ชินกาลมาลีปกรณ์กับนครราชคฤห์ (อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์)


ชินกาลมาลีปกรณ์กับนครราชคฤห์ (อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์)

ราชคฤห์ (Rajgir) เป็นชื่อราชคฤห์ (Rajgir) ของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ ๕ ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรี นครราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น

สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตร ตั้งแต่สมัยพระเจ้า- อชาตศัตรูส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง

อินเดียแคว้นมคธสมัยพุทธกาล

พระเจ้าพิมพิสารครองเมืองผู้เลื่อมใส

ราชคฤห์ (Rajgir)เมืองหลวงระบือไกล

เกี่ยวข้องพุทธศาสนามากกว่าใครจงจดจำ

พระพุทธเจ้าและพระสาวกที่ปรากฎ

สถานที่กำหนดมีให้เห็นอย่างเช่นถ้ำ

สุกรขาตาที่พระสารีบุตรบรรลุธรรม

ถ้ำสัตตบรรณที่ทำสังคายนา(ครั้งแรก)

ยังมีพระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกู

สิ่งควรรู้เวฬุวันวัดแรกของศาสนา

แต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรูไม่นำพา

เปลี่ยนราชคฤห์เกือบเป็นป่า...ชาวพุทธแสวงบุญ...

ชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงนครราชคฤห์ หลายครั้งอาทิเช่นข้อความว่า

“พระองค์เสด็จคืนเดียวสิ้นระยะทาง ๓๐ โยชน์ ผ่านรัฐถึง ๓ รัฐ (กบิลพัสดุ์ สาวัตถี เวสาลี) บรรลุถึงริ่มฝั่งแม่น้ำอโนมานที พระมหาโพธิสัตว์ทรงบรรพชาในที่นั้นแล้ว ผ่านความสุขในการบรรพชาตลอด ๗ วัน ในสวนมะม่วงชื่อนุปิยอัมพวันซึ่งมีอยู่ในท้องที่นั้น(ฝั่งอโนมานที) แล้วเสด็จสิ้นระยะทาง ๓o โยชน์ในวันเดียว ข้ามแม่น้ำอสังคคงคาแล้ว เสด็จเข้านครราชคฤห” [1]

พุทธองค์ทรงเสด็จคืนเดียว๓๐ โยชน์

พุทธองค์โปรดบรรพชาณ.ที่นั่น

ริมฝั่งน้ำอโมมานทีที่รู้กัน

ที่สวนมะม่วงนุปิยอัมพวันเจ็ดวันพอดี

ชินกาลมาลีปกรณ์ เขียนเล่าความ

พุทธเจ้าผ่านเมืองทั้งสามมีดังนี้

จาก กบิลพัสดุ์ สาวัตถี และเวสาลี

ข้ามอสังคคงคามหานทีในวันเดียว



[1] พระรัตนปัญญาเถระ, ชินกาลมาลีปกรณ์, แปลโดย ร.ต.ท.แสง มนวิทูร, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐), หน้า ๓๖-๓๗.

หมายเลขบันทึก: 593983เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2015 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2017 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท