สร้างทักษะเมตตาเพิ่มแรงบันดาลใจ


Best Acknowledgement to Prof. Lotta Brangefalt ขอบพระคุณท่านอาจารย์นักกายภาพบำบัดผู้มีประสบการณ์ MI หรือ Motivational Interview จากสวีเดน

เดิมผมได้เรียนรู้ Motivational Interview หรือ MI สมัยศึกษากิจกรรมบำบัดเฉพาะทางสุขภาพจิตสังคมตอนอยู่ที่ออสเตรเลีย แต่เป็นการบูรณาการเทคนิค MI ร่วมกับ Self-Management Model of Chronic Care + Mental Health Recovery & Counselling ก็พัฒนาต่อยอดประสบการณ์ทางคลินิกเรื่อยมา ซึ่งท้าทายมากกับกรณีศึกษาที่ผ่านมาในโรงเรียนการจัดการความสุข

ท่านอาจารย์ Lotta แนะนำหลักการ MI ซึ่งศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่ พร้อมอ้างอิงให้อ่าน MI in Healthcare: Help patient change behavior เพิ่มเติม

โดยสรุปประเด็นสำคัญที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกัลยาณมิตรทุกท่าน รวมทั้งผู้รับบริการ (ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือ จิตสังคม พร้อมผู้ดูแล-ผู้ปกครอง) คือ:-

  • จิตวิญญาณ (แก่นหล่อเลี้ยงแห่งปัญญา) ของ MI ได้แก่ Collaborative (ร่วมมือร่วมใจ) ด้วยความรู้สึกมีแรงใจเต้นรำไปกับผู้รับบริการในระดับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ไม่มีผู้ป่วย ไม่มีผู้บำบัด, Evocative (ชี้แนะชวนคิด) ด้วยการสื่อสารให้ผู้รับบริการดึงแรงจูงใจออกมาตามศักยภาพที่เขาหรือเธอพร้อมจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ Honoring (ให้ความเคารพกัน) ด้วยการนับถือการตัดสินใจของผู้รับบริการเป็นสำคัญ เช่น คุณคิดอยากเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวคุณ โดยเชื่อมั่นว่า "ทุกการกระทำด้วยความรู้สึก ความรู้ความเข้าใจ และความต้องการแสดงพฤติกรรม ย่อมมีเหตุผลกำกับภายในเสมอ"
  • กระบวนการฝึกทักษะ MI ด้วยการบันทึกวิดีโอ 10-15 นาที ขณะผู้เรียนฝึกกับผู้รับบริการพร้อมขออนุญาตทางจริยธรรม แล้ววิเคราะห์ให้เกิดการพูดของผู้รับบริการ 80% ขึ้นไปของเวลาทั้งหมด ขณะที่ผู้ให้บริการพยายามพูดให้น้อยกว่า 20% ซึ่งในสวีเดน อาจารย์ได้ฝึกทักษะ MI ในนศ.กายภาพบำบัดตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึง 4 แล้วเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานตลอดชีวิต
  • ทักษะที่ควรฝึกฝนขณะใช้ MI ได้แก่ การลดความไม่แน่ใจ - การพูดแล้วตามด้วย "แต่..." (Ambivalence) ด้วยการใช้คำถามปลายเปิด, การฟังอย่างลึกซึ้ง ใช้สมาธิ 100% อย่าใช้คำถามมากเกินไป อย่าชี้นำ พร้อมสะท้อนการรับรู้สึกและการรู้คิดของผู้รับบริการ - ความต้องการ/ความปรารถนาพร้อมเหตุผล สู่ การยืนยัน-สัญญาร่วมแรงร่วมใจกัน, การใช้สเกลสอบถามจาก 0-10 แล้วตั้งคำถามเรียนรู้ความคิดเห็นของผู้รับบริการว่า "อยากให้เราช่วยคุณอย่างไรเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม...ของคุณให้ดีขึ้นจากเดิม 6/10 เป็น 8/10 (ใช้ช่วงสเกล 2 คะแนน)" และการขออนุญาตกรณีศึกษาทุกครั้งในการขอพูดคุยเพื่อสร้างแรงจูงใจ (ภายในให้เกิดการรับรู้สึก) สู่แรงบันดาลใจ (ภายในให้เกิดการรู้คิด) สู่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง (ภายในและภายนอกให้เกิดการกระทำ - ปรับพฤติกรรมใหม่อย่างต่อเนื่องพร้อมแนะนำหรือ Guiding ทางเลือกหลากหลาย ที่สำคัญการใช้ความเงียบอย่างน้อย 2-3 วินาที ก็ช่วยให้ผู้รับบริการครุ่นคิดตัดสินใจได้ดี - ตลอดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายในระยะเวลา 6 เดือน)
  • กฎกติกาของผู้ใช้ MI คือ RULE ย่อมาจาก Resist the Righting Reflex, Understand Your Patient's Motivations, Listen to Your Patient และ Empower the Patient
  • ตัวอย่างของ Resist the Righting Reflex คือ ลดการบอกแบบสั่งการว่า คุณควรทำโน่น...คุณต้องทำนี่ แต่เพิ่มคำถามว่า "คุณคิดว่าการออกกำลังกายจะช่วยคุณให้หายจากโรคนี้ได้อย่างไร" หรือ "คุณคิดว่าอยากออกกำลังกายสักกี่วินาทีดี" หรือ "คุณคิดว่าเราจะช่วยอะไรคุณได้บ้าง"
  • ตัวอย่างของ Understand Your Patent's Motivations และ Listen to Your Patient คือ เริ่มจาก "คุณคิดว่าอะไรเป็นพฤติกรรมที่ดีตอนนี้" ต่อด้วย "อะไรที่เป็นพฤติกรรมที่ดีเล็กน้อยตอนนี้" และ "อะไรที่เป็นพฤติกรรมที่ดีเล็กน้อยที่ผ่านมา" จนสุดท้าย "อะไรที่เป็นพฤติกรรมที่คุณต้องการเปลี่ยนให้ดีขึ้นในวันข้างหน้า" หรือ "ก่อนที่เราจะพบกัน คุณพอจะออกกำลังกายสักหนึ่งครั้งได้ไหม" - เริ่มต้นจากน้อยๆทีละขั้นตามแรงจูงใจของผู้รับบริการเป็นสำคัญ จนถึง "พอคุณออกกำลังกายแล้ว คิดว่ามีความสำคัญอย่างไร"
  • ตัวอย่างของ Empower the Patient คือ "คุณมีพลังอยู่ในตัวคุณ เชื่อมั่นในตัวคุณที่จะดูแลตัวคุณเอง อย่างน้อยคุณเสียเวลาจากการนั่งอยู่บ้านดูทีวี แล้วมาเรียนรู้ด้วยกัน คุณอยากดึงพลังของคุณทำอะไรดีในวันนี้"

ตัวอย่างของดร.ป๊อปที่เคยทดลองใช้ MI ผ่านไลน์กับเคสวัยรุ่นที่มีสันหลังคดและไม่ยอมออกกำลังกายกับนักกายภาพบำบัด

ดร.ป๊อป: เราจริงใจครับ วันนี้น้องได้เรียนรู้อะไรจากการทำกิจกรรมที่ตัวเองเป็นคนเลือก "ยืนวาดรูป"

เคส: สนุกดี ได้เคลื่อนไหวให้พัฒนาสมองสองซีกที่เราใช้น้อยไป

หลังจากกลับบ้าน คุณแม่ไลน์มาปรึกษาต่อ

คุณแม่ของเคส: ไม่รู้ว่าน้องจะเอาจริงจังได้นานเท่าไร

ดร.ป๊อป: น้องจะจริงจังภ้าคุณแม่ปล่อยบ้างครับ ค่อยๆลองปรับกิจกรรมให้เข้าใจนะครับ

คุณแม่ของเคส: ขอบคุณมากค่ะ แล้วจะรายงานผลเป็นระยะค่ะ

สามอาทิตย์ถัดมา

คุณแม่ของเคส: อาทิตย์ก่อนพาน้องมาทำกายภาพ พี่นักกายภาพบอกเชิงว่าอาจจะให้น้องกลับไปนึกดูว่าต้องการรักษาหลังต่อหรือไม่ ถ้าตัดสินใจว่าไม่ ก็จะได้ไม่ต้องมา เพราะพี่ๆเขาอยากให้น้องตั้งใจบริหารหลังโดยไม่ต้องให้แม่เรียก คุณแม่ควรพูดกับน้องไปตรงๆมั้ยค่ะ แล้วเราควรพูดปลุกจิตให้น้องต่อสู้หรือสร้างความพยายามยังไงดีคะ น้องเขาไม่รู้สึกว่าหลังเขาเป็นปัญหาค่ะ

ดร.ป๊อป: คิดว่า คุยตรงประเด็นเรื่องหลังแบบเปิดใจพ่อแม่ลูกและมีนักกายภาพบำบัดอยู่ด้วย เช่น น้องจะตั้งใจบริหารหลังด้วยตนเองอย่างไร ถ้าทำจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่ทำจะเป็นอย่างไร และมีทางเลือกอื่นๆที่ไม่ชอบออกกำลังกายหรือไม่ ถ้ามีคืออะไรบ้าง แต่การคุยต้องให้เวลาน้องได้ทบทวน ไม่เร่ง ไม่ตัดสินใจแทน ให้น้องคิดเลือกอย่างอิสระ โดยทั่วไปถ้าเลิกไม่ออกกำลังกาย...ก็ควรมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เราเคยคุย เช่น เล่นกีฬาที่มีการใช้หลังสมดุล เต้นลีลาศ ว่ายน้ำท่ากรรเชียง การยืนวาดรูป การขยับตัวทำคอม การขยับทุกทิศทางทำอาหารโปรด ฯลฯ หรือถ้าปรับพฤติกรรมให้อยู่เฉยๆ แบบ Sitting Disease (ขอบพระคุณอ.ชุติมาที่แนะนำ) สักหนึ่งหรือสองอาทิตย์แล้ว Feedback ให้นักกายภาพบำบัดตรวจดูว่า หลังคดมากขึ้นมั้ย เพื่อชวนคุยเปิดใจต่ออีกรอบ ต้องทำงานเป็นทีม อดทน ใช้เวลา ใจเย็นๆ สู้ๆครับ ... ให้นักกายภาพบำบัดอ่านข้อความนี้ได้นะครับ

คุณแม่ของเคส: ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ เมื่อเย็นวานคุยกับนักกายภาพ สรุปว่าช่วงนี้ลองปล่อยเขาไปก่อน ไม่พูดเรื่องหลังเลย นัดทำกายภาพเป็นระยะ เอาแบบตามสะดวกของน้องไปก่อน ไม่บังคับ อยู่บ้าน แม่ก็จะใช้วิธีกิจกรรมบำบัดของอาจารย์ ตอนนี้บอกเขาว่า เวลาจะนั่งทำงาน ให้เอาของทุกอย่างที่จะใช้ สมุด หนังสือ ปรับมาด้านซ้าย เขาก็ร้องไห้หนักมากๆเลยค่ะ บอกว่าจะไม่สนใจหลังแล้ว

ดร.ป๊อป: ให้เวลาน้องเพื่อเรียนรู้และเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง คุณแม่ถอยออกมาบ้างแล้วทบทวนตัวเองเช่นกัน สู้ๆครับ

คุณแม่ของเคส: เมื่อคืนเลยได้คุยกับพ่อของน้อง เขาก็คิดเห็นเหมือนคำแนะนำของอาจารย์ข้างต้น อาทิตย์นี้คืบหน้ายังไง จะรายงานให้ทราบค่ะ



หมายเลขบันทึก: 593360เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2015 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2020 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ ^_^

ขอบพระคุณมากครับพี่อ.ดร.จันทวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท