ทฤษฎีเรือนจำเอกชน


ทฤษฎีเรือนจำเอกชน (Private prisons theory) ถ้าพิจารณาในแง่แนวคิดด้านองค์ประกอบของทฤษฎี ที่จะต้องปรากฏผลด้านคำตอบที่แน่นอนเสมอไป นั้น จะเห็นได้ว่าแนวคิดของเรือนจำเอกชนยังไม่มีคำตอบที่แน่นอน ในเรื่องความคุ้มค่า ทั้งค่าใช้จ่าย และคุณภาพ ซึ่งอาจทำให้อาจมีการพิจารณาว่าทฤษฎีเรือนจำเอกชน ดังกล่าว เป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์หรือไม่ อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาในแง่ประโยชน์ของเรือนจำเอกชน ก็จะพบ ข้อดี จุดแข็ง และจุดเด่น ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การแข่งขันเปรียบเทียบกับเรือนจำของรัฐ ที่เรือนจำเอกชนจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความเหมือน ความต่างในประสิทธิภาพการบริหารงานเรือนจำ การใช้จ่ายงบประมาณเรือนจำ ประสิทธิภาพในสิ่งอำนวยความสะดวกเรือนจำ และ ประสิทธิภาพในการลดการกระทำความผิดซ้ำ........................................


ทฤษฎีเรือนจำเอกชน


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.



ทฤษฎีเรือนจำเอกชน อาจแบ่งได้โดยอาศัยหลักข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรือนจำเอกชน หลักการและแนวคิดที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายเรือนจำเอกชน และ หลักทฤษฎีว่าด้วยการลงโทษที่ใช้กันอยู่ในเรือนจำประเทศต่างๆ โดยทั่วไป โดยสามารถแบ่งทฤษฎีเรือนจำเอกชนโดยอาศัยหลักการ ดังกล่าว เป็น 3 ทฤษฎีใหญ่ๆ คือ ทฤษฎีสนับสนุนและต่อต้านเรือนจำเอกชน ทฤษฎีกฎหมายเรือนจำเอกชน และทฤษฎีอาญาว่าด้วยการลงโทษ สำหรับบทความ เรื่อง ทฤษฎีเรือนจำเอกชน ที่นำเสนอในบทความนี้ คือ ทฤษฎีสนับสนุนและต่อต้านเรือนจำเอกชน โดยจะเป็นการกล่าวถึงทฤษฎีฝ่ายสนับสนุน และ ทฤษฎีฝ่ายต่อต้าน พอเข้าใจโดยสังเขป ดังนี้


แนวคิดเรือนจำเอกชน


ทฤษฎีสนับสนุนและต่อต้านเรือนจำเอกชน จากข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ และ บริบทเกี่ยวกับเรือนจำเอกชน พบว่า ทฤษฎีสนับสนุนและต่อต้านเรือนจำเอกชน หรือทฤษฎีสองฝ่าย ประกอบด้วยแนวคิดฝ่ายสนับสนุนให้มีเรือนจำเอกชน และ แนวคิดฝ่ายที่ต่อต้านเรือนจำเอกชน ดังนี้

  • ฝ่ายที่สนับสนุนให้มีเรือนจำเอกชน โดยทางฝ่ายที่สนับสนุนให้มีเรือนจำเอกชนก็มักจะอ้าง ข้อดี หรือ แนวความคิด ความเชื่อ เกี่ยวกับเรือนจำเอกชน ดังนี้
    • การดำเนินงานของภาคเอกชนจะมีประสิทธิภาพมากกว่าภาครัฐ
    • การลดความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ
    • การลดภาระด้านงบประมาณของภาครัฐ
    • การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง
    • การเพิ่มประสิทธิภาพสิ่งอำนวยความสะดวก
    • การลดการกระทำความผิดซ้ำ
    • ความพร้อมด้านเงินทุน
    • ความเชี่ยวชาญของเอกชนที่มีมากกว่าภาครัฐ
    • ภาคเอกชนไม่มีกฎระเบียบที่ซ้ำช้อนเหมือนภาครัฐ
    • มีการแข่งขันเปรียบเทียบ


บริบทเรือนจำเอกชน


  • ฝ่ายที่ต่อต้านเรือนจำเอกชน ส่วนฝ่ายที่ต่อต้านเรือนจำเอกชนก็จะอ้างข้อดี หรือ แนวคิด ความเชื่อ เกี่ยวกับเรือนจำเอกชน ดังนี้
    • อำนาจกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการควบคุมผู้ต้องขังไว้ ในเรือนจำเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และ เสรีภาพ เป็นอำนาจของรัฐ และ รัฐเท่านั้นที่จะกระทำได้ (ส่วนใหญ่เป็นความเชื่อของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย civil law) จะมอบให้ภาคเอกชนทำได้อย่างไร
    • การถ่ายโอนอำนาจการบริหารจัดการเรือนจำให้เอกชนดำเนินการอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
    • การทำงานของภาคเอกชน เป้าหมาย คือ การหวังผลกำไร ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ภาคเอกชนจะกระทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้กำไร เช่น การลดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ และ การลดต้นทุน ฯลฯ ถ้าเช่นนี้แล้ว จะไปหวังประสิทธิภาพสิ่งอำนวยความสะดวก และ การแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังจากเรือนจำเอกชนได้อย่างไร
    • ยังไม่มีหลักฐานปรากฏว่าการดำเนินงานของเรือนจำเอกชนสามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย และ เพิ่มคุณภาพการให้บริการมากกว่าเรือนจำของรัฐ
    • งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่าเรือนจำเอกชนไม่มีประสิทธิภาพมากกว่าเรือนจำของรัฐ (ผลการวิจัย meta-analysis ของเทรวิส ซี แพรตต์ และ เจฟฟ์มาส เรื่องการวิจัยประเมินผลความคุ้มค่าของเรือนจำภาครัฐและเอกชน 24 งานวิจัย จากงานวิจัยทั้งหมด 33 งานวิจัย พบว่าเรือนจำเอกชนไม่มีประสิทธิภาพมากกว่าเรือนจำของรัฐ) เป็นต้น


แนวคิดเรือนจำเอกชน


โดยสรุป บริบทว่าด้วยเรือนจำเอกชนตามทฤษฎีสนับสนุนและต่อต้านเรือนจำเอกชน มีการแบ่งแนวคิดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนเรือนจำเอกชน และ ฝ่ายต่อต้านเรือนจำเอกชนที่เกิดขึ้นในทุกประเทศที่มีการดำเนินงานเรือนจำเอกชน โดยทั้ง 2 ฝ่ายต่างนำแนวคิด ความเชื่อ ข้อดี จุดเด่น หรือจุดแข็งเกี่ยวกับเรือนจำเอกชน ของฝ่ายตนมาโต้เถียงกันทั้งสองฝ่ายตลอดมาโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล แต่ท้ายที่สุดเมื่อเป็นนโยบายของรัฐบาล การดำเนินงานเรือนจำเอกชนก็เกิดขึ้นและดำเนินการต่อไป ส่วนอิสราเอลศาลฎีกาเห็นว่าเรือนจำเอกชนมีลักษณะค้ากำไร และอาจละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงตัดสินยกเลิกกฎหมายเรือนจำเอกชน สำหรับผู้เขียนเองเห็นว่า ถ้าพิจารณาในแง่แนวคิดด้านองค์ประกอบของทฤษฎี ที่จะต้องปรากฏผลด้านคำตอบที่แน่นอนเสมอไป นั้น จะเห็นได้ว่าแนวคิดของเรือนจำเอกชนยังไม่มีคำตอบที่แน่นอน ในเรื่องความคุ้มค่า ทั้งค่าใช้จ่าย และคุณภาพ ซึ่งอาจทำให้อาจมีการพิจารณาว่าทฤษฎีเรือนจำเอกชน (Private prisons theory) ดังกล่าว เป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์หรือไม่ อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาในแง่ประโยชน์ของเรือนจำเอกชน ก็จะพบ ข้อดี จุดแข็ง และจุดเด่น ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การแข่งขันเปรียบเทียบกับเรือนจำของรัฐ ที่เรือนจำเอกชนจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความเหมือน ความต่างในประสิทธิภาพการบริหารงานเรือนจำ การใช้จ่ายงบประมาณเรือนจำ ประสิทธิภาพในสิ่งอำนวยความสะดวกเรือนจำ และ ประสิทธิภาพในการลดการกระทำความผิดซ้ำ เป็นต้น


..........................



เอกสารอ้างอิง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://cad.sagepub.com/content/45/3/358.short

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.nber.org/papers/w5744

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://onlinelibrary.wiley.com/

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.transactionpub.com/title/Private-Prisons-and- Public-Accountability-978-1-56000-993-1.html

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.cosmopolitan.com/politics/a38728/chelsea-manning-may-2015/

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://rbgg.com/news/coleman-plata-supreme-court/s...





คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีเรือนจำเอกชน (Private prisons theory)#ทฤษฎีสนับสนุนและต่อต้านเรือนจำเอกชน#ทฤษฎีกฎหมายเรือนจำเอกชน#ทฤษฎีอาญาว่าด้วยการลงโทษ#แนวคิดเรือนจำเอกชน#เรือนจำเอกชน#เรือนจำกึ่งเอกชน (semi-private prisons)#แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการของเรือนจำ#แนวคิดในการลดการผูกขาดการใช้อำนาจรัฐในการบวนการยุติธรรมทางอาญาในขั้นตอนของการบังคับทาจำคุก#แนวคิดในการแข่งขันเปรียบเทียบ#แนวคิดในการลดการกระทำความผิดซ้ำ#แนวคิดในการลดความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ#แนวคิดในการลดภาระด้านงบประมาณของภาครัฐ#แนวคิดในการลดค่าใช้จ่ายของเรือนจำ#แนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง#ผลการวิจัย meta-analysis จากงานวิจัยเรือนจำเอกชน จำนวน 33 งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 591427เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2015 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2015 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท