The Paradox of Modernity


มนุษย์คือเชือกที่ขึงไว้ระหว่างสัตว์กับเลิศมนุษย์ เชือกที่ขึงอยู่ปากเหว ข้ามก็อันตราย เดินผ่านก็อันตราย เหลียวหลังก็อันตราย ตัวสั่นกับที่ก็อันตราย ความยิ่งใหญ่ในมนุษย์อยู่ที่การเป็นสะพาน มิใช่การเป็นจุดหมาย ความน่ารักของมนุษย์อยู่ที่ว่าเขาเป็นทั้งการข้ามและการตกต่ำ ข้ารัก-ผู้ไม่ใช้ชีวิตแบบอื่น นอกจากเพื่อการตกต่ำ เพราะเขา(กล้า)ก้าวข้าม

(1) The End of History

ทำไมจึงต้องเป็น "จุดจบของประวัติศาสตร์" :: The End of History and the Last Man (1)

ฟรานซิส ฟูกูยามา เดินตามไอเดียของเฮเกล (ซึ่งเขาได้รับอิทธิพลมาจาก Alexandre Kojève) ในเรื่องของวิภาษวิธีของการต่อสู้ดิ้นรนของจิตวิญญาณมนุษย์ มนุษย์จะต่อสู้ดิ้นรนจนกว่าตนจะได้รับการยอมรับในศักดิ์ศรี (dignity) และไม่ถูกกดขี่บีฑาจากคนอื่นใดอีก

การต่อสู้ดิ้นรนทางจิตวิญญาณที่ว่านี้ จะเป็นการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ (“History in general is therefore the development of Spirit in Time, as Nature is the development of the Idea is Space.” )

"ประวัติศาสตร์" ในที่นี้จึงหมายถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ ที่เกิดจากการต่อสู้ดิ้นรนของจิตวิญญาณของมนุษย์ และวิวัฒนาการนี้สะท้อนออกมาในรูปของการปกครอง

ฟูกูยามาได้ชี้ว่า ระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตย เป็นรูปแบบสุดท้ายของการปกครองของมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธ์ สัญชาติ หรือศาสนาใดก็ตาม ฟูกูยามาได้ชี้ว่านับตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นต้นมา รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด (ในแง่คุณค่าทาง จริยธรรม, การเมือง และเศรษฐกิจ) เท่าที่เคยมีมา นี่เป็นระบบการปกครองที่ให้การรับรองศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่เป็นสมาชิกในสังคมอย่างดีที่สุด ยังไม่มีการปกครองรูปแบบใดที่มีวิวัฒนาการที่เหนือชั้นกว่านี้

ด้วยเหตุนี้ "ประวัติศาสตร์" ต่อไปจึงไม่มี ดังนั้นเรามาเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดทาง "ประวัติศาสตร์"

ไม่ใช่ว่าจะไม่มี "เหตุการณ์" ใดเกิดขึ้นหลังจากนี้อีก ยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายนับจากนี้ แต่เหตุการณ์นั้นไม่นับว่าเป็น "ประวัติศาสตร์" เพราะไม่แสดงวิวัฒนาการใดที่ยิ่งไปกว่านี้อีก

ฟูกูยามาไม่ยอมรับความคิดของมาร์กซ์ (ที่ได้รับอิทธิพลจากเฮเกลเช่นกัน) มาร์กซ์ปรับวิภาษวิธีแบบจิตนิยม ให้เป็นวิภาษวิธีแบบวัตถุนิยม แล้วจึงสร้างความขัดแย้งทางชนชั้นขึ้นมา (เช่น ทาส-นาย, ไพร่-เจ้า, กรรมกร-นายทุน, ฯลฯ) สังคมจะวิวัฒน์บนวิภาษวิธีที่เกิดจากการต่อสู้ทางชนชั้น จนนำไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์

ผลปรากฎว่า เมื่อสิ้นสุดยุคสงครามเย็น (1947 - 1991) ระบอบคอมมิวนิสต์ล้มเหลว สหภาพโซเวียตล่มสลาย จีนรับเอาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไปใช้ หนังสือ The End of History and the Last Man ตีพิมพ์เมื่อปี 1992 จึงเท่ากับเป็นการฉลองชัยให้ค่ายเสรีประชาธิปไตย และเท่ากับเป็นการยืนยันว่าระบอบการทดลองทางการเมืองของฝ่ายเสรีประชาธิปไตยถูกต้อ

หนังสือเล่มนี้จึงสอดคล้องกับวิธีคิดของฝ่ายตะวันตกที่เชื่อว่า ระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยเป็นสากลและใช้ได้ทั่วไปกับทุกสังคมและเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด

หนังสือเล่มนี้ถูกโจมตีจากฝ่ายซ้าย ว่าตีความอย่างตื้นเขินเกินไป และโซเวียตไม่ใช่ระบอบคอมมิวนิสต์ที่แท้จริง ในขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้ก็ถูกโจมตีจากฝ่ายขวา (อย่างฮันติงตันผู้เป็นอาจารย์) ว่าความขัดแย้งในรูปแบบอื่น ๆ ยังคงอยู่ (ยังมีประวัติศาสตร์ในความหมายอื่น ที่นอกเหนือไปจากการตีความแบบเฮเกล)

แต่นี่เราพูดเฉพาะครึ่งหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ... The End of History ที่เป็นอิทธิพลของเฮเกล

ยังมีอีกครึ่งหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือ ... The Last Man ซึ่งเป็นความคิดของนิตเช่ที่นำมาจาก "Thus Spoke Zarathustra" ฟูกูยามานำความคิดของนิตเช่มาใส่ไว้ในหนังสือของเขาด้ว


(2) The Übermensch


การต่อสู้เพื่ออำนาจและอภิมนุษย์ของนิชเช่ :: The End of History and the Last man (2)

ครึ่งสุดท้ายของหนังสือ The End of History and the Last man ของฟรานซิส ฟูกูยาม่า อุทิศให้กับชะตากรรมของมนุษย์ที่อยู่อาศัยในสังคมที่อุบัติขึ้นจากวิวัฒนาการทาง "ประวัติศาสตร์" หรือจากการต่อสู้ดิ้นรน เพื่อใฝ่หา "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" ตามตรรกะของเฮเกล

ครึ่งสุดท้ายนี้ ฟูกูยามา ใช้ชื่อว่า "the Last man" ซึ่งเป็นแนวคิดของนิตเช่ ที่เขาได้แสดงไว้ทั้งในหนังสือ "เจตจำนงสู่อำนาจ" (The Will to Power) และ "ดังนั้นซาราธุสตราพูด" (Thus Spake Zarathustra) แต่ในความเป็นจริงครึ่งนี้ในหนังสือของฟูกุยาม่า กินเนื้อที่เฉพาะภาคที่ 4 ของหนังสือจากทั้งหมด 4 ภาค โดยเริ่มจากบทที่ 27 จนถึงบทที่ 31 อันเป็นบทสุดท้าย

ฟูกูยาม่าได้แสดงให้เห็นว่าชะตากรรมของมนุษย์ที่สู้อุตส่าห์ต่อสู้ดิ้นรนฝ่าวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ แทนที่จะประสบสภาวะที่ "พึงปรารถนา" ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ หากแต่เขาจะพบกับความ "ไร้แก่นสาร" เพราะเขาจะอยู่อาศัยในสังคมที่สงบสุข ปราศจากภาวะสงคราม มีโภคทรัพย์ ตามประสงค์ มีศักดิ์ศรีในตนเอง เท่า ๆ กับที่คนอื่นมี แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว "เขาก็เป็นเหมือนคนทั่ว ๆ ไป" ซึ่งไม่ต่างจาก "ไม่มีอะไรเลย"

นิตเช่ แสดงเรื่องนี้ผ่านปากของตัวละครที่เขาสร้างขึ้นมาในหนังสือของเขาที่เชื่อว่าตนบรรลุสัจธรรม ตัวละครนี้ชื่อว่า "ซาราธุสตรา"

ซาราธุสตราถูก "ฝูงชน" ขอให้แสดงความหมายของมนุษย์สองแบบ คือ "อภิมนุษย์" (Superman หรือ The Übermensch ในภาษาเยอรมัน) และมนุษย์ยุคสุดท้าย (The Last Man) ข้อความข้างล่างนี้เป็นการแปลที่ยอดเยี่ยมของ "ศัลก์ ศาลยาชีวิน" (แปลจากฉบับภาษาอังกฤษของ R.J. Hollingdale) ดู http://olddreamz.com/bookshelf/zarathus/thusspake.html (ดูฉบับแปลอีกสำนวนหนึ่งที่นี่)


Also sprach Zarathustra (ดังนั้น พูด ซาราธุสตรา)
====

Zarathustra, however, looked at the people and wondered. Then he spake thus:
Man is a rope stretched between the animal and the Superman- a rope over an abyss.
A dangerous crossing, a dangerous wayfaring, a dangerous looking-back, a dangerous trembling and halting.
What is great in man is that he is a bridge and not a goal: what is lovable in man is that he is an over-going and a down-going.

ซาราธุสตรามองฝูงชนพลางฉงนใจ แล้วเขาจึงกล่าวต่อไปดังนี้-
มนุษย์คือเชือกที่ขึงไว้ระหว่างสัตว์กับเลิศมนุษย์ เชือกที่ขึงอยู่ปากเหว
ข้ามก็อันตราย เดินผ่านก็อันตราย เหลียวหลังก็อันตราย ตัวสั่นกับที่ก็อันตราย
ความยิ่งใหญ่ในมนุษย์อยู่ที่การเป็นสะพาน มิใช่การเป็นจุดหมาย ความน่ารักของมนุษย์อยู่ที่ว่าเขาเป็นทั้งการข้ามและการตกต่ำ


I love those that know not how to live except as down-goers, for they are the over-goers.
I love the great despisers, because they are the great adorers, and arrows of longing for the other shore.
I love those who do not first seek a reason beyond the stars for going down and being sacrifices, but sacrifice themselves to the earth, that the earth of the Superman may hereafter arrive.
I love him who liveth in order to know, and seeketh to know in order that the Superman may hereafter live. Thus seeketh he his own down-going.

ข้ารัก-ผู้ไม่ใช้ชีวิตแบบอื่น นอกจากเพื่อการตกต่ำ เพราะเขา(กล้า)ก้าวข้าม
ข้ารัก-ผู้ชอบเหยียดหยาม เพราะเขามีศรัทธายิ่งใหญ่และศรแห่งการหมายใจ-ที่จะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง
ข้ารัก-ผู้ไม่เริ่มด้วยเหตุผลอันไกลพ้นดวงดาว เพื่อก้าวลงต่ำและถูกบูชายัญ แต่เป็นผู้พลีตนแก่โลก เพื่อในวันหนึ่งโลกอาจตกเป็นสมบัติของเลิศมนุษย์
ข้ารัก-ผู้ดำรงอยู่เพื่อความรู้และความใฝ่รู้ เพื่อในวันหนึ่งเลิศมนุษย์พึงอุบัติขึ้น ด้วยเหตุนั้นเขาจึงกำหนดการตกต่ำด้วยตนเอง


I love him who laboureth and inventeth, that he may build the house for the Superman, and prepare for him earth, animal, and plant: for thus seeketh he his own down-going.
I love him who loveth his virtue: for virtue is the will to down-going, and an arrow of longing.
I love him who reserveth no share of spirit for himself, but wanteth to be wholly the spirit of his virtue: thus walketh he as spirit over the bridge.
I love him who maketh his virtue his inclination and destiny: thus, for the sake of his virtue, he is willing to live on, or live nomore.

*ข้ารัก-ผู้อุทิศแรงกายและความคิด เพื่อว่าเขาจะสร้างเคหะแห่งเลิศมนุษย์ เพื่อตระเตรียมผืนดิน ส่ำสัตว์ และต้นไม้แก่เขา ด้วยเหตุนั้นเขาจึงกำหนดการตกต่ำด้วยตนเอง
ข้ารัก-ผู้รักคุณธรรมของตน เพราะคุณธรรมคือเจตนาและศรแห่งความปรารถนา เพื่อการตกต่ำ
ข้ารัก-ผู้ไม่เก็บแม้เสี้ยวแห่งจิตใจไว้สำหรับตน แต่โอนให้คุณธรรมของเขาโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนั้นเขาจึง(กล้า)ข้ามสะพาน-เช่นเดียวกับจิตใจของเขา
ข้ารัก-ผู้เลือกลิขิตชะตากรรมแห่งคุณธรรมของตนเอง ด้วยเหตุนั้นเขาย่อมอยู่หรือตายเพื่อคุณธรรมของเขา


I love him who desireth not too many virtues. One virtue is more of a virtue than two, because it is more of a knot for one's destiny to cling to.
I love him whose soul is lavish, who wanteth no thanks and doth not give back: for he always bestoweth, and desireth not to keep for himself.
I love him who is ashamed when the dice fall in his favour, and who then asketh: "Am I a dishonest player?"- for he is willing to succumb.
I love him who scattereth golden words in advance of his deeds, and always doeth more than he promiseth: for he seeketh his own down-going.

ข้ารัก-ผู้ไม่ปรารถนาคุณธรรมนานาประการ คุณธรรมเพียงหนึ่ง-ยิ่งใหญ่กว่าสอง เพราะคุณธรรมหลากหลายคือเงื่อน(ไข)ที่เกินกว่าชะตาชีวิตของคนผู้หนึ่งจะยึดถือได้
ข้ารัก-ผู้มีวิญญาณสุรุ่ยสุร่าย ผู้ไร้ทั้งความปรารถนาและคำขอบใจ เพราะเขาให้อยู่เสมอ และไม่สงวนไว้แม้ตัวของตน
ข้ารัก-ผู้เขินอายเมื่อลูกเต๋าเป็นใจข้างเขา แล้วเขาจึงถามขึ้นว่า-"ฉันเล่นโกงหรือเปล่านะ?" เพราะเขาปรารถนาจะสูญสิ้น
ข้ารัก-ผู้หว่านคำพูดดุจทองไว้ก่อนการกระทำ และกระทำเกินกว่าที่สัญญาไว้เสมอ เพราะเขากำหนดการตกต่ำด้วยตนเอง
ข้ารัก-ผู้ให้ความเป็นธรรมแก่มนุษย์ในอนาคต ไถ่ถอนมนุษย์ในอดีต เพราะเขาอยากดับสูญเคียงข้างมนุษย์ในปัจจุบัน


I love him who justifieth the future ones, and redeemeth the past ones: for he is willing to succumb through the present ones.
I love him who chasteneth his God, because he loveth his God: for he must succumb through the wrath of his God.
I love him whose soul is deep even in the wounding, and may succumb through a small matter: thus goeth he willingly over the bridge.
I love him whose soul is so overfull that he forgetteth himself, and all things are in him: thus all things become his down-going.

ข้ารัก-ผู้ให้ความเป็นธรรมแก่มนุษย์ในอนาคต ไถ่ถอนมนุษย์ในอดีต เพราะเขาอยากดับสูญเคียงข้างมนุษย์ในปัจจุบัน
ข้ารัก-ผู้ลงทัณฑ์พระเจ้าของตน เพราะเขารักพระเจ้าของเขา เพราะเหตุนั้นเขาจึงต้องดับสูญเพราะความพิโรธแห่งพระเจ้าของเขา
ข้ารัก-ผู้มีวิญญาณอันล้ำลึก ล้ำลึกแม้ความสามารถในการรับบาดแผล แต่สิ่งน้อยนิดก็อาจทำลายเขาได้ ด้วยเหตุนั้นเขาจึงยินดีก้าวขึ้นสะพาน
ข้ารัก-ผู้มีวิญญาณเปี่ยมล้นจนลืมนึกถึงตน และทุกสิ่งต่างประมวญอยู่ในตัวเขา ด้วยเหตุนั้นทุกสิ่งจึงเป็นการตกต่ำสำหรับเขา


I love him who is of a free spirit and a free heart: thus is his head only the bowels of his heart; his heart, however, causeth his down-going.
I love all who are like heavy drops falling one by one out of the dark cloud that lowereth over man: they herald the coming of the lightning, and succumb as heralds.
Lo, I am a herald of the lightning, and a heavy drop out of the cloud: the lightning, however, is the Superman.-

ข้ารัก-ผู้มีจิตเสรีและใจอิสระ ด้วยเหตุนั้น(หัวหรือความคิด)จึงเป็นเพียงไส้ใน(หรือส่วนหนึ่ง)ของหัวใจ แต่หัวใจเขาก็ผลักไปสู่การตกต่ำ
ข้ารัก-ทุกคนที่คล้ายหยาดหนักของฝน ที่หล่นทีละหยดจากม่านเมฆอันมืดมิดเหนือมนุษยชาติ เขาต่างพยากรณ์การมาของสายฟ้า แล้วดับสูญไปในฐานะผู้พยากรณ์
ดูก่อน ข้าคือผู้พยากรณ์การมาของสายฟ้าและหยาดหนักจากม่านเมฆ แต่สายฟ้านี้มีสมญาว่า-เลิศมนุษย์

(*แปลเพิ่มจากต้นฉบับแปลของ ศัลก์ ศาลยาชีวิน)




--

ฝูงชนเมื่อได้รับฟังภาพของ "อภิมนุษย์" (หรือเลิศมนุษย์ ตามสำนวนแปลของศัลก์) พวกเขารู้สึกไม่พอใจและขอให้ซาราธุสตรา บรรยายภาพของ "มนุษย์ในยุคสุดท้าย" ซาราธุสตราจึงบรรยายออกมาดังต่อไปนี้

- มนุษย์ในยุคสุดท้าย -

"ดูก่อน ข้าจะตีแผ่มนุษย์ยุคสุดท้ายแก่ท่าน
ความรักฤ การสร้างสรรค์ฤ การหมายใจฤ ดวงดาวฤ มันคืออะไร? มนุษย์ยุคสุดท้ายไต่ถามพลางกะพริบตา

"โลกกลับเล็กลง และมนุษย์ยุคสุดท้าย-ผู้ย่อสิ่งทั้งหลาย-ก็โลดเต้นอยู่บนมัน พันธุ์ของเขาแพร่ไปไม่หยุดดุจตัวเห็บ มนุษย์ยุคสุดท้ายอายุยืนที่สุด
"เราพบความสุขแล้ว" มนุษย์ยุคสุดท้ายกล่าวพลางกะพริบตา
เขาทิ้งถิ่นที่ยากแก่การครองชีพเพราะปรารถนาความอบอุ่น แต่เขาต่างรักเพื่อนยบ้านและเอาตัวเข้าเสียดสีกันเพราะปรารถนาความอบอุ่น

"สำหรับเขา การป่วยไข้และการแคลงใจถือเป็นบาป คนผู้หนึ่งพึงก้าวด้วยความระมัดระวัง คนเขลาเท่านั้นที่ยังสะดุดหินหรือคน
ยาพิษนิดหน่อยเป็นครั้งคราวสำหรับความฝันหรรษา ยาพิษฤทธิ์ร้ายแรงครั้งสุดท้ายสำหรับความตายสุขสันต์
เขายังคงทำงาน- เพราะงานคือการเริงเล่น แต่เขาต่างระวังตนมิให้เล่นจนเหนื่อยอ่อน
ไม่มีใครรวยหรือจนอีกต่อไป ทั้งคู่ต่างเป็นภาระที่มากเกินไป ใครเล่าที่ยังอยากปกครอง? ใครเล่าจะเชื่อฟัง? ทั้งคู่ต่างเป็นภาระที่มากเกินไป

"ไม่มีทั้งจ่าฝูงและฝูง ทุกคนต้องการอย่างเดียวกัน ทุกคนเป็นอย่างเดียวกัน ใครที่คิดเป็นอื่นต่างสมัครใจไปอยู่โรงคนบ้า
"แต่ก่อนเรายังบ้าอยู่" ผู้เฉียบแหลมที่สุดในพวกเขากล่าวพลางกะพริบตา
พวกเขาฉลาดและแสนรู้ในทุกสิ่งที่เป็นมา การล้อเลียนจึงมีอยู่ไม่รู้จบ เขายังคงวิวาทกัน แต่ไม่นานก็คืนดี มิฉะนั้นจะท้องขึ้น เขาสำราญวันละนิดตอนกลางวัน
เขาสำราญวันละหน่อยตอนกลางคืน แต่เขาเคารพต่อสุขภาพ
"เราพบความสุขแล้ว" มนุษย์ยุคสุดท้ายกล่าวพลางกะพริบตา"

--

ฝูงชนเมื่อได้ฟังแล้ว ต่างป่าวร้องแสดงความพอใจ และร่ำร้องเรียกขอ "มนุษย์ยุคสุดท้าย" ยังความสลดใจแก่ซาราธุสตรา

....

เราจำเป็นต้องเข้าใจความคิดของนิตเช่เสียก่อน นิตเช่มองว่าธรรมชาติคือสนามพลัง พลังที่ต่อสู้ - เอาเปรียบ ซึ่งกันและกัน พลังที่เข้มข้นกว่าจะเอาเปรียบพลังที่เข้มข้นน้อยกว่า

สัตว์กินเนื้อเอาเปรียบสัตว์กินพืช สัตว์กินพืชเอาเปรียบพืช พืชเอาเปรียบแร่ธาตุ ฯลฯ
เราอยู่ในสังคมสมัยใหม่ซึ่งซ่อนเราจาก การฆาตกรรมสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้เป็นอาหาร เช่น หมู ปลา ไก่ ต่อให้เราสามารถคิดค้นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เราไม่ต้องฆ่าสัตว์เหล่านี้ สัตว์พวกนั้นก็จะถูกเลี้ยงไว้เพียงความรื่นรมย์และการศึกษา
ข้อสังเกตของนิตเช่ใน The Will to Power เป็นจริง จริงจนถูกมองว่าดิบเถื่อน และหยาบตรงเกินไป แต่กระนั้นมันก็จริง

นิตเช่แบ่งมนุษย์ออกเป็นสามประเภทคือ

1. ทาส มนุษย์ในกลุ่มนี้จะไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะกลัวการรับผิดชอบ ยอมเดินตามคนอื่น เพราะไม่ต้องแบกรับความเสี่ยง ดูเหมือนฉลาด แต่ความเป็นจริงนี่ไม่ใช่ความหมายของมนุษย์ที่สมบูรณ์
2. นาย มนุษย์ในกลุ่มนี้จะกล้าได้กล้าเสีย เป็นนายเหนือคนอื่น ยอมตายดีกว่ายอมจำนน พวกเขาจะเอาเปรียบมนุษย์ที่มีพลังเข้มข้นน้อยกว่า (คือพวกทาส) ในแบบต่าง ๆ
3. อภิมนุษย์ คนกลุ่มนี้มีน้อยกว่าน้อย เป็นปราชญ์แห่งปราชญ์ เป็นผู้เห็นสัจธรรมว่า ธรรมชาติในโลกนี้มิใช่อะไรอื่นนอกจากการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน

ตรรกะของการวิวัฒนาการของมนุษย์จะส่งมนุษย์ให้สร้างสังคมเสรีประชาธิปไตย ที่ซึ่งทุกคนได้รับการยอมรับในศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แต่ในสังคมแบบนี้มีมนุษย์อยู่ได้ประเภทเดียวคือ "มนุษย์ในยุคสุดท้าย" ที่เหลวไหลไร้แก่นสาร ไม่ใช่ความหมายของมนุษย์ที่แท้จริง นี่คือโศกนาฏกรรมที่ฟูกูยามาได้ชี้เอาไว้

ซึ่งก็เช่นเดียวกับแนวคิดของนักปรัชญาฝรั่งเศส - อแลง บาดิอู (Alain Badiou) ในหนังสือ Alain badiou : In Praise of Love

บาดิอูมองว่า สังคมในยุคปัจจุบันเน้นความปลอดภัยจนเกินพอดี สังคมแบบนี้เป็นสังคมปลอดความเสี่ยง และไม่มีใครกล้าเสี่ยง แม้แต่เรื่องความรัก

เวลาคนสมัยนี้จะหาคู่ ก็มองหากันและกันในเว็บไซต์หาคู่ สืบข้อมูลจนเข้ากับความต้องการของตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ประวัติ ครอบครัว หน้าที่การงาน ฯลฯ นัดบอด ไม่พอใจก็เปลี่ยน พอใจแล้วก็แต่งงาน ไร้ซึ่งความเสี่ยงใด ๆ

นี่ไม่ใช่ความหมายของความรักที่แท้จริง!


What's true love...

Badiou rails against the modern notion of ‘risk free love’. He refers to Meetic, an online dating agency, as an exemple of a service that claims to offer ‘risk free’ romance.

Badiou argues that love carries an inherent risk, for love is a violation of the ego and involves transcending the narcissistic self for a common perspective. Love is a disruptive event that opens people to a new terrain of possibilities and a common vision of what they might be – together.

I find this aspect of Badiou’s argument tremendously interesting. When people find love, they realise that life offers them more together than it does alone. They realise, in a sense, that they can do more together, and thereby discover a tremendous responsibility and risk. Can they be worthy of this common possibility? What level of dedication and trust is required to realise it?

Love, Badiou, claims, requires that we reinvent ourselves – together. It is a project of co-construction – the kind of event that we need to constantly work at in order to sustain. Badiou puts it succinctly:

"Love isn’t simply about two people meeting and their inward-looking relationship; it is a construction, a life that is being made, no longer from the perspective of One but from the perspective of Two."

Love is the birth of co-possibility. We maintain it in a state of tension, unpredictability, and risk.

(From Life-changing love: Badiou and the birth of possibility BY TIMRAYNER)



(3) The clash of civilizations

แซมมูเอล ฮันติงตัน :: The clash of civilizations


แทนที่ "ประวัติศาสตร์จะสิ้นสุดลง" ตามข้อเสนอของ ฟรานซิส ฟูกูยามา ผู้ศิษย์ ฮันติงตั้นเสนอว่าแม้จะสิ้นสุดความขัดแย้งในช่วงสงครามเย็น ระหว่างค่ายเสรีประชาธิปไตย และค่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีเส้นแบ่งสำคัญคือ การทุบกำแพงเบอร์ลิน และการรวมตัวของเยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออก ตลอดจนการล่มสลายของโซเวียต แต่ความขัดแย้งใหม่จะบังเกิดขึ้น ครั้งนี้จะเป็นความขัดแย้งระหว่างอารยธรรม

ฮันติงตั้นแบ่งอารยธรรมออกเป็น 9 ประเภทคือ (1) อารยธรรมตะวันตก (2) อารยธรรมออร์โธด็อกซ์ (3) อารยธรรมอิสลาม (4) อารยธรรมอาฟริกัน (5) อารยธรรมละตินอเมริกา (6) อารยธรรรมแบบจีน (7) อารยธรรมฮินดู (8) อารยธรรมพุทธ และ (9) อารยธรรมแบบญี่ปุ่น



อารยธรรมเหล่านี้จะมีการปฏิสังสรรค์กัน กระทั่งขัดแย้งกัน ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้

1. ความแตกต่างทางอารยธรรม เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัด และเป็นพื้นฐานที่สั่งสมมาจากกความแตกต่าง ทั้งในด้าน ประวัติศาสตร์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม

2. โลกมีความแตกต่างกันน้อยลง ทำให้ประชากรในแต่ละอารยธรรมมีปฏิสัมพันธ์กันง่ายขึ้น คนท้องถิ่นรู้สึกไม่สบายใจกระทั่งรังเกียจผู้อพยพต่างวัฒนธรรม

3. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจะทำให้ความเป็นรัฐอ่อนแอลง และแยกประชาชนออกจากอัตลักษณ์ที่เคยมี ศาสนาจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งส่วนใหญ่อาจสร้างพวกจารีตนิยม (fundamentalist) ขึ้นมา คนกลุ่มนี้พบได้ทั้งในศาสนา คริสต์ ยูดาย พุทธ และ ฮินดู รวมทั้ง อิสลาม น่าสนใจที่คนที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวแบบจารีต มักจะเป็นคนรุ่นใหม่ มีการศึกษา เป็นคนชั้นกลาง นักวิชาชีพ เทคนิเชียน หรือไม่ก็นักธุรกิจ การสร้างอัตลักษณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นข้ามพรมแดนและรวมเอาคนในอารยธรรมเดียวกันในที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

4. การเติบโตของจิตสำนึกเชิงอารยธรรมเกิดขึ้นเพราะ การขึ้นถึงจุดสุดยอดทางอำนาจของตะวันตก ในขณะเดียวกันก็มีการหวนกลับไปหารากเหง้าของอารยธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตก สมัยก่อนวัฒนธรรมตะวันตกจะเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นนำที่สามารถเข้าถึงหรือไปศึกษาในประเทศตะวันตก แต่ในปัจจุบันวัฒนธรรมตะวันตก (เช่นหนังฮอลลีวู้ด) ได้รับความนิยมในหมู่มวลชนทั่วไป ในเวลาเดียวกันก็เกิดกระแสต้านตะวันตกขึ้นมาด้วย

5. คุณลักษณะทางวัฒนธรรมยากจะประนีประนอมหรือตกลงกันได้ ไม่เหมือนกับความแตกต่างทางการเมืองหรือทางเศรษฐกิจ

6. เศรษฐกิจในภูมิภาคเจริญเติบโตขึ้น มีการค้าระหว่างกันในภูมิภาคมากขึ้น ทำให้เกิดเขตการค้าต่าง ๆ ขณะเดียวกันนั้นก็จะเริ่มเกิดจิตสำนึกด้านอารยธรรมขึ้นในภูมิภาคด้วย



ในปี 1992 หลังฟูกูยามาตีพิมพ์หนังสือ "The End of History and the Last Man" ฮันติงตั้นพัฒนาไอเดียเรื่องนี้ ในช่วงปี 1993 เขาเขียนบทความเรื่องนี้ลงในนิตยสารฟอเรนจ์แอฟแฟร์ ต่อมาเขาพิมพ์หนังสือขึ้นในปี 1996 และเมื่อมีเหตุการณ์ 9/11 ในปี 2001 ไอเดียของเขาก็กลับมาได้รับความสนใจใหม่อีกครั้ง ฮันติงตั้นจึงเป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าของไอเดียเรื่องนี้ มากกว่างานชิ้นอื่น ๆ ของเขา


อ่านบทความเรื่องนี้ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารฟอเรนจ์แอฟแฟร์ได้ที่นี่: http://www.hks.harvard.edu/fs/pnorris/Acrobat/Huntington_Clash.pdf



(4) เปรียบเทียบวัฒนธรรมมหาอำนาจโลก (สหรัฐอเมริกา-เยอรมนี-จีน)


Geert Hofstede ได้ทำงานวิจัยเปรียบเทียบวัฒนธรรมข้ามประเทศ ให้กับห้องแล็บของไอบีเอ็ม (เพื่อประโยชน์ในการทำงานข้ามวัฒนธรรมของไอบีเอ็ม) ในปี 1991 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ “Cultures and Organizations: Software of the Mind.” หนังสือเล่มนี้ของเขามีประโยชน์ในการบริหารงานกับพนักงานข้ามวัฒนธรรม-ข้ามประเทศ

แผนภาพข้างล่างนี้ แสดงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของทั้งสามประเทศ คือสหรัฐอเมริกา (ตัวแทน WASPs คนขาวแองโกลแซกซอนที่นับถือโปรแตสแตนท์), เยอรมนี (คนยุโรปภาคพื้นทวีป แกนนำของยูโร) และ จีน (ตัวแทนของวัฒนธรรมแบบฮั่น)




มาตรวัดทางวัฒนธรรมนี้แบ่งออกเป็น 5 ตัวแปรด้วยกันคือ


1. Power distance : ระยะห่างทางอำนาจ (PDI) มาตรวัดนี้ถ้าตัวเลขยิ่งมากแสดงว่าคนในสังคมยอมรับการแบ่งช่วงชั้น คือมีระยะห่างระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อยมาก แต่ถ้าตัวเลขน้อยแสดงว่าเน้นความเท่าเทียมกัน

2. Individualism : ความเป็นปัจเจก (IDV) มาตรวัดนี้ถ้าตัวเลขยิ่งมาก แสดงว่ามีความเป็นปัจเจกสูงแต่ถ้าตัวเลขน้อยแสดงว่าเน้นความเป็นส่วนรวมสูง

3. Masculinity / Femininity (MAS) มาตรวัดนี้ถ้าตัวเลขมาก แสดงว่าสังคมนี้เน้นความเป็นเพศชาย (Masculinity) คือเน้นแข่งขัน ความสำเร็จ และการบรรลุเป้าหมาย ถ้าตัวเลขน้อยแสดงว่าสังคมนี้เน้นความเป็นเพศหญิง (Feminity) สังคมนี้จะเน้นการดูแลผู้อื่น คุณภาพชีวิตที่ดี ความสำเร็จและการไม่เป็นหนึ่งในสมาชิกของสังคมจะไม่เป็นที่นิยม

4. Uncertainty avoidance (UAI) มาตรวัดนี้ถ้าตัวเลขมาก แสดงว่าสังคมต้องการมีส่วนกำหนดอนาคตให้อยู่ในการควบคุม แต่ถ้าตัวเลขมีน้อยจะมีแนวโน้มปรับตัวเข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้น (ยอมรับความไม่แน่นอน)

5. Long-term orientation (LTO) มาตรวัดนี้ถ้าตัวเลขมาก แสดงว่าสังคมนี้ให้ค่ากับทิศทางระยะยาวในอนาคต ในขณะที่ตัวเลขน้อยแสดงว่าสนใจในผลระยะสั้นมากกว่า


จากมาตรวัดทั้ง 5 จะเห็นว่า ทั้งสามประเทศมีส่วนร่วมอยู่คือเป็นสังคมเพศชาย คือเน้นแข่งขัน ความสำเร็จ และการบรรลุเป้าหมาย มากกว่าการดูแลผู้อื่นและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ในขณะที่จีนจะแตกต่างออกไปจากสองประเทศในแง่ การมองโลกในระยะยาว และการมีระยะห่างระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย ส่วนสหรัฐจะเน้นความเป็นปัจเจกสูง ในขณะที่เยอรมนีจะเน้นการควบคุมอนาคตมากกว่าการยอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น


Culture consists of the unwritten rules of the social game. It is the collective programming of the mind that distinguishes the members of one group of category of people from others.

Culture is learned, not innate. It derives from one's social environment rather than from one's genes. Culture should be distinguished from human nature on one side and from an individual's personality on the other, although exactly where the borders lie between nature and culture, and between culture and personality, is a matter of discussion among social scientists.


-- Geert Hofstede, Gert Jan Hofstede and Michael Minkov, Cultures and organizations : Software of the mind.


ลองเปรียบเทียบวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ได้จากเว็บไซต์ http://geert-hofstede.com/countries.html (ลองได้ 3 ประเทศ)


Culture map on Uncertainty Avoidance & Power Distance dimension
===========================================

  • Family-large power distance & weak uncertainty avoidance
  • Pyramid of People-large power distance & strong uncertainty avoidance
  • Well-Oiled Machine-small power distance & strong uncertainty avoidance
  • Village Market-small power distance & low uncertainty avoidance



(see: http://www.utep.edu/sibarr/Hofstede.ppt)


In the area of culture and leadership GLOBE project have generated important research findings. House et al (2004) published Culture, Leadership, and Organizations; The GLOBE Study of 62 Societies.

Across 62 countries, the GLOBE project investigates how cultural values are related to organizational practices, conceptions of leadership, the economic competitiveness of societies, and the human condition of its members.

One hundred and seventy co-country investigators and over 17,000 managers participated worldwide. Data were collected in each country from three indigenous companies representing the financial services, food processing, and telecommunications. They used qualitative methods to assist their development of quantitative instruments.

Culture and Leadership Across the World: The GLOBE Book of In-Depth Studies of 25 Societies is the second major publication of GLOBE in 2007.

http://www.tlu.ee/.../Leadership.../globe_project.html


(5) The debate


หลังจากฮันติงตั้นบรรยายไอเดียเรื่อง The clash of civilizations ในปี 1992 ที่ AEI ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ออกมาขัดแย้งแนวคิดเรื่อง End of history ของฟูกูยาม่าโดยตรง ฟูกูยาม่าโต้ประเด็นของฮันติงตั้นหลังการบรรยายว่าหลายประเทศรับเอาระบบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยเป็นส่วนใหญ่แล้ว ฮันติงตั้นตอบฟูกูยาม่า แต่ภายหลังเขาก็พัฒนาไอเดียของเขาให้สมบูรณ์ขึ้นเป็นบทความและเป็นหนังสือในที่สุด

ฟูกูยาม่านำเอาไอเดียของเขามาพัฒนาต่อ เขาพยายามเพิ่มแนวคิดหลายเรื่องเพื่อแก้ข้อเสนอในหนังสือ End of history ของเขา เช่นเทคโนโลยีจะทำให้การเมืองของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป แต่ดูเหมือนจะยังไม่สมบูรณ์หรือตกผลึกพอ จนกระทั่งต่อมาเขาพัฒนาขึ้นมาเป็นหนังสือ The Origins of Political Order ในปี 2011

ในหนังสือเล่มล่าสุดของฟูกูยาม่า เขาเขียนคำอุทิศในหนังสือเล่มนี้ให้กับ ฮันติงตั้นอาจารย์ผู้ล่วงลับของเขา

หมายเลขบันทึก: 592360เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2015 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2018 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท