"ตายโหง" แล้ว! คำพื้นฐาน หรือ คำไทยที่ใช้บ่อย ของ สพฐ.



เด็กจะอ่านออกเขียนได้ต้องรู้ศัพท์ที่ใช้บ่อยๆ ให้เยอะๆ ไว้ค่ะ ยิ่งใช้บ่อยมากๆ ยิ่งน่าจะเหมาะกับวัยเด็กเล็กค่ะ เมื่อในสมองเด็กมีคลังคำศัพท์ที่ใช้บ่อยแล้ว การอ่านเป็นประโยคก็จะง่ายขึ้นค่ะ

ดิฉันลองสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตก็พบคำศัพท์ไทยที่ใช้บ่อยๆ หรือคำที่คุ้นตา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Word frequency ค่ะ แต่ภาษาไทยเขาเรียกกันว่า คำพื้นฐาน ซึ่ง สพฐ. เป็นผู้รวบรวมไว้ค่ะเพื่อแจกจ่ายให้ครูนำไปสอนศัพท์ให้เด็กในแต่ละวัยต่อค่ะ รวบรวมครั้งแรกคือ ปี 2537 ต่อมาปี 2553 ค่ะ

แต่วิธีการรวบรวมนั้นถูกต้องเหมาะสมอย่างไรดิฉันก็ยังสงสัยค่ะ เพราะดิฉันเจอคำว่า "ตายโหง" ในคำศัพท์พื้นฐานสำหรับประถมปีที่ 3 ในรายการคำพื้นฐานในปี 2537 ค่ะ มาถึงตรงนี้ ต้องขออนุญาตอุทานเป็นภาษาใต้นะคะ "ตายโหงแล้ว" สมัยนั้นเด็ก ป. 3 ควรรู้คำนี้เพื่อจะสามารถอ่านออก เขียนได้ เหรอค่ะ ส่วนคำบางคำเช่น "ฮูลาฮูป" เป็นคำพื้นฐาน ป.3 ปี 2553 ล่าสุดค่ะ แล้วคำว่า นา น่า น้า มาใช้สอนใน ป.3 เหรอออออ....

ส่วนตัวแล้ว รู้สึกแปลกๆ สงสัยอยู่ว่า

  • หลายๆ คำสมควรเป็นคำพื้นฐานที่ครูต้องสอนเด็กอย่างนั้นเหรอ
  • เหมาะสมตามวัยจริงหรือเปล่า
  • รวบรวมมาจากแหล่งไหนเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
  • หลากหลายคำถามค่ะที่ยังไม่เคลียร์ว่าพอที่จะเป็นมาตรฐานของคำไทยที่ใช้บ่อยตามวัยได้จริงหรือไม่นะคะ

OMG!! Oh! My God. #ร้องไห้หนักมาก

ลองดาวน์โหลดไปอ่านดูค่ะ คำพื้นฐานจาก สพฐ. คาดว่าคงนำต้นฉบับมาจาก เว็บ สพฐ. ซึ่งตอนนี้เข้าไม่ได้แล้วค่ะ

หมายเลขบันทึก: 591674เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2015 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2016 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอขอบคุณค่ะอาจารย์ที่นำมาเล่า

อ่านแล้วเศร้าใจ แท้

ขออุทานภาษาใต้ด้วยคนค่ะ "ฮาโรย"

ขอบคุณอาจารย์มากๆ ที่ชวนมาอ่าน

ข้อสงสัยแรกของพี่คือ ข้อมูลเหล่านี้ได้มาอย่างไร มันแปร่งๆ

อ.ดร.อุษณีย์ จาก มศว เคยเล่าไว้ว่า "มาตรฐานการรู้คำศัพท์ของเยาวชนทั่วโลกอยู่ที่ ๗๐๐๐ คำ" น่าตกใจที่รู้ว่าเด็กไทยใช้คำศัพท์น้อยมากแค่ไม่เกิน ๒๐๐๐ คำ (พี่ยังหาอ้างอิงเรื่องนี้ไม่เจอ ได้ดูอาจารย์ทางรายการโทรทัศน์นานแล้ว มันสะดุดหูมาก)

การรู้คำศัพท์มากบอกถึงความสามารถในการเรียนรู้เช่นกันค่ะ

ในหนังสือ How Children Suceed พูดถึงเรื่องนี้ไว้ด้วยค่ะว่า เด็กๆ เรียนรู้คำศัพท์จากในครอบครัว จึงกลายเป็น "ข้อจำกัด" ที่แทบจะทำอะไรไม่ได้ เพราะพ่อแม่ที่รู้หนังสือน้อย ก็อ่านหนังสือกับลูกน้อย พ่อแม่ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจก้ไม่มีเวลาอ่านหนังสือกับลูก คุยกับลูก

การท่องศัพท์ไม่มีประโยชน์เท่ากับการอ่านหนังสือกับลูก เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากการอ่านมากกว่าการท่องศัพท์

คนไทย (คือพ่อแม่ไทย) ส่วนมากอ่านหนังสือน้อย หรือแทบไม่อ่าน จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะอ่านหนังสือกับลูก คุยกับลูกเรื่องต่างๆ รอบตัว เด็กๆ ถูกส่งไปอยู่โรงเรียนพิเศษกันทุกคน ส่งไปทำไม??

เด็กฉลาดชอบคุยกับผู้ใหญ่เพราะเขาต้องการเรียนร้ ที่ไม่ได้จากวัยเดียวกัน

การใส่แทบเล็ตใส่มือลูกเล็กๆ พี่เห็นแล้วเจ็บปวดใจ เป็นการกีดกันลูกจากการเรียนรู้อื่นๆ รอบตัว

อาจารย์เขียนเรื่องนี้อีกนะคะ พี่จะตามมาอ่าน แล้วจะรื้อฟื้นความจำจากเรียงความที่ลูกๆ ของพี่เขียนเอามาเขียนบันทึกด้วยคน

I made a list of words (frequently used within the Thai Royal Institute dictionary 2542) a year or so ago (I posted a few words in G2K ) . ตายโหง is not used often in the dictionary. But it may used a lot in real life. It would be good if they also show their source of information.

A key aspect of learning is not about "remembering" but "analysing facts".

What are facts? That's a real 21C skill to learn, so we can filter 'good' from 'bad'.

อันที่จริงเรื่องการสอนดูจะทำได้ดีนะคะ เพราะมีคู่มือครูทุกวิชาค่ะ บอกเทคนิคและกระบวนการที่ครูจะดำเนินการสอนสำหรับเนื้อหาแต่ละเรื่องค่ะ แต่ครูจะทำตามหรือไม่นั่นก็เป็นอีกเรื่องค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท