข่ายธุรกิจและมีการวิเคราะห์วางแผนการดำเนินธุรกิจในเชิงรุกแต่ต้องมีความยั่งยืนของธุรกิจนั้น เช่น การสร้างเอเชียทีค เป็นการวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ถนนเจริญกรุงในอดีตที่เป็นถนนสายการค้า และใช้โอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ที่ไม่กระทบต่อชุมชนรอบข้าง นอกจากนี้ยังเอื้อประโยชน์แก่ชุมชนอีกด้วย การสร้างเอเชียทีคเป็นแหล่งการค้าที่เน้นให้ลูกค้าได้มาสัมผัสและผ่อนคลายในช่วงเย็นถึงค่ำ ทั้งยังเป็นการสร้างเอกลักษณ์ในการหาจุดขายที่ไม่เหมือนใครอีกด้วย

วิชาที่ 22

ศึกษาดูงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ทราบถึงกระบวนการจัดการและดูแลสมาชิกของบริษัทเป็นอย่างดีตามหลักการบริหารงานบุคคล การจัดการด้านการประชาสัมพันธ์องค์กรเพื่อให้เกิดจุดเด่นที่ชวนจดจำ เช่น การสร้างแบรนด์ของบริษัทการบินไทย มีการปรับมาหลายยุคหลายสมัยเพื่อจุดประสงค์เดียวคือให้ผู้บริโภคจดจำได้

นอกจากนี้บริษัท การบินไทย ยังมีการบริหารจัดการภาวะวิกฤตได้ดีเยี่ยมกับสถานการณ์หลากหลายที่มักจะมาโดยไม่ได้คาดหมาย เช่น การประสบภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ สถานการณ์ด้านการเมือง สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น

ปทุมพร พิบูลย์ผล

วันศุกร์ ที่ 4 กันยายน 2558

วิชาที่ 23

ศึกษาดูงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นองค์กรใหญ่ที่ดูแลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้าและจัดหาเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ การบริหารจัดการดูแลบุคลากรที่มีจำนวนมากได้จัดสรรโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น

วิชาที่ 24

ศึกษาดูงานโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ เป็นการจัดการด้านชุมชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้สู่ชุมชน การร่วมมือกันสร้างชุมชนเข้มแข็ง การจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทั้งด้านวัฒนธรมและธรรมชาติ

วิชาที่ 25

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายกับนักศึกษาปริญญาเอก 4 สถาบันการศึกษา เป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองในด้านการพัฒนาองค์กรของกันและกัน

ปทุมพร พิบูลย์ผล

วันเสาร์ ที่ 5 กันยายน 2558

วิชาที่ 26

เข้าเยี่ยมชมโลหะปราสาท วัดราชนัดดา และนิทรรศรัตนโกสินทร์ ทำให้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และการสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในทางพระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่าในสมัยก่อนความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของพระมหากษัตริย์มีมาก อันจะเห็นได้จากการสร้างโลหะปราสาท วัดราชนัดดา เป็นต้น

นอกจากนี้ นิทรรศรัตนโกสินทร์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต แสดงให้เห็นถึงสยามประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และความเปลี่ยนแปลงในยุคต่างๆจนมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

พรธิดา คงสวัสดิ์

สรุปการดูงาน วันที่ 3 กันยายน 2558

ช่วงเช้า ศึกษาดูงาน ณ บริษัท ที ซี ซี แลนด์ จำกัด ได้ทราบถึงหลักการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การศึกษาข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ศึกษาข้อมูลรอบด้าน และการผลักดันจุดด่นที่มีอยู่ให้กลายเป็นจุดแข็ง

ช่วงบ่าย ศึกษาดูงาน ณ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ทราบถึงการสร้างแบรนด์ และภาพลักษณ์ขององค์กร และหลักการการบริหารเสี่ยงในภาวะวิกฤติต่างๆ

หลักการการบริหาร 4 R

  • Reduction ลดโอกาสที่จะเกิด
  • Readiness เตรียมความพร้อม คนพร้อม อุปกรณ์ ศูนย์ปฏิบัติการ แผนการฝึกซ้อมเหตุ
  • Reaction เมื่อเกิดเหตุต้องทำให้ได้ตามแผน
  • Recovery พยายามให้สู่ภาวะปกติเร็วสุด เสียหายน้อยสุดและแสวงหาประโยชน์

สรุปการดูงาน วันที่ 4 กันยายน 2558

ช่วงเช้า ศึกษาดูงาน ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ทราบแนวคิดในการบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ และหลักการพัฒนาบริหารคนในองค์กร

ช่วงบ่าย ศึกษาดูงานโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ได้แนวคิดการบูรณาการ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม และ การพัฒนาสู่ความยั่งยืน

สรุปการดูงาน วันที่ 5 กันยายน 2558

ช่วงบ่าย ศึกษาดูงานนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ประทับใจมาก ทำให้เห็นถึงคุณค่าความเป็นไทย ได้เรียนรู้ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

การศึกษาดูงาน 3-5 กย.2558

3/9/2558 บริษัททีซีซีแลนด์จำกัด ได้เรียนรู้การบริหารอสังหาริมทรัพย์ที่มี ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บริษัทการบินไทย จำกัด ได้เรียนรู้การสร้างและรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทราบถึงหลักการแก้ไขปัญหาและวิกฤต ต่าง ๆ

4/9/2558 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ได้เรียนรู้การบริหารคนและ ยุทธศาสตร์ขององค์กร

โครงการอัมพวาฯ ได้เรียนรู้และทราบถึงคุณค่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ เป็นการอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น และบริหารความเป็นอยู่ของคนให้เขาอยู่ได้ด้วย ตามแนวพระราชดำริ

5/9/58 นิทรรศ

ช่วงบ่าย นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เรียนรู้และซาบซึ้งในคุณค่าความเป็นไทย

เยาวรัตน์ ทวีวงศ์ กลุ่ม 4

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน

วันที่3 ก.ย.58

1.ศึกษาดูงานที่บริษัท ที ซี ซี แลนด์ จำกัด

ทำให้ทราบถึงเครือข่ายกลุ่มธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มีกระบวนการทำงานในลักษณะเครือข่ายธุรกิจและมีการวิเคราะห์วางแผนการดำเนินธุรกิจในเชิงรุกแต่ต้องมีความยั่งยืนของธุรกิจนั้น และความฉลาดของผู้บริหารที่ได้นำสถานที่ประวัติศาสตร์ของที่ดินผืนนี้มาปรับปรุงและออกแบบได้สวยงาม เหมาะกับยุคสมัย และที่สำคัญสามารถถ่ายทอดเรื่องราวให้คนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวรู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ไทยได้สืบเนื่องต่อไป

2.ศึกษาดูงานการบินไทย

ประทับใจในการใช้กลยุทธ์และบรรทัดฐานที่ดีในการจัดการภาวะวิกฤตต่างๆ ที่เห็นได้ชัดคือการเกิดภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา ซึ่งต้องรายงานเรื่องความปลอดภัยทุกเรื่อง ผ่าน CEO และประทับใจในการสร้างแบรนด์ โดยใช้เอกลักษณ์ของความเป็นไทยและการบริการที่มีแห่งเดียวในโลกโดยให้ทุกคนรู้จัก

วันที่ 4 ก.ย.58

1.ศึกษาดูงานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

เป็นองค์กรที่มีระบบการบริหารบุคคลได้ดีมาก โดยเริ่มตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานจนหลังเกษียณอายุ และปลูกฝังให้บุคลากร ซื่อสัตย์ โปร่งใส มีความสำนึกในหน้าที่และถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ต่อไป

2.ศึกษาดูงานอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

ได้เห็นการดำรงชีวิตวัฒนธรรมความเป็นไทยในท้องถิ่น โดยใช้แนวพระราชดำริ มาใช้ในการดำเนินชีวิต และปรับสภาพแวดล้อมต่างๆให้เหมาะกับยุคสมัย โดยไม่ขัดกับวัฒนธรรมแบบเดิม

วันที่ 5 ก.ย.58

การเยี่ยมชมวัดราชนัดดารามและนิทรรศรัตนโกสินทร์

มีความภูมิใจและดีใจมากที่ประเทศของเรายังมีการอนุรักษ์ในความเป็นไทย วัด วิถีชิวิต ความเป็นอยู่แบบไทยๆ และภาษาที่่มีความอ่อนน้อมอ่อนหวาน แสดงให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม



นางอินทิรา ไพนุพงศ์ กลุ่ม 1

ศึกษาดูงาน 3-5 ก.ย 2558

ที่การบินไทย

การสร้างแบรนด์ ของสินค้า ซึ่งความสำเร็จของแบรนด์ ต้องมีรูปร่างหน้าตาและสีที่จดจำได้ ต้องมีสัญลักษณ์ LOGO มีประโยชน์ใช้สอย และ focus จุดขาย แบรนด์ เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ใช้สมองในการตัดสินใจ มีผลทางจิตใจ

สำหรับ คณะแพทย์เรา จะสร้างแบรนด์อย่างไร โดยต้องสร้างให้ลูกค้าไว้วางใจ น่าเชื่อถือ สร้างบุคลากรทุกสาขาวิชาชีพให้มีคุณภาพ บุคลากรต้องทราบวิสัยทัศน์ นโยบาย การที่จะก้าวเดินไปข้างหน้า รวมทั้งการใช้ social media ทำให้ลูกค้าภายนอกเข้าใจ

มองว่า คณะแพทย์อาจจะตั้งรับมากเกินไป เราต้องเผยแพร่สิ่งที่เราทำ ทั้งเรื่อง การดูแลผู้ป่วยด้านความเป็นเลิศ การสอน งานวิจัย

การจัดการภาวะฉุกเฉินและภาวะวิกฤต

การบินไทย ใช้หลักการ 4 R คือ

  • Reduction ลดโอกาสที่จะเกิดเหตุลุกลาม
  • Readdiness เตรียมความพร้อมทั้งคน เครื่องมือและอุปกรณ์ ศูนย์ปฏิบัติการและแผนปฏิบัติการ
  • Reaction ต้องทำให้ได้ตามแผน
  • Recovery กลับสู่ภาวะปกติ และแสวงหาประโยชน์จากสิ่งนั้น

การบินไทย มีศูนย์ CMOC (ศูนย์จัดการภาวะวิกฤตทุกมิติภายในและภายนอก) มีหน้าที่ฝึกซ้อมด้านเครื่องมือ ความปลอดภัย และนำผลการเรียนรู้มาฝึก ต้องมีการสื่อสารหลายมิติ และต้องดูแลสายการบินพันธมิตร

Treat คือ เมื่อเกิดเหตุแล้ว ต้องเปลี่ยนเส้นทางทันที ต้องมีจุดแถลงข่าว จุดที่เกิดเหตุ

Crisisใหญ่ เช่น การเกิดระเบิดกัมมันตรังสีในญี่ปุ่น น้ำท่วมกรุงเทพ

เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และแก้ปัญหาทั้งระบบ โดยอย่าให้มีผลกระทบต่องาน

สำหรับในคณะแพทย์ วิกฤต เช่น น้ำท่วมหาดใหญ่ โรค MERS-COV โรคไข้หวัดระบาด ไข้เลือดออกระบาด ซึ่งคณะแพทย์ มีการแก้ปัญหา โดยประชุมหัวหน้างาน สื่อสารกับคนในองค์กร ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ Med TV ทำแผนประชาสัมพันธ์ในรพ. จำลองสถานการณ์จริง นำปัญหามาวิเคราะห์ ตามข้อเสนอแนะ ปรับแผนใหม่ให้เหมาะสม

ดูงานที่ กฝผ 4 ก.ย 58 มีโครงสร้างองค์กรสายบังคับบัญชาและการมอบหมายงานชัดเจน มีการสื่อสารข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงและมีระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน การบริหารงานของ กฝผ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านคน หรือทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

การบริหารจัดการองค์กร Asiatique

Asiatique มีนโยบายและวิสัยทัศน์ชัดเจน มีการสร้างเอกลักษณ์จุดเด่นของตนเอง ไม่ได้แข่งขันกับธุรกิจอื่น ดึง partners เข้ามาช่วยหรือมีส่วนร่วม สร้างเครือข่าย ทำ CSR กับชุมชน มีช่องทางการเข้าถึงบริการ เน้นนวัตกรรม มีสวัสดิการที่ดี พัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ

โครงการอัมพวา-ชัยพัฒนานุรักษ์

เป็นโครงการดึงความมีส่วนร่วมระหว่างชาวอัมพวาและสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตของชาวอัมพวา โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต ยึดหลักตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ภูมิสังคมและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้สังคมอยู่อย่างเข้มแข็ง เรียบง่าย ยั่งยืน และมีความสุข ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคม

ดูงานโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม และนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

รู้สึกมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ได้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ผ่านสื่อที่ทันสมัย ทำให้ได้เรียนรู้และได้ชมภาพโบราณที่หาดูและชมยากมาก ทำให้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย พร้อมการทำงานเป็นทีมของคนรุ่นใหม่ ที่ทำงานรวดเร็ว ที่มีความเป็นมืออาชีพ และรักในความเป็นไทย

ปาริชาต ไพนุพงศ์ กลุ่ม3

บันทึกการเรียนรู้ การศึกษาดูงานวันที่ 3-5 กันยายน 2558

บริษัท ที ซี ซี แลนด์ จำกัด

บรรยายเกี่ยวกับโครงการเอเชียทีค ซึ่งได้รับความรู้ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยการสำรวจตลาดและคู่แข่ง สร้างจุดเด่นด้วยการสอดแทรกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ การหาคู่ค้าและพัฒนาให้แข็งแรงและเติบโตไปด้วยกันเพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้ และแนวคิดในการดูแลพนักงานในเครือTCC

บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)

บรรยายเรื่องการสรัางและรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

การบินไทยมีการวางแผนให้ภาพลักษณ์องค์กรออกไปทาง Good News มีการบริการอย่างไรที่ทำให้ลูกค้าสะดวกสบาย ต้องดูที่ Right tool, Right message, Right time , Right people และเมื่อเกิด Crisis จะรายงาน DD โดยตรง เพื่อจะได้ชี้แจงไปยังส่วนต่าง ๆ

แบรนด์การบินไทยจัดได้ว่าเป็นแบรนด์แข็งแรงติดอันดับโลก โดย Brandที่มี Value มาก ๆ อาจไม่ใช่สินค้าที่ต้องแพงก็ได้ ความสำเร็จของการสร้างแบรนด์และโลโก้ (1) การเลือกสี (2) การสร้างโลโก้ ที่คนจำได้ (3) แบรนด์ต้องมีบุคลิกภาพ คือต้องเป็นตัวตนของแบรนด์ ทำอย่างไรให้ทุกคนสร้างคาแรกเตอร์ให้เป็นที่จดจำมากขึ้น

พนักงานต้อนรับ เป็นจุดแข็งของการบินไทยที่สะท้อนไปที่งานด้านบริการ เชื่อว่าดีที่สุด การบินไทยจึงมีแบรนด์ เรื่องการให้บริการ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

การบรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ และแนวทางการจัดการพลังงานของกฟผ.

กฟผ.เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีบุคลากรจำนวนมาก ผู้ว่าการ กฟผ.มีนโยบาย คือ ธุรกิจหลักต้องมั่นคง การเงินต้องดีพอสมควร ต้องดูแลสิ่งแวดล้อม ต้องทำให้บุคลากรมีความสุข สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนมีความสุขคืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย เมื่อพนักงานเข้ามา ก็ต้องมีการขัดเกลาให้เข้ากับองค์กร มี KPIs สำหรับประเมินผล ที่เป็นไปตามค่านิยมขององค์กร ซึ่งจะประเมินทั้งการทำงานและพฤติกรรมตามความเป็นซึ่งทำให้พนักงานเกิดความมุ่งมั่นทำงาน เห็นผลลัพธ์ และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของในงานที่ทำ เกิดความผูกพัน

โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์

การบรรยายแนวทางการดำเนินงานโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์

โครงการนี้เป็นโครงการในหลวงที่อนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชนการเกษตร แต่ต้องช่วยให้ประชาชนพออยู่พอกิน โดยนำการท่องเที่ยวเข้ามาเป็นเครื่องมือการพัฒนา ให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์แล้วจะเกิดความยั่งยืน ทำเป็นกิจกรรมท่องเที่ยว มีการจัดให้นักท่องเที่ยวชมกิจกรรมต่างๆ ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำ ความปลอดภัย มีการค้นหาคนที่กล้าเปลี่ยนผ่าน กล้าลงมือทำแล้วนำเสนอผ่านรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมคนดี สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เช่นร่วมกันกับภาคประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีปราชญ์และศิลปินเป็นที่ปรึกษาพัฒนาจะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่มีในชุมชน

การเยี่ยมชมโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหารและอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

การเข้าเยี่ยมชมวัดราชนัดดารามวรวิหาร ซึ่งเป็นโลหะปราสาทที่สงบ งดงาม และการที่ได้มีโอกาสนมัสการพระบรมสารีริธาตุซึ่งประดิษฐานที่ยอดปราสาทชั้น 7 ถือว่าเป็นมงคลชีวิตอย่างยิ่ง ส่วนการได้การเยี่ยมชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์เต็มเปี่ยมไปด้วยความตื่นตาตื่นใจ สนุกสนาน ตื้นตันและซาบซึ้งใจในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง จนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ และกลับมาด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยมากยิ่งขึ้น

อ้อยใจ นวลรอด กลุ่ม1

การดูงานวันที่ 3 - 5 กันยายน 2558

1.บริษัท TCC แลนด์

ได้ข้อคิดเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ศึกษาสภาพแวดล้อมรอบด้าน แหล่งธุรการกิจต่างๆ มีการทำสำรวจก่อนลงทุน หาความแตกต่าง โดดเด่น จึงได้แนวคิดโดยยังไม่ละทิ้งความเป็นประวัติศาสตร์ของสถานที่ตั้ง

2.บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)

ให้ความสำคัญเรื่อง branding ว่ามีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร มีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ การบริหารจัดการเกี่ยวกับภาวะวิกฤติ มีการวางแผนอย่างรอบคอบ ระดมสมองกันทุกส่วนงาน

3.การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บางกรวย

ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารงานบุคคล ตั้งแต่ระบบสรรหา จนถึงเกษียณ

4.โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์

ให้ความสำคัญกับชุมชุน ได้เรียนรู้วิถีชาวบ้าน การทำน้ำตาลมะพร้าว การทำขนมจากน้ำตาล ลูกชุบ ประดิษฐ์งานฝีมือ ใบเตยดอกกุหลาบ สานใบมะพร้าวเป็นรูปสัตว์ต่างๆ การบริหารงานของผู้นำโดยเข้าไปถึงชุมชน ทำเพื่อความยั่งยืนของชุมชน

5.นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

เข้าเยี่ยมชมโลหะปราสาท สักการะพระสารีริกธาตุ เข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ มีวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ ประทับใจ รับรู้ถึงเอกลักษณ์ความเป็นคนไทย ซาบซึ้งบุญคุณของคนในอดีต และรักในหลวงมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท