ก้าวย่างและแรงขับดันในการเขียนบันทึกของ น.เมืองสรวง และคุณออต และการถ่ายทอดความรัก + แสวงหาแนวทางในการดูแลลูกชายที่ไม่ค่อยสบายด้วย gotoknow พี่โอ๋–อโณและครูอ้อย


ข้อสังเกตแห่งมิตรภาพ

แต่ละคนจะมีรูปแบบในการเขียนบันทึกที่ต่างกัน เพียงการสังเกตเนื้อหาและทำความรู้จักกับคนเขียนบันทึกให้มากขึ้นอีกนิด ก็จะพบกับประเด็นที่น่าสนใจซุกซ่อนอยู่

นายบอนสังเกต คุณออต (สำราญ เย็นเฉื่อย) และ คุณ น.เมืองสรวง (คุณอำนาจ แสงสุข)

ข้อสังเกตบนความแตกต่างจากบันทึกของ 2 ท่านนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจครับ

บล็อก.. โดย น.เมืองสรวง <ul>

  • ศูนย์ประชาสัมพันธ์และเครือข่ายท้องถิ่นจังหวัดกาฬสินธิ์
  • ส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น
  • </ul>


    บล็อก  โดย ออต <ul>

  • เล้าข้าวศึกษา
  • Tai Silk
  • เรื่องเล่าจากฟิลิปปินน์
  • </ul>


    ข้อสังเกต
    1. ลักษณะของบันทึกที่เขียนกับผู้เขียนบันทึก
    -  บันทึกของคุณออต จะเขียนเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว เรื่องที่ตัวเขาเข้าไปคลุกวงใน รายงานสด
    -  บันทึกของคุณ น.เมืองสรวง จะเขียนเรื่องที่อยู่ไกลตัว ประเด็นที่หยิบยก เกิดจากแรงขับดันจากภายใน ที่อยากเล่า อยากบันทึกออกมา

    2. ความถี่ของการเขียนบันทึก
      - คุณออตจะสามารถเขียนบันทึกได้ไหลลื่นมากกว่า เพราะบันทึกจากสิ่งที่ได้พบเห็น เก็บประเด็นมารายงานสด
     -  คุณ น.เมืองสรวงเขียนบันทึกจากการตกผลึกทางความคิด และข้อมูลที่สะสมมาเรื่อยๆ และทักษะความสามารถเฉพาะตัว จากการที่เคยทำงานเป็นนักประชาสัมพันธ์ นักข่าวท้องถิ่น เคยทำหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมาก่อน จึงมีทักษะในการหยิบประเด็นมาเขียนรายงาน บทความ จนถึงคำคมได้

    3. แรงขับดันในการเขียนบันทึก
     - คุณออต ณ เวลานี้  (พ.ย. 2549) หยิบประเด็นที่พบเห็น ที่สัมผัส รับรู้ มาเขียนในบันทึก
     - คุณ น.เมืองสรวง ณ. เวลานี้ (พ.ย.2549) อยู่ในสังคม อาชีพ ณ จุดหนึ่ง แต่เนื้อหาในบันทึกที่สะท้อนออกมา ไม่ใช่จุดที่ คุณ น.เมืองสรวงยืนอยู่ในปัจจุบัน จึงต้องใช้แรงขับดันจากใจเขียนบันทึกที่อยากบอกเล่า ทั้งๆที่อยู่ห่างไกลจากสังคม สิ่งแวดล้อมเดียวกับเนื้อหาในบันทึกเหล่านั้น

    เป็นการหยิบความใฝ่ฝัน ความมุ่งมั่น และอุดมการณ์ที่ฝังแน่น ขึ้นมาจุดประกายอีกครั้ง คุณ น.เมืองสรวงจึงต้องใช้แรงขับดันในการเขียนบันทึกมากกว่าคุณออต

    บุคคลที่ไปทำงานในสังคมและอาชีพเหมือนกับคุณ น.เมืองสรวง ยากที่จะเขียนบันทึกในแบบคุณ น.เมืองสรวงได้ ถ้าไม่มีทักษะ และสำนึกรักบ้านเกิดที่มั่นคง แน่วแน่จริงๆ

    4. ความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยี
      - ทั้งคุณออต และคุณ น.เมืองสรวงนั้น มีความเหมือนกันในเรื่องของการรับรู้ ทักษะความชำนาญในเทคโนโลยีใหม่ๆ  ซึ่งจะต้องสะสมความรู้ เรียนรู้การใช้เครื่องมือใน gotoknow และเทคนิคทางคอมพิวเตอร์อื่นๆต่อไป
    - ในขณะที่เรื่องของวัฒนธรรม วิถีชีวิต  ขนบธรรมเนียมประเพณี คติ ความเชื่อ ของชุมชน ท้องถิ่นนั้น ความรอบรู้จะตรงกันข้ามกับเทคโนโลยี เพราะรับรู้และเข้าถึงได้มากกว่าใครๆ
    - แต่ทั้งคู่ได้พยายามที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวที่ทั้ง 2 คนถนัด โดยสื่อสารผ่านสื่อสมัยใหม่เหล่านี้

    5. การถ่ายทอดบันทึกจากเรื่องใกล้ตัวของทั้งคู่
    - คุณออตบันทึกประเด็นจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว แต่คุณ น.เมืองสรวงตรงกันข้าม
    - การบันทึกประเด็นใกล้ตัว ทำให้บันทึกได้ไหลลื่นเขียนได้บ่อยครั้งกว่า
    - คุณ น.เมืองสรวงบันทึกประเด็นไกลตัว ณ เวลาปัจจุบัน จึงเห็นบันทึกปรากฏสู่สายตาน้อย
    - แต่ไม่ใช่ข้อตัดสินว่า คุณ น.เมืองสรวงบันทึกไม่เก่ง ความจริงเขาเขียนบันทึกได้แทบทุกวัน เขียนบันทึกในสมุดมาหลายปี แต่การวางประเด็นเขียนบันทึกใน gotoknow หยิบประเด็นที่ไกลตัวเกินไป
    - ความจริงคุณ น.เมืองสรวงสามารถที่จะเขียนบันทึกที่ไหลลื่นเหมือนคุณออต มีเรื่องที่บอกเล่าได้เรื่อยๆ ด้วยสำนวนของตัวเองได้เช่นกัน

    6. มองดูเรื่องใกล้ตัวของทั้งคู่
    - เรื่องที่ใกล้ตัว ความหมายในที่นี้ คือเรื่องที่พบเห็น สัมผัส รับรู้ และนำมาบันทึก
    - คุณออต เขียนเล่าเรื่องราวต่างๆ สอดแทรกในบันทึก ไปไหน ไปทำอะไร ที่ไหน แล้วหยิบยกประเด็นนั้นมาบันทึก
    - คุณ  น.เมืองสรวงจะหยิบความรู้ ประสบการณ์ที่สะสมไว้มาบันทึก
    - สังเกตเรื่องใกล้ตัวจากคุณออตแล้ว มองเรื่องใกล้ตัวของคุณ น.เมืองสรวง ณ เวลานี้ คือเรื่องราวจากสิ่งที่พบเห็นสัมผัส รับรู้ในเวลาปัจจุบัน เรื่องเหล่านั้นจะสามารถบอกเล่าได้อย่างไหลลื่น
    - แต่บางเรื่อง ณ ปัจจุบัน หลายคนก็ไม่อยากจะหยิบมาบันทึก เพราะ แม้จะเป็นเรื่องราวที่พบเจอ รับรู้ สัมผัสอยู่ทุกวัน ทุกเวลา แต่ประเด็นเหล่านั้น มันยังไม่โดนใจ ยังไม่เข้าไปอยู่ในใจ และยังไม่มีคุณค่าเพียงพอ ยังไม่สำคัญต่อความรู้สึก ที่ควรค่าแก่การบันทึก


    - แล้วอะไรล่ะ ที่มีคุณค่าเพียงพอ และสำคัญต่อความรู้สึกของ คุณ น.เมืองสรวง


    <h2>ตามหาคุณค่า ความสำคัญในใจของ น.เมืองสรวง</h2>1. เขามาทำงาน หาเงินเพื่อจุดประสงค์ใด (หนึ่งในหลายคำตอบ – เพื่อความมั่งคง, เพื่อความอยู่รอด, เพื่อครอบครัว ฯลฯ)

    2. หยิบคำตอบ “เพื่อครอบครัว”
     ประเด็นนี้  เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีคุณค่าเพียงพอ และสำคัญต่อความรู้สึกของคุณ น.เมืองสรวง เช่นกัน
     เขาแต่งงาน มีครอบครัว มีลูกชายวัยกำลังน่ารัก ชื่อ เนติธร

    เรื่องความรัก ความผูกพัน เรื่องของครอบครัว เป็นเรื่องที่สามารถเล่าออกมาจากหัวใจได้ ...
    <h2>….. เพราะบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น นั่งอยู่ในหัวใจของ น.เมืองสรวงโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว</h2><p>
    การเติบโตของลูกชาย บางครั้งอาการเจ็บป่วยของลูกชายของ น.เมืองสรวง บางทีเรื่องราวของเขาที่จะถูกถ่ายทอดใน gotoknow อาจจะทำให้ลูกชายของเขาที่กำลังเติบโต มีความสมบูรณ์ แข็งแรงยิ่งขึ้น


    </p><h3>ก็ใน gotoknow มี blogger ที่เขียนบันทึกบอกเล่าถึงเรื่องในครอบครัว ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูบุตร คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา และข้อคิดต่างๆ</h3><p>
    ตอนที่นายบอนไปเยี่ยม น.เมืองสรวง พบเห็นลูกชายของเขาที่โคราช ทุกครั้งที่พบเห็น ลูกชายของเขาดูไม่ค่อยจะแข็งแรง ทุกครั้งที่พบเห็น

    เป็นอะไรก็ไม่รู้ ไม่กล้าถาม…. เจอที่ไร ลูกชายของ น.เมืองสรวงที่ชื่อ เนติธร หรือ น้อง อาท ก็เอาแต่ร้องไห้งอแง ที่เห็นหน้านายบอน

    หรือกลัวคนแปลกหน้า ……เพื่อนของพ่อตัวเอง
    หรือนายบอนหน้าตา น่ากลัวเกินไป

    </p><h3>ติดตามอ่านบันทึกใน gotoknow เห็นบรรดา Blogger คุณแม่มือโปรเขียนบันทึกเรื่องลูกหลายท่าน อาทิ พี่โอ๋ –อโณ, ครูอ้อย ฯลฯ </h3><p>
    ถ้านายบอนเป็น คุณ น.เมืองสรวง จะเปิดบล็อก เขียนบันทึกเรื่องของ น้องอาท (เนติธร) ถ้าครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก พี่โอ๋-อโณ มาอ่านเจอ จะได้คำแนะนำในการดูแลลูกชายที่หลากหลาย



    จะได้รู้วิธีแก้ไขกันซะทีว่า ทำไมน้องอาท ถึงไม่ค่อยสบาย เพราะบรรดาคุณแม่มือโปรจะระดมคำแนะนำ ประสบการณ์มาช่วยเยียวยาให้น้องอาท แข็งแรงขึ้น


    หรือถ้าไม่อยากเขียนบันทึก ก็ตั้งคำถาม เขียนไปถามคุณแม่มือโปรซะก็สิ้นเรื่อง น้องอาทจะได้แข็งแรงขึ้น

    มีแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย อาทิ
    แนวคิดจากการเลี้ยงลูกและการพัฒนาเด็ก
    อันเนื่องมาจากลูกๆ
    </p><p> </p><p> </p><p>เวลาเจอหน้านายบอนอีกครั้ง จะได้เลิกงอแงซะบ้าง ทำยังกับเห็นหน้านายบอนเป็นผู้ร้ายยังไงยังงั้น

    เป็นข้อสังเกตที่ได้จากบันทึกของคุณออต คุณ น.เมืองสรวง นะครับนี่

    -


    </p>

    หมายเลขบันทึก: 59172เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (13)

    ตรง ๆ เลยนะเพื่อน... เก็บ ๆ ไว้มั่ง....เลยกลายเป็นบุคคลสาธารณะเลย....

    ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่การรู้จัก น.เมืองสรวง หรือไม่  ประเด็นอยู่ที่

    1. คุณมีความสำนึกที่ดีแก่สังคมหรือไม่

    2.คุณรู้หรือเห็นและได้สัมผัสกับคำว่า " ไกลปืนเที่ยง" หรือไม่

    3.คุณมีความรู้สึกว่าอยากที่จะ " ร่วม" มีส่วนร่วมเพื่อสร้างค่านิยมที่ดีต่อสังคม มากน้อยเพียงใด หรือมีชีวิตที่พอเพียงเพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ

    ...........ตอนเพื่อนไปเยี่ยมบ้านที่โคราช..ตอนนั้นลูกชายยังเล็กอยู่ช่วงนั้นแกไม่สบาย เด็ก ๆ ก็เป็นแบบนี้แหละ  อ้อ...ลองถามคุณแม่อาภรณ์ดูนะ.เพื่อน ...ฮ่า ๆ ๆ ๆ ๆ ....ตอนนี้แข็งแรงร่าเริง....ตอนนี้อยู่อนุบาล 3 แล้ว...ไว้ให้เพื่อนมีครอยครับก่อนนะแล้วจะรู้เอง.....นะเพื่อน " บอน" 

    "เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ....เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด"  คำสุภาษิตโบราณอีสานยังใช้ได้นะเพื่อน....

     

    เชื่อว่าคุณ"นายบอน"ทำไปด้วยความรักเพื่อนนะคะ คุณ น.เมืองสรวง แต่สำหรับตัวพี่เองเชื่อว่า ไม่มีใครรู้จักลูกได้ดีไปกว่าพ่อแม่ของลูก สิ่งที่นำมาเล่าไม่ได้แปลว่า เราเลี้ยงลูกได้เก่งหรือดีกว่าใคร นะคะ คุณบอน เพราะเด็กมีธรรมชาติของเขาเองที่แตกต่าง เราได้เพียงเรียนรู้และแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราพบจากการเลี้ยงดูเขาเท่านั้นเอง

    เห็นได้จากที่คุณน.เมืองสรวงมาต่อความคิดเห็นไว้ว่า พระเอกตัวน้อยเปลี่ยนไปแล้ว นี่แหละค่ะใช่เลย เด็กๆมีวัยดี วัยร้ายที่เรา พ่อแม่เท่านั้นที่จะเข้าใจ อย่าไปตัดสินใครจากการดูลูกเขานะคะ คุณบอน

    มีเรื่องเล่าว่า พี่เคยโดนฝรั่งดุ เพราะเราทิ้งลูกให้ร้องไห้ เพราะเขาไม่ยอมเดินเอง ฝรั่งคนนั้นหวังดีกับลูกเรา แต่เขาไม่เข้าใจว่าเรากำลังทำอะไร พี่ปล่อยให้ลูกร้องเมื่อเขารู้เหตุผลแต่ไม่ยอมรับฟัง เขาร้องมากครั้ง 2 ครั้ง แล้วเขาก็เรียนรู้ว่าวิธีนี้แม่ไม่สนใจ เขาก็เลิกร้องและเดินเองเมื่อควรจะเดิน เขาจะไม่ใช้วิธีร้องไห้ไม่มีเหตุผลกับเราอีก แต่ใช้วิธีพูด เพราะเราจะฟังและยืดหยุ่นให้เมื่อเขามีเหตุผลสมควร

    ที่เล่านี้เพื่อจะบอกว่า เราต้องดูอะไรนานๆ จึงจะเข้าใจเหตุผลของคนค่ะ อย่าด่วนคิดว่าใครต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเรื่องการเลี้ยงลูกค่ะ  

    • ครูอ้อยก็คิดอย่างนั้นว่าคุณบอนเห็นใจเพื่อน
    • และคุณบอนยังไม่มีครอบครัวจึงไม่เข้าใจหรอกว่าคนเป็นพ่อแม่ต้องมีวิธีที่แยบยลในการเลี้ยงลูกของตนอยู่แล้ว 
    • แต่อย่างไรคุณบอนก็เป็นคนอย่างนี้เองล่ะค่ะ  รู้จักมานานแล้วในการอ่านบันทึก 
    • เธอไม่อยู่เฉย จับแพะชนแกะไปเรื่อย  แต่เรื่องขอความช่วยเหลือแบบนี้ คุณ น เมืองสรวง  ก็คงไม่ได้คิดตามคุณบอนนะคะ 
    • เอาไว้ตัวคุณบอนเองนั่นล่ะ  ไว้ปรึกษาครูอ้อยนะคะ   ตอนที่มีเจ้าตัวน้อยๆว่าจะเลี้ยงอย่างไร

    คุณ น.เมืองสรวง
       สังเกตให้ดี ว่าเปิดประเด็นให้เขียนเยอะเลย

    พี่โอ๋-อโณครับ
        ด้วยความรักเพื่อน และแอบตัดสินไปยังงั้นเองครับ
    แต่สิ่งที่พี่โอ๋ นำมาบอกเล่า ทำให้มองเห็นว่า การดูแลเด็กเป็นสิ่งที่ต้องใช้หัวใจเหมือนกัน

       ตอนที่นั่งเขียนเรื่องนี้ นายบอนนึกถึง น.เมืองสรวง กับตอนที่เจอลูก เห็นแล้ว ตัดสินเลยว่า ไม่ค่อยมีเวลาที่จะดูแลลูกชายเสียเลย เพราะไปทำงานต่างจังหวัด เลยตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อน


     อาจเป็นเพราะเป็นคนโสดด้วยล่ะครับ แต่เวลาที่นายบอนไปเยี่ยมพี่ๆ ไปเจอลูกๆของคนอื่น ลูกคนอื่นน่ะ ติดนายบอนมากๆ เข้ามาเล่นด้วย กลับมาเจออีกที แทบจะิ่วิ่งเข้าใส่ วัยก็ไล่เลี่ยกับลูกชายของ น.เมืองสรวง แต่นายบอนขัดใจนิด ทำไมลูกชายของ  น.เมืองสรวงถึงได้กลัวนายบอนนักหนา ทีลูกคนอื่นล่ะทั้งติดทั้งหลงนายบอน

     เมื่อสังเกตดูครอบครัวเหล่านั้น ( 5 ครอบครัว) จะว่าตัดสินก็ได้นะครับ ผมว่า เค้าดูแลลูกๆเค้าดีกว่า  เพราะเห็นการดูแล เอาใจใ่ส่ ไปจนกระทั่ง  เห็นหมดทั้งตอนที่ลูกเขาอารมณ์ดี ร้องไห้ งอแง แย่งของเล่น แต่ลูกชายของ น.เมืองสรวงเนี่ย เจอหน้านายบอน เอาแต่ร้องไห้งอแงลูกเดียว คาดว่า กลัวคนแปลกหน้า (หรือหน้าแปลกก็ไม่รู้)

      ไปเยี่ยมบ้านคนอื่นๆบ่อยๆ จนพี่ๆเค้าทัก ชอบเด็กแบบนี้ ไม่มีเป็นของตัวเองสักคนสองคนหรือ

    นายบอนได้แต่ยิ้มครับ

    ครูอ้อยครับ
      55555 จริงอย่างครูอ้อยว่า

     แต่นายบอนก็มีวิธีแยบยลในการหยิบประเด็นให้ เพื่อนได้ขยับมือไม้เขียนบันทึกยาวๆเสียบ้าง

    ถ้าดูเนื้อหาข้างบน ที่ได้วิเคราะ์ห์อะไรหลายอย่าง แล้วเปิดประเด็นนี้ขึ้น  พอจะมองเห็นอะไรที่แยบยลบ้างไหมครับ

    จะว่าจับแพะชนแกะก็ตามใจ แต่นายบอนเรียกว่า ศิลปะในการเปิดประเด็นใหม่  ดูละกัน  แต่ละวัน หาประเด็นมาเขียนได้คนละแนวไปเลย


    ก็ดีไปอีกหลายๆแบบนะคุณบอน  การเปิดประเด็นของคุณบอนรู้ไหมว่า  ทำให้คนหลายคนลดอัตตาลง

    ครูอ้อยก็ลดอัตตาลงด้วยหรือครับ

    การเปิดประเด็นแบบนายบอน ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ทั้งๆที่รู้ว่า จะต้องโดนว่าในทำนอง..ยังไม่มีครอบครัวจึงไม่เข้าใจหรอก, ..ไม่อยู่เฉย จับแพะชนแกะไปเรื่อย.. ฯลฯ

     5555 แต่ก็ได้มุมมองการวิเคราะ์ห์กว่า 6 ข้อ ก่อนหน้าไปอีกเพียง

    ระวังหน่้อยนาครับ จะโดนจับแพะชนแกะ โดนจับไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับท่านอื่นๆอีกหรอก  โปรดระวัง

    .. 

    ไม่กลัว  โดนมามากแล้ว ครูอ้อยมีเหตุผลเพียงพอ  กาลเวลาพิสูจน์คน  และตอนนี้ก็พิสูจน์แล้ว  ซตพ.แล้วค่ะคุณบอน

    มา แต่งงานเพื่อนที่ กทม.โทร.มาหาด้วยนะคะ จะฝากอะไรไปกาฬสินธุ์

    เดี๋ยวโดนวิพากษ์แบบเสวนาจานส้มตำแล้ว...ก็จะรู้สึก...

    มีค่ารับฝากหรือเปล่า คิืดแพงนะครับ แต่อาจจะรับฝากฟรี แค่ให้ลูกสาวครูอ้อยมานั่งกินข้าวด้วย
    ฮ่า..ๆๆๆๆๆๆๆ สุดยอด ไม่รู้จะเขียนอะไรต่อ
    • คุณบอน ยากแล้วที่ได้คิดก็ยากแล้ว  อย่าคิดต่อ  อายุจะสั้น
    • อ่านบันทึกนี้ก่อนค่ะ ที่นี่  คุณ น.เมืองสรวงด้วยนะคะ
    ตามเข้ามาอ่านแล้วครับ หลังจากหายไปหลายวันตอนนี้ยังงๆ อยู่ มีสติเมื่อไรจะมาตอบทุกข้อแนะนำครับ
    อ้าว คุณออต เกิดอาการเดียวกับคุณปภังกรอีกแล้วหรือนี่ อิอิอิ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท