สหกรณ์เหมือนบ้านเช่าที่มีเจ้าของหลายคนลงขันกันสร้าง


ถ้าเปรียบสหกรณ์เป็นบ้าน ก็เป็นบ้านเช่า ที่มีเจ้าของร่วมกันหลายคน(บรรดาสมาชิก) ซึ่งสมาชิกก็มีบ้านอาศัยของตนที่ต้องดูแลเหมือนกัน ทุกคนจึงไม่มีเวลาไปบริหารดูแลบ้านเช่า(สหกรณ์)ที่ร่วมกันสร้างขึ้นมา จึงได้มีการประชุม(ประชุมใหญ่) เลือกตัวแทน(คณะกรรมการฯ)เข้าไปบริหารดูแลบ้านเช่าหลังนั้นและกรรมการเองก็ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้เต็มเวลาเช่นกัน แต่ก็ต้องไปเพราะหน้าที่ จึงได้มีการประชุม(ประชุมคณะกรรมการฯ) เพื่อจ้างคนจัดการดูแลบ้านเข้ามาชุดหนึ่ง(ฝ่ายจัดการ) เพื่อดูและจัดการบ้านเช่า(กิจการสหกรณ์) ตามทีได้รับมอบหมายแต่บังเอิญ

ตัวแทนผู้บริหารดูแลบ้านเช่าและหรือเจ้าหน้าที่บางคนที่จ้างมาดูแลจัดการบ้าน เกิดมีนิสัยเป็นโจร อนึ่งบางครั้งผู้แทนที่เลือกมาก็สมรู้ร่วมคิดกับผู้จัดการดูแลบ้าน จ้องแต่จะทุจริต คิดยักยอก กรรมการอื่นที่ดูแลบ้านก็มาดูบ้านเช่าเดือนละ วันสองวัน ส่วนใหญ่ก็มานั่งที่ห้องรับแขก(ห้องประชุม)เพื่อประชุมกัน ไม่ได้เข้าไปสังเกตตรวจตราห้องอื่น ๆ เช่น ห้องนอน ห้องครัวและห้องน้ำ เป็นต้น (ไม่ค่อยสนเรื่องอื่น ๆ)

ส่วนเจ้าของบ้านที่แท้ จริงแทบไม่ต้องพูดถึง บางคนมาดูบ้านเช่าเดือนละครั้งหรือสองครั้งแล้วแต่จะมาดูผลประโยชน์บ้าง หรือบางเดือนไม่มาเลยค่อยมาทีเดียวปีละครั้งคือตอนประชุมใหญ่เพื่อรับค่าเช่า(ปันผล)

จึงเป็นโอกาสเหมาะสำหรับผู้ที่จ้องจะทุจริตและยักยอก เพราะมีโอกาสกว่ากว่าทุกฝ่าย คือมาทำงานทุกวันทำการ

ส่วนผู้ตรวจตรา(เจ้าหน้าที่ของรัฐ)ที่จะมาช่วยดูแลระมัดระวังการทำบ้านเช่า ก็ นาน ๆ มาที เพราะมีบ้านเช่าจำนวนมากที่ต้องรับผิดชอบ มาบ้านเช่า

แต่ละครั้งก็มาที่ห้องรับแขก(ร่วมประชุมคณะกรรมการ)เช่นเดียวกับกรรมการบางส่วน ไปตรวจตราห้องอื่นก็มีบ้างแต่ก็น้อย รู้ไม่เท่าทันเจ้าหน้าที่ที่ทำงานทุกวัน พวกนกรู้ก็พยายามสร้างหลักฐาน ปกปิดกลบเกลื่อนแก้ไขไว้ให้คอยรับการตรวจ

ประกอบกับต้องรีบไปรีบกลับ ซึ่งผิดกับการตรวจตราบ้านเช่า(สหกรณ์)สมัยที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐประจำอำเภอ ส่วนใหญ่แล้วจะเข้าไปร่วมกำกับ ตรวจตราดูแลได้แทบจะทุกวัน และอยู่ใกล้ชิด กับเจ้าหน้าที่จัดการดูแลบ้านเช่า จึงสามารถล่วงรู้เบาะแสการทุจริตได้รวดเร็วกว่า

และสามารถเข้าตรวจจับแก้ไขได้ทันท่วงที ส่วนหนึ่งเจ้าหน้าที่จัดการดูแลบ้าน ที่คิดจะทุจริตก็ทำได้ลำบาก เพราะผู้ตรวจตรามาบ่อย บางครั้งอยู่รวมกับสหกรณ์เลยก็มี(เช่าที่ทำการอาคารเดียวกัน)

สรุปแล้วขอพวกเราอย่าได้ สาดโคลนโทษกันไปโทษกันมาเลย บ้านเช่าเป็นของสมาชิกทุกคน เจ้าของสหกรณ์ก็ต้องช่วยกันดูแลอย่างจริงจังบ้าง มิใช่คอยแต่เก็บค่าเช่าอย่างเดียว ต้องช่วยกันดูแลรักษา เป็นหูเป็นตาด้วย

กรรมการเองก็มีภาระทำมาหากินไม่แพ้สมาชิก จะมานั่งเฝ้าการทำงานของฝ่ายจัดการทุกวันก็คงไม่ได้ แถมมีวาระเข้ามาบริหารดูแลในระยะสั้น ๆ 2 วาระ ๆ ละ 2 ปี ยังไม่ทันชำนาญก็ต้องออกไป บางครั้งก็เปลี่ยนคนใหม่เข้ามา ซึ่งต่างกับฝ่ายจัดการมาทำงานทุกวัน ไม่มีวาระ อยู่คู่กับสหกรณ์ และฝ่ายจัดการดูแลบ้านเช่าก็ควรจะรักเกียรติและศักศรีบ้าง ไม่ควรคิดจะทุจริต ทุบหม้อข้าวตัวเอง

ฝ่ายตรวจตราคนของรัฐก็น่าเห็นใจถูกปรับลดจำนวนน้อยลง แถมยัง ถูกจับซัดออกไปให้อยู่ห่างบ้านเช่า (สหกรณ์) ประกอบกับบ้านเช่าก็มากขึ้น ไปรวมเอาบ้านเช่าที่เคยอยู่นอกกรอบอำนาจ(กลุ่มเกษตรกร)มาดูแลอีก แต่ละเดือนหรือแต่ละปีมาดูแลบ้านเช่าแต่ละหลังได้ไม่กี่ครั้ง ถ้าไม่ปรับวิธีการทำงานเข้าไปดูแลเชิงลึกให้ถึงตัวสมาชิกบ้าง สุดท้าย ไป ๆ มา ๆ กว่าจะรู้ เหตุการณ์ ก็บานปลาย เสร็จโจรไปแล้ว

หมายเลขบันทึก: 593260เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2015 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2015 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท